https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/issue/feed วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี 2024-05-29T09:09:04+07:00 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี odpc8ud.journal@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี </strong></p> <p><span style="font-weight: 400;"> จัดทำเพื่อเผยแพร่นิพนธ์ต้นฉบับ บทบรรณาธิการ บทความวิจัย บทความวิชาการ และการสอบสวนโรค เกี่ยวกับป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ตลอดจนผลงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ เช่น โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคไม่ติดต่อและโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ผลงานวิชาการที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจาก<strong>ผู้เชี่ยวชาญ (Peer review) ตั้งแต่สองท่านขึ้นไป แบบ Double blind</strong></span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>ISSN :</strong> 2822-0250 (Online)</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>ปีที่เริ่มเผยแพร่</strong> <strong>:</strong> ปี พ.ศ.2565</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>ภาษาที่เผยแพร่</strong> <strong>:</strong> ไทย / อังกฤษ</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>ค่าธรรมเนียม :</strong> ไม่มีค่าธรรมเนียม</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>การเผยแพร่ :</strong> ปีละ 3 ฉบับ มกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม, กันยายน-ธันวาคม ผ่านช่องทางออนไลน์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/index</span></p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/1470 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนในตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย 2023-08-24T13:25:16+07:00 กันตภณ ธรรมสา ratthapol23@gmail.com <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จำนวน 287 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ด้วยแบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนด้วยสถิติ Chi-Square Test และ Fisher’s Exact Test ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนในตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยทางชีวสังคม ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ การมีโรคประจำตัว การพักอาศัยอยู่กับบุตร การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลาดิบของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; 0.05) 3) ปัจจัยนำ ซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และทัศนคติต่อการบริโภคปลาดิบมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การบริโภคปลาดิบของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; 0.01) 4) ปัจจัยเอื้อ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; 0.001) 5) ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt; 0.001) ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ โดยเฉพาะความรู้ประเด็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารจากปลาดิบเท่านั้น และสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประชาสัมพันธ์สื่อสารผ่านทุกช่องทาง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติที่ถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนัก และเห็นความสำคัญในการดูแลตนเองเบื้องต้น ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญเป็นการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดี โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่</p> 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/1740 การประเมินมาตรฐานเครื่องพ่นหมอกควันแบบสะพายไหล่ ของหน่วยงานเครือข่ายศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.2 จังหวัดเลย 2023-11-27T14:28:37+07:00 จักรพงษ์ วงษ์งาม jaggapong.wong@gmail.com ผไทมาศ เปรื่องปรีชาศักดิ์ genepathma@gmail.com นฤมล หลักคำ noklakkham.1976@gmail.com สุริยันต์ โสภาวัฒน์ suriyansopawat@gmail.com สามิตร พันทะลัย 25samitr25@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปริมาณเครื่องพ่นหมอกควันแบบสะพายไหล่ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ของหน่วยงานเครือข่ายศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.2 จังหวัดเลย ใช้วิธีการคัดเลือกพื้นที่หน่วยงานเครือข่ายแบบหลายขั้นตอน ได้หน่วยงานเครือข่ายจาก 5 อำเภอ ๆ ละ 1 ตำบล มีเครื่องพ่นหมอกควันจำนวน 42 เครื่อง เกณฑ์การประเมินมาตรฐานมี 4 ด้าน ดังนี้ 1) อัตราการไหลของสารเคมี 2) อุณหภูมิปลายท่อ 3) การวัดขนาดเฉลี่ยของละอองสารเคมี และ 4) ความสม่ำเสมอในการผลิตละอองสารเคมี รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และทดสอบคุณลักษณะของเครื่องพ่นหมอกควัน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงพฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานเครือข่าย จำนวน 14 แห่ง นำเครื่องพ่นหมอกควันเข้ารับการประเมินมาตรฐาน จำนวน 42 เครื่อง ส่วนมากเป็นยี่ห้อ Best fogger ร้อยละ 57.15 อายุการใช้งานอยู่ระหว่าง 7-9 ปี ร้อยละ 40.48 ความถี่ในการใช้งานเครื่องพ่นหมอกควันอยู่ระหว่าง 21-30 วันต่อปี ร้อยละ 45.24 เครื่องพ่นหมอกควันที่ผ่านการทดสอบก่อนการประเมินมาตรฐาน จำนวน 41 เครื่อง การประเมินมาตรฐานอัตราการไหลของสารเคมี อุณหภูมิปลายท่อ ขนาดเฉลี่ยของละอองสารเคมี และความสม่ำเสมอในการผลิตละอองสารเคมีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100, 100, 53.66 และ 100 ตามลำดับ มาตรฐานภาพรวม 4 ด้าน มีเครื่องพ่นหมอกควันผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 53.66 จะเห็นได้ว่าเครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้ในพื้นที่ยังมีเครื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 46.34 อาจส่งผลถึงประสิทธิภาพการควบคุมโรค ดังนั้น ควรตรวจสอบและประเมินมาตรฐานอย่างละเอียดก่อนใช้เครื่องพ่นหมอกควันเพื่อการควบคุมโรค โดยเฉพาะเน้นการตรวจสอบขนาดเฉลี่ยของละอองสารเคมี</p> 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/1833 ผลการพัฒนารูปแบบทางการพยาบาลในการจัดการรายกรณีและการกำกับตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ 2024-01-18T12:15:42+07:00 อุษนีย์ รามฤทธิ์ ramrit_usanee@hotmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบทางการพยาบาลในการจัดการรายกรณีและการกำกับตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) คัดเลือกเข้าเกณฑ์โดยการเลือกวิธีการจับคู่ โดยใช้หลักการ “The Max Min Con Principle” และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามรูปแบบการจัดการรายกรณี 6 ขั้นตอน (1) ค้นหาและเลือกผู้ป่วย (2) ประเมินและวินิจฉัยปัญหา (3) วางแผนการทำงาน (4) ดำเนินการตามแผน (5) ประเมินผลการจัดการรายกรณี (6) กำกับกระบวนการการจัดการรายกรณี กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามรูปแบบบริการในคลินิกเบาหวาน ดำเนินการในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 - ตุลาคม พ.ศ. 2566 รวมระยะเวลา 1 ปี การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C) วิเคราะห์โดยใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Pair t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยเฉพาะการบริโภคอาหารหวาน มีคะแนนเฉลี่ย 6.33 (S.D. = 1.09) และ 7.47 (S.D. = 1.46) ตามลำดับ การออกกำลังกายและการใช้ยา กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.54 (S.D. = 6.31) และค่าเฉลี่ย 3.00 (S.D. = 1.98) ตามลำดับ และกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.10 (S.D. = 7.02) การใช้ยาอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.02 (S.D. = 2.29) และความเข้มแข็งทางใจทั้งสองกลุ่มอยู่ในเกณฑ์ปกติ ผลลัพธ์ทางคลินิกระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C) &lt; 6.5% โดยไม่ใช้ยาเบาหวาน พบว่า กลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน ร้อยละ 26.66 กลุ่มควบคุม จำนวน 2 คน ร้อยละ 6.66 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C) กลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม ค่าเฉลี่ย 6.3 (S.D. = 0.46) และ 6.6 (S.D. = 0.65) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน โดยไม่ต้องใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลได้ หากมีการกำกับตนเอง เช่น การลดอาหารเค็ม การออกกำลังกาย และได้รับการกระตุ้นเตือนทั้งจากทีมสุขภาพและบุคคลในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ</p> 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/1953 ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในเขตตำบลเมืองหมี อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2024-01-18T13:14:02+07:00 อุลิสาณ์ ไชยศิริ ulisa.c@hotmail.co.th ราชันณ์ วรสิงห์ tingly_rachan@hotmail.com คมกริช ศรีชาดา ncd_top@hotmail.com <p>การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองหมี อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามโปรแกรมที่ผู้วิจัยออกแบบ โดยเป็นการประยุกต์ระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก ระยะเวลาในการศึกษาทั้งหมด 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ความรู้โรคเบาหวานและพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และเจาะเลือดตรวจโดยพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบค่าน้ำตาลในเลือดระหว่างกลุ่มก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) เมื่อเปรียบเทียบค่าน้ำตาลในเลือด ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเป็น 161.28 mg/dL และหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยของค่าน้ำตาลในเลือดลดลงเป็น 135.28 mg/dL เมื่อเปรียบเทียบค่าน้ำตาลในเลือด เฉลี่ยหลังเข้าร่วมโปรแกรมน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = - 26.00, SD = 4.23, 95%CI: - 34.43 ถึง - 17.57, p-value &lt; 0.001) และค่าน้ำตาลสะสมในเลือด ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเป็น 7.93 % เมื่อหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยของค่าน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงเป็น 7.45 % เมื่อเปรียบเทียบค่าน้ำตาลสะสมในเลือดเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโปรแกรมน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = - 0.47, SD = 0.07, 95%CI: - 0.62 ถึง - 0.32, p-value &lt; 0.001)</p> 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/2095 ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2563–2564 2024-02-14T08:51:03+07:00 ยุวดี แก้วประดับ yingzaza126@gmail.com ชรัฐพร จิตรพีระ charuttaporn@gmail.com จุฑารัตน์ อาภาคัพภะกุล namfahh.a@gmail.com ภาวินี ด้วงเงิน pawind@gmail.com <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิย้อนหลังจากการรายงานข้อมูลของกรมควบคุมโรค ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564 มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยา และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ อัตรา จำนวน และร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ (Multiple logistic regression analysis) ได้แก่ Odd ratio, Adjusted odd ratio และช่วงความเชื่อมั่น 95% Confidence Interval ผลการศึกษา พบผู้ป่วย 2,224,450 ราย อัตราป่วย 3,356.35 ต่อแสนประชากร อัตราตาย 32.74 ต่อแสนประชากร (ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2566) เพศหญิง ร้อยละ 48.56 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 20.45 อายุเฉลี่ย 34 ปี ไม่มีข้อมูลการรับวัคซีนสูงสุด ร้อยละ 77.39 ไม่มีการระบุข้อมูลการรับยาต้านไวรัส ร้อยละ 99.69 เดือนสิงหาคมสูงสุด ร้อยละ 27.31 สมุทรสาคร พบอัตราป่วยสูงสุด 19,216.26 ต่อแสนประชากร และพบผู้เสียชีวิต จำนวน 21,698 ราย เพศชาย ร้อยละ 53.89 อายุ 60 ปีขึ้นไปเสียชีวิตสูงสุด ร้อยละ 68.73 โดยที่ผู้เสียชีวิตได้รับยาต้านไวรัส ร้อยละ 74.09 ไม่ได้รับวัคซีนสูงสุด ร้อยละ 83.77 เดือนสิงหาคมสูงสุด ร้อยละ 31.34 สมุทรสาครพบอัตราตายสูงสุด 150.35 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง (aOR 1.29, 95%CI = 1.24-1.34) และผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตกว่าอายุอื่นๆ (aOR 77.89, 95%CI = 58.97-102.89) ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ (aOR 1.52, 95%CI = 1.25-1.87) โรคหัวใจและหลอดเลือด (aOR 1.97, 95%CI = 1.56-2.49) โรคไต (aOR 13.86, 95%CI = 10.80-17.81) โรคหลอดเลือดสมอง (aOR 1.37, 95%CI = 1.17-1.62) โรคอ้วน (aOR 46.84, 95%CI = 34.16 -64.22) โรคมะเร็ง (aOR 5.80, 95%CI = 4.31-7.80) โรคเบาหวาน (aOR 1.47, 95%CI = 1.31-1.65) อย่างไรก็ตามปี พ.ศ. 2563-2564 เป็นช่วงแรกของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะลดการระบาด และความรุนแรงของโรค การจัดการข้อมูลที่บางส่วนช่วงแรกจึงอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การจัดการข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ควรจะต้องเตรียมการและพัฒนาให้มีลงข้อมูลให้สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อใช้ประกอบในการวางแผนและมาตรการป้องกันควบคุมโรคต่อไป</p> 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/2434 การวิเคราะห์จุดเสี่ยง อุบัติการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจราจรโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และทะเบียนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 2024-04-26T16:00:30+07:00 เสกสรร สุวรรณแพง ssekso1964@gmail.com ธวัชชัย อิ่มพูล tawatchaiimpool@gmail.com สุธิดา จันทร์จรัส suthidachancharas@gmail.com ณัฏธิรา แดงพรวน natthira.kkh@gmail.com สุวิทย์ ศุภวิโรจน์เลิศ yayeesri9@gmail.com มัณฑนา มิตรชัย manthanakkh@gmail.com <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ จุดเสี่ยง อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุจราจรโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และระบบบันทึกทะเบียนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2565 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบอุบัติเหตุ 6,461 ครั้ง ส่วนมากเกิดบริเวณทางแยกที่เป็นจุดตัดจากซอยและจุดตัดถนนมิตรภาพและช่วงถนนสายหลักภายในตำบล ในเมือง มีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บระดับรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าผู้ประสบเหตุบาดเจ็บระดับรุนแรงเกี่ยวข้องกับ อายุ เพศ เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ชนิดของยานพาหนะ และพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี มีความเสี่ยง 2.75 เท่า (95%CI = 1.81–4.18) ของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เพศชายมีความเสี่ยง 1.28 เท่า (95%CI = 1.13-1.45) ของเพศหญิง ช่วงเวลา 0.00 – 4.00 น. และ 22.01 – 23.59 น. มีความเสี่ยง 2.13 และ 1.66 เท่า (95%CI = 1.75–2.58, 95%CI = 1.30–2.13) เทียบกับช่วงเวลา 8.01 – 17.00 น. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มีความเสี่ยง 4.37 เท่า (95%CI = 3.71–5.14) ของผู้ป่วยที่ไม่ดื่มอย่างมีนัยสำคัญ (p-value &lt; 0.000) ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจร ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมาย การสร้างวินัยในการจราจร การลดพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ จึงเป็นแนวทาง ที่นำไปวางแผนเพื่อลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรต่อไป</p> 2024-05-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี