วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD <p>วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข มีนโยบายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Paper) และบทความวิชาการ (Academic Paper) ด้านการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุข โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ แพทย์ พยาบาล นักสาธารณสุขทุกสาขา และผู้สนใจในด้านระบบบริการสุขภาพ</p> th-TH woranuch2419@hotmail.com (บุญเรือง ขาวนวล) krittamath2013@gmail.com (กฤตเมธ อัตภูมิ ) Mon, 23 Sep 2024 15:32:07 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3264 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเก็บข้อมูล ในช่วงระหว่างระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในศูนย์เด็กเล็กเขตรับผิดชอบ ในโรงพยาบาลบางขัน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 72 คน&nbsp; เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลวิจัยครั้งนี้เป็นแบบแบบสอบถาม (Questionnaire) ประกอบ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความรู้ของผู้ดูแล ส่วนที่ 3 ทัศนคติของผู้ดูแล ส่วนที่ 4 การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลด้านโภชนาการในเด็กของผู้ดูแล สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย (mean) ร้อยละ (percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบเชิงเส้น (Multiple linear regression)&nbsp;</p> <p>ผลการศึกษา ระดับความรู้ของผู้ปกครองที่ดูแลเด็กเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็ก พบว่า มีความรู้สูง ร้อยละ 81.9 ระดับทัศนคติของผู้ดูแลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ ทัศนคติดี ร้อยละ 77.8 ระดับการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลด้านโภชนาการในเด็กของผู้ดูแลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลด้านโภชนาการในเด็กระดับปานกลาง ร้อยละ 58.3 ปัจจัยด้านเพศและโรคประจำตัวของเด็กมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.01) ตามลำดับ ส่วน อายุ อาชีพ ผู้ดูแล จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้ รายจ่าย ลักษณะครอบครัว การจัดมื้ออาหาร แหล่งข้อข้อมูลข่าวสารประวัติการคลอด ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ดูแลไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็ก</p> วันทนีย์ เชยบัวแก้ว Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3264 Fri, 13 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีที่นำลูกมาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3265 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีที่นำลูกมาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ สตรีที่มีลูกอายุ&nbsp; 2 เดือนถึง 2 ปี 6 เดือนและเคยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่นำลูกมาเข้ารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดีและแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 107 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ1) ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 2) ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ 3) ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ 4) พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคร์-สแควร์ (Chi-square test)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.9 มีทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระดับปานกลาง ร้อยละ 63.6 กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับปานกลางและระดับดี ร้อยละ 53.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีที่นำลูกมาเข้ารับบริการในโรงพยาบาลบางขัน พบว่า ระดับการศึกษา จำนวนการตั้งครรภ์ จำนวนบุตร รายได้ของครอบครัว การได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) ส่วนอายุแม่ อายุลูก ศาสนา อาชีพ โรคประจำตัว วิธีการคลอด การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่</p> บุญศรี จันทร์เพ็ญ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3265 Sun, 15 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3266 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และระยะที่ 3 ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 31 คน ระยะเวลาการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบ t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 47.8) และพฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 86.5) ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 สัปดาห์ ครอบคลุมการพัฒนาทักษะ 5 ด้านของความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยเฉพาะในด้านการเข้าใจข้อมูลสุขภาพ (p = 0.002) การตรวจสอบข้อมูลสุขภาพ (p = 0.015) การจัดการข้อมูลสุขภาพ (p = 0.028) และความรอบรู้ด้านสุขภาพรวม (p = 0.026) ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพมีประสิทธิผลในการเพิ่มระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้สูงอายุ โดยการออกแบบกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม การฝึกปฏิบัติจริง และการพัฒนาทักษะแบบบูรณาการครอบคลุมทั้ง 5 ด้านของความรอบรู้ด้านสุขภาพ</p> กงเพชร ขุนเขียว Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3266 Thu, 19 Sep 2024 00:00:00 +0700 ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ปี พ.ศ. 2567 จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3287 <p>การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 ด้วยแบบทดสอบความรู้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ประสงค์เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีกำหนดการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ในปี พ.ศ. 2567 จำนวน 28 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในรอบ 1 ปี ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ (ร้อยละ 78.57) สำหรับระดับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 57.14) รองลงมามีระดับความรู้อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 35.71) และมีความรู้อยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 7.14) ดังนั้น ควรจัดติดตามและประเมินผลการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่รวมถึงโรคทางเดินหายใจอื่น ใช้ผลการวิจัยเป็นฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบติดตามการแพร่ระบาดของโรคในผู้แสวงบุญที่กลับมาจากพิธีฮัจย์ และประเมินผลของมาตรการป้องกันที่ได้ดำเนินการ</p> สาวิตรี รักกลัด Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3287 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การประเมินผลระบบยา เวชภัณฑ์ และครุภัณฑ์ทางการแพทย์โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้รับการถ่ายโอนไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ปีงบประมาณ 2566 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3316 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินระบบการจัดการยา เวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการถ่ายโอนไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเด่นและข้อด้อยในการจัดการยาหลังการถ่ายโอน และ 3) เสนอแนะแนวทางพัฒนาระบบการจัดการยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลังการถ่ายโอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยประเมินผลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาแบบกรณีศึกษาเชิงสำรวจและพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 32 แห่งใน 8 จังหวัดที่ได้รับการถ่ายโอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้โปรแกรม Atlas.ti</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังการถ่ายโอน ระบบการจัดการยา เวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะด้านการพึ่งพาบุคลากรจากโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายที่ลดลง ส่งผลให้คุณภาพการจัดการยาในหลายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลดลงและขาดความต่อเนื่อง ปัญหาสำคัญที่พบคือการขาดแคลนบุคลากรทางเภสัชกรรมและงบประมาณในการจัดหายา อย่างไรก็ตาม ข้อเด่นคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะสำคัญได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร การพัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพยาและการจัดการคลังยา การส่งเสริมความสัมพันธ์กับโรงพยาบาลแม่ข่าย และการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัด อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการยาและเวชภัณฑ์ให้มีความชัดเจนและโปร่งใสมากขึ้น</p> อุดม ทุมโฆสิต, วรพิทย์ มีมาก, สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3316 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะปอดรั่ว : กรณีศึกษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลระนอง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3530 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะปอดรั่วจำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลระนอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการแสดงและการรักษา มาวางแผนให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูสภาพ และระยะก่อนจำหน่าย</p> <p>ผลการศึกษา&nbsp; เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะปอดรั่วจำนวน 2 ราย รายที่ 1 ผู้ป่วยป่วยชายไทย อายุ 65 ปี อาการสำคัญ หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น พ่นยาไม่ดีขึ้น เป็นมา 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัย COPD with Pneumothorax รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 68 ปี อาการสำคัญ หายใจเหนื่อยหอบ บวมทั่วตัว ปวดแน่นท้องมากขึ้นเป็นมา 1 วัน ได้รับการวินิจฉัย COPD with Pneumothorax with Nephrotic Syndrome ในระยะวิกฤตให้การพยาบาลเพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างการ ดูแลให้ยาปฏิชีวนะและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการวางแผนจำหน่ายก่อนกลับบ้าน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้ ทักษะและความชำนาญพิเศษในการดูแลผู้ป่วยทั้งภาวะวิกฤตและภาวะปกติ&nbsp; เพื่อนำไปวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานให้สอดคล้องกับแผนการรักษาตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล</p> อรอนงค์ ธนิตสุขการ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3530 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกอุดม อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3586 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค 2. พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค 3. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้นในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกอุดม อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนกันยายน 2567 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 100 คน ประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ร้อยละ 73) ผู้นำชุมชน (ร้อยละ 16) ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 5) และครูอนามัย (ร้อยละ 6) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 2.69, S.D. = 1.02) การพัฒนารูปแบบนำไปสู่การสร้าง "โมเดล 6S เพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรคแบบบูรณาการในชุมชน" ประกอบด้วย 1) ศูนย์บัญชาการสถานการณ์ 2) การคัดกรองและติดตาม 3) การวางแผนเชิงกลยุทธ์และบริหารทรัพยากร 4) การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ 5) การสุขาภิบาลและควบคุมการติดเชื้อ และ 6) การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและสนับสนุนสุขภาพจิต ผลการประเมินหลังการใช้รูปแบบพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เพิ่มขึ้นจาก 63.60 (S.D. = 17.00) เป็น 80.12 (S.D. = 12.66) คะแนน (p &lt; 0.001) ด้านความคิดเห็นในการแจ้งข่าวเพิ่มขึ้นจาก 2.06 (S.D. = 0.57) เป็น 2.52 (S.D. = 0.66) คะแนน (p &lt; 0.001) และด้านการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นจาก 2.69 (S.D. = 1.02) เป็น 3.46 (S.D. = 1.01) คะแนน (p &lt; 0.001)</p> เจษฎา บุตรโคตร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3586 Thu, 31 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3592 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น และ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น ในตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุ 18-25 ปี จำนวน 226 คน ได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ประยุกต์จากแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของ Sørensen et al. มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Chi-square และ Pearson correlation coefficient</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 50.4) อายุเฉลี่ย 21.64 ปี มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการใช้สารเสพติดโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 86.17, SD = 7.45) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) ได้แก่ สถานภาพสมรส กิจกรรมยามว่างด้านการออกกำลังกายและเล่นดนตรี การรับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอายุและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ (r = 0.224 และ 0.152 ตามลำดับ) ดังนั้นวัยรุ่นส่วนใหญ่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุน้อย รายได้ต่ำ และขาดการเข้าถึงข้อมูลผ่านช่องทางที่เหมาะสม จึงควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย เน้นการส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ และพัฒนาช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ</p> สันติ แสงอุทัย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3592 Thu, 05 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจากการใช้สารเสพติด: กรณีศึกษา 2 ราย โรงพยาบาลระนอง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3611 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจากการใช้สารเสพติด 2 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดในผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลระนอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบประเมินการคัดกรองรายโรคทางจิตเวช แบบบันทึกข้อมูลเยี่ยมบ้านตามแนวทาง IN HOME SSS รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบพยาธิสภาพ ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีผลต่อการเกิดโรค แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล กรณีปรึกษา : เปรียบเทียบผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติด 2 ราย รายที่ 1 เพศชาย อายุ 32 ปี อาการสำคัญ 3 ชั่วโมงก่อนมา มีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว ทำร้ายร่างกายภรรยา ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็น Multiple Substance Induced Psychosis Disorder รายที่ 2 เพศชาย อายุ 26 ปี อาการสำคัญ 1 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยเดินแก้ผ้าพูดคนเดียวทำร้ายตนเองโดยการตบหน้า ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็น Multiple Substance Induced Psychosis Disorder</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษานี้พบว่า การดูแลผู้ป่วยจิตเวชและสารเสพติดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงจากการใช้สารเสพติดระหว่างการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจะช่วยลดภาวะการก่อพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยครอบครัว และการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในชุมชน เป็นหัวใจสำคัญของการให้พยาบาล ซึ่งจะช่วยลดการกลับซ้ำของผู้ป่วยได้</p> ปิยาภรณ์ อินทรา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3611 Wed, 11 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3671 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional research) ครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดำเนินงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ สาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานเกิน 6 เดือน ในเขตรับผิดชอบของหน่วยบริการสาธารณสุข ตำบลเขาพระทอง จำนวน 116คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา&nbsp; (Descriptive statistics) และสมการถดถอยเชิงเส้น (Simple linear regression)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อยู่ในระดับมีปัญหา (ร้อยละ 31.03) ในส่วนของปัจจัยของความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 2 ทักษะ ที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ ทักษะการเข้าถึง และทักษะการตัดสินใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.752 และสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานในบทบาทในทีมหมอครอบครัว ได้ร้อยละ 74.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ ± 0.486 และ พบว่า ทักษะการตัดสินใจ สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้มากที่สุด และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.004 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนดิบ และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (b, Beta) เป็น 0.365 กับ 0.574 สำหรับทักษะการเข้าถึง มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนดิบ และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (b, Beta) เป็น 0.188 กับ 0.243</p> วนิตย์ดา ลิบขาว Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3671 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวผู้ป่วยต่อระดับความสะอาดของลำไส้ ความวิตกกังวล และภาวะแทรกซ้อนในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลลำพูน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3764 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมตัวผู้ป่วยต่อระดับความสะอาดของลำไส้ ความวิตกกังวล และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ ณ โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีกำหนดการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ จำนวน 84 คน แบ่งด้วยวิธีการสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 42 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมตัวเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความสะอาดของลำไส้ (BBPS) แบบประเมินความวิตกกังวล (STAI) และแบบบันทึกภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความสะอาดของลำไส้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (11.70 ± 0.56 เทียบกับ 8.05 ± 0.80, p&lt;0.001) และมีระดับความวิตกกังวลต่ำกว่าทั้งในด้านความวิตกกังวลโดยทั่วไป (10.10 ± 1.15 เทียบกับ 15.23 ± 0.85, p&lt;0.001) และความวิตกกังวลขณะเผชิญ (8.35 ± 0.95 เทียบกับ 12.52 ± 1.15, p&lt;0.001) นอกจากนี้ กลุ่มทดลองไม่พบภาวะแทรกซ้อนใด ในขณะที่กลุ่มควบคุมพบผู้ป่วยมีอาการอืดแน่นท้องร้อยละ 7.1 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า โปรแกรมการเตรียมตัวผู้ป่วยมีประสิทธิผลในการเพิ่มระดับความสะอาดของลำไส้ ลดความวิตกกังวล และป้องกันภาวะแทรกซ้อน จึงควรนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติมาตรฐานในการเตรียมผู้ป่วยก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป</p> เสาวณีย์ กรุณา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/AJHSD/article/view/3764 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700