ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย D-METHOD มารดาวัยรุ่นที่คลอด ในโรงพยาบาลสกลนคร
Effects of the D-METHOD Discharge Planning Program on Teenage Mothers Delivery at Sakon Nakhon Hospital
DOI:
https://doi.org/10.55674/ajhe.v3i1.3909Keywords:
การวางแผนจำหน่าย,, โปรแกรม D-METHOD, การดูแลหลังคลอด,, มารดาวัยรุ่นAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย D-METHOD ต่อความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารกของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดอายุ 15-19 ปี จำนวน 25 คน ที่คลอดในโรงพยาบาลสกลนครระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ โปรแกรม D-METHOD ซึ่งประกอบด้วย การประเมินความต้องการ (D-Diagnosis) การรักษาทางการแพทย์ (M-Medical Treatment) การให้ความรู้ (E-Education) การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้าน (T-Therapeutic Home Environment) การประสานทีมสุขภาพ (H-Health Care Team) การส่งต่อ (O-Outpatient Referral) และการจัดการด้านยา (D-Drugs) ใช้สื่อการสอน ได้แก่ แผ่นพับ และข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 16 -18 ปี (ร้อยละ 45.0) ประมาณครึ่งหนึ่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 50.0) ส่วนใหญ่สถานภาพโสด (ร้อยละ 88.0) มีรายได้ครอบครัวระหว่าง 5,000-10,000 บาท/เดือน มากที่สุด ส่วนใหญ่ตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 (ร้อยละ 75.0) คลอดโดยผ่านช่องคลอด (ร้อยละ 83.0) หลังการทดลองใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย D-METHOD มารดาวัยรุ่นมีคะแนนเฉลี่ยความรู้การดูแลตนเองและทารกหลังคลอดสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองจาก 12.4 (SD=2.10) เป็น 14.6 (SD=1.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value <0.001) และคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลตนเองและทารกหลังคลอดสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองจาก 10.66 (SD=2.30) เป็น 16.93 (SD=1.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value <0.001)
References
(1) World Health Organization. WHO recommendations on adolescent sexual and reproductive health and rights. Geneva: WHO; 2018.
(2) พูลสวัสดิ์ วงศ์วิชิต. รายงานภาวะแทรกซ้อนในมารดาวัยรุ่น. วารสารสูติ-นรีเวชไทย. 2022; 30(2): 112 – 8.
(3) ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2565.
(4) Anderson J, Doe P, Lee R. Home-based postpartum care: An integrated approach. J Clin Nurs. 2023; 60 (2): 180 – 91.
(5) วันดี สุทธรังสี, สมจิต หนุเจริญกุล, วรรณี เดียวอิศเรศ. ปัญหาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2564; 39 (3): 120 – 30.
(6) Thompson R, Smith K, Jones L. Discharge planning framework for postpartum adolescent mothers. J Nurs Res. 2023; 50 (1): 112 – 9.
(7) สมใจ วงศ์สุวรรณ, มาลี เกื้อนพกุล, รวิวรรณ ศรีสุชาติ. การจัดการสภาพแวดล้อมสำหรับทารกแรกเกิดในครอบครัวไทย. วารสารสุขภาพชุมชน. 2565; 19 (3): 201 – 12.
(8) Johnson K, Brown T. Infant care competency in adolescent mothers: A comparative study. Child Health J. 2023; 40 (2): 175 – 82.
(9) นงลักษณ์ พรรณรังสี, สุภาวดี นพรุจจินดา, อรวมน ศรียุกตศุทธ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2557; 24 (3): 114 – 27.
(10) Martinez A, Chen B. Systematic review on discharge planning and postpartum health outcomes. Int J Nurs Stud. 2023; 61: 345 – 58.
(11) Chen B, Martinez A. Comprehensive education for postpartum self-care: A systematic review. Int J Nurs Stud. 2023; 65: 240 – 55.
(12) วิไล เลิศธรรมเทวี, นภาพร วาณิชย์กุล, สุนันทา ฉันทกาญจน์. ระบบการดูแลมารดาหลังคลอดวัยรุ่น. วารสารการพยาบาล. 2556; 30 (2): 145 – 56.
(13) ธิดารัตน์ วงศ์วิสุทธิ์, วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ, นฤมล ธีระรังสิกุล. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายต่อความสามารถในการดูแลทารกของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2559; 24 (2): 80 – 92.
(14) Bandura, A. (2004). Health promotion by social cognitive means. Health Education & Behavior, 31 (2), 143 – 164.
(15) Smith Battle L. The vulnerabilities of teenage mothers: Challenging prevailing assumptions. Adv Nurs Sci. 2020; 43 (2): E1 - E13.
(16) Orem DE. Self-care theory in nursing: Selected papers of Dorothea Orem. New York: Springer; 1995.