การพยาบาลผู้ป่วยไตวายที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังในโรงพยาบาลสกลนคร: กรณีศึกษา 2 ราย

Nursing Care of Kidney Failure Patients Who Require Hemodialysis with Acute Kidney Failure and Chronic Kidney Failure in Sakon Nakhon Hospital: Two Case Studies

Authors

  • กิตินันท์ สุโข Hemodialysis Unit, Sakon Nakhon Hospital, Sakon Nakhon Province, THAILAND

DOI:

https://doi.org/10.55674/ajhe.v2i1.2165

Keywords:

การพยาบาล, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ภาวะไตวายเฉียบพลัน, ภาวะไตวายเรื้อรัง

Abstract

       การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยไตวายที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังในโรงพยาบาลสกลนคร โดยการคัดเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มตามกรอบของกระบวนการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลวางแผนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล

        ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันไม่เคยรับการวินิจฉัยโรคไตวายมาก่อน มาโรงพยาบาลด้วยอาการฉุกเฉินได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ รักษาจนอาการดีขึ้นจึงเข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ได้รับการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรัง แต่ปฏิเสธการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจนมีอาการเหนื่อยมาก รับประทานอาหารไม่ได้จึงเข้ารับการรักษา กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวาย ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม คือ การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน การกำหนดความต้องการการดูแลตนเอง การวิเคราะห์ความสามารถ และข้อจำกัดในการดูแลตนเองของผู้ป่วย เป็นการให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สามารถจัดการดูแลสุขภาพ ตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้ง 2 ราย ผู้ป่วยมีปัญหาการเจ็บป่วยเหมือนกัน คือ วิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การดูแลตนเองไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมการรับประทานอาหารที่มีผลต่อการฟอกเลือด

References

(1) Nipun Shrestha, Sanju Gautam, Shiva Raj Mishra, Salim S. Virani, Raja Ram Dhungana; Bunden of chronic kidney disease in the general population and high-risk groups in South Asia: A Sytematic review and meta-anlysis available from PLOS ONE https://doi.org/10.1371/journal.pone.0258494 October 14, 2021

(2) International Society of Nephrology: ISN Global Kidney Health Atlas 2019 available website: www.theisn.org/global-atlas

(3) กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: กองควบคุมโรค; 2565.

(4) Orem, E.D. Nursing: Concepts of Practice. (5th ed). St. Louis: Mosby Year Book; 1995.

(5) ประสบสุข ศรีแสนปาง. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มตามกรอบของกระบวนการพยาบาล. Rama Nurs J. 1999; 5 (2): 147 – 56.

(6) กันตพร ยอดใชย.ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง:การพยาบาลและการจัดการอาการ.สงขลา: บริษัทนีโอพ้อยท์(1995); 2563.

(7) Stigler FL, Duvivier RJ, Weggemans M, Salzer HJ. Health professionals for the 21st century: a students’ view. Lancet. 2010;376(9756): 1877 – 8.

(8) รวีวรรณ พงศ์พุฒิพัชร, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา, นพพร ว่องสิริมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 2556;3 1 (1): 52 – 61.

(9) ยุพดี ดู่ป้อง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม:กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2566; 8 (3): 862 – 7.

(10) อุทัย ยะรี และ มัณฑนา สีเขียว. การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2562; 8(1): 222 – 238.

Downloads

Published

2024-03-26

How to Cite

สุโข ก. (2024). การพยาบาลผู้ป่วยไตวายที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังในโรงพยาบาลสกลนคร: กรณีศึกษา 2 ราย : Nursing Care of Kidney Failure Patients Who Require Hemodialysis with Acute Kidney Failure and Chronic Kidney Failure in Sakon Nakhon Hospital: Two Case Studies . วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 2(1), 2165. https://doi.org/10.55674/ajhe.v2i1.2165