การพยาบาลมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลศรีสงคราม: กรณีศึกษา 2 ราย

Nursing Care for Preterm Labor in Srisongkhram Hospital : 2 Case Studies

Authors

  • ศศิธร พรหมประกาย Srisongkhram Hospital Si Songkhram District Nakhon Phanom Province, THAILAND

DOI:

https://doi.org/10.55674/ajhe.v2i1.2141

Keywords:

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, การพยาบาล, โรงพยาบาลศรีสงคราม

Abstract

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 2 ราย ที่รับไว้รักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลศรีสงคราม ให้พ้นภาวะวิกฤติ ลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนและปัญหาการส่งต่อทารกแรกเกิด เลือกหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ามารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงกันยายน พ.ศ. 2566  จำนวน 2 ราย

        ผลการศึกษา กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทย อายุ 30 ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 คลอดก่อนกำหนด 1 ครั้ง บุตรมีชีวิต 1 คน อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ และมีถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนเจ็บครรภ์ ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนด คลอดปกติ ทารกเพศชาย น้ำหนัก 3,020 กรัม คะแนนประเมินสภาวะทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย 5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด 9-10-10 คะแนน  ย้ายตึกหลังคลอดพร้อมมารดา ไม่มีภาวะแทรกซ้อน รับการรักษา 3 วัน รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 32 ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 แท้ง 1 ครั้ง อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ชนิดที่ 2 ส่วนนำของทารกเป็นก้น ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เตรียมคลอดท่าก้นทางช่องคลอดและเตรียมส่งต่อหลังคลอด ทารกเพศชาย น้ำหนัก 1,360 กรัม คะแนนประเมินสภาวะทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย 5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด 6-7-8 คะแนน ทารกมีภาวะหายใจลำบากใส่ท่อช่วยหายใจและส่งต่อโรงพยาบาลนครพนม ถอดท่อช่วยหายใจ 1 วัน หลังส่งต่อ และดูแลจนน้ำหนัก 2,000 กรัม จึงจำหน่ายกลับบ้านและตรวจติดตามที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

 

References

(1) กรมการแพทย์. แนวทางการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดสำหรับประเทศไทย. 2566; 1-27.

(2) คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2565-2567. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด. 2566; OB 033: 9-36.

(3) HDC. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด ปี 2563-2565. กลุ่มรายงานมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก. เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=ecdbfc8b4725386c34623ce99f0f4b8.

(4) American College of Obstetricians and Gynecologists' Committee on Practice Bulletins-Obstetrics. Prediction and Prevention of Spontaneous Preterm Birth: ACOG Practice Bulletin, Number 234. Obstet Gynecol 2021; 138(2): e65 - e90.

(5) Hiroshi Sames. Preterm Labor and Delivery 2019. Comprehensive Gynecology and Obstetrics. Springer Nature Singapore Pte Ltd. 2020; 7-25. เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/books/edition/Preterm_Labor

_and_Delivery/ fjy5DwAAQBAJ?hl=th&gbpv=1&dq=preterm+labor&printsec=frontcover

Downloads

Published

2024-03-12

How to Cite

พรหมประกาย ศ. (2024). การพยาบาลมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลศรีสงคราม: กรณีศึกษา 2 ราย: Nursing Care for Preterm Labor in Srisongkhram Hospital : 2 Case Studies. วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 2(1), 2141. https://doi.org/10.55674/ajhe.v2i1.2141