https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/issue/feed
วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
2024-08-29T10:47:57+07:00
Assoc. Prof. Dr. Sunisa Chaiklieng
csunis@kku.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม </strong><span style="font-weight: 400;">มีกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม โดยรับพิจารณาตีพิมพ์บทความวิจัย (Original article) และบทความปริทัศน์ (Review article) ทั้งรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีจำนวนบทความ 8-10 เรื่องต่อฉบับ และผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความ 3 คน/เรื่อง โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ ทั้งนี้ผลงานวิชาการที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการรอพิจารณาตีพิมพ์จากวารสารวิชาการอื่น</span></p>
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3148
ความชุกของอาการจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร: การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน
2024-08-26T11:31:26+07:00
จุฑามาศ ฉากครบุรี
csunis@kku.ac.th
สุนิสา ชายเกลี้ยง
csunis@kku.ac.th
<p> ประเทศไทยมีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรปริมาณมากและเกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรแพร่หลาย โดยสารกำจัดศัตรูพืชเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ใช้จากการประกอบอาชีพซึ่งความชุกพิษสารกำจัดศัตรูพืชจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าแม้เกษตรกรสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลแต่ยังคงได้มีรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ วัตถุประสงค์ของการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานเพื่อศึกษาความชุกของพิษจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชในการทำงานของเกษตรกรจำแนกตามระบบต่างๆ โดยคัดเลือกงานวิจัยที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลออนไลน์ปี พ.ศ.2558-2563 ที่ศึกษาในไทยและต่างประเทศ สืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ Scopus, PubMed, Web of Science และ ThaiJo ซึ่งคัดเลือกบทความวิจัยฉบับเต็มประเภทการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ มีการรายงานอาการผิดปกติจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชจากการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการผ่านเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมด 6 งานวิจัย ผลการศึกษาพบความชุกโดยภาพรวมของอาการไม่พึงประสงค์ร้อยละ 29.01 (95%CI: 24.13-34.14) เมื่อจำแนกเป็น 8 ระบบ/อวัยวะ ระบบที่มีความชุกสูงสุดคือระบบกระดูกและกล้ามเนื้อร้อยละ 46.91 (95%CI: 42.00-51.88) ระบบประสาท ร้อยละ 33.86 (95%CI: 32.38-35.36) หัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 30.64 (95%CI: 26.10-35.59) สุขภาพจิต ร้อยละ 28.47 (95%CI: 26.10-30.98) ตา ร้อยละ 28.36 (95%CI: 25.39-31.53) ทางเดินหายใจ ร้อยละ 27.37 (95%CI: 24.66-30.25) ทางเดินอาหาร ร้อยละ 20.20 (95%CI: 17.71-22.95) และผิวหนัง ร้อยละ 19.52% (95%CI: 17.32-21.93) สรุปอาการที่พบความชุกสูงสุดแต่ละระบบ ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย การเต้นของหัวใจผิดปกติ กังวล น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ปวดท้อง และผิวหนังอักเสบ ตามลำดับ</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3149
ผลของการปรับปรุงก้านพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดโอกาสการรับสัมผัสสารเคมี:กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม
2024-08-26T11:38:17+07:00
นภัทร ไชยรัตน์สัมพันธ์
pravena15@yahoo.com
ศิวะมล บุญสิริฉาย
pravena15@yahoo.com
สไบทิพย์ เพชรโอ
pravena15@yahoo.com
ปวีณา มีประดิษฐ์
pravena15@yahoo.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงก้านพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เปรียบเทียบการลดโอกาสการรับสัมผัสสารเคมี ได้แก่ ระยะเวลาในการฉีดพ่น ปริมาณสารเคมีที่ใช้ และปริมาณการรับสัมผัสสารเคมีขณะพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระหว่างก่อนการปรับปรุงก้านพ่นสารเคมีและหลังการปรับปรุงก้านพ่นสารเคมี และศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานก้านพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังจากได้รับการปรับปรุง โดยทำการศึกษาแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรปลูกตะไคร้ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกเวลาและปริมาณของเหลวที่ใช้ในการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งก้านพ่นแบบเดิม (1 หัวฉีด) และแบบใหม่ (4 หัวฉีด) ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบระยะเวลาเฉลี่ยและปริมาณการรับสัมผัสระหว่างการฉีดพ่นของการใช้ก้านพ่นสารเคมีแบบเดิม (1 หัวฉีด) กับก้านพ่นสารเคมีแบบใหม่ (4 หัวฉีด) มีค่าลดลงอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และปริมาณสารเคมีที่ใช้เฉลี่ยระหว่างก้านพ่นสารเคมีแบบเดิม (1 หัวฉีด) ก้านพ่นสารเคมีแบบใหม่ (4 หัวฉีด) มีการใช้ปริมาณสารเคมีที่ลดลง แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยมีความพึงพอใจหลังการใช้ก้านฉีดแบบใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ดังนั้นก้านฉีดแบบใหม่ควรได้รับการแนะนำให้ใช้ในกลุ่มเกษตรกรเพื่อลดโอกาสการรับสารเคมีต่อไป</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3150
เมตริกการประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของบุคลากร และความเข้มแสงสว่างในการทำงานกลุ่มงานผ่าตัดในโรงพยาบาลชัยภูมิ
2024-08-26T11:44:44+07:00
ศิริรัตน์ วัดโคกสูง
csunis@kku.ac.th
สุนิสา ชายเกลี้ยง
csunis@kku.ac.th
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อประเมินความเสี่ยงโดยใช้เมตริกการประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเข้มแสงสว่างในสภาพแวดล้อมการทำงานของบุคลากรกลุ่มงานผ่าตัดในโรงพยาบาล จำนวน 68 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามที่สามารถตอบได้ด้วยตนเอง ประกอบด้วยแบบประเมินด้วยตนเองด้านความรุนแรงและความถี่ของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSFQ) แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของบุคลากรท่ายืนและท่านั่งทำงานด้วยวิธี REBA และ RULA ตามลำดับ พิจารณาร่วมกันในรูปแบบเมตริกเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ที่พิจารณาโอกาส (ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์) และความรุนแรง (ระดับการรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย) และตรวจวัดแสงสว่างการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรซึ่งเป็นพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ พนักงานผ่าตัด และพนักงานทั่วไป มีระดับความรู้สึกไม่สบายของร่างกายสูงสุด คือ ไหล่และหลังส่วนล่างเท่ากัน ร้อยละ 14.7 รองลงมาคือ เข่า ร้อยละ 13.23 และแขนท่อนล่าง เท้าและข้อเท้าเท่ากัน ร้อยละ 8.82 ตามลำดับ ความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานด้วยท่ายืน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 เสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 42.65) และการทำงานด้วยท่านั่ง ส่วนใหญ่อยู่ในความเสี่ยงระดับ 2 เสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 48.53) จากการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ REBA และ RULA พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยเมตริกประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) พบว่า บุคลากรมีความเสี่ยงในระดับสูงมาก (ร้อยละ 51.47) และตำแหน่งของร่างกายที่มีผลความเสี่ยง MSDs ตั้งแต่ระดับเสี่ยงสูงขึ้นไป คือ หลังส่วนบน หลังส่วนล่าง คอ ไหล่ เข่า และน่อง ตามลำดับ และผลการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างในห้องผ่าตัด (OR) จำนวน 11 ห้อง แบบจุดทำงานใช้สายตาเป็นหลัก พบว่า การผลการตรวจวัดแบบจุดในพื้นที่ที่ 1 ค่าความเข้มแสงสว่างผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 72.73 ในขณะที่การตรวจวัดในพื้นที่ที่ 2 และ 3 พบว่าผ่านมาตรฐาน เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูงต่อ MSDs จึงควรมีการให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ โดยบุคลากรที่ต้องยืนทำงานนานๆ ให้มีการจัดเวลาในการพักหรือจัดเก้าอี้กึ่งนั่งกึ่งยืนในงานผ่าตัดต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบด้านโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงาน และการจัดการด้านแสงสว่างในจุดที่ใช้สายตาเพ่งในการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานต่อไป</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3151
การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ที่ส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานขับรถสถานีขนส่งสาธารณะ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
2024-08-26T11:50:55+07:00
จารุวรรณ นันทะวงษ์
csunis@kku.ac.th
สุนิสา ชายเกลี้ยง
csunis@kku.ac.th
<p> การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นพนักงานขับรถตู้ พนักงานขับรถบัส พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ที่ส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานขับรถสถานีขนส่งสาธารณะ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี SERFA และแบบประเมินด้วยตนเองด้านความรุนแรงและความถี่ของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSFQ) และการประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของพนักงานขับรถขนส่งสาธารณะ พบว่าพนักงานมีความเสี่ยงปานกลางร้อยละ 53.33 และรองลงมาอยู่ในความเสี่ยงสูงร้อยละ 46.67 และระดับความเสี่ยงจากเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย ผลพบว่าในพนักงานขับรถขนส่งสาธารณะโดยส่วนใหญ่ความเสี่ยงต่อสุขภาพอยู่ในระดับเสี่ยงสูงโดยคิดเป็น ร้อยละ 56.67 และรองลงมาเป็นระดับความเสี่ยงสูงมากร้อยละ 36.67 และสุดท้ายอยู่ในระดับเสี่ยงปานกลางโดยคิดเป็น ร้อยละ 6.67 แยกตามประเภทของรถ พบว่า พนักงานขับรถบัส มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูงมากร้อยละ 60.00 พนักงานขับรถตู้ มีความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 30.00 และพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง มีความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 20.00 ตามลำดับ และหากพิจารณาที่ตำแหน่งของร่างกายที่มีความเสี่ยงมากที่สุด พบว่าพนักงานขับรถขนส่งสาธารณะมีความเสี่ยงสูงสุดที่ ลำตัว ส่วนสะโพกไปจนถึงข้อเท้า และแขนจนถึงข้อมือ จากการประเมินข้างต้นชี้ให้เห็นว่าพนักงานขับรถขนส่งสาธารณะต้องมีมาตรการในการควบคุมป้องกันและแก้ไข ดังนั้นจึงควรมีการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน โดยการให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ และมีการปรับปรุงสถานีงานให้มีความเหมาะสมต่อไป</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3152
การศึกษาทางด้านการยศาสตร์เพื่อประเมินความเสี่ยง และความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อของพนักงานผูกเหล็กในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง ของจังหวัดชลบุรี
2024-08-26T11:57:00+07:00
ศรัณยู คำกลาง
saranyukhamklang2539@gmail.com
สิทธิชัย สิงห์สุ
saranyukhamklang2539@gmail.com
<p> การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินท่าทางการทำงานของคนงานก่อสร้าง ประเมินระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และศึกษาความชุกของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บจากงานก่อสร้าง ของพนักงานผูกเหล็ก ในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่งของ จังหวัดชลบุรี วิจัยแบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) เป็นการศึกษา ณ จุดเวลาหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ทำการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมด 44 คน ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า จากการวิเคราะห์การทำงานเพื่อตรวจสอบและประเมินทางการยศาสตร์ ด้วยวิธีการ Rapid Entire Body Assessment (REBA) โดยพนักงานผูกเหล็กในโครงการก่อสร้างมีท่าทางของการยศาสตร์ ผลลัพธ์มีคะแนนเท่ากับ 12 ซึ่งหมายถึงต้องได้รับการความเสี่ยงสูงมาก ควรปรับปรุงทันที และจากใช้แบบสอบถาม Nordic musculoskeletal questionnaire (NMQ) พบว่า มีอวัยวะของการเคลื่อนไหวของพนักงานผูกเหล็ก มีอาการบาดเจ็บในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และอวัยวะที่บาดเจ็บมากสุดคือหลังส่วนล่าง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ (47.73) และมีอาการบาดเจ็บในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และอวัยวะที่บาดเจ็บมากสุดคือ คอ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ (11.36) ดังนั้น ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดด้านการปรับปรุงสภาพงาน เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ และเป็นแนวทางในการออกแบบทางวิศวกรรมหรือการปรับปรุงวิธีการทำงานซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องสุขภาวะอนามัยในการทำงานของพนักงานผูกเหล็กในโครงการก่อสร้างต่อไป</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3153
การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของเกษตรกรผู้ใช้รถแทรกเตอร์ในกิจกรรมทางการเกษตร: กรณีศึกษาตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
2024-08-26T12:03:47+07:00
อนุสิทธิ์ ศรีพันธ์
csunis@kku.ac.th
สุนิสา ชายเกลี้ยง
csunis@kku.ac.th
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ใช้รถแทรกเตอร์ในกิจกรรมทางการเกษตร ในกลุ่มตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน โดยใช้แบบประเมินความรุนแรงและความถี่ของอาการทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ Musculoskeletal Disorders Severity and Frequency Questionnaire (MSFQ) แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธีการประเมินปัจจัยการยศาสตร์เบื้องต้น (SERFA) และเมตริกประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ที่พิจารณาโอกาส (ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์) และความรุนแรง (ระดับการรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ใช้รถแทรกเตอร์มีระดับความรู้สึกไม่สบาย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของร่างกายสูงสุด คือ คอ ไหล่ หลังส่วนล่าง เข่า น่อง เท้าและข้อเท้า ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธีการยศาสตร์ SERFA พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความเสี่ยงในระดับปานกลางมากที่สุดอยู่บริเวณ รยางค์ส่วนบน และ รยางค์ส่วนล่าง เก้าอี้คนขับ โดยภาพรวมนั้นไม่เหมาะสมกับสัดส่วนของร่างกายของเกษตรกรผู้ขับรถแทรกเตอร์ การประเมินโดยเมตริกความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ พบว่า ระดับความรู้สึกไม่สบาย Neck (คอ) อยู่ในระดับ 1 ร้อยละ 68.75 ระดับความรู้สึกไม่สบาย หลังอยู่ในระดับ 2 ร้อยละ 50.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับการเกิด MSDs ประกอบด้วย อายุการใช้งานของผู้ครอบครองรถแทรกเตอร์ และจำนวนไร่ของการใช้รถทางการเกษตรต่อปี และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการยศาสตร์ต่อความเสี่ยงการเกิด MSDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือบริเวณลำตัว (หลัง) และรยางค์ส่วนล่าง ดังนั้นจึงมีประโยชน์ต่อไปในการนำปัจจัยเหล่านี้ไปศึกษาเชิงลึกเพื่อป้องกันความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกรต่อไป</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3154
การออกแบบการ์ดป้องกันเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้า : กรณีศึกษาโรงงานผลิตรองเท้าหนัง แห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น
2024-08-26T12:27:01+07:00
เนตรดาว น้อยโนนทอง
csunis@kku.ac.th
วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล
wichaimu@gmail.com
สุนิสา ชายเกลี้ยง
csunis@kku.ac.th
<p> การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วย่อมต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในกระบวนการผลิตจากการใช้เครื่องจักรโดยเฉพาะโรงงานผลิตรองเท้าหนัง พบว่ามีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานจากเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้าในพนักงานสูง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบอุปกรณ์ความปลอดภัย ของเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้าจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) และการประเมินความสมบูรณ์ความปลอดภัย (Safety Integrity Level) หรือ SIL ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการออกแบบการ์ดป้องกันเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้าคือ พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในโรงงานและประเมินประสิทธิผลของเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้า กับอาสาสมัครพนักงานตำแหน่งงานเครื่องย้ำตาไก่ จำนวน 16 คน และหัวหน้างาน จำนวน 8 คน รวม 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแนวคำถามสำหรับใช้ในการสนทนากลุ่มเพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการ แบบสอบถามประเมินประสิทธิผล และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบประสิทธิผลและความพึงพอใจต่อเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้า Paired-Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการออกแบบการ์ดป้องกันเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้า ทำให้โรงงานผลิตรองเท้าหนังได้การ์ดป้องกันเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้าแบบแผ่นเพลท พนักงานเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยมากขึ้นโดยมีระดับความสมบูรณ์ความปลอดภัย หรือ SIL อยู่ที่ระดับ X (ต่ำกว่า SIL1) หลังการทดลองพบว่าการ์ดป้องกันเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้าแบบแผ่นเพลทมีประสิทธิผลด้านปริมาณและด้านคุณภาพสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และหลังการทดลองพนักงานมีความพึงพอใจต่อการ์ดป้องกันเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้าแบบแผ่นเพลท ด้านการออกแบบ ด้านความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมการใช้งาน และด้านผลผลิตที่ได้ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) สรุปการ์ดป้องกันเครื่องย้ำตาไก่ระบบไฟฟ้าแบบแผ่นเพลท สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายมีความสะดวกไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3155
การประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน: กรณีศึกษาการประกอบปืนจุดไฟ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
2024-08-26T12:36:44+07:00
นปภา ฟองเขียว
siriwan.kan@mfu.ac.th
คามินทร์ ตาแสงสา
siriwan.kan@mfu.ac.th
กุสุมา ปฏิเวทย์
siriwan.kan@mfu.ac.th
สุรเสกข์ เมืองนก
siriwan.kan@mfu.ac.th
ณิชานันท์ เตรียมวัฒนา
siriwan.kan@mfu.ac.th
ภาณุพงศ์ เรืองวิจิตร
siriwan.kan@mfu.ac.th
รัฐนันต์ เนตรสัก
siriwan.kan@mfu.ac.th
ศิริวรรณ กันติสินธุ์
siriwan.kan@mfu.ac.th
<p> การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการทำงานในพนักงานโรงงานผลิตปืนจุดไฟ และประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ในกระบวนการผลิตปืนจุดไฟ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis: JSA) และแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์เทคนิค Rapid Upper Limbs Assessment (RULA) โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการประเมินความเสี่ยงด้วยเทคนิค JSA พบว่าระดับคะแนนความ เสี่ยงสูงสุด (ระดับ 4) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ต้องหยุดดำเนินการและปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยง ลงทันที ได้แก่ อันตรายด้านความปลอดภัย คือ อันตรายจากก๊าซบิวเทนที่ใช้เติมปืนจุดไฟทําให้เกิดเพลิงไหม้ หากมีสะเก็ดไฟ นอกจากนี้ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วย RULA พบว่า พนักงานประกอบปืน จุดไฟส่วนใหญ่มีระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในความเสี่ยงระดับที่ 3 ความเสี่ยงสูงที่ควรตรวจสอบและอาจ ต้องแก้ไขโดยเร็ว คิดเป็นร้อยละ 64 ซึ่งเกิดจากการมีท่าทางการทางานที่มีการเอื้อมแขนหรือมือสลับข้างการบิด เอี้ยวลำตัวและก้มโค้งลำตัวไปข้างหน้า รองลงมาคือ ความเสี่ยงระดับ 4 ร้อยละ 20 และความเสี่ยงระดับ 2 ร้อยละ 16 จากข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวณการทำงานและออกแบบสถานีการทำงานที่ ปลอดภัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในระยะยาว</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3156
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดและอาการปวดคอของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง
2024-08-26T13:02:57+07:00
อำนวย ชัยชนะ
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
ณัฐกรณ์ ชูช่วย
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
นภัสนันท์ วงค์ศิริวรากุล
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
อิสริยา ทันเต
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
สุพิชญา จำปาไพร
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
ธมนวรรณ บุญทาคำ
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
ปัทมพร รักยงค์
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
ปิยวรรณ สาธุพันธ์
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
กัญญาณัฐ ศรีศักดิ์วรชัย
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
ปนาลี เหลืองสิริวรรณ
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
วีรภัทร มูลแพร
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
ศริณญา ถมยา
nattagorn.c@fph.tu.ac.th
<p> นักศึกษามหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความเครียดในระดับที่สูง ประกอบกับอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดคอในกลุ่มนักศึกษาซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นจากหลายปัจจัย การศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด การเกิดอาการปวดคอ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยดังกล่าวในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปางจำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนั่งเรียน แบบประเมินความเครียดที่ประยุกต์ใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง กรมสุขภาพจิต แบบ 20 ข้อ และแบบสอบถามการเกิดอาการปวดคอในช่วง 12 เดือน และ 7 วันที่ผ่านมา ผลการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในระดับสูงถึงระดับรุนแรงร้อยละ 76 มีการรายงานการเกิดอาการปวดคอในช่วง 12 เดือน และ 7 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 53 และร้อยละ 31 ตามลำดับ เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรในกลุ่มปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนั่งเรียนพบว่า การเพิ่มขึ้นของคะแนนความเครียดเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดคอในช่วง 12 เดือน และ 7 วันที่ผ่านมาคิดเป็น 1.06 และ 1.05 เท่าตามลำดับ (aOR = 1.06, 95%CI: 1.03-1.08; p <0.001; aOR = 1.05, 95%CI: 1.02-1.07; p <0.001) ผู้เกี่ยวข้องจึงควรออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อลดระดับความเครียดในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย คาดว่าจะช่วยลดโอกาสของการเกิดอาการปวดคอ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยลงได้</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/3157
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองด้านความปลอดภัยของ ผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
2024-08-26T13:20:22+07:00
ปานตะวัน ใจมาบุตร
Kamonwan.pr@go.buu.ac.th
พัณณิตา หนูพรหม
Kamonwan.pr@go.buu.ac.th
รุ่งนภา โบกคำ
Kamonwan.pr@go.buu.ac.th
กมลวรรณ พรมเทศ
Kamonwan.pr@go.buu.ac.th
นันทพร ภัทรพุทธ
nantapor@buu.ac.th
<p> ปัจจุบันประชาชนเดินทางมาทำงานและท่องเที่ยวที่จังหวัดชลบุรีเป็นจำนวนมาก จึงมีการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้น ดังนั้นการสร้างความตระหนักในการป้องกันตนเองด้านความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองด้านความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 98 คน เก็บตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 26 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า รายได้ 5,000-10,000 บาท ส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 57) ( = 7.38±1.62) ประมาณร้อยละ 95 มีการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์อยู่ในระดับสูง ( = 87.48±7.02) และอีกประมาณร้อยละ 50 มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะอยู่ในระดับปานกลาง ( = 36.89±4.63) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า เพศ ความถี่ในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองด้านความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่า ความถี่ในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะเป็นปัจจัยที่มีอำนาจทำนายพฤติกรรมมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p </em>< 0.05) ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ให้ความรู้และการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมาย และกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารสาธารณะให้แก่ประชาชน</p>
2024-08-27T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024