https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/issue/feed
วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
2024-10-17T10:03:33+07:00
Satawat Sriprom
research.hpc10@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี</p> <p>( Regional Health Promotion Center 10 Journal)</p> <p><em><strong> E-ISSN: </strong> 2774-1362 (online)</em></p> <p><strong><em>กำหนดออก</em></strong><em> : วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี </em></p> <ul> <li><em>ฉบับที่ </em><em>1 มกราคม – มิถุนายน</em></li> <li><em>ฉบับที่ </em><em>2 กรกฎาคม – ธันวาคม</em></li> </ul> <p><strong><em>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </em></strong><em>วารสารฯ มีวัตถุประสงค์ ที่จะรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูง ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสาธารณสุข นักวิชาการ นักศึกษาและนักวิจัย ทั้งในและนอกเขตสุขภาพที่ </em><em>10 </em> </p>
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2833
รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัยตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี
2024-07-05T12:15:16+07:00
ไปยดา วิรัศมี
Paidawirutsamee@gmail.com
เจนวิทย์ ศรพรหม
boyddd.19@gmail.com
นงคาร แสงโชติ
narak200721@gmail.com
<p> การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาแนวทางป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กแบบชุมชนมีส่วนร่วมและเปรียบเทียบการลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าเหน้าที่สาธารณสุข ครู เจ้าหน้าที่เทศบาล แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปกครองจำนวน 17 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2) เด็กปฐมวัยจำนวน 173 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณรวบรวมโดยแบบบันทึกผลลัพธ์ความเข้มข้นเลือด และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง วิเคราะห์ด้วยสถิติ แบบวัดซ้ำGeneralized Estimating Equation: GEE และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ ศึกษาระหว่างมิถุนายน 2566 ถึง มีนาคม 2567ใช้กระบวนการของเคมมิสและแมกทากาต (PAOR) จำนวน 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล</p> <p> ผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบฯ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุ พัฒนาเป็นแนวทางป้องกัน และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง หลังดำเนินงานพบปัจจัยความสำเร็จ 3 ประการ คือ 1) การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ เข้าใจบทบาทหน้าที่และจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม 2) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตั้งเป้าร่วมกัน 3) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ทำให้เกิดการตื่นตัวของชุมชน ผลการประเมินภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ก่อนดำเนินงานเด็กมีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นเลือดร้อยละ 31.87 หลังการดำเนินวงรอบที่ 1 ความเข้มข้นเลือดมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 36.49 และวงรอบที่ 2 ความเข้มข้นเลือดมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37.78 ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นเลือดครั้งที่ 2 เปรียบเทียบกับครั้งที่ 1 (baseline) 5.30 (95%CI=1.73-8.87,P-value=0.004) และค่าเฉลี่ยความเข้มข้นเลือด ครั้งที่ 3 เปรียบเทียบกับครั้งที่ 1 4.83 (95%CI=1.17 - 8.49,P-value=0.010) โดยในภาพรวมทุกครั้ง พบค่าคะแนนเฉลี่ยของความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4.16 (95% CI 1.23-7.09, P-value 0.005) ความพึงพอใจของผู้ปกครองอยู่ในระดับมากร้อยละ 98.35</p>
2024-08-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2884
ระบบการให้บริการหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับแพทยสภาในเขตสุขภาพที่ 10
2024-07-18T13:59:51+07:00
นภัทชา สมพงษ์
naphatcha.s@anamai.mail.go.th
สุกัญญา เชื้อธรรม
sukanya1987silapraya@gmail.com
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการจัดบริการหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมภายใต้กฎหมายและข้อบังคับแพทยสภาในเขตสุขภาพที่ 10 โดยใช้วิธีการเชิงผสมผสานในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากคณะกรรมการและเครือข่ายอาสา RSA จำนวน 71 คน และสัมภาษณ์แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 7 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลที่มีบริการยุติการตั้งครรภ์มีความพร้อมมากกว่าทั้งในด้านสถานที่ การจัดบริการ และช่องทางการให้คำปรึกษา โดยเฉพาะในกรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ โรงพยาบาลที่มีการจัดบริการมีความพร้อมในการให้คำปรึกษาร้อยละ 81 เทียบกับร้อยละ 51.5 ของโรงพยาบาลที่ไม่มีบริการ นอกจากนี้ โรงพยาบาลที่มีบริการยุติการตั้งครรภ์ยังมีช่องทางการให้คำปรึกษาที่หลากหลายกว่า เช่น คลินิกให้คำปรึกษาทางเลือก (ร้อยละ 85.7) เมื่อเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลที่ไม่มีบริการ (ร้อยละ 57.5) ซึ่งโรงพยาบาลที่มีบริการยุติการตั้งครรภ์มีความเข้าใจและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 อย่างครบถ้วน รวมถึงการให้บริการทุกขั้นตอน ขณะที่โรงพยาบาลที่ไม่มีบริการอาจขาดการให้บริการบางขั้นตอน สำหรับอุปสรรคที่พบ คือ ทัศนคติของบุคลากรที่ขัดกับการยุติการตั้งครรภ์ ขาดทรัพยากร และการประสานงานที่ไม่ราบรื่นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องการการสนับสนุนในการประสานงาน การเพิ่มจำนวนบุคลากร และการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น</p> <p>ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบริการยุติการตั้งครรภ์ ได้แก่ การสร้างเครือข่ายการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ การอบรมบุคลากร การเพิ่มงบประมาณและบุคลากร การปรับปรุงกฎระเบียบและการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความพึงพอใจและการเข้าถึงบริการ</p>
2024-09-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/3136
การพัฒนารูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 4
2024-08-28T10:51:28+07:00
ณัฐติกาญจน์ สุวรรณเทพ
modmod4122@gmail.com
มาลิณี เอี่ยมคง
malieeaimekong@gmail.com
สุพรรณารัตน์ รินสาธร
Supannarat_@hotmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ในพื้นที่ 2. พัฒนารูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุตาม 8 องค์ประกอบ เมืองที่เป็นมิตรขององค์การอนามัยโลก และ 3. ประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) แกนนำชุมชนเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ผู้สูงอายุ จำนวน 64 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREF-THAI มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 ค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test <br />ผลการศึกษา ดังนี้</p> <ol> <li>สถานการณ์ในพื้นที่มีการเตรียมความพร้อมในการรองรับเข้าสู่สังคมสูงอายุ มีแผนดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเปราะบาง แต่ยังไม่มีการนำ 8 องค์ประกอบเมืองที่เป็นมิตรขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาใช้</li> <li>เกิดรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสถานการณ์ชุมชนตาม <br />8 องค์ประกอบฯ และคืนข้อมูลเพื่อร่วมออกแบบกิจกรรม 2) พัฒนารูปแบบการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการนำของท้องถิ่นด้วยการร่วมออกแบบกิจกรรม ร่วมดำเนินงาน และร่วมประเมินผล<br />กับทุกภาคส่วนในชุมชน 3) รวบรวมข้อมูลและระบุผู้มีส่วนร่วมสำคัญ 4) ดำเนินงานตามแผน 5) การวิเคราะห์ รายงานผล 6) ประเมินผล</li> <li>ผลการประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินงาน โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4.4 คะแนน (95%CI=1.87-5.43, p-value <0.001) <br />แยกรายด้านพบทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพกาย 2.2 คะแนน (95%CI=1.51-4.59, p-value <0.001) 2) ด้านจิตใจ 3.3 คะแนน (95%CI=1.47-5.32, p-value <0.001) 3) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 1.2 คะแนน (95%CI=1.13-2.23, p-value 0.024) และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 2.3 คะแนน (95%CI=1.77-4.78, p-value <0.001)</li> </ol> <p> สรุปผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สามารถพัฒนากระบวนการและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ดีขึ้น จึงเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สามารถนำไปขยายผลการดำเนินงานต่อไป</p>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/3043
ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมเสี่ยงโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
2024-08-08T14:47:07+07:00
ภาสกร อุ่นคำ
unkham1974@gmail.com
ศุภนิตย์ ปิ่นคำ
xsili@hotmail.com
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง น้ำตาลในเลือด อัตราการกรองของไต ก่อนและหลังใช้โปรแกรมของกลุ่มทดลอง และหลังใช้โปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลพฤษภาคม – มิถุนายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคไตเรื้อรังที่ประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคไตเรื้อรัง และอัตราการกรองของไตมากกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ และน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังที่สร้างขึ้นจากแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง ประโยชน์ อุปสรรค และความสามารถของตน รวมถึงฝึกทักษะการใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง เพิ่มอัตราการกรองของไต และลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จึงควรนำไปใช้ต่อยอดหรือถอดบทเรียนเพื่อนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคเรื้อรังอื่นๆในพื้นที่ต่อไป</p>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/3190
ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของจังหวัดยโสธร
2024-09-10T15:28:35+07:00
จุรีภรณ์ คูณแก้ว
jureepornkoon73@gmail.com
ไกรวัลย์ มัฐผา
joy77home@gmail.com
<p> การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อและผลของการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอ 5 คนและกลุ่มผู้รับผิดชอบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 86 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นอำเภอที่ในโรงพยาบาลชุมชนมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อผ่านตามมาตรฐานและขนส่งมูลฝอยติดเชื้อโดยรถเฉพาะสำหรับเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การตรวจคุณภาพเครื่องมือได้ค่า CVI 0.70 และค่าความเชื่อมั่น 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เก็บรวมรวมมูลฝอยติดเชื้อแหล่งกำเนิด (รพ.สต.) ทุกวัน ขั้นที่ 2 นำมูลฝอยติดเชื้อไปพักในอาคารเฉพาะ 6-7 วัน ขั้นที่ 3 ขนส่งมูลฝอยติดเชื้อโดยรถของโรงพยาบาล และขั้นที่ 4 นำมูลฝอยติดเชื้อไปพักรวมที่โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ 2) การบริหารจัดการยังไม่เป็นตามมาตรฐานที่กำหนดได้แก่ ด้านการอบรมหลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ ผ่านอบรมเพียงร้อยละ 81.39 การรวบรวมและเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อพบผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ร้อยละ 86.04 ผู้ปฏิบัติงานขนส่งมูลฝอยติดเชื้อสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงานครบตามที่กำหนด ร้อยละ 76.74 และนำส่งมูลฝอยติดเชื้อจากบ้านผู้ป่วยในชุมชนโดยญาติ ร้อยละ 66.27 ด้านการบริหารจัดการรถขนส่งมูลฝอยติดเชื้อไม่ผ่านมาตรฐาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน คือ ต้องการพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การบูรณาการความร่วมมือเชิงพื้นและการสนับสนุนด้านวิชาการ การอบรมความรู้และทักษะ ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนควบคุมกำกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยเฉพาะรถขนส่งมูลฝอยติดเชื้อให้ได้มาตรฐาน</p>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/3262
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3
2024-09-23T10:26:10+07:00
สาริศา สืบจากดี
sarisayum@gmail.com
รุจิพัชญ์ เพ็ชร์สินเดชากุล
rujiphatch.phetsin@gmail.com
<p><strong> </strong>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่3 กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก จำนวน 42 คน ระยะเข้าร่วมโปรแกรม 12 สัปดาห์ จำนวน 4 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 สร้างสัมพันธภาพและสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ครั้งที่ 2 ประเมินปัญหาอุปสรรคและวางแผนแก้ปัญหา ครั้งที่ 3 ติดตามภาวะโภชนาการและความร่วมมือการกินยาเสริมธาตุ และครั้งที่ 4 ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัว เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประเมินความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และความเชื่อมั่น (reliability) จากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค (Cronbach’ s alpha coefficient) ดังนี้ 1) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ เท่ากับ 0.82 2) แบบสอบถามความรู้ เท่ากับ 0.78 และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรม เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired Sample t-test </p> <p><strong> </strong>ผลการศึกษา การเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ พฤติกรรม และร้อยละความเข้มข้นเลือด (Hematocrit: Hct) หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.67 คะแนน (95%CI 1.34-5.10; p-value 0.002) พฤติกรรมมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.95 คะแนน (95%CI 1.77-4.13; p-value <0.001) และร้อยละความเข้มข้นเลือด (Hematocrit: Hct) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.57 (95%CI 2.76-4.38; p-value <0.001)</p> <p> สรุปผลการศึกษา หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ควรได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง ส่งผลให้พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นและลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก</p>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี