https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/issue/feed วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ 2024-06-26T00:00:00+07:00 Janpen Chantha-apichai jhfc@pim.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ </strong></p> <p><strong>ISSN 2985-1092 (Online) </strong></p> <p>วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์เป็นวารสารวิชาการด้านการพยาบาลและสุขภาพทุกสาขา ระบบบริการสุขภาพ การจัดการข้อมูลสุขภาพ อาหารและบริการ เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์และอาหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โภชนาการนวัตกรรมด้านสุขภาพและอาหาร และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเริ่มดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ฉบับแรก ในปี พ.ศ. 2566 </p> <p> - ประเภทบทความที่เปิดรับ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ </p> <p> - ภาษาของบทความ ได้แก่ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong> - </strong>กำหนดเผยแพร่<strong> </strong>ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม</p> <p> </p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/2049 ผลลัพธ์ของการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน-วิกฤต หน่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลด่านช้าง 2024-02-07T11:34:46+07:00 นุจรี จันทร์สคราญ noojmint@gmail.com นรินทร ขอพึ่ง noojmint@gmail.com <p> ระบบการคัดแยกความรุนแรงของโรค MOPH ED. Triage ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นกระบวนการคัดกรอง (Triage) โดยการจัดหมวดหมู่ผู้ป่วยตามความรุนแรงของการบาดเจ็บ เพื่อตัดสินความเร่งด่วนในการช่วยเหลือทางการแพทย์ การคัดกรองที่แม่นยำาจะช่วยจำแนกประเภทผู้ป่วยได้ถูกต้อง และลดระยะเวลาในการรอคอยในหน่วยผู้ป่วยฉุกเฉินได้ การคัดกรองผู้ป่วยผิดประเภทจะทำาให้การวินิจฉัยเกิดความล่าช้า ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยอาจนำาไปสู่การเสียชีวิตได้</p> <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน-วิกฤต หน่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลด่านช้าง เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Study) จากเวชระเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉิน ใช้ระบบการคัดแยกความรุนแรงของโรค MOPH ED. Triage ของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 คำานวณกลุ่มตัวอย่างได้ 238 คนและทำาการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการดำาเนินการคือ แนวทางการคัดกรอง MOPHED. Triage ของกระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการคดัแยกความรนุแรงของโรคตามเกณฑ์ MOPH ED. Triage ของกระทรวงสาธารณสขุ และแบบบันทึกระยะเวลาการให้การพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในหน่วยฉุกเฉินตามขั้นตอนการจัดการผู้ป่วย โรงพยาบาลด่านช้าง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผลการคัดกรองความรุนแรงของโรคตามเกณฑ์ MOPH ED. Triage ตามระดับความฉุกเฉินเร่งด่วน และช่วงระยะเวลาที่มารับบริการพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 2 Emergency ร้อยละ 71.43และเป็นผู้ป่วยที่มาใช้บริการช่วงเวรเช้ามากที่สุด ร้อยละ 43.70 ความถูกต้องของการคัดกรองตามระดับความฉุกเฉินเร่งด่วน ผลการประเมินคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินพบว่า คัดแยกถูกต้องร้อยละ 94.96โดยคัดแยก ต่ำกว่าเกณฑ์ (Under Triage) ร้อยละ 2.10 สูงกว่าเกณฑ์ (Over Triage) ร้อยละ 2.94 ระยะเวลาการให้การพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในหน่วยฉุกเฉินตามขั้นตอนการจัดการผู้ป่วย โรงพยาบาลด่านช้างตั้งแต่จุดคัดกรองจนถึงจำหน่ายออกจากหน่วยฉุกเฉิน เฉลี่ย 22.08 นาที (S.D = 5.47) ซึ่งเป็นไปมาตรการลดความแออัด (ER-Overcrowding) ตามแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินของกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/2603 รูปแบบการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชาของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2024-04-30T20:22:19+07:00 อดิสรณ์ ดีเปรมจิต adisorndeep@gmail.com กิติชัย ศรีสุขนาม adisorndeep@pim.ac.th ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์ adisorndeep@pim.ac.th <p> การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณที่มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นด้านรูปแบบการสื่อสารทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชากลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำ นวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามจำนวน 420 ชุด สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้คือ สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้บริโภคต้องการให้การโฆษณาสามารถสื่อสารและสร้างความเข้าใจในข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา มีการประชาสัมพันธ์ที่แสดงข้อดีและข้อเสียของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชา ควรมีการสื่อสารข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชากับลูกค้าโดยตรง เพื่อสร้างความมั่นในด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า สินค้าควรมีราคาให้เลือกหลากหลาย พนักงานจะต้องมีความรู้สามารถให้คำแนะนำ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมกัญชาได้ และผู้ประกอบการควรร่วมมือกับเครือข่ายในการทำการตลาดเพื่อกระจายสินค้าไปให้ทั่วถึง โดยรูปแบบการสื่อสารทางการตลาดที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชา ได้แก่ การสื่อสารด้วยการสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด การโฆษณา และการตลาดทางตรง ส่วนอิทธิพลในทิศทางตรงกันข้าม ได้แก่ การสื่อสารแบบส่วนตัว และการส่งเสริมการขาย ส่วนการประชาสัมพันธ์ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหาคร</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/2519 รูปแบบการดำเนินชีวิต และส่วนประสมทางการตลาด ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี 2024-05-10T16:50:39+07:00 เปรมมิกา ศิริวิเศษวงศ์ pramemikasir@pim.ac.th <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่เคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เฉพาะร้าน ซุปเปอร์มาร์เก๊ต ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินชีวิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตในด้านความสนใจมากที่สุด ด้านกิจกรรม และด้านความคิดเห็น ตามลำดับ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ กระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีโดยรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ด้านการประเมินทางเลือก ตระหนักถึงปัญหาโดยรวมการแสวงหาข้อมูลโดยรวม อยู่ในระดับมากตามลำดับ</p> <p> ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อซ้ำอาหารเพื่อสุขภาพจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/1388 ภาวะเบื่ออาหาร: สารอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด 2023-11-02T16:54:28+07:00 ศรีสุดา งามขำ nsrisuda05@gmail.com <p> ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดจะมีความทุกข์ทรมานจากฤทธิ์ข้างเคียงของยาเคมีบำบัด อาการข้างเคียงที่พบมากคือ คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในปาก และท้องเสีย มีผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยนํ้าหนักลด เมื่อเกิดขึ้นในระยะยาวผู้ป่วยอาจเกิดภาวะทุพโภชนการจนถึงภาวะผอมแห้ง การได้รับอาหารอย่างเพียงพอและครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยมะเร็งขณะได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อเป็นการส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรง พร้อมรับยาเคมีอย่างต่อเนื่องและต่อสู้กับโรคมะเร็งอย่างปลอดภัย สารอาหารที่จำเป็นที่ควรได้รับ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต นํ้า วิตามินและเกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ สารพฤษเคมี สมุนไพร อาหารว่างและอาหารเสริมสำเร็จรูปต่าง ๆ ดังนั้นบุคลากรสุขภาพและผู้ดูแลผู้ป่วยควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมและจัดหาอาหารอย่างเหมาะสมถูกต้องแก่ผู้ป่วยมะเร็งขณะได้รับยาเคมีบำบัด</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/1861 บทบาทพยาบาลในการดูแลภาวะขาดนํ้าในเด็ก 2024-02-01T14:52:56+07:00 อุษณีย์ จินตะเวช ujjusanee@gmail.com เกศรา เสนงาม ujjusanee@gmail.com ทัศนียา วังสะจันทานน์ ujjusanee@gmail.com กุสุมาลี โพธิปัสสา ujjusanee@gmail.com งามเอก ลำมะนา ujjusanee@gmail.com จิรกุล ครบสอน ujjusanee@gmail.com เพ็ญนภา ล่าเฟือย ujjusanee@gmail.com <p> ภาวะขาดนํ้าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ส่วนใหญ่สาเหตุจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ในกรณีที่ภาวะขาดนํ้าอยู่ในระดับรุนแรงอาจจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะในร่างกายผิดปกติจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อช่วยให้เด็กที่มีภาวะขาดนํ้ากลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างปลอดภัย สาระในบทความเพื่อให้พยาบาลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเด็กที่มีภาวะขาดนํ้าเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยการใช้กระบวนการพยาบาลซึ่งประกอบด้วยการประเมิน การตั้งข้อวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาลเพื่อให้การดูแลเด็กและให้ความรู้ผู้ดูแลเด็ก การให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาล รวมถึงการประเมินผลการพยาบาลเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการพยาบาลให้สอดคล้องกับอาการทางคลินิกของเด็ก</p> <p> </p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/2556 แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน 2024-05-13T09:00:43+07:00 จันทร์จิรา ฉัตราวานิช janjiracha2525@gmail.com จุรีมาศ ชะยะมังคะลา chanchirachat@pim.ac.th วิภา มะลา chanchirachat@pim.ac.th <p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน บทความนี้จะกล่าวถึงเนื้อหาที่สอดคล้องกันดังนี้ รูปแบบของธุรกิจร้านอาหารในยุคดิจิทัล แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แนวทางการดำเนินธุรกิจร้านอาหารภายใต้แนวคิดเศรษกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน จำนวน 7 แนวทางได้แก่ 1) การจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) การมุ่งเน้นความปลอดภัย 3) การสร้างสรรค์รายการอาหาร 4) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5) การให้บริการที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ 6) การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในทีมงานและ 7) การสื่อสารทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์ การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารนำ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารธุรกิจร้านอาหารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจได้อย่างยั่งยืนต่อไป</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์