การประเมินสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

Authors

  • Jarinthip Chomchaipon Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Phoowasit Phoolawan Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Numporn Insin Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Kanjana Vongsawat Sakon Nakhon university Mueang District, Sakon Nakhon Province, THAILAND
  • Prayook Detsuttikorn Burapha University Bangsan District, Chonburi Province, THAILAND
  • Dhammawat Ouppawongsapat Burapha University Bangsan District, Chonburi Province, THAILAND

DOI:

https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i1.638

Keywords:

สภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย , ความต้องการ , การประเมิน , ผู้สูงอายุ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย   และศึกษาความต้องการสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุจำนวน 393 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินและแบบสัมภาษณ์ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีลักษณะบ้านสองชั้นและบ้านมีใต้ถุนส่วนใหญ่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.2 สภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีลักษณะบ้านชั้นเดียวส่วนใหญ่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี ร้อยละ 43.1 ความต้องการสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยพบว่าผู้สูงอายุมีความต้องการปรับสภาพแวดล้อมในด้านความปลอดภัยทางด้านกายภาพมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}= 4.31, S.D. = 0.74) โดยต้องการแสงสว่างเพียงพอในทางเข้าบ้าน และรอบบริเวณบ้านมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X} = 4.45, S.D. = 0.70)

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ปี 61 ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th

พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสม ป้องกันผู้สูงวัยหกล้ม [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 26 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org

Lan, T. Y., Wu, S.C., Chang, W.C. and Chen, C.Y. Home Environmental Problems and Physical Function in Taiwanese Older Adults. Archives of Gerontology and Geriatrics 2009; 16(49): 335 – 338.

Julie, T.L. and Joseph, M.L. Fall in elderly population. Physical Medicine Rehabilitation Clinics of North America 2004; 16: 109 – 128.

Erik, R. L., Leif, M. and Anders, F. Correlates of falling during 24h among elderly Danish community Residents. Preventive Medicine 2004; 39: 389 – 398.

Baraff, L.J., Schriger, D.L., and Bass, J.W. Commentary on practice guidelines. Pediatrics 1997; 100 – 134.

Borst, H. C., Miedema, H.M.E., de Vries, S.I., Graham, J.M.A. and van Dongen, J.E.F.

Relationships between street char activeness for walking reported by elderly people. Journal of Environmental Psychology 2008; 28: 353 – 361.

สำนักงานจังหวัดสกลนครกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. “แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี (2561-2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.harvardasia.co.th

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร. สถิติจำนวนประชากรจังหวัดสกลนคร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 26 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://sakonnk.nso.go.th

Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications; 1973.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ. คู่มือโครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย ปีงบประมาณ 2559. 2559. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ.

สำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 26 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http//www.env.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/./Evaluation_form_AC.pdf

Bloom, B. Learning for Mastery [Internet]. 1968 [Cite 2018 Sept 10]. Available from: http://www.digital_collect.lib.buu.ac.th

บุษกร รมยานนท์. ลักษณะบ้านเดี่ยวและแนวทางการปรับเปลี่ยนตามแนวคิดบ้านปรับเปลี่ยนได้ง่ายยามสูงวัย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง. 2555; 9(2): 123 – 137.

จิระภา ศรีคำและคณะ. การศึกษาความต้องการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: องค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองขอนและองค์การบริหารส่วนตำบลค้อน้อยจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2558; 5(2): 117.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์. คู่มือการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ; 2552.

สำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.

จิระภา ศรีคำ. สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในอยู่อยู่อาศัยแบบแฟลต เคหะชุมชน1 และ2 กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเคหการ]. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมโนประชากรและเคหะ ปี 2543 [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 20 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http//statsd.nso.go.th

อุสาสันต์ กอธวัช. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความปลอดภัยและสะดวกสบายในการอยู่อาศัย ของผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2561; 32(1): 77 – 96.

วรวรรณ นิตบงกช. ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตคลองเตย. [วิทยานิพน์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเคหการ บัณฑิตวิทยาลัย]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2

Downloads

Published

2022-12-29

How to Cite

Chomchaipon, J., Phoolawan, P., Insin, N., Vongsawat, K., Detsuttikorn, P., & Ouppawongsapat, D. (2022). การประเมินสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 1(1), 638. https://doi.org/10.55674/ajhe.v1i1.638