วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS <p>วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (Journal of Emergency Medical Services of Thailand) เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ออกเดือนมิถุนายน ฉบับที่ 2 ออกเดือนธันวาคม) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <ol> <li>เผยแพร่บทความผลงานวิจัย ผลงานวิชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สาธารณภัยและการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในระดับนานาชาติ </li> <li>เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สาธารณภัย และการสาธารณสุข</li> <li>เผยแพร่บทความที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจน หรือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในความตระหนักและการรับรู้ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการแพทย์ฉุกเฉิน</li> </ol> <p>โดยกองบรรณาธิการวารสาร ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก จากหน่วยงานต่าง ๆ ผู้ที่มีผลงานวิจัยต่อเนื่อง รวมทั้งยังได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากหลายหน่วยงานเป็นผู้ประเมินต้นฉบับ ซึ่งบทความแต่ละเรื่องจะได้รับการประเมินโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 2-3 คนและเป็นการประเมินแบบ Double-Blind Peer Review</p> th-TH jemst@niems.go.th (วิวัฒน์ โรจนพิทยากร) sirilak.h@niems.go.th (Sirilak Hiransri) Sat, 29 Jun 2024 14:08:28 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบการจัดการความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของรถพยาบาล https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2533 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการรถพยาบาลด้วยการนำเทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) กับรถพยาบาล และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมการขับขี่รถพยาบาลปลอดภัย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่พนักงานขับรถ และเป็นการพัฒนาระบบการจัดการเดินรถพยาบาลสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพด้านระยะเวลาตอบสนองต่อการปฏิบัติการแพทย์ในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์และบูรณาการองค์ความรู้ ระยะที่ 2 การออกแบบและปรับปรุงพัฒนา ระยะที่ 3 นำร่องต้นแบบ “เทคโนโลยี GPS และระบบบริหารจัดการเดินรถพยาบาล” ในจังหวัดนำร่อง ได้แก่ ลำพูนและอุบลราชธานี และระยะที่ 4 การติดตาม ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผล ทั้งเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามและข้อมูลในระบบรายงานระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2565 และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิตเชิงพรรณนา และสถิติ independent paired t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การออกแบบระบบการจัดการความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของรถพยาบาล หรือระบบ Safety Information System มีความสามารถ 12 ประเด็นที่สามารถเป็นข้อมูลเฝ้าระวังและเป็นข้อมูลประกอบการสั่งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการเดินรถพยาบาลและเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาได้ ออกแบบเชื่อมกันระหว่างศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ แอปพลิเคชันบนมือถือของพนักงานขับรถ และการเฝ้าระวังข้อมูลจากส่วนกลาง มีการติดตั้งเครื่องและระบบ GPS บนรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินรวม 40 คัน และระบบแสดงผลที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดลำพูนและอุบลราชธานี มีการฝึกอบรมหลักสูตรการขับรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินและรถพยาบาล การพัฒนามาตรการ/กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยและการหลีกทางให้รถพยาบาล หลังการดำเนินโครงการพบว่า พนักงานขับรถยังมีความเข้าใจผิดบางประเด็นเกี่ยวกับ GPS มีความเข้าใจผิดต่อการขับรถปลอดภัย รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยหลายประการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุ การออกแบบระบบค่อนข้างมีความสมบูรณ์ สามารถแสดงผลสนับสนุนการปฏิบัติการ แจ้งเตือนพฤติกรรมการขับรถเสี่ยงต่อความปลอดภัย และมีแผนเชื่อมระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลการแพทย์ฉุกเฉิน ดังนั้นจึงควรผลักดันให้ อบจ. อบต. และเทศบาลที่มีศักยภาพ นำรูปแบบบรรจุเป็นแผนปฏิบัติการในการพัฒนามาตรฐานคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริมให้มีมาตรการความปลอดภัย มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหลีกทางให้รถพยาบาล มีระบบข้อมูลการเฝ้าระวัง และการรายงานอุบัติเหตุรถพยาบาล</p> <p> </p> ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, นนทภัทร พูลศิริ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2533 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสังเคราะห์งานวิจัยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560-2566 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2585 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์งานวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่บริหารจัดการโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ใช้รูปแบบการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณา โดยการเก็บข้อมูลงานวิจัยของ สพฉ. ปีงบประมาณ 2560-2566 จำนวน 57 เรื่อง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านข้อมูลพื้นฐานทั่วไป งบประมาณส่วนใหญ่ได้รับจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ร้อยละ 57.9) เป็นการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ร้อยละ 77.2 โดยจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร ถูกเลือกเป็นพื้นทำการศึกษามากที่สุด กลุ่มอาการนำที่มีการศึกษามากที่สุด คือ กลุ่มอาการนำที่ 6 (หัวใจหยุดเต้น) (ร้อยละ 50.0) กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่มีการศึกษามากที่สุด คือ ผู้สูงอายุ (ร้อยละ 56.0) (2) ด้านผลผลิตจากงานวิจัย ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการพัฒนาระบบบริการ (ร้อยละ 36.8) รองลงมา คือ องค์ความรู้ (ร้อยละ 35.1) (3) ด้านประเด็นงานวิจัยตามกรอบระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในประเด็นการดูแล ณ จุดเกิดเหตุ (ร้อยละ 61.0) รองลงมาคือ การป้องกันการเกิดเหตุ (ร้อยละ 7.3) การดูแลรักษาในโรงพยาบาล (ร้อยละ 4.9) และการจัดระบบบริบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุหมู่ (ร้อยละ 2.4) แต่ไม่มีงานวิจัยในประเด็น ระบบการส่งต่อ และมีงานวิจัยร้อยละ 47.8 ที่มีการศึกษาครอบคลุมมากกว่า 1 ประเด็น (4) ด้านประเด็นงานวิจัยตามกรอบระบบสขุภาพ ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยด้านระบบบริการ (ร้อยละ 54.4) รองลงมาคือ เทคโนโลยี เครื่องมือ และยา (ร้อยละ 38.6) การจัดการระบบข้อมูลสุขภาพ (ร้อยละ 3.5) กำลังคน และการเงินการคลัง เท่ากันที่ร้อยละ 1.8 แต่ยังไม่พบงานวิจัยที่ทำการศึกษาในประเด็นด้านธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของเครือข่าย</p> สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ธีระ ศิริสมุด Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2585 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ของชุดปฏิบัติการแพทย์ เครือข่ายกู้ชีพอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2624 <p>การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ของชุดปฏิบัติการแพทย์เครือข่ายกู้ชีพอำเภอ<br />เมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยการใช้วงจร PAOR ตามกรอบแนวคิดของ Kemmis and McTaggart กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติ<br />การการแพทย์ฉุกเฉิน เขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 100 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม 2564 ถึง <br />ธันวาคม 2565 การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนพัฒนา ระยะที่ 2 การปฏิบัติการ<br />ตามแผน และระยะที่ 3 การประเมินผลการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือเก็บรวบรม<br />ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบทึกข้อมูลการออกปฏิบัติการ แบบบันทึกการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการสาธารณภัย <br />แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบรายงานสรุปผลกรณีเหตุอุบัติภัยหมู่ เครื่องมือเก็บรวบรมข้อมูลเชิงปริมาณ <br />ได้แก่ แบบประเมินความรู้ ประเมินสมรรถนะ และประเมินความพึงพอใจการบริหารจัดการสาธารณภัยหรืออุบัติภัยหมู่ วิเคราะห์<br />ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้ สถิติ paired-sample t-test ผลการศึกษาพบว่า การ<br />บริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ของเครือข่ายกู้ชีพออำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ไม่เป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการสาธารณภัย<br />ด้วยหลัก CSCATTT และได้พัฒนารูปแบบ MSK Disaster Management โดยการเพิ่มการให้ความรู้และการสร้างความเข้าใจ<br />ระหว่างผู้ปฏิบัติการและภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ ต่อมาได้ทดลองใช้และปรับปรุงใหม่โดยการเพิ่มการ<br />ทำความเข้าใจบริบท และการรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพ ผลการทดลองใช้ MSKH Disaster Management พบว่า สามารถ<br />บริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการจัดการสาธารณภัย หลังการเข้าร่วมวิจัย (24.36) <br />สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการวิจัย (18.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การฝึกสมรรถนะปฏิบัติผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ <br />80 ทุกทีม ระดับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ โดยใช้รูปแบบ MSKH Mass Casualty Management Model <br />อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน</p> วิไลกูล ครองยุทธ, กนกวรรณ เจริญศิริ, จุลินทร ศรีโพนทัน , ปรมาภรณ์ คลังพระศรี, อนันตเดช วงศรียา , รณิดา ไชยคำภา Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2624 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกำแพงเพชร https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1811 <p>การคัดแยกประเภทผู้ป่วย (Triage) เป็นระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโดยแบ่งตามความรุนแรงของการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บ เพื่อจัดลำดับของการรักษาพยาบาล ความถูกต้องของการคัดแยกจะทำให้ผู้ป่ วยได้ประโยชน์สูงสุด <br />ลดอัตราการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการคัดแยกประเภท<br />ผู้ป่วยหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกำแพงเพชร ดำเนินการศึกษาในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2) พัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่ วย (3) นำรูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยไปใช้ และ (4) ศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วย เก็บข้อมูลจากกลุ่มที่ตัวอย่างก่อนและหลังใช้รูปแบบ โดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง และตรวจสอบความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วยโดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-squared test และ Student’s t-test ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ KPH Triage Model ซึ่งมีการให้ความรู้ แบบบันทึกการคัดกรอง และเป็นแอปพลิเคชันที่ชี้นำข้อมูลสำคัญที่ต้องประเมิน และเมื่อกรอกข้อมูลที่ประเมินได้จะแสดงผลการคัดแยกได้อย่างถูกต้อง เมื่อนำ KPH Triage Model ไปใช้ พบว่าความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินมีความถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.5 เป็น ร้อยละ 96.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) โดยบุคลากรที่ทำหน้าที่คัดแยกผู้ป่วยทั้งหมด มีความพึงพอใจในระดับปานกลางถึงสูง โดยสรุป การพัฒนารูปแบบคัดกรองสำหรับหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยใช้ KPH Triage Model มีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง ดังนั้นควรมีการขยายผลการใช้รูปแบบคัดกรองนี้ในโรงพยาบาลอื่นๆ รวมถึงควรมีการติดตาม ประเมินผลในระยะยาว เพื่อศึกษาความยั่งยืน</p> สุคนธา จิ๋วนารายณ์, หนึ่งฤทัย กองวัฒนาสุภา Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/1811 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2645 <p>การศึกษานี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่คัดสรรที่ประกอบด้วย ความรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 และแรงสนับสนุนทางสังคม ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย ช่วงสถานการณ์ระบาดโรคควิด 19 ปัจจัยที่ศึกษาได้จากการทบทวนวรรณกรรมและแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ซึ่งงานวิจัยที่ศึกษาสืบค้นจากรายงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ และไม่ได้ตีพิมพ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2564 โดยทำการคัดกรองงานวิจัยตามข้อกำหนดที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ โดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเองและประเมินคุณภาพงานวิจัยโดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์ นำข้อมูลจากงานวิจัยรวบรวมมาสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามวิธีการดำเนินการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 (prevention behavior) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด19 (knowledge) ทัศนคติเกี่ยวกับโควิด 19 (attitude) แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโควิด19 (protection motivation) และแรงสนับสนุนทางสังคม (social support) ผลที่ได้จากการศึกษาเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อของผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในประเทศไทย ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการพัฒนาโปรแกรมหรือแนวทางในการส่งเสริมกลุ่มผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์สาธารณภัยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้ออื่นๆ ต่อไป</p> จารุวรรณ พฤทธยานันต์, ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล, วชิราภรณ์ ชาติครบุรี , ศิริพร รัตนสาคร Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2645 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วย Easy YCPH ED Triage ของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2093 <p><strong><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">บทคัดย่อ</span></span></strong></p> <p>การศึกษานี้เป็นการพัฒนาเครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วย Easy YCPH ED Triage ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครื่องมือการคัดแยก ประสิทธิผลการคัดแยกผู้ป่วย ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วย การคัดแยกระดับความเร่งด่วนผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาล การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพตามเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วย MOPH ED Triage กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 11 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วย Easy YCPH ED Triage ที่ผู้ศึกษาพัฒนาและปรับใช้ โดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ก่อนและหลังการใช้เครื่องมือ กลุ่มละ 750 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความพึงพอใจ ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินและเกณฑ์คัดแยกผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติด้วยสถิติ Paired Samples T- Test, Chi-Square Test ผลการศึกษาพบว่า ความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ก่อนการใช้เครื่องมือ Easy YCPH ED Triage ค่าเฉลี่ย 20.09 หลังใช้ค่าเฉลี่ย 61.81 การคัดแยกไม่ถูกต้อง ก่อนใช้ค่าเฉลี่ย 48.09 หลังใช้ค่าเฉลี่ย 6.36 คัดแยกต่ำกว่าสภาพความรุนแรงที่เป็น (under triage) ก่อนใช้ค่าเฉลี่ย 35.27 หลังใช้ค่าเฉลี่ย 4.54 สูงกว่าสภาพความรุนแรงที่เป็น (over triage) ก่อนใช้ค่าเฉลี่ย 12.82 หลังใช้ค่าเฉลี่ย 1.63 ภายหลังการใช้เครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วย Easy YCPH ED Triage มีประสิทธิผลการคัดแยกผู้ป่วยถูกต้องมากกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt;0.001 มีความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือคัดแยก Easy YCPH ED Triage มากที่สุด จากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการพัฒนาเครื่องมือคัดแยก Easy YCPH ED Triage ส่งผลต่อประสิทธิผลการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพให้มีความถูกต้องมากขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัย</p> ศกลวรรณ อารีบุหงา Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2093 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบบริการรับส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น ไปยังโรงพยาบาลศรีนครินทร์ สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2347 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัตกิารนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบบริการรับส่งต่อผู้ป่ วยที่ได้รับบาดเจ็บฉุกเฉินของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสขุ โซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น <br />ภายหลังทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกัน และพัฒนางานระบบบริการรับส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดขอนแก่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) ศึกษาสถานการณ์และการจัดการระบบบริการรับส่งต่อ (2) วิเคราะห์เอกสารถอดบทเรียนการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาขาการรับส่งต่อทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ละครั้งจะปรับปรุงพัฒนาการให้บริการส่งต่อตามผลประเมินในแต่ละวงรอบ และ (3) สมั ภาษณ์เชิงลึกผู้ประสานงานศูนย์รับส่งต่อของแต่ละโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนางานระบบรับส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินนอกจากการบริหารจัดการเชื่อมโยงตามโครงสร้างประสานงานรับส่งต่อแล้ว ต้องมีการพัฒนากระบวนงาน 4 ขั้นตอน คือ (1) แนวปฏิบัติประสานงานรับส่งต่อ (2) การเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ (3) การสื่อสารแนวทางปฏิบัติประสานงานรับส่งต่อภายในองค์กร และ (4) เพิ่มองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรทั้งเครือข่ายบริการ ผลลัพธ์การพัฒนาพบว่า ภายหลังทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกัน ภาพรวมการส่งต่อของโรงพยาบาลโซนเหนือไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็น 3.6 เท่าของโรงพยาบาลขอนแก่น สัดส่วนการส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินของโรงพยาบาลโซนเหนือ ไปยังโรงพยาบาลขอนแก่น ลดลงร้อยละ 9 ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งการส่งต่อของโรงพยาบาลโซนเหนือไปยังโรงพยาบาล<br />ขอนแก่น 2691.00 (SD=538.29) เพิ่มขึ้นจากก่อนทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกัน 1815.75 (SD=861.02) ข้อมูลมีการกระจายตัวลดลง สรุปได้ว่า การพัฒนาการจัดกระบวนงานประสานรับส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่เกิดจากความร่วมมืออย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขต่างสังกัดอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกของเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดขอนแก่นทั้งระบบ</p> พัชราวดี พิรุณสุนทร , ศิริมา นามประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2347 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวโน้มความรุนแรงในหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินกับความปลอดภัยของพยาบาล https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2139 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์แนวโน้มความรุนแรง และความปลอดภัยของพยาบาลแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขและป้องกันให้พยาบาลปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินอย่างปลอดภัย โดยสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีผู้รับบริการเข้ามารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความแออัดของผู้รับบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนแพทย์และพยาบาลไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้รับบริการ ปัญหาพื้นที่บริการของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่เพียงพอ ปัญหาการติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการ ส่งผลให้เกิดความ<br />ล่าช้าในการบริการพยาบาล ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ นำไปสู่ความรุนแรงในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จากสถานการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อบุคลากรทีมสุขภาพ 3 ด้าน ได้แก่ <br />(1) ความรุนแรงทางด้านร่างกาย ส่งผลให้บุคลากรทีมสุขภาพบาดเจ็บหรือเสียชีวิต (2) ความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่นความรู้สึกโกรธ หรือความตึงเครียด และ (3) ความรุนแรงด้านทรัพย์สิน ส่งผลให้อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์เสียหาย จากแนวคิด Personnel Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018 มีเป้าหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุม ทั้งความปลอดภัยของผู้รับบริการ และความปลอดภัยของบุคลากรทีมสุขภาพ (Patient and Personnel Safety หรือ 2P Safety) พ.ศ. 2561-2564 ตรงกับเป้าหมายของ E:Environment and Working Conditions (E3: Workplace Violence ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน) โดยมีแนวทางการแก้ไขและป้องกันให้พยาบาลปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินอย่างปลอดภัย คือ การจัดระบบรักษาความปลอดภัยของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และการจัดการระบบการปฏิบัติงานของพยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำไปวางแผนแนวทางการแก้ไขและป้องกันให้พยาบาลปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุ<br />และฉุกเฉินอย่างปลอดภัย รวมทั้งสามารถรับมือได้กับสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสมต่อไป</p> สมัคร ใจแสน, ไพรินทร์ พัสดุ Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/2139 Sat, 29 Jun 2024 00:00:00 +0700