ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
FACTORS ASSOCIATED WITH PREVENTIVE BEHAVIORS REGARDING CORONAVIRUS 2019 (COVID-19) AMONG PEOPLE IN SI SONGKHRAM SUBDISTRICT, SI SONGKHRAM DISTRICT, NAKHON PHANOM PROVINCE
DOI:
https://doi.org/10.55674/ajhe.v2i2.2375Keywords:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การรับรู้ด้านสุขภาพAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Survey Research) ระหว่างเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และไคสแควร์
ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.10 อายุน้อยกว่า 30 ปี ร้อยละ 33.20 ครอบครัวไม่มีบุคคลกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ร้อยละ 72.00 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระดับสูง ร้อยละ 53.80 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า ระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคติดเชื้อ COVID-19 (r=0.79) การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 (r=0.65) ระดับความสัมพันธ์ปานกลางการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 (r=0.48) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคติดเชื้อ COVID-19 (r=0.44) การรับรู้สิ่งชักนำ/สิ่งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ (r=0.43) การรับรู้ต่อภาวะคุกคามของโรคติดเชื้อ COVID-19 (r=0.40) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p<0.001)
References
(1) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค.
. เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/file/introduction/introduction01.pdf
(2) Dong, E., Du, H., & Gardner, L.. An interactive web-based dashboard to track COVID-19 in real time. The Lancet Infectious Diseases.
; 20(5): 533-534.
(3) สุรชัย โชคครรชิตไชย. โควิด-19: การระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยปลายปี 2563. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563; 10(3): 1-
(4) บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าว
ทันโลกวิทยาศาสตร์ 2563; 20(1): 1-12.
(5) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19 เอกสารเผยแพร่สำหรับ
ประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย;2563
(6) ระบบรายงานมาตรฐาน (HDC) กระทรวงสาธารณสุข.สถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดนครพนม ปี 2565[อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 1 ม.ค
. เข้าถึงจาก: https://npm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
(7) จันทร์ชนะสอน สำโรงพล, สุไวย์รินทร์ ศรีชัย, ภัทรพล โพนไพรสันต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ในครัวเรือนของกลุ่มวัยทำงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม.
วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2565; 8(4): 157-164.
(8) ประภัสสร เรืองฤๅหาร, วรินทร์มาศ เกษทองมา, ธิพงศ์ ภักดีกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรค
เบาหวาน ในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(2): 254-268.
(9) Wayne W.Daniel.Statistic Biostatistics : basic concepts and methodology for the health sciences. Hoboken, NJ : Wiley, c2010
(10) Best, J.W. Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall.Inc; 1977.
(11) Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods. New York: J. B. Lippincott.
(12) เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, บุญประจักษ์ จันทร์วิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตัวเองและสังคม จากโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 ในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ
; 6(12): 360-375.
(13) จุไรรัตน์ ดาทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปูองกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้สูงอายุ ในเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอ
ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562
(14) ธานี กล่อมใจ และคณะ. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 จากประชาชนในเขต
ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี พะเยา. 2563; 21(2): 9-39.
(15) วิญญ์ทัญญู บุญทัน และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการ ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ.
วารสารพยาบาลตำรวจ. 2563; 12(2): 323-337
(16) Bandura, A. 1997. Self-efficacy: The exercise of control. Page 22. New York: W.H. Freeman.