https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/issue/feed
วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข
2025-04-13T04:27:24+07:00
บุญเรือง ขาวนวล
woranuch2419@hotmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข มีนโยบายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Paper) และบทความวิชาการ (Academic Paper) ด้านการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ แพทย์ พยาบาล นักสาธารณสุขทุกสาขา และผู้สนใจในด้านระบบบริการสุขภาพ</p>
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4039
ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลและ การควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในโรงพยาบาลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
2025-03-01T07:07:46+07:00
ขวัญชนก แสงแก้ว
trinnawat2565@gmail.com
สาวิตรี ศรีโฉม
trinnawat2565@gmail.com
วิลาสินีพร โคตวัตร์
trinnawat2565@gmail.com
อุทิศ นันทะมาตย์
trinnawat2565@gmail.com
ประเสริฐ ประสมรักษ์
trinnawat2565@gmail.com
<p>การการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 40 คน ที่มารับบริการ ณ คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลชานุมาน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample t-test</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี ภายหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเท่ากับ 3.9 (S.D. = 0.13) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.7 (S.D. = 0.43) โดยสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.001 ค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ มีค่าลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.001 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการจัดการตนเองไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังหรือที่มีลักษณะคล้ายกัน</p>
2025-01-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4041
ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2025-03-02T08:43:09+07:00
ปริศนา ส้มเกตุ
trinnawat2565@gmail.com
<p>การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบภาวะสุขภาพจิตกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-85 ปี ทั้ง เพศชายและเพศหญิง มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตความรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนส้าน จำนวน 196 คน โดยใช้ตารางขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (F) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) การวิเคราะห์สถิติอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน คือ การเปรียบเทียบใช้สถิติ One-Way ANOVA การเปรียบเทียบคะแนนประเมิน ความเครียดของผู้สูงอายุระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และการเปรียบเทียบกับคะแนนแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ปัจจัยส่วนบุคคลและหาค่า ความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ระดับความเครียดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาโดยภาพรวม ของผู้สูงอายุตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับเครียดน้อย ร้อยละ 57.41 รองลงมาคือมีความเครียดอยู่ในระดับเครียดปานกลาง ร้อยละ 42.59 ระดับภาวะซึมเศร้าใน <br>1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ของผู้สูงอายุตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เริ่มมีภาวะซึมเศร้า ควรได้รับคำแนะนำเบื้องต้น ร้อยละ 83.80 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความเครียดของผู้สูงอายุ พบว่า เพศ รายได้ รายได้เทียบกับรายจ่ายต่อเดือน โรคประจำตัวอื่น ๆ การพักอาศัย และการเข้ากลุ่มพบปะสมาคมกับเพื่อนบ้าน มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ พบว่า รายได้ โรคประจำตัวอื่น ๆ และการเข้ากลุ่มพบปะสมาคมกับเพื่อนบ้าน มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05</p>
2025-02-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4071
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระนอง
2025-03-11T09:49:46+07:00
โศรดา อินทรศิริ
trinnawat2565@gmail.com
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระนองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระนอง เริ่มดำเนินการตั้งแต่พฤศจิกายน2567 ถึงมกราคม 2568 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระนองที่สุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจความตรงและความเชื่อมั่นแล้ว นำไปเก็บข้อมูลจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคว์สแควร์</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระนองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.96, S.D.=.89) โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดในด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (Mean=4.03, S.D.=.92) และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุดในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Mean=3.88, S.D.=.88) ปัจจัยด้านสิทธิการรักษาและการได้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคที่เป็นและวิธีการรักษามีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05) ส่วน เพศ อายุ ระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการ </p>
2025-02-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4077
ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
2025-03-14T11:08:20+07:00
สุชาดา จักรช่วย
trinnawat2565@gmail.com
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุอายุ 60-85 ปี ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และมีภูมิลำเนาอยู่ในตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 112 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และ 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูง (ร้อยละ 74.11) เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่าทักษะการเข้าถึงข้อมูลบริการสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 50.89) และความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมีความสัมพันธ์กับทักษะการสื่อสารสุขภาพและทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.042 และ 0.014 ตามลำดับ) นอกจากนี้ การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะทักษะการสื่อสารและการประเมินข้อมูลสุขภาพ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน</p>
2025-02-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4078
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของกลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
2025-03-14T11:22:25+07:00
ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ
trinnawat2565@gmail.com
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบดังกล่าว ดำเนินการระหว่างธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การประเมินสถานการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบจำนวน 3 รอบ และ 3) การประเมินผล ผู้ร่วมศึกษาประกอบด้วยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พยาบาลวิชาชีพ และทีมสหวิชาชีพ รวม 25 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอีก 163 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินเบื้องต้น 2) การรักษาด้วยยา 3) การให้ความรู้และการสนับสนุน 4) การป้องกันภาวะแทรกซ้อน 5) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต และ 6) การติดตามผล ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.547, p=0.003) มีทัศนคติดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.124, p=0.004) และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-5.128, p=0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.36, p=0.002 และ t=9.23, p=0.001 ตามลำดับ) โดยผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลในระดับสูง (ร้อยละ 90.80) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในบริบทอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้</p>
2025-03-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4126
ผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
2025-03-27T06:49:40+07:00
ชารินทร์ สีสุข
trinnawat2565@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง และ 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมทั้งก่อนและหลังการทดลอง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดผล 2 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุอายุ 60-70 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมที่ประยุกต์จากแนวคิดของ Hudson และคณะ จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที รวม 4 สัปดาห์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินความวิตกกังวล STAI Form Y-1 และแบบสอบถามปัญหาสุขภาพเพื่อตรวจวัดโรคซึมเศร้า (HRSR Scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา, independent t-test, dependent t-test และ MANOV</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลลดลงจาก 46.73 เป็น 37.26 คะแนน (ลดลงร้อยละ 20.3)และคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าลดลงจาก 27.46 เป็น 23.80 คะแนน (ลดลงร้อยละ 13.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าหลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) โดยมีขนาดอิทธิพล (Effect Size) ในระดับสูง (Partial η² > .14) 3) กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
2025-02-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4148
ผลของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์
2025-03-31T07:35:00+07:00
จีรนุช โสทัน
trinnawat2565@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้สูงอายุในด้านความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังผลลัพธ์ กิจกรรมทางกาย และสมรรถภาพทางกาย การวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ 60-69 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผักขวง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 25 คน เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย (1) แผนกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถตนเองของ Bandura ดำเนินการ 8 สัปดาห์ (2) แบบสอบถามความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังผลลัพธ์ กิจกรรมทางกาย และ (3) แบบประเมินสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Dependent t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย (p=0.003) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (p=0.006) และความคาดหวังต่อผลลัพธ์ (p=0.002) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านกิจกรรมทางกายพบการเพิ่มขึ้นของการเดินหรือขี่จักรยาน (p=0.004) กิจกรรมนันทนาการทั้งความหนักค่อนข้างมาก (p=0.001) และความหนักปานกลาง (p=0.002) ขณะที่พฤติกรรมการนั่งลดลง (p=0.022) ด้านสมรรถภาพทางกายพบการพัฒนาสมรรถนะระบบหายใจและหลอดเลือด (p=0.002) ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ (p<0.001) และการทรงตัวและความว่องไว (p<0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะเห็นได้ว่า การส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองมีประสิทธิผลในการพัฒนาความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง กิจกรรมทางกาย และสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม โดยการบูรณาการทั้งการให้ความรู้ การสร้างประสบการณ์ความสำเร็จ การใช้ตัวแบบ และการชักจูงทางวาจา ร่วมกับการฝึกปฏิบัติตามหลักการ FITT และการฝึกประสาทสัมผัส</p>
2025-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4209
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. หมอประจำครอบครัว อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
2025-04-10T07:56:08+07:00
จินตนา เลื่อนลอย
trinnawat2565@gmail.com
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. หมอประจำบ้าน ในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. หมอประจำบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 124 คน ซึ่งเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ปฏิบัติงานในตำบลฉลอง อำเภอสิชล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และใช้สถิติ Chi-Square ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของ อสม. อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.90) โดยแยกเป็นทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (ร้อยละ 69.40) ทักษะการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ (ร้อยละ 70.20) ทักษะการประเมินข้อมูลสุขภาพ (ร้อยละ 69.40) และทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ (ร้อยละ 72.60) ส่วนความรู้ด้านสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 87.10) รองลงมาคือระดับปานกลาง (ร้อยละ 12.90) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ระยะเวลาการเป็น อสม. มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.042) และความรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ขณะที่เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ และจำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ</p>
2025-04-08T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4226
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสะสมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
2025-04-13T03:55:21+07:00
วันเพ็ญ บุญรัตน์
Krittrin2024@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และวิเคราะห์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 171 คน ที่สุ่มเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 74.85) มีอายุเฉลี่ย 47.41 ปี ระดับ HbA1C เฉลี่ยอยู่ที่ 6.41 โดยร้อยละ 69.59 ของกลุ่มตัวอย่างสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี สำหรับระดับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเบาหวานในระดับปานกลาง สิ่งชักนำให้ปฏิบัติอยู่ในระดับสูง และการรับรู้อุปสรรคส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงเช่นกัน ผลการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปรแสดงให้เห็นว่า การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานในระดับสูง (Adjusted OR = 2.71, p < 0.001) และสิ่งชักนำให้ปฏิบัติในระดับสูง (Adjusted OR = 2.22, p < 0.001) มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่การรับรู้อุปสรรคและโอกาสเสี่ยงไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเสริมสร้างการรับรู้ความรุนแรงของโรค และการส่งเสริมแรงสนับสนุนจากครอบครัวและบุคลากรสุขภาพ มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน จึงควรนำไปพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่อง</p>
2025-04-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/4228
ประสิทธิผลของสื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบตามแนวคิดแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยทำงาน
2025-04-13T04:27:24+07:00
สุเมธ จริงจิตร
Krittrin2024@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของกลุ่มวัยทำงานก่อนและหลังการใช้สื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบ 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ตามองค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพก่อนและหลังการใช้สื่อ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกก่อนและหลังการใช้สื่อ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ตามองค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนวัยทำงาน อายุ 20-59 ปี ในตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 60 คน เลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบตามแนวคิดแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบทดสอบความรู้ 4) แบบสอบถามการรับรู้ตามองค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพ และ 5) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีแบบจับคู่ และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้สื่ออินโฟกราฟิกแบบโต้ตอบ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 8.92 เป็น 13.05 คะแนน (p < 0.001) การรับรู้ตามองค์ประกอบของแบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (3.33) เป็นระดับสูง (3.94) ในทุกองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการรับรู้โอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากที่สุด (1.23) และการรับรู้อุปสรรคลดลง (0.79) พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (2.40) เป็นระดับสูง (3.28) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพฤติกรรมการป้องกันยุงกัดเพิ่มขึ้นมากที่สุด (0.93) นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรค (r = 0.665, p < 0.01) โดยการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์สูงสุด (r = 0.712, p < 0.01)</p>
2025-04-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025