การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หอผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม: กรณีศึกษา 2 ราย

Nursing Care for Stroke Patients in Male Inpatient Ward Srisongkram Hospital Nakhon Phanom Province: 2 Case Studies

Authors

  • ศศิธร ราชกรม Srisongkhram Hospital Si Songkhram District Nakhon Phanom Province, THAILAND

DOI:

https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i1.2102

Keywords:

โรคหลอดเลือดสมอง, กระบวนการพยาบาล

Abstract

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อสมองถูกทำลายโดยเฉียบพลันเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง จากมีการตีบตันหรือแตก ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ระหว่างเดือน กันยายน พ.ศ. 2565 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยศึกษาจากข้อมูลทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วย เปรียบเทียบกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ในประเด็น ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พยาธิสภาพอาการและอาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา การวินิจฉัย การเข้าถึงบริการ ประวัติการเจ็บป่วย การใช้กระบวนการพยาบาล การวางแผนการจำหน่าย และการดูแลต่อเนื่อง

        ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 2 ราย กระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ประเมิน ขั้นตอนที่ 2 วินิจฉัยทางการพยาบาล  ขั้นตอน ที่ 3 วางแผนการพยาบาล  ขั้นตอนที่ 4 ปฏิบัติการพยาบาล  และขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล มีความแตกต่างกัน ทั้งในระยะวิกฤติ และระยะฟื้นฟู

References

(1) ณัฏฐนิช เกศรินหอมหวน. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สรรพสิทธิเวชสาร. 2554; 32 (1-3)

(2) World Stroke Organization (WSO). Campaign Advocacy Brochures. [Internet]. 2017 [ cited 2022 March 10]. Available from http://www.worldstrokecampaign.org

(3) สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์ โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย.[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ10 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://neurothai.org/images/journal/2023

(4) ปิยะนันท์ เต็มพร้อม. ความชุกของระดับความเสี่ยงสูงของการกลับเป็นซ้ำและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเสี่ยงสูงของการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564; 32 (2)

(5) สุวพักตร์ สิทธิ, บรรณาธิการ. รายงานการประชุมสรุปผลงานทีมนำด้านอายุกรรม; 22 กันยายน 2565; ห้องประชุมร่มเย็น โรงพยาบาลศรีสงคราม.

(6) ระบบรายงานมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดนครพนม ปี 2566. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อเข้าถึงเมื่อ10 ธันวาคม 2566] เข้าถึงจาก : https://npm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

(7) จิราพร รบไพร. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ: กรณีศึกษา 2 ราย.วารสารๆโรงพยาบาลมหาสารคาม.2558; 12(2)

(8) เสาวนีย์ หอมสุด. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันที่รับการรักษาด้วยวิธีผ่านสายสวนหลอดเลือดสมอง (Mechanical Thrombectomy). 2563. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ2 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing

(9) เพชรรุ่ง เดชบุญญจิตต์. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2563; 5(2).

Downloads

Published

2024-06-27

How to Cite

ราชกรม ศ. (2024). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หอผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม: กรณีศึกษา 2 ราย : Nursing Care for Stroke Patients in Male Inpatient Ward Srisongkram Hospital Nakhon Phanom Province: 2 Case Studies . วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 2(1), 2102. https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i1.2102