วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC <p><strong>วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ </strong></p> <p><strong>ISSN 2985-1092 (Online) </strong></p> <p>วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์เป็นวารสารวิชาการด้านการพยาบาลและสุขภาพทุกสาขา ระบบบริการสุขภาพ การจัดการข้อมูลสุขภาพ อาหารและบริการ เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์และอาหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โภชนาการนวัตกรรมด้านสุขภาพและอาหาร และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะเริ่มดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่ฉบับแรก ในปี พ.ศ. 2566 </p> <p> - ประเภทบทความที่เปิดรับ ได้แก่ บทความวิจัย บทความวิชาการ </p> <p> - ภาษาของบทความ ได้แก่ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong> - </strong>กำหนดเผยแพร่<strong> </strong>ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม</p> <p> </p> Panyapiwat Institute of Management th-TH วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ 2985-1092 <p>“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งเผยแพร่อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งและ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วมยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว”</p> ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/1750 <p>งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุ (2) ความแตกต่างของพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุ จำแนกตามลักษณะทางประชากร และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อ จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Independent-Sample t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงและเพศชายในสัดส่วนเท่ากัน ประกอบอาชีพอิสระและกิจการส่วนตัว มีระดับการศึกษาประถมศึกษาที่ 4 รายได้อยู่ระหว่าง 10,001 ถึง 20,000 บาท อาศัยอยู่กับบุตรหลาน ประเภทสินค้าที่ซื้อเป็นน้ำดื่มผสมวิตามิน เข้าใช้บริการที่ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น โดยมีความถี่ในการซื้อสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง เท่ากับ 50-100 บาท ใช้บริการในช่วงเวลา 05:00-10:00 น. ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.17 ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะอื่น ๆ จากผู้บริโภคพบว่า ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหาซื้อยาก ราคาสูง และรสชาติของผลิตภัณฑ์ไม่ถูกปากผู้บริโภค ใส่ส่วนผสมอื่นที่ปรุงแต่งอาหารมากจนเกินไป</p> <p>การทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้สูงอายุเพศชายและหญิงมีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อที่แตกต่างกัน และผู้สูงอายุที่มีอาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และรูปแบบการพักอาศัยที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> กมล สงบุญนาค ศศธร ชินชู อำไพ ประเสริฐวัฒนะ อจิศักดิ์ แก้วนพรัตน์ Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 1 2 1 12 การพัฒนาขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/1747 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตราส่วนเกสรบัวหลวงที่เหมาะสมในการพัฒนาขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวง 2) ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของผลิตภัณฑ์ขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวง 3) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวง วิธีดำเนินงาน ศึกษาสูตรมาตรฐานที่เหมาะสมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวง และใช้อัตราส่วนที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดอัตราส่วนของปริมาณน้ำต่อเกสรบัวหลวงแห้ง 3 ระดับ คือ 1:0.6, 1:1.2 และ 1:1.8 จากนั้นนำไปทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์ โดยให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ (9-Point Hedonic Scale) นำผลิตภัณฑ์ไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ จำนวน 100 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนเกสรบัวหลวงที่เหมาะสมในการพัฒนาขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวง คือ 1:1.2 ได้รับการยอมรับอยู่ในระดับชอบมาก (8.13 คะแนน) การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่า ขนมจีนเส้นสดที่มีการเติมน้ำเกสรบัวหลวงเข้มข้นเพิ่มขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์มีค่า L* และค่า a* ลดลง แต่มีค่า b* เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวง มีค่าความนุ่มเท่ากับ 6.10 นิวตัน ค่าความเหนียวเท่ากับ 11.73 นิวตัน การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีพบว่า ผลิตภัณฑ์ขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวงมีค่าความชื้นร้อยละ 77.73 ค่า aw เท่ากับ 0.97 และค่า pH เท่ากับ 6.62 ซึ่งเกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขนมจีน (มผช.500/2547) แต่น้อยกว่าสูตรมาตรฐานที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 7.71 ดังนั้นการเติมเกสรบัวหลวงจึงมีส่วนช่วยทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของขนมจีนเส้นสดลดลงได้ เมื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ขนมจีนเส้นสดเสริมเกสรบัวหลวงพบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับอยู่ในระดับมาก</p> กานดา เสียวสวัสดิ์ ปวีณา บุญยิ่ง จิราภรณ์ จูมนา วิภา มะลา Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 1 2 13 25 สารพฤกษเคมีและอิทธิพลต่อความยาวของเทโลเมียร์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/1744 <p>ความชราหรือความเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัย เป็นกลไกที่มาพร้อมกับความเจ็บป่วยและโรคที่แปรผันตามอายุ (Age-Related Diseases) เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความจําเสื่อม โรคเบาหวาน เป็นต้น โดยกลไกความชรานี้สามารถอธิบายได้ด้วยองค์ความรู้ในระดับโมเลกุลหลายทฤษฏี เช่น กระบวนการเสื่อมของเซลล์ ความผิดปกติของไมโทคอนเดรีย ความเสียหายจากอนุมูลอิสระ ภาวะเครียดออกซิเดชั่น การอักเสบภาวะฮอร์โมนแปรปรวน และการสั้นลงของเทโลเมียร์ เป็นต้น ดังนั้นแนวทางการฟื้นฟูและรักษาความชราและโรคที่เกิดจากความชราเพื่อทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะสุขภาพสมบูรณ์สูงสุดจึงมีหลายวิธี เช่น การออกกำลังกาย การจัดการโภชนาการอาหารที่ดี การใช้ยา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และการฟื้นฟูรักษาด้วยเทคโนโลยีการการแพทย์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งก็มีทั้งวิธีที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพและวิธีที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันประสิทธิภาพที่แน่ชัด</p> <p>กลไกการรักษาความยาวเทโลเมียร์ (Telomeres) โดยเอนไซม์เทโลเมอเรส (Telomerase) เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับโครโมโซมระหว่างกระบวนการแบ่งเซลล์ ซึ่งเป็นผลทำให้เซลล์ชรา และอวัยวะในร่างกายเสื่อมสภาพ Blackburn et al. (2009) ได้ศึกษาและคิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์ ยา และอาหารเสริมต่าง ๆ ที่ช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างความยาวของเทโลเมียร์ ที่ซึ่งเป็นความหวังของการมีอายุขัยยืนยาวกันอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามผลการศึกษาและวิจัยในมนุษย์และสัตว์พบว่าภาวะโภชนาการอาหารเป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับความยาวของเทโลเมียร์ สารอาหารและสารประกอบตามธรรมชาติหลายชนิดมีศักยภาพในการรักษาและเสริมความยาวของเทโลเมียร์ได้ โดยเฉพาะในพืช ผัก ผลไม้ และสมุนไพรซึ่งประกอบด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) หลายชนิดทั้งสารปฐมภูมิ (Primary Metabolites) เช่น วิตามิน และรงควัตถุต่าง ๆ และสารทุติยภูมิ (Secondary Metabolite) เช่น สารประกอบฟีนอลิก (Phenolic Compounds) สารแอลคาลอยด์ (Alkaloid) และเทอร์พีนอยด์ (Terpenoid) เป็นต้น ซึ่งในบทความวิจัยนี้ได้นำเสนอตัวอย่างสารสกัดสมุนไพรที่มีศักยภาพในการชะลอกระบวนเสื่อมของร่างกายและโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอายุผ่านกลไกเทโลเมียร์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์รายการอาหาร เครื่องดื่ม และอาหารเสริมเพื่อชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ที่นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและอายุที่ยืนยาวขึ้นต่อไป</p> สิริพร แช่มสนิท อชิรญา มหาสินไพศาล สายฝน โพธิสุวรรณ Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 1 2 26 38 SHORT COMMUNICATION: IMPLEMENTING PERSONALIZED INTERVENTIONS FOR CANCER SURVIVORS: THE INTERVENTIONISTS’ PERSPECTIVES AND TRAINING NEEDS https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/1737 <p>Cancer survivors often suffer from multiple symptoms including fatigue, pain, and emotional distress as a consequence of the diagnosis and treatment. These patients require comprehensive support systems to address these ongoing symptoms and enhance their overall quality of life. A research team is developing and testing the effect of a 12-week Combined Technology Enhanced Home Exercise Program and Acupressure (TEHEplus) program on symptoms and well-being (clinicaltrial.gov: NCT03576274). These personalized interventions for cancer survivors offer tailored non-pharmacological approaches, enhancing individualized care and positively impacting cancer survivors' overall well-being. During the program testing phase, the interventionists were responsible for providing an education session and delivering weekly personalized recommendations to participants. Emphasizing the crucial role of interventionists, this paper underscores the role and positive impact of tailored non-pharmacological approaches on survivors' lives in.</p> <p>The TEHEplus program for cancer survivors uses mobile technologies (physical activity tracker and smartphone application) to deliver weekly-personalized recommendations. The paper shared the challenges faced by these interventionists (e.g., providing personalized intervention, technical challenges in using mobile technologies and online training) and the needs for comprehensive and ongoing trainings. Overall, interventionists bridge the gap between research and real-world implementation, shaping the future of personalized care.</p> Hejingzi Monica Jia Nada Lukkahatai Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 1 2 39 45 การพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาล: ความไวทางจริยธรรม https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/1885 <p>ความไวทางจริยธรรม (Ethical Sensitivity) คือความสามารถในการรับรู้ และการตีความเหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นทางจริยธรรม พยาบาลเป็นอาชีพที่มีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ร่วมงานและผู้รับบริการ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชน ยึดหลักคุณธรรมและความเสมอภาคในสังคม แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนภาระงานหนักของพยาบาลในการดูแลผู้รับบริการ ทำให้มีโอกาสเกิดข้อขัดแย้งในประเด็นทางจริยธรรมสูง วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะความไวทางจริยธรรมการพยาบาล ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมการพยาบาลอย่างเหมาะสมตามจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ และเพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้เกี่ยวข้องในทีมสุขภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านความปลอดภัยและด้านคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล</p> <p>การแสดงพฤติกรรมทางจริยธรรม เป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากความไวทางจริยธรรมจะนำไปสู่การตัดสินใจเชิงจริยธรรม โดยอาศัยแรงจูงใจและคุณลักษณะทางจริยธรรม การพัฒนาทักษะความไวทางจริยธรรมโดยการปลูกฝังจิตสำนึกทางจริยธรรม ความสามารถในการรับรู้ทางจริยธรรม การเข้าใจมุมมองของบุคคลอื่น จะทำให้พยาบาลเกิดความตระหนักมีความรู้สึกรับผิดชอบทางวิชาชีพ และความต้องการที่จะช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมทางการพยาบาลในการดูแลผู้รับบริการ</p> อัญชัญ วัฒนะพันธ์ศักดิ์ เสาวลักษณ์ ทรัพย์อาภรณ์ Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 1 2 46 53 บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินกับภาวะช็อกจากการเสียเลือดจากการบาดเจ็บ: ความท้าทายในการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JHFC/article/view/1208 <p>การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการเกิดอุบัติเหตุจราจรเป็นการบาดเจ็บที่พบมากที่สุด หากการบาดเจ็บนั้นเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรงและส่งผลต่ออวัยวะที่สำคัญ และผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องในระยะก่อนส่งโรงพยาบาล อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในช่วงระหว่างนำส่งโรงพยาบาลได้</p> <p>การดูแลผู้บาดเจ็บในระยะก่อนถึงโรงพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง การบริหารจัดการโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินมีเป้าหมายหลักคือ ลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการที่ป้องกันได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล ลดการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ไม่ถูกต้อง และลดการนำส่งสถานพยาบาลที่ไม่เหมาะสม โดยพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินที่ออกปฏิบัติการในระดับการช่วยชีวิตขั้นสูง จะมีความสามารถในการดูแลผู้บาดเจ็บขั้นสูงได้ การมีสมรรถนะและทักษะสูงทางคลินิก ตั้งแต่การประเมินความรุนแรงของภาวะช็อกจากการเสียเลือดเบื้องต้น การค้นหาภาวะคุกคามชีวิต การระบุการบาดเจ็บ การรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วน ครอบคลุม นำไปสู่การจัดการในการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บถูกต้อง เหมาะสม ทันเวลาและรวดเร็ว ทั้งในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล และระหว่างส่งผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาล รวมทั้งสามารถประสานงานกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน ช่วยให้ผู้บาดเจ็บได้รับความช่วยเหลือและดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อไปถึงโรงพยาบาล จะทำให้ผู้บาดเจ็บปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการแก่ผู้บาดเจ็บ ลดการสูญเสียบุคคลในครอบครัว เป็นการลดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย</p> นภรรสสร กูรมาภิรักษ์ Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและอาหารเชิงสร้างสรรค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 1 2 54 63