https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHE/issue/feed
วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2024-03-12T12:43:48+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม
sasiwan@snru.ac.th
Open Journal Systems
<p class="p1"><strong>วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม <br />Academic Journal of Health and Environment <br /></strong>ISSN : 2985-0738 (Online)<br />Journal Abbreviation : Acad. J. Health Environ.<br /><strong><br /></strong><strong>Focus and Scope <br /></strong>เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Paper) และบทความวิชาการ (Academic Paper) ที่มีคุณภาพของคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบริหารสาธารณสุข โภชนาการและอาหาร การพยาบาล การสาธารณสุข อนามัยสิ่งแวดล้อม สุขภาพครอบครัว สุขภาพชุมชน ระบาดวิทยา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสุขาภิบาล การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการและการควบคุมมลพิษ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม <br /><br /></p> <p class="p2"><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong>ผู้ประเมินจำนวน 3 ท่าน ต่อหนึ่งบทความ รูปแบบการพิจารณาบทความ เป็นแบบ “Double blind” </p> <p class="p1"><strong>กำหนดออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ<br /></strong>ฉบับที่ 1 เดือน<span class="s1">มกราคม – มิถุนายน<br /></span>ฉบับที่ 2 เดือน<span class="s1">กรกฎาคม – ธันวาคม</span><span class="s1"><br /><br /><strong>Publication fee: </strong>NO Article Submission Charges & NO Article Processing Charges (APC)<br /><strong>Free access:</strong> Immediate<br /></span></p>
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHE/article/view/2102
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หอผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม: กรณีศึกษา 2 ราย
2024-03-04T09:05:27+07:00
ศศิธร ราชกรม
tukysasy@gmail.com
<p>โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อสมองถูกทำลายโดยเฉียบพลันเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง จากมีการตีบตันหรือแตก ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ระหว่างเดือน กันยายน พ.ศ. 2565 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยศึกษาจากข้อมูลทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วย เปรียบเทียบกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ในประเด็น ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พยาธิสภาพอาการและอาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา การวินิจฉัย การเข้าถึงบริการ ประวัติการเจ็บป่วย การใช้กระบวนการพยาบาล การวางแผนการจำหน่าย และการดูแลต่อเนื่อง</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 2 ราย กระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ประเมิน ขั้นตอนที่ 2 วินิจฉัยทางการพยาบาล ขั้นตอน ที่ 3 วางแผนการพยาบาล ขั้นตอนที่ 4 ปฏิบัติการพยาบาล และขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล มีความแตกต่างกัน ทั้งในระยะวิกฤติ และระยะฟื้นฟู</p>
2024-06-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHE/article/view/2141
การพยาบาลมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลศรีสงคราม: กรณีศึกษา 2 ราย
2024-01-24T10:04:18+07:00
ศศิธร พรหมประกาย
thing2517@gmail.com
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 2 ราย ที่รับไว้รักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลศรีสงคราม ให้พ้นภาวะวิกฤติ ลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนและปัญหาการส่งต่อทารกแรกเกิด เลือกหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ามารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงกันยายน พ.ศ. 2566 จำนวน 2 ราย</p> <p> ผลการศึกษา กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทย อายุ 30 ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 คลอดก่อนกำหนด 1 ครั้ง บุตรมีชีวิต 1 คน อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ และมีถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนเจ็บครรภ์ ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนด คลอดปกติ ทารกเพศชาย น้ำหนัก 3,020 กรัม คะแนนประเมินสภาวะทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย 5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด 9-10-10 คะแนน ย้ายตึกหลังคลอดพร้อมมารดา ไม่มีภาวะแทรกซ้อน รับการรักษา 3 วัน รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 32 ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 แท้ง 1 ครั้ง อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ชนิดที่ 2 ส่วนนำของทารกเป็นก้น ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เตรียมคลอดท่าก้นทางช่องคลอดและเตรียมส่งต่อหลังคลอด ทารกเพศชาย น้ำหนัก 1,360 กรัม คะแนนประเมินสภาวะทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย 5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด 6-7-8 คะแนน ทารกมีภาวะหายใจลำบากใส่ท่อช่วยหายใจและส่งต่อโรงพยาบาลนครพนม ถอดท่อช่วยหายใจ 1 วัน หลังส่งต่อ และดูแลจนน้ำหนัก 2,000 กรัม จึงจำหน่ายกลับบ้านและตรวจติดตามที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน</p> <p> </p>
2024-03-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHE/article/view/2165
การพยาบาลผู้ป่วยไตวายที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังในโรงพยาบาลสกลนคร: กรณีศึกษา 2 ราย
2024-02-20T09:04:56+07:00
กิตินันท์ สุโข
sukho2010namol@hotmail.com
<p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยไตวายที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรังในโรงพยาบาลสกลนคร โดยการคัดเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มตามกรอบของกระบวนการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลวางแผนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันไม่เคยรับการวินิจฉัยโรคไตวายมาก่อน มาโรงพยาบาลด้วยอาการฉุกเฉินได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ รักษาจนอาการดีขึ้นจึงเข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ได้รับการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรัง แต่ปฏิเสธการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจนมีอาการเหนื่อยมาก รับประทานอาหารไม่ได้จึงเข้ารับการรักษา กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวาย ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม คือ การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน การกำหนดความต้องการการดูแลตนเอง การวิเคราะห์ความสามารถ และข้อจำกัดในการดูแลตนเองของผู้ป่วย เป็นการให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สามารถจัดการดูแลสุขภาพ ตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้ง 2 ราย ผู้ป่วยมีปัญหาการเจ็บป่วยเหมือนกัน คือ วิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การดูแลตนเองไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมการรับประทานอาหารที่มีผลต่อการฟอกเลือด</p>
2024-03-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม