วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHE <p class="p1"><strong>วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม <br />Academic Journal of Health and Environment <br /></strong>ISSN : 2985-0738 (Online)<br />Journal Abbreviation : Acad. J. Health Environ.<br /><strong><br /></strong><strong>Focus and Scope <br /></strong>เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Paper) และบทความวิชาการ (Academic Paper) ที่มีคุณภาพของคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบริหารสาธารณสุข โภชนาการและอาหาร การพยาบาล การสาธารณสุข อนามัยสิ่งแวดล้อม สุขภาพครอบครัว สุขภาพชุมชน ระบาดวิทยา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสุขาภิบาล การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการและการควบคุมมลพิษ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม <br /><br /></p> <p class="p2"><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong>ผู้ประเมินจำนวน 3 ท่าน ต่อหนึ่งบทความ รูปแบบการพิจารณาบทความ เป็นแบบ “Double blind” </p> <p class="p1"><strong>กำหนดออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ<br /></strong>ฉบับที่ 1 เดือน<span class="s1">มกราคม – มิถุนายน<br /></span>ฉบับที่ 2 เดือน<span class="s1">กรกฎาคม – ธันวาคม</span><span class="s1"><br /><br /><strong>Publication fee: </strong>NO Article Submission Charges &amp; NO Article Processing Charges (APC)<br /><strong>Free access:</strong> Immediate<br /></span></p> Sakon Nakhon Rajabhat University en-US วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2985-0738 The Efficacy of Dexamethasone in Reducing Postoperative Shivering after Caesarean Section Under Spinal Anesthesia: A Randomized Controlled Trial https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHE/article/view/3563 <p>This randomized, triple-blind controlled trial aimed to evaluate the efficacy of prophylactic dexamethasone 0.15 mg/kg in preventing postoperative shivering in 186-term pregnant women scheduled for cesarean section under spinal anesthesia. Participants were computer-randomized with concealed allocation. The treatment group received dexamethasone 0.15 mg/kg diluted to 10 ml while the control group received normal saline 10 ml, both administered by blinded anesthesia nurses. Data were analyzed using repeated measures ANOVA for temperature changes and Fisher's exact test for shivering incidence.</p> <p> The results showed that dexamethasone significantly reduced the incidence of postoperative shivering (12.90% vs 27.96%, p = 0.010), with a relative risk reduction of 53.85% and the number needed to treat 7. The dexamethasone group maintained significantly higher core temperatures (mean difference 0.376°C, p &lt; 0.001) and required less rescue pethidine (3.23% vs 16.13%, p = 0.005). Both groups showed similarly low rates of postoperative nausea and vomiting (1.08% vs 2.15%, p = 0.50), and no surgical site infections were observed during the follow-up period. These findings suggest that prophylactic dexamethasone 0.15 mg/kg effectively reduces postoperative shivering in cesarean section under spinal anesthesia with a favorable safety profile. This intervention could be considered for incorporation into routine care protocols for eligible patients.</p> Ariyachart Kalawa Sasiprapa Wongseeda Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2025-02-19 2025-02-19 3 1 3563 3563 10.55674/ajhe.v3i1.3563 การพัฒนาสื่อทางโทรศัพท์ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลสกลนคร https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHE/article/view/3907 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง (One-group pretest-posttest design) วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาการพัฒนาและประสิทธิผลของการใช้สื่อโทรศัพท์ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลสกลนคร โดยวัดผลจากการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงประเมินความพึงพอใจต่อสื่อที่ใช้ในการศึกษา สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลสกลนคร &nbsp;โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้สื่อผ่านทางโทรศัพท์ &nbsp;เพื่อให้ความรู้และติดตามพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired Sample t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการใช้สื่อโทรศัพท์ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) จาก 4.63 คะแนน (SD = 1.52) เป็น 9.50 คะแนน (SD = 0.68) ในด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) โดยคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 3.52 คะแนน (SD = 0.78) เป็น 4.66 คะแนน (SD = 0.49) ด้านความพึงพอใจต่อสื่อที่ใช้ในการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับสูงมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.83 คะแนน (SD = 0.37) จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า การใช้สื่อโทรศัพท์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลสกลนครมีประสิทธิผลในการเพิ่มพูนความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่าง โดยได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้ในระดับสูง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะสมของสื่อในการนำไปใช้เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในบริบทของโรงพยาบาลสกลนคร</p> ลักษคณา เจริญราษฎร์ ศศิธร ภักดีโชติ อติกานต์ กรพันธ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2025-03-03 2025-03-03 3 1 3907 3907 10.55674/ajhe.v3i1.3907 ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย D-METHOD มารดาวัยรุ่นที่คลอด ในโรงพยาบาลสกลนคร https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHE/article/view/3909 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย D-METHOD ต่อความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารกของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดอายุ 15-19 ปี จำนวน 25 คน ที่คลอดในโรงพยาบาลสกลนครระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ โปรแกรม D-METHOD ซึ่งประกอบด้วย การประเมินความต้องการ (D-Diagnosis) การรักษาทางการแพทย์ (M-Medical Treatment) การให้ความรู้ (E-Education) การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้าน (T-Therapeutic Home Environment) การประสานทีมสุขภาพ (H-Health Care Team) การส่งต่อ (O-Outpatient Referral) และการจัดการด้านยา (D-Drugs) ใช้สื่อการสอน ได้แก่ แผ่นพับ และข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 16 -18 ปี (ร้อยละ 45.0) ประมาณครึ่งหนึ่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 50.0) ส่วนใหญ่สถานภาพโสด (ร้อยละ 88.0) มีรายได้ครอบครัวระหว่าง 5,000-10,000 บาท/เดือน มากที่สุด ส่วนใหญ่ตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 (ร้อยละ 75.0) คลอดโดยผ่านช่องคลอด (ร้อยละ 83.0) หลังการทดลองใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย D-METHOD มารดาวัยรุ่นมีคะแนนเฉลี่ยความรู้การดูแลตนเองและทารกหลังคลอดสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองจาก 12.4 (SD=2.10) เป็น 14.6 (SD=1.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value &lt;0.001) และคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลตนเองและทารกหลังคลอดสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองจาก 10.66 (SD=2.30) เป็น 16.93 (SD=1.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value &lt;0.001)</p> กีรตา ร้อยพิลา ณัฐสินี นิ่มมุกดา สุกัญญา กินนะรีแซ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2025-03-06 2025-03-06 3 1 3909 3909 10.55674/ajhe.v3i1.3909