ความรอบรู้สุขภาพด้านการใช้กัญชาของประชาชน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
Health Literacy of Cannabis Use among People in Phanna Nikhom District Sakon Nakhon Province
DOI:
https://doi.org/10.55674/ajhe.v2i2.3171Keywords:
กัญชา, ความรอบรู้สุขภาพ, ประชาชน, อำเภอพรรณานิคม, จังหวัดสกลนครAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้สุขภาพ ด้านการใช้กัญชาของประชาชน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้สุขภาพด้านการใช้กัญชาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.2 รายด้านพบว่า ด้านความเข้าใจ ร้อยละ 54.7 ด้านการตัดสินใจ ร้อยละ 53.9 ด้านทักษะการสื่อสารข้อมูล ร้อยละ 52.1 ด้านการจัดการตนเอง ร้อยละ 51.1 ด้านการเข้าถึงข้อมูล ร้อยละ 49.4 และด้านการรู้เท่าทันสื่อในการใช้กัญชาของประชาชน 47.4 ข้อเสนอแนะผู้ให้บริการด้านการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญควรให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับการใช้กัญชาอย่างถูกต้องในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การวิจัยในอนาคตควรมีการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการใช้กัญชา
References
(1) กรมราชทัณฑ์. รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2567].
เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/stathomepage/
(2) กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ncmc.moph.go.th/home/index/dash
(3) กระทรวงยุติธรรม. ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ สำนักปราบปรามยาเสพติด
รายงานประจำปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.oncb.go.th/SitePages/narcotics_effect.aspx
(4) United Nations Office on Drugs and Crime. World Drug Report 2022 [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 28 ส.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.unodc.org/res/wdr2022/MS/WDR22_Booklet_2.pdf
(5) ธนเมศวร์ แท่นคำ, บัณฑิต ชุมวรฐายี, ภูชิต ดาบภูเขียว, พนิดา พิทยกิตติวงศ์, ธนพล ศรีวงษ์,
สาธิตา เรืองสิริภคกุล, และคณะ. ประสบการณ์การใช้กัญชาในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง.
วารสารโรคมะเร็ง 2566; 43(2): 53-69.
(6) ธนเมศวร์ แท่นคำ, บัณฑิต ชุมวรฐายี, ภูชิต ดาบภูเขียว, พนิดา พิทยกิตติวงศ์, ธนพล ศรีวงษ์,
สาธิตา เรืองสิริภคกุล, และคณะ. ทัศนคติและความรู้เกี่ยวกับกัญชาในผู้ป่วยมะเร็งระยะ
ประคับประคอง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2566; 15(3): 110-23.
(7) รัชมน กัลป์ยาศิริ. ตัวเลขปี 64 วัยรุ่นไทยใช้กัญชา 1.89 ล้านคน [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://siamrath.co.th/n/327363.
(8) ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. ระบุยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 พ.ศ.2565
[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก:
https://cannabis.fda.moph.go.th/wpcontent/uploads/2022/06/opinion65-5rcpt.pdf
(9) Nutbeam. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine
; 67: 2072-78.
(10) Kris Piroj. สูตร Taro Yamane สำหรับคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://greedisgoods.com/taroyamane/?fbclid.
(11) Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey:
Prentice Hall, Inc; 1977
(12) ลลินา สกุลพาเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการใช้กัญชา
ในทางที่ไม่เหมาะสม ของกลุ่มวัยเรียน ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
; 16(2): 230-43.
(13) พรภัทรา แสนเหลา และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกัญชา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2566; 41(2): e261329.
(14) ภานุชนาถ อ่อนไกล, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. ความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(2): 28-38.
(15) วุฒิชัย ไชยรินคำ, พิมพ์พิสาข์ จอมศรี, มัลลิกา มาตระกูล, สุรินทร์พร ลิขิตเสถียร. ความรอบรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ของวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุ ในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลทหารบก 2565; 23(2): 58-67.
(16) ธานี นามม่วง. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2566; 7(1): 17-32.