วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS <p>วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (Journal of Emergency Medical Services of Thailand) เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ออกเดือนมิถุนายน ฉบับที่ 2 ออกเดือนธันวาคม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <ol> <li>เผยแพร่บทความผลงานวิจัย ผลงานวิชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สาธารณภัยและการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในระดับนานาชาติ </li> <li>เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สาธารณภัย และการสาธารณสุข</li> <li>เผยแพร่บทความที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน หรือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในความตระหนักและการรับรู้ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการแพทย์ฉุกเฉิน</li> </ol> <p>โดยกองบรรณาธิการวารสาร ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก จากหน่วยงานต่าง ๆ ผู้ที่มีผลงานวิจัยต่อเนื่อง รวมทั้งยังได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากหลายหน่วยงานเป็นผู้ประเมินต้นฉบับ ซึ่งบทความแต่ละเรื่องจะได้รับการประเมินโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 2-3 คนและเป็นการประเมินแบบ Double-Blind Peer Review</p> ์National Institute for Emergency Medicine th-TH วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2773-9708 กระบวนการจัดการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อนำไปสู่ระบบส่งต่อผู้ป่ วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน ในประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1327 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยานในประเทศไทยตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน และเพื่อศึกษากระบวนการจัดการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติตั้งแต่แรกเริ่มจนกระทั่งมีระบบการ ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน สภาพการณ์การดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยานในประเทศไทยตั้งแต่อดีต แบ่งเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคแรกเป็นยุคการก่อเกิด ช่วงปี พ.ศ. 2552-2556 ยุคที่สองเป็นยุคการก่อตัว ช่วง พ.ศ. 2557-2561 และยุคที่สามเป็นยุคการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ช่วง พ.ศ. 2562-มีนาคม 2566 แต่ละยุคมีกิจกรรมดำเนินงานและเหตุการณ์ที่ สำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการวางระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ (Thai Sky Doctor) ประเทศไทย ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยใช้กรอบระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ (6 building blocks of a health system) ขององค์การอนามัยโลก พบว่าการส่งต่อผู้ป่วยด้วยอากาศยาน Thai Sky Doctor ประเทศไทย ครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน ตามกรอบ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ มีการพัฒนามาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน อย่างไรก็ตามยังคงจำเป็นต้องมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องเพื่อนำ ไปสู่เป้าหมายผลลัพธ์การจัดระบบบริการที่ได้คุณภาพและมาตรฐานตามทิศทางที่หน่วยงานมุ่งหวังเป็นสำคัญต่อไป สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ริเริ่มโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศยานโดยใช้เฮลิคอปเตอร์การแพทย์ฉุกเฉินเพื่อ ช่วยชีวิตประชาชนขึ้น จาก “นภาแพทย์ สู่ Thai Sky Doctor” ด้วยความร่วมมือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคนได้รับปฏิบัติการฉุกเฉินที่ได้ มาตรฐานและมีประสิทธิผลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินและลดความพิการจากภาวะฉุกเฉิน</p> เกวลี ศรีโคตร Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 182 196 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เครือข่ายระดับอำเภอ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1780 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เครือข่ายระดับอำเภอ นำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ มีประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและได้รับการดูแลที่ถูกต้อง มีมาตรฐาน รวดเร็ว วิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนผู้รับบริการ ได้แก่ (1) กลุ่ม ประชาชนผู้รับบริการ ผู้ป่วยฉุกเฉินในระดับสีชมพูหรือสีแดง จำนวน 389 คน (2) อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (EMR) จำนวน 17 คน และ (3) ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์สั่งการของโรงพยาบาล จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามประเมินคุณภาพ และแบบสัมภาษณ์เหตุผลของการ เข้ารับบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนมีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2565 รวม เวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วยข้อมูลทางสถิติ ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Chi-square test วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในการดูแลผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เครือข่ายระดับอำเภอ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (EMR) ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการประเมินผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ โดยเฉพาะการประเมินระดับความรู้สึกตัวและระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งถูกต้องเพียงร้อยละ 98.42 และ 93.16 ตามลำดับ ส่งผลให้สามารถประเมินระดับความรุนแรงและการร้องขอความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องเพียงร้อยละ 71.05 ศูนย์สั่งการเครือข่ายอำเภอให้รหัสความรุนแรง IDC (incident dispatch code) ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ศูนย์สั่งการยังขาดประสบการณ์ใน การคัดแยกและการจ่ายงาน ส่งผลให้สั่งการไม่เหมาะสมกับชุดปฏิบัติการ เกิดความคลาดเคลื่อนในการออกปฏิบัติการ และ จากการตอบแบบสอบถามผู้ใช้บริการพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่รู้จักหมายเลข 1669 คิดเป็นร้อยละ 82.41 แต่คิดว่ามาด้วยรถส่วนตัวสะดวกกว่า ไม่อยากเสียเวลารอรถพยาบาลฉุกเฉินที่อาจจะมาช้า ผู้ใช้บริการบางส่วนที่ยังไม่รู้จักหมายเลข 1669 เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่สามารถเข้าถึงการประชาสัมพันธ์หมายเลข 1669 ทำให้คิดว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ และไม่มั่นใจศักยภาพของทีมที่เข้าไปช่วยเหลือ ส่งผลให้ผู้รับบริการในระดับวิกฤติฉุกเฉินเข้ารับบริการผ่านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ (1) ด้านชุดปฏิบัติการในพื้นที่: บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทุกคนควรได้รับการอบรมและประเมินทักษะในการประเมินผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (2) ด้านศูนย์สั่งการ: บุคลากรผู้สั่งการควรได้รับการอบรมการคัดแยกและการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคน และ (3) ด้านผู้รับบริการ: ควรมีการประชาสัมพันธ์หมายเลข 1669 ขั้นตอนในการรับบริการ และข้อดีของการเข้ารับบริการ 1669 อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกพื้นที่ในอำเภอ</p> วิชญา จันจะนะ แสงจันทร์ เชียงทา Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 97 108 เปรียบเทียบอัตราการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีการกำเริบในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับยา Dexamethasone กับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา Dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาล ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1352 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบโอกาสการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ มีอาการกำเริบเฉียบพลันที่ได้รับยา dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาลกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบย้อนหลังจากบันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์และบันทึกการออกรับผู้ป่วยภายนอกโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลันอายุมากกว่า 18 ปี ที่ถูกนำส่งโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ช่วงวันที 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เกณฑ์การคัดออกได้แก่ ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้น ภายนอกโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวและได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจตั้งแต่ก่อนมาถึงโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยที่มี ท่อหลอดลมคอ ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากระบบทางเดินหายใจร่วม ได้แก่ ปอดอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว ลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ติดเชื้อในกระแสเลือด ผลการศึกษาผู้ป่ วยที่เข้าเกณฑ์วิจัย 319 ราย ได้รับยาdexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาล 69 ราย (ร้อยละ 21.63) ไม่ได้รับยา dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาล 250 ราย (ร้อยละ 78.37) กลุ่มผู้ป่วยทีได้รับการรักษาด้วยยา dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาลมีอัตราการนอนโรงพยาบาล เป็น 1.13 เท่า (p=0.513) จำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันเฉลี่ย 1.52 วัน (p=0.478) และอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง คือ 2.25 เท่า (p=0.196) สรุปได้ว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาก่อนมาถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังที่มีอาการกำเริบและได้รับยา dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาลไม่ส่งผลต่ออัตราการนอนโรงพยาบาล จำนวนวัน นอนโรงพยาบาลเฉลี่ยและอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง</p> เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม อัครชัย เผือกวัฒนะ ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ ยุทธนา โค้วจิริยะพันธุ์ Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 109 117 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรกของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนมารักษาที่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1773 <p>การส่งต่อผู้ป่วยเป็นบริการเครือข่ายไร้รอยต่อ (seamless health service network) เพื่อใช้ทรัพยากรในเครือข่ายที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการลดการสูญเสียการทำงานของอวัยวะสำคัญ และลดอัตราการเสียชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรก ที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง ฝั่งตะวันตกของจังหวัดตาก เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรงพยาบาลแม่สอด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 592 ราย มีผู้เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง จำนวน 26 ราย (4.4%) รอดชีวิต 566 ราย (95.6%) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ได้แก่ ระดับ GCS &lt;8 (OR=3.08; 95%CI=1.000-9.510, p=0.050) ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต (OR=5.62; 95%CI=1.837-17.212, p=0.002) และระดับ DTX &lt;80mg% (OR=5.07; 95%CI=1.226-21.034, p=0.025) ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะต่างๆ เหล่านี้ควรจะได้รับการเฝ้าระวังตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต</p> มุกดา ทองประวิทย์ ศรีสุดา อัศวพลังกูล มงคล สุริเมือง Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 118 127 ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1444 <p>ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาทันทีโดยการช่วยฟื้นคืนชีพ เนื่องจากผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตทั่วโลกน้อยมาก จึงเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสุขภาพและระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล เป็นการศึกษาแบบ retrospective เก็บข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test และ logistic regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ การกดนวดหัวใจเบื้องต้นโดยผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือหน่วยปฏิบัติการ แพทย์ (p = 0.042) และเวลารับแจ้งเหตุถึงที่เกิดเหตุ (response time) น้อยกว่า 8 นาที (p=0.046) ดังนั้น การให้ความรู้แก่ประชาชนด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเพื่อให้เกิดการตระหนักถึงการช่วยฟื้นคืนชีพทันทีกับผู้ประสบเหตุหัวใจหยุดเต้น นอกโรงพยาบาล รวมถึงการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อให้เวลารับแจ้งเหตุถึงที่เกิดเหตุ น้อยกว่า 8 นาที จึงมีความสำคัญ ซึ่งจะสามารถเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลได้</p> จรรฎา ภูยาฟ้า Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 128 135 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ในโรงเรียนจังหวัดราชบุรี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1645 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักสูตรการให้ความรู้ฝึกปฏิบัติการฟื้นคืนชีพ และใช้ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) โรงเรียนในประเทศไทยและต่างประเทศ และศึกษาปัญหาและความคิดเห็นในการจัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ รวมทั้งศึกษารูปแบบการ จัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายในโรงเรียนจังหวัดราชบุรี ประชากรในหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผู้บริหารและครูผู้สอนวิชาสุขศึกษาและพละศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา 124 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแนวทางการจัดการศึกษาของการประชุมกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาหลักสูตรการให้ความรู้ฝึกปฏิบัติการฟื้นคืนชีพ และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ในโรงเรียน ประกอบด้วย ด้านผู้เรียน ครูผู้สอน การเรียนการสอน หลักสูตร และการบริหาร ส่วนปัญหาและความคิดเห็นของการนำหลักสูตรสู่การเรียนการสอนวิชากลุ่มสาระสุขศึกษาและพละศึกษาใน ภาคเรียนปกติ พบว่า ปัญหาครูผู้สอนต้องผ่านการอบรมเนื้อหาหลักสูตรก่อน และจำนวนครูยังมีไม่เพียงพอ ขาดอุปกรณ์ใน การจัดการเรียนการสอน ขาดงบประมาณการจัดซื้ออุปกรณ์ คะแนนค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในการจัดการศึกษาโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก mean=4.25 SD=0.89 คะแนนค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในด้านผู้เรียนอยู่ในระดับมากสุดคือ mean=4.25 SD=0.71 สำหรับด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ด้านการเรียนการสอน และด้านการบริหาร พบคะแนนค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับ มาก คือ mean=4.17 SD=0.86, mean=4.11 SD=0.84, mean=4.02 SD=0.91, mean=3.46 SD=1.14 ตามลำดับ ข้อสรุป คือแนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรการให้ความรู้การฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ สู่วิชากลุ่มสาระสุขศึกษาและพละศึกษาพบมีแนวทางในการพัฒนาดังนี้ คือ การเตรียมคนคือครูผู้สอน หลักสูตร อุปกรณ์ การเรียนการสอน และการบริหาร/งบประมาณ</p> สุรภา ขุนทองแก้ว ศรีศุภรักษ์ สวนแก้ว Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 136 147 ปัจจัยทำนายผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงในการออกปฏิบัติการรับผู้ป่วยฉุกเฉินโดยหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูง โรงพยาบาลมุกดาหาร https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1777 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและปัจจัยทำนายที่ทำให้ผู้ป่วยที่อาการทรุดลงในการออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุโดยระดับการปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง โรงพยาบาลมุกดาหาร เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (predictive correlational design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่นำส่งโดยหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูง โรงพยาบาลมุกดาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลแบบย้อนหลัง จากเวชระเบียนและแบบบันทึกการปฏิบัติการขั้นสูง ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2565 – 31 สิงหาคม 2566 จำนวน 295 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินอาการ ตามเกณฑ์ของ Sudden Deterioration หาค่าความเชื่อมั่น = 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควล์และการถดถอย logistic regression ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 63.05 เพศหญิง ร้อยละ 36.95 อายุมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (r=13.713, p&lt;0.001) ปัจจัยที่สามารถทำนายอาการทรุดลงของผู้ป่วยที่มีค่าวิกฤตได้ คือ ระดับโรคประจำตัว Nagelkerke R2=0.031 (OR=2.17, 95%CI=9.50778 - 4.4420696) และระดับความรู้สึกตัว Nagelkerke R2=0.331 (OR=2.17, 95%CI=9.50778 - 4.4420696) ผลของการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นการพิจารณาสั่งการ การประเมินการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อป้องกันการเกิดอาการทรุดลงของผู้ป่วยภาวะวิกฤตก่อนถึงโรงพยาบาลได้ กลุ่มโรคเป็นข้อมูลในการจัดเตรียมรายการยาในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ทรุดลงขณะนำส่ง และการทำมาตรฐานแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ</p> ฉันทนา รุ่งเรือง Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 148 157 การพัฒนาระบบการประเมินการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับการแข่งขันกีฬาที่มีภาวะมวลชนในประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1638 <p>ในการแข่งขันกีฬาแต่ละครั้งย่อมเกิดการบาดเจ็บ/เจ็บป่วยตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีระบบการแพทย์ฉุกเฉินในงานแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การแข่งขันกีฬาที่มีภาวะมวลชน ควรมีการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีความจำเพาะ เนื่องจากเกิดการรวมตัวของกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก ทำให้การเข้าไปช่วยเหลือเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากหากเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงอาศัยการวางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้า หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของรายการเกณฑ์มาตรฐานที่ควรมีการเตรียมการ ได้แก่ ระบบฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการติดตามเฝ้าระวัง และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สำหรับการเตรียมการ การป้องกัน การตอบสนอง และการฟื้นฟู ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างข้อมูลระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการแข่งขันกีฬาที่มีมวลชนในประเทศไทย (2) ออกแบบระบบการประเมินการแพทย์ฉุกเฉินในการแข่งขันกีฬาที่มีมวลชน และ (3) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำระบบการประเมินไปใช้ประโยชน์ โดยคัดเลือกการแข่งขันวิ่งมาราธอนซึ่งเป็นกีฬาที่มีลักษณะภาวะมวลชน และคัดเลือกพื้นที่ศึกษาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมาราธอน และบุรีรัมย์มาราธอน ขั้นตอนในการสร้างระบบการประเมินมี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การออกแบบโครงสร้างข้อมูล และแบบประเมิน (2) พัฒนาเว็บไซต์การประเมินผล และฐานข้อมูล (3) การทดสอบแบบประเมิน โดยอาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาประกอบด้วยโครงสร้างข้อมูลระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการแข่งขันกีฬาที่มีมวลชนในประเทศไทยของแบบประเมินการแข่งขันมาราธอนผ่านเว็บไซต์ 5 ชุด ได้แก่ (1) แบบประเมินความเสี่ยงในการจัดงานแข่งขันมาราธอน (2) แบบบันทึกการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน (3) แบบประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการจัดงานแข่งขันกีฬาวิ่งมาราธอน (4) แบบประเมินปัญหาสุขภาพก่อนการแข่งขันวิ่งมาราธอน และ (5) แบบบันทึกการบาดเจ็บ และเจ็บป่วย ในส่วนของเว็บไซต์ของการประเมิน ประกอบด้วย หน้าแรกของเว็บไซต์ การยินยอมการให้ข้อมูล การสมัครสมาชิก บันทึกงานแข่งขัน และการประเมินผล สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีข้อเสนอว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติควรสนับสนุนให้นำระบบการประเมินนี้ไปทดลองใช้จริง เพื่อปรับปรุงให้สามารถตอบสนองกับความต้องการที่อาจหลากหลาย อีกทั้งควรร่วมมือกับสถานพยาบาลต่างๆ ในการพัฒนาการเชื่อมข้อมูลระหว่างสนามแข่งขันและโรงพยาบาล และควรร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาแนวทางการจัดการแข่งขันที่เฉพาะเจาะจงให้มีความปลอดภัยมากขึ้น</p> พัฒนาวิไล นาหมื่นหงษ์ สุรางค์รัตน์ จิรนันทนากร จเร วิชาไทย อุดมศักดิ์ ตั้งชัยสุริยา พีรัมพร จิรนันทนากร Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 158 170 ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1202 <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับเจตคติและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน และความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (ระดับ 3) จากหลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ที่จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จำนวน 330 คน เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แบบประเมินเจตคติในการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน และ (2) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) มี ค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.739 และ 0.975 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ Pearson’s product moment correlation coefficient ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนของเจตคติในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ค่าเฉลี่ย 4.86 (SD=0.25) และมีระดับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.15 (SD=0.59) และ เจตคติในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของครูผู้สอนหลักสูตรการปฐมพยาบาล ฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (r=0.731, p-value 0.01) ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้นำข้อมูลและผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลใน การวางแผนพัฒนาคุณภาพครูผู้สอนในหลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ที่จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติต่อไป</p> สมัคร ใจแสน สุรเดช สำราญจิตต์ Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 171 181 บทวิจารณ์หนังสือ: การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital Trauma Care) https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1356 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การเขียนบทวิจารณ์หนังสือเรื่อง "การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล" มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์หนังสือวิขาการเกี่ยวกับเวชศาสตร์ฉุกเฉินให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทวิจารณ์นี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การสรุปสาระสำคัญของหนังสือทั้งหมด 3 ตอน รวม 16 บท ได้แก่ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน, กฎหมายเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน, ระบบคัดแยก, การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ, การประเมินภาวะการเสียเลือดปริมาณมาก, การป้องกันกระดูกต้นคอ, การประเมินทางเดินหายใจส่วนบน, การประเมินการหายใจ, การประเมินระบบไหลเวียนโลหิต, การประเมินระบบประสาท, การประเมินบาดแผลภายนอก และ adjunct to primary survey, การประเมิน secondary survey, การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่มีลักษณะเฉพาะ, การยกและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ, การจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และในส่วนสุดท้ายเป็นบทวิจารณ์หนังสือจากผู้อ่าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง</p> ชมภูนุช ฉัตรนภารัตน์ Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 3 2 197 202