https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/issue/feed วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2024-12-27T00:00:00+07:00 น.พ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร jemst@niems.go.th Open Journal Systems <p>วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (Journal of Emergency Medical Services of Thailand) เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ออกเดือนมิถุนายน ฉบับที่ 2 ออกเดือนธันวาคม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <ol> <li>เผยแพร่บทความผลงานวิจัย ผลงานวิชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สาธารณภัยและการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในระดับนานาชาติ </li> <li>เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สาธารณภัย และการสาธารณสุข</li> <li>เผยแพร่บทความที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน หรือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในความตระหนักและการรับรู้ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการแพทย์ฉุกเฉิน</li> </ol> <p>โดยกองบรรณาธิการวารสาร ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก จากหน่วยงานต่าง ๆ ผู้ที่มีผลงานวิจัยต่อเนื่อง รวมทั้งยังได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากหลายหน่วยงานเป็นผู้ประเมินต้นฉบับ ซึ่งบทความแต่ละเรื่องจะได้รับการประเมินโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 2-3 คนและเป็นการประเมินแบบ Double-Blind Peer Review</p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2567 การพัฒนารูปแบบการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการ กรณีศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี 2024-05-01T14:24:46+07:00 อุรา สุวรรณรักษ์ ura.s@niems.go.th พัฒธพงษ์ ประชาสันติกุล ura.s@niems.go.th สุนิสา สุวรรณรักษ์ sunisa.s@niems.go.th สุนัชฌา ไชยกาล ura.s@niems.go.th อนุรัตน์ สมตน anurut.s@niems.go.th รัตนินทร์ ภูมิวิเศษ ura.s@niems.go.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการ กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยรูปแบบเป็นการวิจัยและการพัฒนา มี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามกรอบระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่พึงประสงค์ขององค์การอนามัยโลก และระยะที่ 2 ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการ ผลการศึกษาสถานการณ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2565 พบว่า มีการตายจากโรคกลุ่มเจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลในอัตราที่สูง เนื่องจากผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 28.10 และคุณภาพที่ได้รับปฏิบัติการฉุกเฉินภายใน 8 นาทีลดลง สาเหตุสำคัญจากปัจจัย ดังนี้ (1) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (2) สมรรถนะการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อยู่ในระดับ "มีการดำเนินงานและเริ่มเห็นผลผลิต" และ (3) มีหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมการให้บริการร้อยละ 23 ของตำบลทั้งหมด ซึ่งสะท้อนถึงช่องว่างในการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ส่วนผลการพัฒนารูปแบบการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการ มีข้อเสนอปรับปรุงกลไกการอภิบาลระบบการแพทย์ฉุกเฉินมี 2 ระยะ ดังนี้ (1) ระยะยาว มีข้อเสนอให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กำหนดให้ "การแพทย์ฉุกเฉินเป็นภารกิจภาคบังคับ" สถ. ปรับปรุงกลไกให้รองรับดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทุกระดับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สนับสนุนด้านวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพิ่มหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูงในแต่ละโซนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (2) ระยะเปลี่ยนผ่าน ข้อเสนอดังนี้ ระดับชาติ: สถ. กำหนดเป็นตัวชี้วัดในการผลักดัน สพฉ. ผลิตและพัฒนาบุคลากร ระดับจังหวัด: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสนับสนุนให้ รพ.สต. จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการระดับพื้นฐานและระดับสูง หน่วยปฏิบัติการสังกัด สธ. เป็นแม่ข่ายในแต่ละอำเภอ และ ระดับท้องถิ่น: อปท. ขนาดเล็กที่เร่งรัดการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ (3) จำนวนและการกระจายหน่วยปฏิบัติการแต่ละโชนให้คำนึงถึงถึงระยะเวลา ระยะทางและความหนาแน่นของประชากร แต่ละโซนควรมีหน่วยปฏิบัติการระดับสูง 1 หน่วย และหน่วยปฏิบัติการระดับพื้นฐาน 2 หน่วย (4) การออกแบบจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน ดังนี้ (4.1) การปฏิบัติการอำนวยการให้ปรับปรุงขั้นตอนการรับแจ้งเหตุและแนวทางการให้คำแนะนำทางโทรศัพท์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (4.2) กำหนดพื้นที่ให้บริการและกระจายหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูงและระดับพื้นฐานในแต่ละโซนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (4.3) จัดทำแนวปฏิบัติการปฏิบัติการอำนวยการและปฏิบัติการแพทย์ที่สอดคล้องบริบทและทันสมัยอยู่เสมอ (4.4.4) การจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินดิจิทัลที่เชื่อมโยงไร้รอยต่อ (4.5) ทบทวนกระบวนการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (5) การออกแบบการป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ข้อเสนอ ดังนี้ (1) วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาการตายจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลที่มีอัตราอุบัติการณ์สูง และ (2) การออกแบบการป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉิน</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2849 การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตระหว่าง Captopril, Hydralazine และ Amlodipine ชนิดรับประทานในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน ที่มารับบริการ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางพลี 2024-07-10T22:02:58+07:00 รัชวรรณ เจิดเสริมอนันต์ prawn.pa.rut@gmail.com ธราธร ดุรงค์พันธุ์ prawn.pa.rut@gmail.com <p>ภาวะความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย การรักษาอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ ยาลดความดันโลหิตชนิดรับประทานเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งมีหลายชนิดและการออกฤทธิ์แตกต่างกัน งานวิจัยในปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่เพียงพอต่อการสรุปว่ายาชนิดใดมีประสิทธิผลสูงสุดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตของ captopril, hydralazine และ amlodipine ชนิดรับประทาน ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน ในแผนกฉุกเฉิน โดยการศึกษาแบบสังเกต รวบรวมข้อมูลแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางพลี ตั้งแต่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2566 ถึง 31 พ.ค. พ.ศ. 2567 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน จะได้รับยา captopril (25 มิลลิกรัม) หรือ hydralazine (25 มิลลิกรัม) หรือ amlodipine (10 มิลลิกรัม) ชนิดรับประทาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วยจะถูกวัดความดันโลหิต หลังได้รับยาทุก 30 นาทีเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และจะได้รับการติดตามการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดเป็นเวลา 30 วัน วิเคราะห์ผลการลดความดันโลหิตของยาทั้ง 3 ชนิด และการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยสถิติ multivariable gaussian regression for correlated data นำเสนอในรูปของ mean และ risk difference อาสาสมัครจำนวน 105 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.2 อายุเฉลี่ย 61.0±15.0 ปี ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม มี ความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก และความดันเฉลี่ย ลดลงที่เวลา 60 นาที 28.8±19.4, 16.9±16.5 และ 24.0±14.1 มม.ปรอท ตามลำดับ โดย hydralazine สามารถลดความดันไดแอสโตลิก และความดันเฉลี่ย ที่เวลา 60 นาที ได้ดีกว่า amlodipine คิดเป็น mean difference -9.84 และ -6.87 มม.ปรอท ตามลำดับ ขณะที่ captopril ไม่มีความแตกต่างในการลดความดันโลหิตเมื่อเทียบกับ amlodipine โดยทั้งสามกลุ่มนี้มีการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดไม่แตกต่างกัน ดังนั้นยาลดความดันโลหิตชนิดรับประทานทั้ง 3 ชนิด สามารถลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive urgency ได้เป็นอย่างดี โดย hydralazine มีประสิทธิภาพดีที่สุด</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/3161 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวต่างด้าวจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก 2024-09-06T13:58:49+07:00 รัชนี อมรเลิศไพบูลย์ surimongkol@gmail.com จินตนา นิ่มแก้ว surimongkol@gmail.com มงคล สุริเมือง surimongkol@gmail.com <p>อุบัติเหตุจราจรทางถนนเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก จังหวัดตากมีชาวต่างด้าวที่เข้ามาเป็นแรงงานตามนโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community, AEC) เพื่อขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชาวต่างด้าวดังกล่าวยังทำให้เกิดผลกระทบในหลากหลายมิติ เช่น การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนน การประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจะนำไปสู่การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตลอดจนนำไปสู่การสร้างนโยบายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว การศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวต่างด้าวจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยชาวต่างด้าวทุกรายที่เกิดอุบัติเหตุจราจรทางถนนที่เข้ารับบริการในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 651 ราย พบการเสียชีวิต 35 ราย (ร้อยละ 5.38) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวต่างด้าวจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน พบว่า ทุก ๆ 1 คะแนนของค่าการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บทีอาร์ทีเอส (TRTS) ที่ลดลง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็น 0.57 เท่า (OR 0.57, CI 0.50-0.66, p&lt;0.001) และปัจจัยที่ช่วยลดการเสียชีวิต ได้แก่ การได้รับผ่าตัดลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็น 0.31 เท่า (OR 0.31, CI 0.13-0.574 p=0.009) สรุปได้ว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยชาวต่างด้าวจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ค่าการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บทีอาร์ทีเอส และการได้รับผ่าตัดเป็นปัจจัยที่ลดโอกาสการเสียชีวิต</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/466 ประสิทธิผลของการควบคุมความเร็วรถพยาบาลต่อ การลดอุบัติการณ์ทางถนนของรถพยาบาล ในจังหวัดอุดรธานี 2022-11-07T15:48:25+07:00 เจนจิรัสตรา วงศ์ประทุม emsud41@gmail.com <p>พนักงานขับรถพยาบาลต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้ร่วมงาน ผู้ป่วย และญาติที่ร่วมเดินทาง จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถพยาบาล ในปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2562 พบอุบัติเหตุ 110 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต 318 คน กระทรวงสาธารณสุขจึงมีมาตรการรถพยาบาลปลอดภัยในทุกเขตสุขภาพ โดยเน้นที่วิธีการขับและการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังไม่มีแนวทางสนับสนุนในประเด็นสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการฯ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีและศึกษาประสิทธิผลของการควบคุมความเร็วของรถพยาบาลต่อการลดอุบัติการณ์ทางถนนของรถพยาบาลในจังหวัดอุดรธานี โดยทำการวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียว (Quasi experimental one group research) กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 90 คน ทดลองใช้ GPS ควบคุมความเร็วและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชาย ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ อายุเฉลี่ย 39.54 ปี มีประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 12.4 ปี มีคะแนนพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถพยาบาลก่อนการทดลองใช้โปรแกรม SPSS อยู่ในระดับปานกลาง (mean=77.44, SD =6.03) และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี (mean=97.16, SD =5.14) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยหลังการทดลองใช้โปรแกรมมีระดับคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลอง นอกจากนี้ อัตราอุบัติการณ์ทางถนนหลังการทดลองใช้โปรแกรม GPS ควบคุมความเร็วของรถพยาบาล (2.23 ครั้ง/1,000) ลดลงจากก่อนใช้โปรแกรม GPS ควบคุมความเร็วของรถพยาบาล (4.69 ครั้ง/1,000) โดยมีอัตราอุบัติการณ์ทางถนนลดลงร้อยละ 40 ซึ่งมีสาเหตุจากการไม่กระทำในสิ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น การขับขี่เร็วกว่ากำหนดไม่เปลี่ยนช่องจราจรหรือแซงกะทันหัน ไม่ขับรถในระยะกระชั้นชิดและมีพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้น ประสิทธิผลของการควบคุมความเร็วรถพยาบาลต่อการลดอุบัติการณ์ทางถนนสามารถลดการบาดเจ็บและลดการตายของบุคลากรและผู้ป่วยได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/136-146 ประสิทธิผลโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย ที่มารับบริการแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลแสวงหา 2024-09-27T14:06:19+07:00 สุธาทิพย์ เรือนทองดี yoye_nara@hotmail.com <p>โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้สูง การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟูและละลกระทบที่เกิดขึ้น การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อเพิ่มความรู้และการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งมีผลต่อการดูแลผู้ป่วยในช่วงเวลาสำคัญก่อนการเข้ารักษาในโรงพยาบาบาล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลองโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถึงระบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบอร์โทร 1669 ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขณะอยู่นอกโรงพยาบาล การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับบริการแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลแสวงหาจำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2567 ถึงเดือนมินิมินายน 2567 โดยใช้แบบสอบถามความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคหลอดสมองของผู้ป่วยหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p:0.05) โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนการให้สุขศึกษาเท่ากับ15.86 (SD=4.8) และหลังการให้สุขศึกษาเท่ากับ 19.23 (SD-2.07) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้ความรู้มีประสิทธิภาพในการเพิ่มพูนความรู้ ซึ่งอาจนำไปสู่การเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดอัตราการพิการและเสียชีวิตจากโรคเลือดสมอง</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2534 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการวิจัยและนวัตกรรมด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2024-08-26T14:12:46+07:00 ธีระ ศิริสมุด teera.s@niems.go.th สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล suradech.d@niems.go.th พัฒนาวิไล นาหมื่นหงษ์ phatthanawilai.n@niems.go.th สุพัฒสร พึ่มกุล teera.s@niems.go.th สิทธิวิชญ์ ประโพธิ์สัง teera.s@niems.go.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการวิจัยและนวัตกรรมด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และติดตาม ประเมินประสิทธิภาพ ผลผลิตและผลลัพธ์แต่ละโครงการจากการบริหารจัดการตามรูปแบบดังกล่าว โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ Kenmis &amp; McTaggar อีกทั้งมีการติดตามประเมินผลรูปแบบการดำเนินการบริหารจัดการวิจัยฯ ตามแนวคิด CIPP Model วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้กาวิเคราะห์เนื้อหาในข้อมูลเชิงคุณภาพ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 จากการทบทวนวรณกรรมและร่วมเรียนรู้ในหน่วยงานบริหารวิจัย รวมทั้งในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัดกรรม ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ ออกแบบและพัฒนาแนวทางบริหารจัดการวิจัยและพวัตกรรมด้านการแพทย์ฉุกเฉิน มุ่งให้นำผลวิจัยผลักดันสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบายและการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นที่ โดยพิจารณาปัจจัยที่จะนำสู่การบริหารจัดการที่ดี ผ่านแนวทาง กลไก วิธีการและเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการ 8 ชิ้น ภายใด้แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ครอบคลม ทั่วถึงและเท่าเทียมอย่างมีคุณภาพ ด้วยกลไถการขับเคลื่อนขององค์กรอัจฉริยะ ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งการติดตามประเมินผล พบว่า การบริหารจัดการในภาพรวม นักวิจัยส่วนใหญ่เข้าใจแนวทางการบริหารจัดการ เข้าใจนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัยค่อนข้างดี แต่พบปัญหา อุปสรรค ที่ต้องพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อปิดช่องว่างระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราการเบิกดำใช้จ่ายงานวิจัย รวมทั้งการสนับสนุนทางเทคโนโลยียังมีไม่เพียงพอและยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน การบริหารจัดการวิจัยช่วงกลางทาง ยังพบปัญหาเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนับสนุนการดำเนินงานด้านสารบรรณและงานเอกสาร การรายงานความก้าวหน้ายังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ระบบงานสารบรรณ การเบิกจ่ายเงิน การทำสัญญาต่างๆ ค่อนข้างมีปัญหา การเสนอขอขออนุมัติดำเนินงานมีความล่าช้า สำหรับการบริหารจัดการช่วงปลายทาง ยังพบปัญหาที่เกี่ยวกับความชัดเจนของการนำผลวิจัยไปเผยแพร่ ผลักดันใช้ประโยชน์ สำหรับการติดตามประเมินผลผลิตของการบริหารจัดการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ด้วย อีกทั้งสามารถดำเนินการจัดการเชิงนโยบายประสานกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เปิดแผดผมงามวิพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์โต้ดียิ่งขึ้นจะต้องพัฒนาและดำเนินการการบริหารจัดการวิจัยให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง เน้นกิจกรรมสำคัญในแต่ละช่วงระยะเวลาโดยเฉพาะการสร้างการมีส่วนร่วม และการหาแนวทาง เครื่องมือ วิธีการการสนับสนุนหรือเอื้อให้นักวิจัยดำเนินงานวิจัยได้คล่องตัว อีกทั้งสร้างการติดตามประสิทธิภาพ ผลผลิต ผลลัพธ์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/3315 ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และสมรรถนะ การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุสำหรับอาสา สมัครฉุกเฉินการแพทย์ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 2024-10-25T19:22:33+07:00 ธวัชชัย ยืนยาว thawatchai.yeun@gmail.com ราณี ศิริดำ thawatchai.yeun@gmail.com บุญโฮม บุญโต thawatchai.yeun@gmail.com <p class="Default" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; color: windowtext;">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลัง (</span><span style="font-size: 16.0pt; color: windowtext;">one group pretest-posttest design) <span lang="TH">เพื่อเปรียบเทียบความรู้และสมรรถนะด้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน จุดเกิดเหตุสำหรับอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ อำเภอสำโรงทาบ ความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และ (3) แบบสอบถามสมรรถนะต้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จดเกิดเหตุ ตัวอย่างในการศึกษาเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 63 คน คน โดยเข้ามโปรแกรม 3 ครั้ง ได้แก่ครั้งที่ 1 การเตรียมความพร้อม ครั้งที่ 2 การฝึกประสบการณ์เพิ่มพูนสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ จากสถานการณ์จริง และครั้งที่ 3 การประเมินผลและสะท้อนผลการดแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเกิดเหตุ วิเคราะห์ข้อมลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ </span>paired <span lang="TH">1-</span>test <span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า คะแพนความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จดเกิดเหตุ สำหรับอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ก่อนและหลังโปรแกรม พบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยหลังโปรแกรม (</span>M=<span lang="TH">29.62</span>, SD=<span lang="TH">0.55) สูงกว่าก่อนโปรแกรม (</span>M=<span lang="TH">26.75</span>, SD=<span lang="TH">4.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ </span>p</span><span style="font-size: 16.0pt;">&lt; </span><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; color: windowtext;">0.001 และคะแนนสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุสำหรับอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ อำเภอสำโรงทานาน จังหวัดสุรินทร์ ก่อนและพลังโปรแกรม พบว่า คะแนนสมรรถนะเฉลี่ยหลังโปรแกรม (</span><span style="font-size: 16.0pt; color: windowtext;">M=<span lang="TH">236.67</span>, SD=<span lang="TH">7.80) สูงกว่าก่อนโปรแกรม (</span>M=<span lang="TH">190.65</span>, SD=<span lang="TH">35.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ </span>p&lt;0.<span lang="TH">001 ข้อเสนอแนะ ควรมีการขยายผลนำโปรแกรมการพัฒนาความรู้และสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเกิดเหตุสำหรับอาสาสมัดรฉุกเฉินการแพทย์ไปใช้ในกลุ่มอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์เครือข่ายหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินอื่น ๆ ต่อไป</span></span></p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/3052 ความท้าทายของพยาบาล:บทบาทการให้ยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) บนรถพยาบาลในผู้ปวยสมองขาดเลือดเฉียบพลัน 2024-11-11T11:18:28+07:00 จรรฎา ภูยาฟ้า kitongkiteng@gmail.com เสน่ห์ พุฒธิ kitongkiteng@gmail.com <p>โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน หากได้รับการรักษาภายใน 4.5 ชั่วโมงและไม่มีข้อห้าม จะได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) เพื่อฟื้นฟูการไหลเวียนเลือดและลดความพิการ รถ Mobile Stroke Unit (MSU) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาได้ทันเวลา แม้ต่างประเทศจะประสบความสำเร็จ แต่ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดหลายด้าน การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความท้าทายและบทบาทของพยาบาลในการให้ยาละลายลิ่มเลือดบนรถพยาบาล พร้อมนำเสนอแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน จากการทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการจากฐานข้อมูล PubMed, Science Direct, ProQuest, Google Scholar และ ThaiJO ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2567 คัดเลือกได้ 7 บทความที่ผ่านเกณฑ์สถาบันโจแอนนาบริกส์ ผลการสังเคราะห์ ทบทวนวรรณกรรมพบว่า 1) การพัฒนารถ Mobile Stroke Unit (MSU) ในประเทศไทยต้องคำนึงถึงความพร้อมด้านงบประมาณ บุคลากร อุปกรณ์การแพทย์ และระบบบริหารจัดการ 2) พยาบาลต้องมีความเชี่ยวชาญในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และบริหารยาละลายลิ่มเลือดบนรถ ดังนั้นควรพัฒนาศักยภาพพยาบาลให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมทั้งสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/3170 คำแนะนำในการจัดการด้านความปลอดภัยในการจัดงานวิ่ง: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 2024-08-29T11:33:30+07:00 ธนเทพ วณิชยากร tanatape.w@pharmacy.psu.ac.th วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย tanatape.w@pharmacy.psu.ac.th กุลทัต หงส์ชยางกูร tanatape.w@pharmacy.psu.ac.th พงค์เทพ สุธีรวุฒิ tanatape.w@pharmacy.psu.ac.th ชญานิษฐ์ เพ็ชรรัตน์ tanatape.w@pharmacy.psu.ac.th ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ tanatape.w@pharmacy.psu.ac.th สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์ tanatape.w@pharmacy.psu.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับคำแนะนำด้านความปลอดภัยทางการแพทย์ในการจัดงานวิ่ง โดยใช้ PRISMA checklist ในการรายงาน ทำการสืบค้นในฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed, ScienceDirect, ProQuest, Cochrane, ThaiJO และ Google search engine ระหว่างปี มกราคม พ.ศ. 2557 – ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยใช้คำสืบค้น “เกณฑ์” “คู่มือ” “มาตรฐาน” “งานวิ่ง” “กีฬามวลชน” “มาราธอน” “ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน” “ความปลอดภัย” ผลการสืบค้นเอกสารพบจำนวน 24 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและประเมินคุณภาพ ผลการศึกษาสามารถจำแนกประเภทของข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็น 12 ประเภท ได้แก่ 1. คำแนะนำทั่วไปในการป้องกันการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน 2. ความเข้าใจอาการ และการจัดการภาวะภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน 3. การเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ 4. การกำหนดแผนการจัดการภาวะฉุกเฉิน 5. การเตรียมความพร้อมทางการแพทย์อื่นๆ 6. การคัดกรองความเสี่ยงผู้วิ่งก่อนเริ่มงาน 7. การแจ้งระบบฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว 8. การจัดการจราจรและสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย 9. การรายงานผลหลังเสร็จงาน และการมีฐานข้อมูลการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน 10. มาตรการป้องกัน COVID-19 11. คำแนะนำในการวิ่ง และ 12. เทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อค้นพบจากการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการจัดงานวิ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะการลดอัตราการเสียชีวิตหรือภาวะคุกคามถึงชีวิตของผู้เข้าร่วมงานวิ่ง</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย