วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD <p>วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข มีนโยบายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Paper) และบทความวิชาการ (Academic Paper) ด้านการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ แพทย์ พยาบาล นักสาธารณสุขทุกสาขา และผู้สนใจในด้านระบบบริการสุขภาพ</p> สมาคมเครือข่ายหมออนามัยวิชาการ th-TH วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดกระบี่ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2729 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพจังหวัดกระบี่ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพจังหวัดกระบี่ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Study) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ด้านส่งเสริมสุขภาพในหน่วยงานสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดกระบี่</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดกระบี่ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรที่ใช้ในการพยากรณ์ มีนัยสำคัญทางสถิติปัจจัยที่ระดับ 0.01 และปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้ตัวชี้วัดด้านส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดกระบี่ ในภาพรวมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เพื่อรักษาขวัญและกำลังใจของบุคลากรในระยะยาว หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการเสริมแรงจูงใจด้านผลตอบแทนและสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น ส่งเสริมสุขภาพจิตของบุคลากรควบคู่ไปกับการส่งเสริมสุขภาพกาย ผ่านการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย สร้างบรรยากาศการทำงานที่เกื้อหนุนต่อสุขภาพจิตที่ดี รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมงานอย่างต่อเนื่อง</p> อนงนิตย์ บัวแก้ว Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-05 2024-06-05 2 2 1 14 การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจ กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2860 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และประเมินประสิทธิผลของแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในผู้ป่วยนอก การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ 25 คน ผู้ป่วยและญาติ 170 คน และผู้เชี่ยวชาญ 4 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน แบบบันทึกการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกอุบัติการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนก่อนและหลังการพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในผู้ป่วยนอก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การใช้แนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในผู้ป่วยนอก: EWS-ABCDE Integrated Surveillance Model เพิ่มอัตราการตรวจพบอาการทรุดลงจากร้อยละ 15.00 เป็นร้อยละ 28.00 (χ<sup>2</sup> = 10.02, p&lt;0.001) ลดระยะเวลาในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอาการจาก 22.5 นาทีเป็น 12.8 นาที และลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินลงร้อยละ 60 บุคลากรมีความพึงพอใจต่อแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในระดับมากถึงมากที่สุด (M=4.48, S.D.=0.63) ซึ่งแนวทาง EWS-ABCDE Integrated Surveillance Model มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยนอก จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน และควรมีการศึกษาผลลัพธ์ในระยะยาวต่อไป</p> สุพรรณิการ์ บุญพสิษฐ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 2 2 79 93 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคร่วมที่บ้าน : กรณีศึกษา 2 ราย โรงพยาบาลระนอง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2730 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคร่วมที่บ้าน 2 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติทีกำหนดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลระนอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลเยี่ยมบ้านตามแนวทาง IN HOME SSS รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีผลต่อการเกิดโรค แบบแผนสุขภาพพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล กรณีศึกษา : เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย รายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 72 ปี อาการสำคัญ แขนขาด้านซ้ายอ่อนแรงมือหยิบจับของไม่ได้ ลิ้นชา เดินไม่ได้ เป็นมา 1วัน&nbsp; ได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic stroke รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 83 ปี อาการสำคัญ 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล ขณะนั่งผ่าหมาก ตัวเริ่มเอียงด้านซ้าย&nbsp; พูดไม่ชัด ลิ้นคับปาก น้ำลายไหลจากปากด้านซ้าย&nbsp; ได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic stroke</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้ พบว่า การดูแลต่อเนื่องในชุมชนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น เป็นหัวใจสำคัญของพยาบาล การให้ความรู้แก่ญาติ การประเมินอาการผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย และมีการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้</p> ศิโรรัตน์ โชติกสถิตย์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-09 2024-06-09 2 2 15 28 การดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุคลินิกหอบหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2850 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เรื่องการดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุคลินิกหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ เพื่อศึกษาการดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยา ทั้งชนิดยารับประทานและยาสูดพ่นขยายหลอดลมในผู้สูงอายุโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และศึกษาถึงปัญหาในการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย การแก้ไขปัญหาที่ผู้ป่วยได้รับ วิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกประวัติการให้คำปรึกษาด้านยาประจำตัวของผู้ใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล การปฏิบัติการดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยา สภาพสรีระที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา การช่วยเหลือของครอบครัว และการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่สุขภาพของผู้สูงอายุโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยวิธีแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหาในส่วนของคำตอบที่ ได้จากข้อคำถามปลายเปิด และสรุปเนื้อหาเชิงบรรยาย (content analysis) โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับบริการที่หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเหนือคลอง ในระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2567 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง (purposive sampling) ได้จำนวน 69 ราย ใช้เวลาในการดำเนินการ 6&nbsp; เดือน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดได้ปฏิบัติตามคำแนะนำถึงวิธีการใช้ยาพ่นที่ถูกต้อง ร้อยละ 86.9 การดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ขนาดของยาสูดพ่นในการรักษาโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบ Meter Dose Inhaler (MDI ) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการปฏิบัติการดูแลตนเองที่ถูกต้อง ร้อยละ 65.2 การดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ขนาดของยาสูดพ่นในการรักษาโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบ Accuhaler มีการปฏิบัติการดูแลตนเองที่ถูกต้อง ร้อยละ 89.8 แบบบันทึกประวัติการให้คำปรึกษาด้านยาประจำตัวของผู้ใช้ยา กลุ่มตัวอย่างได้รับคำแนะนำจากพยาบาล/แพทย์/เภสัชกร และความสามารถ ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สุขภาพ ได้เกือบหมดทุกขั้นตอน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป เจ้าหน้าที่สุขภาพควรให้ความสำคัญในการแนะนำ/การสอนสาธิต และการประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการส่งเสริมการดูแลตนเองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด</p> วิมลัก ธารางกูร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 2 2 29 40 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2851 <p>การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงภาคตัดขวาง (Cross- sectional study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัว ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองดี อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน&nbsp; ที่ขึ้นทะเบียนการรับบริการคลินิกหมอครอบครัวที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี จำนวน 182 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลปัจจัยร่วม และ 3) คุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัวของผู้รับบริการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1) วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลปัจจัยร่วมของผู้รับบริการที่มารับบริการ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Linear Regression</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปผู้รับบริการคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.33 เป็นกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 65.93 (Rang 41-100 Mean = 65.63&nbsp; S.D. 11.59) สถานภาพภาพสมรส หม้าย ร้อยละ 53.85 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 88.46 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 42.86 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน ร้อยละ 66.49 สิทธิหลักประกันสุขภาพ ร้อยละ 92.86 มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 99.45 มารับบริการ 1-5 ครั้งต่อปี ร้อยละ 45.60 เหตุจูงใจในการมารับบริการ เพราะระยะทางใกล้บ้าน ร้อยละ 88.46 ส่วนใหญ่ตรวจรักษาทั่วไป (มาพบตามอาการ) ร้อยละ 65.93 ช่องการได้รับข้อมูลข่าวสาร เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน ร้อยละ 61.54 ระดับความคาดหวังของผู้รับบริการที่มาใช้บริการ มีความคาดหวังระดับมากที่สุด ระดับคุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัวของผู้รับบริการมีคุณภาพบริการระดับมากที่สุดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองดี อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 74.2 (R<sup>2</sup>=0.742) โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักในการพยากรณ์สูงสุดคือ ความคาดหวังด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการตรวจรักษา (Reliability)และความคาดหวังด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในผู้รับบริการ (Empathy)</p> ทศา รัตนพันธุ์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 2 2 41 55 การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2852 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาผลของแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ในโรงพยาบาลเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Wilcoxon signed rank test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) ระดับความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำลดลง แม้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยเสี่ยงทางกายภาพ เช่น ขนาดรอบเอว ดัชนีมวลกาย ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดมีแนวโน้มดีขึ้น แนวทางการดูแลที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการเพิ่มการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาจต้องใช้เวลานานกว่า 8 สัปดาห์ในการเห็นผลชัดเจนทางกายภาพ</p> เบญจมาภรณ์ ชูช่วย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 2 2 56 67 ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านโคก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2853 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านโคก เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการกำกับตนเองและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติตัว และพฤติกรรมการควบคุมอาหารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) นอกจากนี้ ยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) จาก 131.24 mg/dL เป็น 125.64 mg/dL สรุปได้ว่าโปรแกรมการกำกับตนเองมีประสิทธิภาพในการปรับพฤติกรรมการควบคุมอาหารและลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปฏิบัติตน ร่วมกับการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมและควบคุมโรคได้ดีขึ้น ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลชุมชนต่อไป</p> วงศ์จันทร์ นุตเวช Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 2 2 68 78 ผลของโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2867 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลพิชัย จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับวัณโรค แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค นอกจากนี้ ความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.0 เป็นร้อยละ 100.0 โปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีประสิทธิผลในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอด</p> พรรณี ยาท้วม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 2 2 94 104 ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เพื่อชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2868 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม และ 2) เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 1-2 จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง และโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 16.23 เป็น 20.10 คะแนน (p&lt;.05) คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นจาก 3.62 เป็น 3.96 คะแนน (p&lt;.05) ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลงจาก 133.03 เป็น 128.53 mg/dL (p&lt;.001) ระดับ HbA1C ลดลงจาก 8.56% เป็น 7.52% <br>(p&lt;.001) และค่า GFR เพิ่มขึ้นจาก 74.47 เป็น 78.73 mL/min/1.73m2 (p&lt;.001) โปรแกรมนี้มีประสิทธิผลในการเพิ่มความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีภาวะไตเสื่อม จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยควรมีการติดตามผลในระยะยาวและศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้นเพื่อยืนยันประสิทธิผล</p> พยง ทองคำนุช Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 2 2 105 117 การพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดส่วนปลาย หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2869 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดส่วนปลาย 2) เพื่อประเมินผลของการใช้แนวปฏิบัติในการลดอัตราการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลและผู้ป่วยต่อการใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ดำเนินการใน 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาแนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล ใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติและการสนทนากลุ่ม 2) การนำแนวปฏิบัติไปใช้และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 15 คน และผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ และสัมภาษณ์เชิงลึก และ 3) การประเมินผลและสรุปผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน เชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติ SMART-IV ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากร้อยละ 15 เหลือร้อยละ 7 และลดอัตราการติดเชื้อจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 3 (p&lt;0.01) ระยะเวลาการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอาการลดลงจาก 22.5 นาที เหลือ 12.8 นาที คะแนนการปฏิบัติของพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 8.0 เป็น 9.5 คะแนน พยาบาลและผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติในระดับสูง ซึ่งแนวปฏิบัติ SMART-IV มีประสิทธิภาพในการลดภาวะแทรกซ้อนและเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดส่วนปลาย จึงควรส่งเสริมการนำไปใช้ในหน่วยงานอื่นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง</p> สมฤดี คงสกุล Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 2 2 118 131 ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2875 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ประชากร คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง จำนวน 17 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine ที่เข้ามารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง จำนวน 60 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯชุดเดิม กับกลุ่มทดลอง 30 คน ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคว์สแควร์ เทสต์ที่ระดับนัยสำคัญ .05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบได้อย่างมีประสิทธิผล โดยกลุ่มทดลองพบอุบัติการณ์น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 3.3 เทียบกับร้อยละ 20.0) เมื่อวิเคราะห์อัตราส่วนความเสี่ยง (OR) พบว่ากลุ่มทดลองมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 0.14 เท่า (95% CI: 0.02-1.22) นอกจากนี้ พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการพยาบาลนี้ในระดับมากที่สุด (M=4.66, S.D.=0.27) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยา Norepinephrine</p> จุฑารัตน์ ยศสุวรรณ สุมลฑา จันทร์คำ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-14 2024-07-14 2 2 132 143 ผลการใช้แนวทางพยาบาลทางคลินิกในการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนต่ออาการทรุดลงของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยพิเศษพรีเมี่ยม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2882 <p>การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการพยาบาลทางคลินิกในการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนต่ออาการทรุดลงของผู้ป่วย และเปรียบเทียบอุบัติการณ์เกิดอาการทรุดลงและจำนวนการย้ายออกของผู้ป่วยที่ได้รับแนวทางการพยาบาลทางคลินิกในการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนต่ออาการทรุดลงของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยพรีเมียม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม 1) กลุ่มผู้ป่วย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยก่อนการใช้แบบประเมิน SOS score จำนวน 40 ราย ที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย ระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2567 และกลุ่มทดลอง คือ ผู้ป่วยการใช้แบบประเมิน SOS score จำนวน 40 ราย ที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วย ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบด้วยสถิติไคสแควร์ และ paired t - test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ผลการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนต่ออาการทรุดลงของผู้ป่วย ด้วยสัญญาณเตือนภาวะวิกฤติและ SOS score ได้แก่ อัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจ ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค จำนวนปัสสาวะเฉลี่ยใน 4 ชั่วโมง ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) แต่อุณหภูมิร่างกายและคะแนนเฉลี่ย SOS โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &gt; .05) อุบัติการณ์อาการทรุดลง ภาวะแทรกซ้อนและจำนวนการย้ายออกของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยพิเศษพรีเมียม ได้แก่ ใจคอไม่ดี ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิร่างกายสูง อุณภูมิร่างกายต่ำ เวียนศีรษะ ออกซิเจนปลายนิ้วต่ำกว่า 95 % ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) แต่หายใจไม่สะดวก การไม่รู้สึกตัว สำหรับอาการทรุดลง ใส่ท่อช่วยหายใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &gt; .05) ด้านการย้ายออกนอกหอผู้ป่วยพรีเมียม พบว่า กลุ่มทดลองย้ายออกนอกหอผู้ป่วยพิเศษพรีเมียมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) แต่การย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วย ICU ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &gt; .05) และไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตที่หอผู้ป่วยพรีเมียม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์</p> กัลยา แซ่เชียว มลภิชา สีแดงน้อย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 2 2 144 154 ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความดันโลหิตและอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2891 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความดันโลหิต และอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 30 คน ที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเอง โปรแกรมการจัดการตนเอง และเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-tests</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังและพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลงและอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05) จะเห็นได้ว่า โปรแกรมการจัดการตนเองที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มีความรู้และความสามารถในการจัดการตนเอง ทำให้ความดันโลหิตลดลงและอัตราการกรองของไตดีขึ้น พฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเองในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการรับประทานยาเพิ่มขึ้น</p> พรพิมล นาคะ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 2 2 155 166 ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน จากโรงพยาบาลสู่บ้าน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2892 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านและผู้ดูแล จำนวน 25 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลท่าปลา ระยะเวลาการศึกษา 4 สัปดาห์ <br>แบ่งการดูแลเป็น 2 ระยะ คือ ระยะรักษาในโรงพยาบาลและระยะติดตามเยี่ยมที่บ้านพร้อมให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการดูแล แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ โดยแบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและ Paired t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน ภายหลังได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.246, p &lt; .032) ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน ภายหลังได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม ฯ (t = -9.09, p &lt; .01) อัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยอยู่ในระดับต่ำ โดยมีเพียง 2 รายที่ต้องกลับมารักษาซ้ำ จะเห็นได้ว่า โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านช่วยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและเพิ่มความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของผู้ดูแลได้</p> อรอนงค์ สุขจิตต์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 2 2 167 178 ผลการบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ในการรับส่งข้อมูลทางการพยาบาล งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2893 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ในการรับส่งข้อมูลทางการพยาบาล ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานงานผู้ป่วยใน จำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเวรด้วยรูปแบบ ISBAR และการปฏิบัติการส่งเวรภายใต้สถานการณ์จำลอง 2) คู่มือการรับส่งเวรด้วยรูปแบบ ISBAR 3) แบบประเมินคุณภาพการบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ Wilcoxon signed-rank test.</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการบันทึกข้อมูลการรับส่งเวรด้วยเทคนิค ISBAR หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z= 25.521, p–value. = .021) อุบัติการณ์จากการส่งเวรผิดพลาด ระดับ E ขึ้นไป = 0 ความพึงพอใจต่อการบันทึกข้อมูลการรับส่งเวรด้วยเทคนิค ISBAR โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ควรนําการจัดการการส่งเวรด้วยการบันทึกข้อมูลตามเทคนิค ISBAR ในการรับส่งข้อมูลทางการพยาบาลไปใช้ปฏิบัติจริงในงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลทองแสนขัน</p> ขนิษฐา ข้างโต Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 2 2 179 189 ผลของโปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่ายโดยใช้ IDEAL Model ต่อความรู้ ระดับน้ำตาลสะสม ความพร้อมในการจำหน่ายและอัตราการกลับมารักษา https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2895 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่ายโดยใช้ IDEAL Model ต่อความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสม ความพร้อมในการจำหน่าย และอัตราการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวาน 16 คน ที่เคยกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ณ โรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรม IDEAL Model แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน แบบประเมินความพร้อมในการจำหน่าย และแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา&nbsp; และสถิติเชิงอนุมาณ ได้แก่ Wilcoxon Signed-Rank Test และFisher's Exact Test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้โปรแกรม ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -3.516, p &lt; 0.001) ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -3.536, p &lt; 0.001) ความพร้อมในการจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -3.527, p &lt; 0.001) และอัตราการกลับมารักษาซ้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Fisher's Exact Test, p &lt; 0.05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่ายโดยใช้ IDEAL Model มีประสิทธิผลในการพัฒนาความรู้ ลดระดับน้ำตาลสะสม เพิ่มความพร้อมในการจำหน่าย และลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยเบาหวาน</p> พรนิภา แคนชัย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-17 2024-07-17 2 2 190 199 ผลของการใช้แนวปฏิบัติการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจต่อระยะเวลาการรอคอยงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2901 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์ในแผนกฉุกเฉินและผู้ป่วย 200 คนที่มารับบริการ เครื่องมือวิจัยหลักคือแบบประเมินความเสี่ยง Search Out Severity (SOS) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบบันทึกสัญญาณชีพและอาการแสดงสำคัญ และแบบบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังอาการไม่คงที่หรืออาการทรุดลงขณะรอตรวจในงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช: SCARE Model (Systematic Continuous Assessment and Responsive Evaluation for Emergency Patient Care) ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก: การคัดกรอง (Screening), การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Monitoring), การประเมินและบันทึก (Assessment and Recording), การรายงานและตอบสนอง (Reporting and Responding), และการประเมินผลและพัฒนา (Evaluation and Enhancement) สามารถจำแนกผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าร้อยละ 50 มีความเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 35 มีความเสี่ยงปานกลาง และร้อยละ 15 มีความเสี่ยงสูง อัตราการเกิดอาการทรุดลงมีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยง โดยกลุ่มความเสี่ยงสูงมีอัตราการทรุดลงสูงที่สุด (ร้อยละ 23.3) ระยะเวลาในการตรวจพบและจัดการอาการทรุดลงสั้นที่สุดในกลุ่มความเสี่ยงสูง ผลลัพธ์การจัดการอาการทรุดลงพบว่าร้อยละ 66.7 ของผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหลังการรักษาเบื้องต้น และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต</p> พัชรินทร์ หาญประเสริฐ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-19 2024-07-19 2 2 200 212 ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2902 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินต่อคุณภาพการรักษาและการบริการของโรงพยาบาลน้ำปาด เปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอุปสรรคในการนำแนวปฏิบัติมาใช้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแนวปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วย แบบบันทึกข้อมูลทางคลินิก แบบประเมินคุณภาพการส่งต่อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนาและการทดสอบ Wilcoxon signed-rank test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้แนวปฏิบัติ จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อตามแนวปฏิบัติเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 93.3 ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการส่งต่อลดลงจากร้อยละ 11.1 เหลือร้อยละ 6.7 ระยะเวลาส่งต่อเฉลี่ยลดลงจาก 60 นาทีเหลือ 45 นาที ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.6 เป็นร้อยละ 91.1 อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยวิกฤติที่ได้รับการส่งต่อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.4 เป็นร้อยละ 91.1 ความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) สรุปได้ว่าการใช้แนวปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งต่อผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหาร การฝึกอบรมบุคลากร และการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ</p> ชาญยุทธ ชนะจน Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-21 2024-07-21 2 2 213 224 ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ในกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2903 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินในกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน และเปรียบเทียบความรู้และทักษะก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 54 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น และแบบทดสอบความรู้และทักษะการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) โดยอยู่ในระดับสูงร้อยละ 62.9 ความรู้และทักษะการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บฉุกเฉินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.001) โดยอยู่ในระดับสูงร้อยละ 40.7 และการทดสอบภาคปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 สรุปได้ว่า โปรแกรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉินมีประสิทธิภาพในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของอาสาฉุกเฉินชุมชน ช่วยยกระดับความสามารถในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน</p> สุฤทัย อ้นน้อย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-21 2024-07-21 2 2 225 235 ผลของโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ งานการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลบ้านโคก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2904 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัว และศึกษาความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยหลังได้รับโปรแกรม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่เข้ารับการรักษาในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโคก จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัว แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินความต้องการของครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Wilcoxon signed-rank test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรม ครอบครัวผู้ป่วยมีระดับความวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) โดยสัดส่วนของครอบครัวที่มีความวิตกกังวลระดับต่ำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.7 เป็นร้อยละ 44.4 และระดับสูงลดลงจากร้อยละ 44.4 เป็นร้อยละ 22.2 ส่วนความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยหลังได้รับโปรแกรมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 55.6) โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.2 (SD=0.8) สรุปได้ว่า โปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวมีประสิทธิผลในการลดความวิตกกังวลและเพิ่มความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ</p> จริยา ดวงตาน้อย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-21 2024-07-21 2 2 236 246 ผลของโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิชัย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/2905 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิชัย โดยมุ่งเน้นการศึกษาความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ และเปรียบเทียบการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือขาดเลือดครั้งแรก อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 16 คน ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลพิชัย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรม และพฤติกรรมการป้องกัน และแบบประเมินระดับ<br>ความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ Wilcoxon signed-rank test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยมีการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยค่าเฉลี่ยของการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มจาก 10.81 เป็น 16.88 การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกันเพิ่มจาก 13.13 เป็น 17.63 และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำเพิ่มจาก 37.88 เป็น 52.63 สรุปได้ว่าโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำมีประสิทธิภาพในการเพิ่มการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกัน และพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแผนการดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในสถานพยาบาลอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการกลับเป็นโรคซ้ำ</p> สุวา เกิดคุ้ม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-21 2024-07-21 2 2 247 257