การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาของประชาชน ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

Authors

  • Phoowasit Phoolawan Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Jetnipat Laotaew Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Nutjira Khumtanet Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Attachai Phakongkham Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Natthawat Janthong Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Phatsara Phoarmat Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Intaranee Dasri Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Tanatas Pudpong Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, Khlong Luang District, Pathumthani Province, THAILAND

DOI:

https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i1.616

Keywords:

การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรค, ชิคุนกุนยา, จังหวัดสกลนคร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยาของประชาชน ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 386 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า เป็นเพศหญิงร้อยละ 54.4 อายุเฉลี่ย 41.9 ปี ประชาชนมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยาตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยาโดยรวม อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 70.8 ( gif.latex?\bar{X}=4.6, S.D.=0.4) และพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาโดยรวม อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 52.0 ( gif.latex?\bar{X}=1.34, S.D.=0.28) ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจโดยเฉพาะการรับรู้ถึงอุปสรรคในการป้องกันโรคที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคที่ถูกต้องและเหมาะสม

References

ธัญญรัตน์ เกิดสุวรรณ. โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya หรือ Chikungunya fever) [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 8 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/

กรมควบคุมโรค. โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 28 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://old.ddc.moph.go.th/km/showimgkm.php?=46

กรมควบคุมโรค. ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา (Chikungunya) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/

Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the health belief model. Health education quarterly 1988; 15: 175 – 183.

ฐนิตร์ พรมทัน. รายงานสอบสวนโรคเฉพาะรายโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ตำบล ดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองไผ่. 2563.

Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications; 1973.

อูมมีไอดา ดอเลาะ, อารีนี เซ็ง, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, พัฒนศักดิ์ คำมณีจันทร์, ดลรวี แวเย็ง. การรับรู้ภาวะคุกคามโรคไข้เลือดออกของนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในหอพักมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา 2562; 16(75): 118 – 123.

สมชาย โลกคำลือ. การรับรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชาวบ้านในเขตเทศบาล ตำบลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.

ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ, และจเด็ด ดียิง. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของภาคีเครือข่ายสุขภาพในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2558; 17(1): 84 – 91.

Downloads

Published

2023-01-25

How to Cite

Phoolawan, P., Laotaew, J., Khumtanet , N., Phakongkham, A., Janthong, N., Phoarmat, P., Dasri, I., & Pudpong, T. (2023). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาของประชาชน ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 1(1), 616. https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i1.616