วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal <p>วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี</p> <p>( Regional Health Promotion Center 10 Journal)</p> <p><em><strong> E-ISSN: </strong> 2774-1362 (online)</em></p> <p><strong><em>กำหนดออก</em></strong><em> : วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี </em></p> <ul> <li><em>ฉบับที่ </em><em>1 มกราคม – มิถุนายน</em></li> <li><em>ฉบับที่ </em><em>2 กรกฎาคม – ธันวาคม</em></li> </ul> <p><strong><em>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </em></strong><em>วารสารฯ มีวัตถุประสงค์ ที่จะรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูง ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสาธารณสุข นักวิชาการ นักศึกษาและนักวิจัย ทั้งในและนอกเขตสุขภาพที่ </em><em>10 </em> </p> th-TH research.hpc10@gmail.com (Supaluk tanatamsatit) titirat_np@hotmail.com (titirat phawasuttipong) Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต กรณีศึกษาอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2815 <p> การวิจัยเชิงผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการขับเคลื่อนงานโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต การรับรู้และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ปกครองเด็ก 2-5 ปี อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ปกครองเด็ก 2-5 ปี ที่กำลังศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.) ในพื้นที่อำเภอป่าติ้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตได้รับรางวัลดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ 10 โดยใช้เทคนิค 4ช ประกอบด้วย 1) ช.ชวน สาธารณสุขสะท้อนปัญหาผ่านการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน 2) ช.เชื่อม ภารกิจ ด้วยการประสานส่วนตัวเพื่อให้เกิดความสมัครใจ ดำเนินงานร่วมกัน 3) ช.แชร์ แชร์ทรัพยากร คน ของ 4) ช.ชื่นชม เยี่ยมเสริมพลังภาคีเครือข่ายไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กระบวนการขับเคลื่อนงานเน้นการสร้างภาคีเครือข่าย มีการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ (พชอ.) จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน กำหนดเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน การรับรู้และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ปกครองเด็ก 2-5 ปี พบว่า ผู้ปกครองมีการรับรู้ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 10.81 คะแนน (S.D.=1.95) และมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 8.07 คะแนน (S.D.=1.8)</p> เกษแก้ว เกตุพันธ์, ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต, นภัชชล รอดเที่ยง, ไปยดา วิรัศมี, สิรินทร์ฉัตร์ มีแวว , สุกานดา ฟองเมือง Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2815 Thu, 11 Jul 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2549 <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่กําลังศึกษาในระดับชั้น มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 ภาคการศึกษา 2 อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองจากแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น และแบบประเมินความรอบรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานใช้ Paired t-Test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value &lt;0.05 และความรอบรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value &lt;0.05 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพจิต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมกับกลุ่มนักเรียนหรือวัยรุ่นกลุ่มอื่นในพื้นที่อื่นๆ</p> จุฑามาศ แก้วจันดี, กฤษฎารัตน์ ลีเขาสูง, วารี นันทสิงห์ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2549 Tue, 18 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพผ่าน Telehealth เขตสุขภาพที่ 10 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2762 <p> การวิจัยนี้ เป็นวิจัยผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาการรับรู้และการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์ของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 10 (2) พัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการ และ (3) ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจต่อรูปแบบการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพผ่าน Telehealth ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤศจิกายน 2566 ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผล เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาปัญหาและรับรู้สิทธิสุ่มตัวแทนกลุ่มวัยตามจำนวน 33 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อประเมินผลสุ่มตัวแทนทุกกลุ่มวัยจำนวน 86 คน นำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์เนื้อหาและเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบน </p> <p> ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างรู้จักสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันส่งเสริมสุขภาพร้อยละ 63.6 รู้จักบริการภายใต้ประกันสุขภาพ ร้อยละ 69.7 เคยใช้บริการตามสิทธิ ร้อยละ 84.8 เข้าถึงบริการครบทุกสิทธิในกลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มเด็ก กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่น ร้อยละ 70.0, 50.0, 28.6, 25.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่รู้จักชุดสิทธิประโยชน์จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและอาสาสมัครสาธารณสุข มีการพัฒนารูปแบบ 3 ขั้นตอน คือ 1) ประชุมทีมแกนหลัก 2) ลงพื้นที่จริง ออกแบบ Telehealth ได้เป็น แอพพิเคชั่นไลน์หมอออนไลน์ ประกอบด้วย บริการชุดสิทธิประโยชน์ตามกลุ่มวัย การนัดตรวจและการตรวจโรคออนไลน์ 3) ทดลองใช้และประเมินผล หลังใช้ Telehealth พบว่า รู้จักสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80.2 รู้จักสิทธิและบริการ ร้อยละ 90.3 ระดับรับรู้ปานกลางร้อยละ 57.0 ทัศนคติต่อการใช้อยู่ระดับดี ร้อยละ 53.5 และด้านความพึงพอใจอยู่ระดับมาก ร้อยละ 55.8 ผลจากการศึกษานี้ระบบ Telehealth สามารถเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพทำให้ประชาชนรู้จักและทราบบริการด้านส่งเสริมสุขภาพได้</p> กัญญนัท ริปันโน, นภัชชล รอดเที่ยง, ภารินี หงษ์สุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2762 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบลานทรายกรองของ เทศบาลตำบลบ้านกอก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีกับ องค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2795 <p> การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อเปรียบเทียบการจัดการสิ่งปฏิกูลด้วยระบบบำบัดแบบลานทรายกรองในพื้นที่ 2 แห่ง ระหว่างให้เทศบาลดำเนินการกับมอบเอกชนดำเนินการ ศึกษาช่วงวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) สุ่มตัวอย่างตรวจจำนวนไข่หนอนพยาธิ และแบคทีเรียอีโคไลจากระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลในน้ำทิ้งสุ่มให้ได้ 3 ลิตร เก็บส่งตรวจไข่พยาธิ 1 ลิตร ส่งตรวจแบคทีเรียอีโคไล 100 มิลลิตรในกากตะกอนสุ่ม 10 จุดๆละ 100 กรัม มาคลุกรวมเป็น 1 กอง เก็บส่งตรวจไข่พยาธิ 400 กรัม ส่งตรวจแบคทีเรียอีโคไล 100 กรัม 2) ประเมินการรับรู้และความพึงพอใจต่อการจัดการสิ่งปฏิกูลโดยเลือกเจาะจงกลุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนที่อยู่บริเวณรอบบ่อบำบัดสิ่งปฏิกูลกลุ่มตัวอย่างพื้นที่ละ 123 คน 2 แห่ง รวม 246 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบน เปรียบเทียบการรับรู้และความพึงพอใจระหว่างเทศบาลกับเอกชนดำเนินการด้วยสถิติ t-test independent</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่เทศบาลตำบลบ้านกอกและองค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน มีสิ่งส่งตรวจในน้ำทิ้งไม่พบไข่หนอนพยาธิ และปริมาณแบคทีเรียอีโคไลน้อยกว่าเกณฑ์กำหนด (&lt; 0.1, 780 MPN ต่อ 100 มิลลิตร) ในกากตะกอนไม่พบไข่หนอนพยาธิทั้งสองพื้นที่ และการส่งตรวจปริมาณแบคทีเรียอีโคไล พบว่า บ่อบำบัดของเทศบาลตำบลบ้านกอกมีค่า &lt; 0.1 MPN ต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) ผ่านตามเกณฑ์กำหนด แต่บ่อบำบัดในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพังเคนที่เป็นดำเนินการของเอกชน พบปริมาณแบคทีเรียอีโคไล เท่ากับ 3,300 MPN ต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) เกินค่ากำหนด (&lt; 1,000 MPNต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้และความพึงพอใจระหว่างเทศบาลดำเนินการกับให้เอกชนดำเนินการ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt; 0.001) ประชาชนมีการรับรู้และความพึงพอใจในพื้นที่เอกชนดำเนินการมากกว่าการดำเนินการของเทศบาล</p> สุรทิน หมื่นอินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/HPC10Journal/article/view/2795 Wed, 17 Jul 2024 00:00:00 +0700