วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8 <p><strong>วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี </strong></p> <p><span style="font-weight: 400;"> จัดทำเพื่อเผยแพร่นิพนธ์ต้นฉบับ บทบรรณาธิการ บทความวิจัย บทความวิชาการ และการสอบสวนโรค เกี่ยวกับป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ตลอดจนผลงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ เช่น โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคไม่ติดต่อและโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ผลงานวิชาการที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจาก<strong>ผู้เชี่ยวชาญ (Peer review) ตั้งแต่สองท่านขึ้นไป แบบ Double blind</strong></span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>ISSN :</strong> 2822-0250 (Online)</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>ปีที่เริ่มเผยแพร่</strong> <strong>:</strong> ปี พ.ศ.2565</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>ภาษาที่เผยแพร่</strong> <strong>:</strong> ไทย / อังกฤษ</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>ค่าธรรมเนียม :</strong> ไม่มีค่าธรรมเนียม</span></p> <p><span style="font-weight: 400;"><strong>การเผยแพร่ :</strong> ปีละ 3 ฉบับ มกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม, กันยายน-ธันวาคม ผ่านช่องทางออนไลน์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/index</span></p> สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี th-TH วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี 2822-0250 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคโควิด 19 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/1976 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) กรณีโรคโควิด 19 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี (สคร.6 ชลบุรี) รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการประยุกต์แนวคิดของเคมมิสและแม็กแท็กการ์ท (PAOR) ร่วมกับวงจรคุณภาพ (PDCA) ของเดมมิ่ง แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทและสถานการณ์ปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการ EOC กรณีโรคโควิด 19 สคร.6 ชลบุรี ระยะที่ 3 การสรุปและประเมินผลศึกษาในเจ้าหน้าที ที่ปฏิบัติงานใน EOC โรคโควิด 19 สคร.6 ชลบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานสถานการณ์และผลการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแต่ละระลอกใช้กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากเจ้าหน้าที่ใน EOC สคร.6 ชลบุรี นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบ EOC โรคโควิด 19 ของ สคร.6 ชลบุรี มีการจัดการ ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ มีการปรับโครงสร้าง EOC ยุบ/รวม/ขยาย/ตั้งกลุ่มภารกิจใหม่ การปรับบุคลากรตามภาระงาน และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ออกเป็นคำสั่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน มีการกระจายอำนาจรับผิดชอบ โดยมอบหมายรองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการดูแลกำกับคนละ 1-2 กลุ่มภารกิจ และแบ่งจังหวัดร่วมการประชุมให้ข้อเสนอแนะกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดทั้ง 8 จังหวัด มีการพัฒนาระบบปฏิบัติงานภายใน มีการปรับแผนการจัดการในระยะตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน โดยใช้หลักการ PDCA การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียนมาตรวจสอบและปรับปรุง การทำงานอย่างเป็นระบบ 2) ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ มีการจัดหาสถานที่ทำงานของแต่ละกลุ่มภารกิจ รวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพียงพอ 3) ด้านบุคลากร มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาพรวมเพื่อเตรียมพร้อมการปฏิบัติงาน EOC และการพัฒนาศักยภาพทีมภายในแต่ละกลุ่มภารกิจ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการทำงาน นำไปสู่การปฏิบัติที่ดี สร้างนวัตกรรมขึ้นมาใช้ ผลลัพธ์การดำเนินงานส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ประเมินตามตัวชี้วัดที่กำหนด และยกระดับการพัฒนาการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับเขต ข้อเสนอแนะ ควรจัดทำแผนพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรไปพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว ลดกำลังคน โดยเฉพาะการจัดการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้โมเดลในการทำนายเหตุการณ์ และการนำผลการถอดบทเรียนมาวิเคราะห์เพื่อเรียนรู้และเตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์โรคที่ไม่คาดคิดในอนาคตต่อไป</p> วัลภา ศรีสุภาพ กาญจนา เจ๊กนอก Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี 2024-10-09 2024-10-09 3 1 พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/1998 <p>การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ <em>มี</em>วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวนทั้งหมด 400 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามคุณลักษณะทั่วไป แบบทดสอบความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก แบบสอบถามทัศนคติต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบพหุตัวแปร (Multiple logistic regression) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 52.80 ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.65, SD = 0.52) ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมระดับดีมากที่สุดในเรื่องการจัดข้าวของภายในบ้าน และรอบบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ( = 4.28, SD = 0.82) ส่วนพฤติกรรมที่ต้องปรับปรุง คือ การแขวนเสื้อผ้า ไว้ตามฝาผนังห้องหรือมุมของบ้าน ซึ่งจะทำให้มียุงมาเกาะ ( = 2.86, SD = 1.31) สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์ กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ การมีบทบาทในชุมชน (Adjusted OR = 1.71, 95%CI = 1.06 - 2.75) และรายได้ครัวเรือนมากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน (Adjusted OR = 2.42, 95%CI = 1.19 - 4.91) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนเข้ามามีบทบาทในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบที่อยู่อาศัยของตนเอง และหมู่บ้าน รวมทั้งการสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าก่อนเริ่มระบาด โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อยเพื่อให้มีการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็น</p> ดิษฐพงษ์ ภูสถาน Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี 2024-10-09 2024-10-09 3 1 ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดหนองคาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/JODPC8/article/view/2238 <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้มารับบริการวินิจฉัยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 7,832 คน สืบค้นข้อมูลจากระบบ HOSxP โรงพยาบาลหนองคาย การสุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาจำนวน 1,553 คน ซึ่งได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่าง สำหรับการวิเคราะห์สัดส่วนกรณีทราบขนาดประชากร ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 54.22) อายุเฉลี่ย 35.17 ปี อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 22.99) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 1,069 คน (ร้อยละ 68.83) สัตว์ที่สัมผัส (กัด/ข่วน/เลีย) คือ สุนัข ร้อยละ 93.75 ความชุกของการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ในผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 55.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อายุ 15 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <br />(P-value &lt; 0.05) ได้แก่ อาชีพ (adjOR = 0.54, 95%CI = 0.38-0.79, P-value = 0.001) การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า (adjOR = 0.54, 95%CI = 0.39-0.74, P-value &lt; 0.001) ระยะทางจากบ้านถึงโรงพยาบาลมากกว่า 30 กิโลเมตร (adjOR = 0.25, 95%CI = 0.07-0.84, P-value = 0.025) การใช้รถยนต์ของตนเอง (adjOR = 0.29, 95%CI = 0.22-0.39, P-value &lt; 0.001) ผู้สัมผัสโรคที่ถูกสัตว์ไม่มีเจ้าของ(adjOR = 2.69, 95%CI = 1.92-3.77, P-value &lt; 0.001) ไม่ทราบสถานภาพสัตว์ที่กัด (adjOR= 3.24, 95%CI = 1.48-7.79, P-value = 0.003) ผู้สัมผัสโรคที่มีระดับการสัมผัสกับสัตว์ที่สงสัยมีเชื้อพิษสุนัขบ้า WHO category3 (adjOR = 6.68, 95%CI = 3.92-11.38 , P-value &lt; 0.001) มีโอกาสจะรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์มากกว่าข้อมูลจากการศึกษานี้ พบว่า การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า สามารถลดโอกาสที่ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าจะเข้ารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ได้ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ควรให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับเกี่ยวกับความสำคัญ อันตรายของโรคพิษสุนัขบ้า ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่เข้ารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ส่วนใหญ่จะถูกสัตว์ไม่มีเจ้าของและไม่ทราบสถานภาพสัตว์ที่สัมผัสโรคกัด มีโอกาสที่จะเข้ารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์มากถึง 2.69 เท่า และ 3.24 เท่า ตามลำดับ ซึ่งไม่มีผู้รับผิดชอบทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาเพื่อเดินทางมารับวัคซีน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรใช้กลยุทธ์ในการเสริมสร้างแรงจูงใจบุคคลกลุ่มนี้ในการรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์</p> <p> </p> สุรชัย กิจติกาล ธวัชชัย เหลืองศิริ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี 2024-10-09 2024-10-09 3 1