ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนจำหน่ายแบบบูรณาการ ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยก โรงพยาบาลสกลนคร

Authors

  • จันทร์เพ็ญ แสงผา Sakon Nakhon Hospital, Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • อุไรวรรณ ศรีดามา Sakon Nakhon Hospital, Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • ทัศนีย์ แดขุนทด Sakon Nakhon Hospital, Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND

DOI:

https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i2.1678

Keywords:

Comprehensive discharge planning program, Nursing practice guideline, Non-ST elevation myocardial infarction, Readmission

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยกต่อความรู้ พฤติกรรม การกลับมารักษาซ้ำ และความพึงพอใจของผู้ใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วย
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยกที่มารับบริการในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตโรคหัวใจ โรงพยาบาลสกลนคร  คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 ราย และพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตโรคหัวใจ จำนวน 13 ราย แนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนจำหน่ายแบบบูรณาการใช้ทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย และติดตามต่อเนื่องภายใน 1 เดือน ประเมินผลโดยการประเมินความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำหลังจำหน่ายใน 28 วัน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired sample t - test

ผลการวิจัย ด้านผู้ป่วยเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับการวางแผนจำหน่ายพบว่ามีความแตกต่างด้านความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และไม่มีการกลับมารักษาซ้ำ และความพึงพอใจของผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับดีมาก (Mean = 4, SD = 0.50)

References

(1) Luepker RV, Evans A, McKeigue P, Reddy KS. Cardiovascular survey methods.3rd ed. World Health Organization; 2004.

(2) กุลวรรณ ทองมาก. การรับรู้การเจ็บป่วยการได้รับข้อมูลและพฤติกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโคโรนารีหลังจำหน่าย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.

(3) ชารีนะฮ์ ระนี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และลดการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดหัวใจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

(4) ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ D-METHOD ต่อความพึงพอใจและการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2561; 3 (3): 19-27.

(5) รัตนาถ นิลเลื่อม, อัญชลี แก้วสระศรี, พิชฌาวีร์สินสวัสดิ์. บทบาทพยาบาลในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2560; 28 (2): 28-37.

(6) สุพนิดา ภู่อุ่น, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, อัจฉริยา พ่วงแก้ว, ฉัตรกนก ทุมวิภาต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564; 32 (2): 44-58.

(7) บานเย็น ไชยรินทร์. (2560) การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในหอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.

(8) นงลักษณ์ ทองอินทร์, ภีรพร ด่านธีระภากุล, เพ็ญจันทร์ เสรีวัฒนา. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ. วชิรเวชสาร. 2554; 51(1): 77-86

(9) จินตนา นาคพิน. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นเอสทีไม่ยกที่มีโรคร่วม: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2564; 4(1): 28-39.

Downloads

Published

2023-12-06

How to Cite

แสงผา จ., ศรีดามา อ., & แดขุนทด ท. (2023). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนจำหน่ายแบบบูรณาการ ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยก โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 1(2), 1678. https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i2.1678