https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/issue/feed
วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
2024-06-26T11:17:48+07:00
Assistant Professor Dr. Sakul Changmai
nursejournal@christian.ac.th
Open Journal Systems
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/1739
ผลของโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการพยาบาล ในโรงพยาบาลราชบุรี
2023-11-01T16:17:02+07:00
ศิริกัญญา อุสาหพิริยกุล
kanom2551@gmail.com
ดวงชีวัน เงินอาจ
Dao.army@gmail.com
ทัศนีย์ น้อยเทศ
tassaneenoyted@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: <strong> </strong>เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการพยาบาล และอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong>: การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong>: กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 40 คน ที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงตามกระบวนการพยาบาล 4 ขั้นตอน ดังนี้ การดึงประสบการณ์ ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับโดยใช้แบบประเมินของบราเดน การสะท้อนและอภิปราย วิเคราะห์ความเสี่ยงและปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง การมีความคิด สรุปการประเมินความเสี่ยง และปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับ การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันแผลกดทับ และ การทดลอง/การประยุกต์แนวคิดเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยกำหนดความต้องการการดูแลที่จำเป็น กำหนดแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และประเมินผลการพยาบาล และ 2) ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ จำนวน 57 คน ที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วย 4 แห่ง ที่ได้รับการดูแลโดยพยาบาลที่ได้รับโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับ ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าที</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: ความรู้ของพยาบาลวิชาชีพหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันแผลกดทับฯ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงแผลกดทับก่อนได้รับโปรแกรมฯ ร้อยละ 4.16 ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ ลดลงเหลือ ร้อยละ 1.89 </p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong><strong>: </strong>ควรส่งเสริมให้ใช้โปรแกรมการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาลราชบุรี</p>
2024-05-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/2195
ผลของการเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุต่อกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5
2024-03-29T09:36:40+07:00
อุไรรัชต์ บุญแท้
railaboontea@gmail.com
ธีรนันท์ วรรณศิริ
wtranun@hotmail.com
จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล
poopitukkul@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> : เพื่อเปรียบเทียบกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ ระหว่างกลุ่มที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุและกลุ่มที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุ</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong> : การวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5 ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์รวม 112 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 56 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ พัฒนาโดยผู้วิจัย ตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูล โดย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าความแตกต่างด้วยค่าทีแบบอิสระและไม่อิสระ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> : พบว่ากิจกรรมทางสังคมโดยรวมเฉลี่ยของผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง หลังจบหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุดีกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=-10.772) และกิจกรรมทางสังคมโดยรวมเฉลี่ยของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=8.667)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>สามารถนำผลการวิจัยไปวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางสังคม</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/2339
ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือดที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม
2024-03-08T22:38:54+07:00
สมคิด เริงขำกลั่น
somkidnkp@hotmail.com
อรนุช บุญญา
somkidnkp@hotmail.com
พรทิพย์ จอกกระจาย
porntipjokk@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจั</strong><strong>ย </strong>: เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด ด้านความรู้ การปฏิบัติการพยาบาล และผลการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong> : วิจัยกึ่งทดลอง </p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong> : กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นพยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 28 คน และเวชระเบียนของผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือดที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกก่อนและหลังการใช้รูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด โดยประยุกต์รูปแบบการโค้ชแบบโกรว์ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการโค้ช ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการโค้ช ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการโค้ช และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการโค้ช วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทีแบบจับคู่</p> <p><strong>ผลการวิจัย :</strong> พบว่าภายหลังการจัดรูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ การปฏิบัติการพยาบาล และผลการปฏิบัติการพยาบาล สูงกว่าก่อนการโค้ชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) </p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ : </strong>การใช้รูปแบบการโค้ชในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด ช่วยให้สมรรถนะพยาบาลเพิ่มขึ้น และความรุนแรงของภาวะช็อกลดลง ควรขยายผลรูปแบบการโค้ชในกลุ่มผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยรุนแรงอื่นๆ ที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตสูง</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/2605
ผลของโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้ และพฤติกรรม การดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมียของผู้ดูแลที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด
2024-05-01T11:22:54+07:00
วิภาพร จันทนาม
sujittarmt@gmail.com
สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี
sujittarmt@gmail.com
สุมิตรา จุฑางกูร
sujittarmt@gmail.com
วลัยมาศ จันทนาม
sujittarmt@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong> : เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมียของผู้ดูแลก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผน</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong> : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย </strong>: กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมียที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2566 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวัดความรู้และแบบสอบถาม พฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย มีค่าความเชื่อมั่นของคูเดอร์ริชาร์ดสัน-20 เท่ากับ 0.89 และสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.89 ตามลำดับ แผนการสอนและสื่อนำเสนอในโปรแกรมได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหา เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: ผู้ดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย หลังได้รับความรู้อย่างมีแบบแผน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมียสูงกว่าก่อนได้รับความรู้อย่างมีแบบแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ </strong> โปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนช่วยเพิ่มความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคธาลัสซีเมีย จึงควรนำไปใช้เพื่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเน้นการพัฒนาทักษะการดูแลของผู้ดูแลและการดูแลตนเองของผู้ป่วย</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/2422
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย
2024-04-05T06:55:55+07:00
เกสราภรณ์ ม่วงมายา
ketsaraporn159@gmail.com
<p>โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดแบบเฉียบพลัน ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื้อสมองบริเวณที่เกิดพยาธิสภาพ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต และความพิการทั้งในไทยและทั่วโลก การวางแผนการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลให้ผู้ป่วยรอดพ้นระยะวิกฤต และการเชื่อมรอยต่อของการดูแลระยะกลางเป็นหัวใจสำคัญในการลดภาระทางสาธารณสุข บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างและวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศึกษาของผู้ป่วย 2 กรณี ตามประวัติการเจ็บป่วย อาการและอาการแสดง การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัย การรักษา ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาลในระยะเฉียบพลัน และการดูแลระยะกลาง จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบแสดงให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างบางประเด็นของทั้ง 2 กรณี นำไปสู่ความเข้าใจและมองเห็นแนวทางการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้</p>
2024-06-26T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน