ผลของโปรแกรมป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในชุมชน

Authors

  • Neeranute Wontaisong Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Anuwat Surinrach Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Jiraporn Jumpajan Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Sirilak Wongkureson Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Laddawan Buranet Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Doungkamol Pholwongsa Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Latdawan Khiamkom Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND

DOI:

https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i1.619

Keywords:

โปรแกรมป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, โรคหลอดเลือดสมอง

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองด้านความรู้ พฤติกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และค่าความดันโลหิต กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่าย เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 30 คน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกก่อง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง และการติดตามทางโทรศัพท์ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความรู้ และพฤติกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ด้วยสถิติ paired sample t - test

        ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.3 อายุเฉลี่ย 59 ปี หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าความดันซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) บุคลากรสุขภาพควรนำโปรแกรมป้องกันความเสี่ยงโรคเลือดในสมอง ประยุกต์ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน

References

สมศักดิ์ เทียมเก่า. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาประเทศไทย. 2021; 37(4): 54-60.

Yuan W., Wu B., Lou M., Han X., Sheng F., and Xu W. Identification of Risk Factors for Stroke in China: A Meta-Analysis of Prospective Cohort Studies. Front. Neurol 2022; 13: 1 – 10.

American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Heart disease and stroke statistics-2015 update: A report from the American Heart Association. Circulation 2015; 131(4): e29 - e322.

สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562. น. 1 – 2.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. [กรุงเทพฯ]: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน; 2564. น. 5 – 7.

Pender NJ. Health Promotion Model Manual [Internet]. 2011 [cited 2022 Nov 16]. Available from: https://deepblue.lib.umich.edu/bitstream/handle/2027.42/85350/HEALTH_PROMOTION_MANUAL_Rev_5-2011.pdf

วรวุฒิ พัฒนโภครัตนา. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์. 2558; 29(1): 146 – 148.

ขจรพรรณ คงวิวัฒน์, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุลม, และมุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจังหวัดกาญจนบุร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(3):1 31 – 132.

กนิษฐ์ โง้วศิริ, กันยา นภาพงษ์. ผลของการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนประยุกต์ต่อการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2559; 22(1): 176 – 183.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคหลอดเลือดสมองปี พ.ศ. 2559 - 2561 จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสุขภาพและภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกก่อง. สถิติผู้ป่วยประจำปี 2566. สกลนคร.

อภิฤดี พาผล, นิติกุล บุญแก้ว. การเปรียบเทียบเครื่องมือประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหลอด เลือดสมอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2561; 12(3): 62 – 70.

Abramson JH. WINPEPI updated: computer programs for epidemiologists, and their teaching potential. Epidemiol Perspect Innov. 2011; 8: 1 – 9.

เสกสรร ไข่เจริญ, มยุรี พิทักษ์ศิลป์, วัลลภ ใจดี, สมจิต พฤกษะริตานนท์. ผลของการฝึกผ่อนลมหายใจออกช้าโดยการเป่า กังหันลมต่อความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. บูรพาเวชสาร. 2560; 4(1): 9 – 13.

ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561; 38(2): 132 – 141.

รุ่งรัตน์ นิลธแสน. ไนตริกออกไซด์กับโรคหลอดเลือดตีบแข็ง. วารสารวิทยาศาสต์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2559; 2(1): 71 – 79.

Downloads

Published

2022-12-29

How to Cite

Wontaisong, N., Surinrach, A., Jumpajan, J., Wongkureson, S., Buranet, L., Pholwongsa, D., & Khiamkom, L. (2022). ผลของโปรแกรมป้องกันความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 1(1), 619. https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i1.619