วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal มหาวิทยาลัยคริสเตียน th-TH วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 2408-0934 การประเมินและการบำบัดช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/3389 <p>ภาวะซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่มีลักษณะของอารมณ์เศร้า หดหู่ ความรู้สึก ท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกตนเองไร้ค่า ตำหนิตนเอง มีความคิดทางลบต่อตนเองและผู้อื่น อาจมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินปกติ สมาธิลดลง ซึ่งอาการเหล่านี้มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิต สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือ หรือปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ สาเหตุของการเกิดภาวะนี้มาจากหลายปัจจัย ภาวะซึมเศร้ามีตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ถึงรุนแรง หากมีอาการต่อเนื่องติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรได้รับการช่วยเหลือและบำบัดรักษา จากทีมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายที่รุนแรงคือการฆ่าตัวตาย การประเมินและการบำบัดช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการประเมินจะทำให้ทราบว่ามีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับใดควรได้รับการบำบัดแบบใด การบำบัดมีทั้งบำบัดทางชีวภาพและบำบัดทางจิตสังคม ซึ่งช่วยลดความรุนแรงที่นำไปสู่ภาวะฆ่าตัวตายได้</p> เบญจวรรณ สามสาลี บุญญภักดิ์ เห่งนาเลน ดร.ราคาล ซารา เจน ลูบาตัน Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 2024-12-18 2024-12-18 11 2 64 75 บทบาทของพยาบาลในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/3472 <p>ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild Cognitive Impairment: MCI) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุซึ่งมีการเสื่อมถอยของความสามารถด้านความคิดและการตัดสินใจ แต่ยังไม่รุนแรงถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โดยภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เป็นระยะหนึ่งในกระบวนการเสื่อมถอยของสมองหากไม่ได้รับการดูแลและป้องกันอย่างเหมาะสมสามารถนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)ได้ บทบาทของพยาบาลจึงเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย โดยมีหน้าที่ในการประเมินอาการที่แสดงถึงการเสื่อมถอยของการรู้คิด การให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลในเรื่องการดูแลสุขภาพสมอง การส่งเสริมกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของสมอง รวมถึงการติดตามการดำเนินชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของอาการทางสมองเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง บทความนี้นำเสนอถึงรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้เรื่องภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย ชนิด สาเหตุและอาการ การส่งเสริม และการป้องกัน โดยเน้นบทบาทของพยาบาลในการจัดการดูแลเชิงป้องกันเพื่อชะลอหรือหยุดยั้งการเสื่อมถอยของสมอง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ</p> นฤมล ศิริมี วาริศา เพชรธีรานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 2024-12-18 2024-12-18 11 2 76 92 การตีตราและการรับรู้การตีตราของนักศึกษาพยาบาลต่อปัญหาสุขภาพจิต: กรณีศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/2894 <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตีตราและการรับรู้การตีตราเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย</strong><strong>: </strong>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย</strong><strong>:</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 410 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูล โดยใช้แบบวัดการตีตราและการรับรู้การตีตราเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อปัญหาสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน สถิติทดสอบค่าที สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> นักศึกษาพยาบาล มีระดับการตีตราและการรับรู้การตีตราต่อปัญหาสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง (M=9.89, S.D.=2.34) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนการตีตราและการรับรู้การตีตราระหว่าง นักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นปี (F=.48, p=.690) ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ (r<sub>pb</sub>= -.171, p=.01) และการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชในปัจจุบัน (r<sub>pb</sub>=.113, p=.022) มีความสัมพันธ์กับการตีตราและการรับรู้การตีตราต่อปัญหาสุขภาพจิตโดยภาพรวม</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> สถาบันการศึกษาพยาบาลควรเพิ่มหัวข้อเกี่ยวกับสุขภาพจิตในหลักสูตรพยาบาลทุกระดับชั้น เพื่อเพิ่มความตระหนัก และลดการตีตราและการรับรู้การตีตราเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล</p> ศราวุธ สงนอก นพรัตน์ สมทางดี พิมพ์นารา อิสริยเรืองเดช รัชดาพร พงษ์พิทักษ์ รัญชนา จุลลัษเฐียร รัตนาวดี ชัชวาลปรีชา วรัญญา ขวัญทอง สุชาดา สุนารักษ์ สุหทัย โตสังวาลย์ Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 2024-11-26 2024-11-26 11 2 1 15 การเตรียมความพร้อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/CUT_Nursejournal/article/view/3127 <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย: </strong>วิจัยเชิงพรรณนา</p> <p><strong>วิธีดำเนินการวิจัย: </strong>กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อายุ 50-59 ปี จำนวน 210 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยใช้สถิติ Chi-square</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>: การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในระดับสูง (M=111.23, SD=16.35) โดยเฉพาะด้านร่างกายและจิตใจ ด้านที่อยู่อาศัย และด้านสังคม มีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ การตรวจร่างกายประจำปี และการเป็นสมาชิกกลุ่ม/ชมรม</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ:</strong> มหาวิทยาลัยแม่โจ้ควรการส่งเสริมบุคลากรให้มีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ</p> สุทธิลักษณ์ จันทะวัง ดลนภา ไชยสมบัติ Copyright (c) 2024 วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 2024-12-13 2024-12-13 11 2 16 32