วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA <p><strong>วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม </strong><span style="font-weight: 400;">มีกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม โดยรับพิจารณาตีพิมพ์บทความวิจัย (Original article) และบทความปริทัศน์ (Review article) ทั้งรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีจำนวนบทความ 8-10 เรื่องต่อฉบับ และผู้ทรงคุณวุฒิอ่านบทความ 3 คน/เรื่อง โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์ ทั้งนี้ผลงานวิชาการที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการรอพิจารณาตีพิมพ์จากวารสารวิชาการอื่น</span></p> th-TH csunis@kku.ac.th (Assoc. Prof. Dr. Sunisa Chaiklieng) ohswa.111@gmail.com (สุรีรัตน์ เวสารัชวรกุล) Mon, 12 Feb 2024 11:32:30 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 A REVIEW STUDY OF INNOVATIVE WEARABLE TECHNOLOGY IN SAFETY, EFFICIENCY, HEALTH FOR WORKERS https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2225 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This article is an academic article to study and explain the meaning of wearable technology innovation. For workers who may have an incident that causes danger, is unsafe, or provides public services. Including presenting useful features and introducing innovative wearable technology. For workers to develop work for work in industries where work poses a risk to safety for workers and service recipients. This helps in developing tools or technology tools that can be used for maximum utility in work. In this academic article, the researcher has classified innovations in wearable technology. According to the benefits of wearable devices, there are 3 types: safety, and performance. and health of workers which from the results of the study, the study of the study researcher summarizes the benefits and uses of each type of wearable device as a guideline for setting strategies and goals for safety management in organizations as well as security policies related to operators. Work to have good work efficiency and affects personnel management in effectively setting policies or health care plans for workers.</p> Natnicha Tohchalee, Wares Chancharoen Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2225 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังของเกษตรกรไร่มันสำปะหลัง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2226 <p style="text-align: left;">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพต่างๆ ตลอดขั้นตอนการผลิตมันสำปะหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวมักจะทำงานด้วยท่าทางที่ผิดธรรมชาติและท่าทางที่ซ้ำซากซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน ลักษณะท่าทางในการทำงาน และอาการปวดหลังของเกษตรกรไร่มันสำปะหลัง ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง 103 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน ลักษณะท่าทางในการทำงาน และแบบประเมินอาการปวดหลังของเกษตรกรไร่มันสำปะหลังที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามมาตรฐานนอร์ดิก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.3 อายุ ³ 51 ปี ร้อยละ 31.1 มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 56.3 มีชั่วโมงในการทำงาน £ 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 95.1 และเกษตรกรส่วนใหญ่มีลักษณะท่าทางในการทำงาน ได้แก่ นั่งงอหลังตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง นั่งตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นเวลานานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 90.3 เท่ากัน ก้มกำจัดวัชพืช ร้อยละ 87.4 สะพายหรือหิ้วถังใส่ปุ๋ย ร้อยละ 82.5 อาการปวดหลังของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเกษตรกรไร่มันสำปะหลังส่วนใหญ่มีอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบาย สูงสุดสามอันดับแรก คือบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 95.1 หลังส่วนบน ร้อยละ 91.3 และไหล่ทั้งด้านซ้ายและขวา ร้อยละ 80.6 นอกจากนี้ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาเกษตรกรโดยส่วนใหญ่มีอาการปวดหลังหรือรู้สึกไม่สบาย สูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ ตำแหน่งหลังส่วนล่าง ร้อยละ 88.3 หลังส่วนบน ร้อยละ 87.4 และไหล่ทั้งด้านซ้ายและขวา ร้อยละ 66.0 และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ระดับการศึกษา และจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังของเกษตรกรไร่มันสำปะหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p&lt;0.01) นอกจากนี้ ลักษณะท่าทางการทำงาน ได้แก่ นั่งงอหลังตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง และนั่งตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p&lt;0.05) ส่วนท่าทางการก้มกำจัดวัชพืช และสะพายหรือหิ้วถังใส่ปุ๋ย มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p&lt;0.01)</p> ศักดิ์สิทธิ์ กุลวงษ์, จินตนา มาภักดี, กิตติยากร อำพรัตน์, พรทิพย์ ทิมสุวรรณ์, มนัสนันท์ สินธิพงษ์, สุรีรัตน์ ชาญอุประการ, ไอลดา แซ่ลาย, นันทพร ภัทรพุทธ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2226 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2227 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 264 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 69.3 อายุระหว่าง 19-38 ปี ร้อยละ 93.2 (¯x=29.71, SD=7.197) สถานภาพโสด ร้อยละ 66.3 ประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี ร้อยละ 79.62 (¯x=3.91, SD=2.333) ระยะเวลาทำงาน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 95.52 (¯x=7.48, SD=0.598) ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 81.12 (¯x=6.02, SD=0.435) ส่วนใหญ่อยู่ในแผนกแพ็คชิ้นงาน (Coating) ร้อยละ 21.2 ระดับการรับรู้ด้านนโยบายความปลอดภัยของบริษัทฯ อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 61.0 (¯x=14.99 , SD=1.682) ด้านการกำกับดูแลด้านความปลอดภัย ระดับพอใช้ ร้อยละ 59.1 (¯x=14.82, SD=1.556) การให้ความรู้/อบรมด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 61.7 (¯x=14.65, SD=1.729) การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับพอใช้ร้อยละ 70.5 (¯x= 44.18, SD= 4.244) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ประกอบด้วย อายุ (p=0.000) ประสบการณ์การทำงาน (p=0.000) การรับรู้นโยบายด้านความปลอดภัยของบริษัทฯ (r=0.568, p&lt;0.001) การกำกับดูแลด้านความปลอดภัย (r=0.568, p&lt;0.001) การให้ความรู้/อบรมด้านความปลอดภัย (r=0.746, p&lt;0.001) และปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม (r=0.746, p&lt;0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น ควรเพิ่มการรับรู้นโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัย การกำกับดูแล การให้ความรู้และส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมเพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มมากขึ้น</p> พรวิภา จันทร์อ่อน, สุชัญญา ศิริกาล , นรัตน์ ประทาย, รมย์นลิน เย็นสุข , ทิพรดา คงประเวช , นันทนัช น้อยจันทึก , อรนาถ สุวรรณศิริ , อนามัย เทศกะทึก , ธีรานันท์ นาคใหญ่ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2227 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของพนักงานเก็บขยะ ในเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2228 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการทำงานกับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานเก็บขยะ ในจังหวัดชลบุรี ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 53 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่า IOC = 0.97 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค ในส่วนของลักษณะท่าทางในการยกเทขยะ เท่ากับ 0.83 และในส่วนของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยไคสแควร์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า อาชีพเสริม และอายุที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานเก็บขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) และปัจจัยด้านการทำงาน&nbsp; พบว่า ประสบการณ์การทำงาน และลักษณะท่าทางในการยก ได้แก่ ก้ม ๆ เงย ๆ กล้ามเนื้อเกร็งหรือออกแรงมากอย่างต่อเนื่อง บิดหมุนลำตัวหรือเอี้ยวตัว เคลื่อนย้ายวัตถุหนัก 55 กิโลกรัมขึ้นไป และทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานเก็บขยะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) จากผลการศึกษานี้ ควรมีการปรับปรุงท่าทางในการเทขยะให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และควรเฝ้าระวังสุขภาพของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในกลุ่มพนักงานกลุ่มที่มีอายุมาก และมีการทำงานมานานต่อไป</p> รพีพรรณ ต๊ะนนท์, จิดาภา รัตนเสลานนท์, ธนาวดี ศรีงาม, ธันวา กลิ่นมาลี, ปรวรรณ วงษ์มิตรแท้, ปิยะฉัตร บุญเปรม, ปัทมเกสร์ กิตติพยัคฆ์, ปวีณา มีประดิษฐ์, พิจิตรา ปฏิพัตร Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2228 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 ความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการปวดไหล่และความล้าของกล้ามเนื้อไหล่จากการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2229 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการปวดไหล่และเพื่อประเมินความล้าของกล้ามเนื้อไหล่โดยใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความรุนแรงและความถี่ของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal Severity and Frequency Questionnaire; MSFQ) แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมโดยเน้นรยางค์ส่วนบน เมตริกการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการปวดไหล่ และเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography: EMG) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย ร้อยละ 34.5 ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของรยางค์ส่วนบน พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 39.9 ผลการศึกษาระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงปานกลางขึ้นไป ร้อยละ 54.9 และการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณไหล่ (Upper trapezius) พบว่าตลอด 8 ชั่วโมงการทำงาน พนักงานมีความล้าของกล้ามเนื้อทั้งไหล่ซ้ายและไหล่ขวา (MF/Time slope = -1.250 และ –0.998 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาค่าความล้าของกล้ามเนื้อไหล่จากการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อตามระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ 4 ระดับ พบว่าค่าความล้าของกล้ามเนื้อสูงในไหล่ซ้ายในกลุ่มความเสี่ยงสูง (MF/time slope = -1.961) และความเสี่ยงสูงมากต่อการปวดไหล่ (MF/time slope = -1.449) โดยพบสูงกว่ากล้ามเนื้อไหล่ขวากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและสูงมาก (MF/time slope = -1.025 และ MF/time slope = -1.092 ตามลำดับ) จากการศึกษาความล้าของกล้ามเนื้อจากท่าทางการทำงานที่คงท่านั่งหรือยืนท่าเดิมนานๆ ของพนักงานอิเลกทรอนิกส์นี้ พบว่าพนักงานมีความล้าที่ไหล่ซ้ายสูงกว่าไหล่ขวาและในท่านั่งที่สูงกว่าท่ายืน อาจเนื่องจากพนักงานมีการเคลื่อนไหวไหล่ขวาและรยางค์ด้านขวาเป็นส่วนใหญ่ขณะนั่งและความล้าเกิดขึ้นบริเวณที่มีภาวะสถิตคือไหล่ซ้ายมากกว่า ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังและคัดกรองการปวดไหล่โดยอาศัยเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพและการส่งเสริมให้ออกกำลังกายคลายกล้ามเนื้อในกลุ่มพนักงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานท่าเดิมนานๆ ต่อไป</p> พรไพลิน ทิศอุ่น, สิริพัชร ช่วงกรุด, สุนิสา ชายเกลี้ยง Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2229 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 อุบัติการณ์ของการปวดไหล่และหลังและความเครียดจาการทำงานในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2230 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบโคฮอร์ต (Prospective cohort study) หรือติดตามไปข้างหน้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์ของการปวดไหล่และหลังและความเครียดจากการทำงานในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปวดไหล่และหลังในรอบ 3 เดือน กับความเครียดจากการทำงาน จำนวนทั้งหมด 109 คน&nbsp; โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความเครียดจากการทำงาน และแบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินอุบัติการณ์การปวดไหล่และหลังจากการทำงาน ผลการศึกษา พบว่า พนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่พนักงานมีความเครียดจากการทำงานระดับปานกลาง ร้อยละ 50.5 รองลงมาคือมีความเครียดระดับเล็กน้อย ร้อยละ 23.9 และมีความเครียดระดับสูง ร้อยละ 16.5 ตามลำดับ อัตราอุบัติการณ์การปวดไหล่ของการศึกษานี้ พบว่าอุบัติการณ์การปวดไหล่หลังจากติดตามในรอบ 1 เดือนของพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คือร้อยละ 28.4 อุบัติการณ์ในรอบ 2 เดือน ร้อยละ 52.3 และอุบัติการณ์ในรอบ 3 เดือน ร้อยละ 85.3 และอัตราอุบัติการณ์การปวดหลังของพนักงานพบว่าอุบัติการณ์การของการปวดหลังจากการติดตามในรอบ 1 เดือน คือ ร้อยละ 22.0 ในรอบ 3 เดือน พบร้อยละ 62.4 และการปวดหลังเกิดขึ้นทุกราย ร้อยละ 100.0 หลังจากติดตามในรอบ 6 เดือน ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้นสามารถเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรังของการปวดไหล่และโรคปวดหลังในพนักงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงปัจจัยด้านความเครียดจากการทำงานของพนักงานอาจเป็นผลกระทบต่อสุขภาพร่วมหรือปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคเรื้อรังทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อได้ในพนักงาน</p> สิริพัชร ช่วงกรุด, พรไพลิน ทิศอุ่น, สุนิสา ชายเกลี้ยง Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2230 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับกับระดับความดันโลหิต: กรณีศึกษา ในเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2231 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับกับระดับความดันโลหิต ในเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้จำนวนตัวอย่าง 109 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 - มีนาคม 2563 ด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ และการวัดค่าความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ สถิติไคสแควร์ และสถิติถดถอยพหุแบบโลจิสติกส์ ผลการการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 71.6 ส่วนใหญ่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ร้อยละ 69.7 มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ร้อยละ 73.4 ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนร้อยละ 88.1และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 70.6 ไม่ออกกำลังกายร้อยละ 65.1 มีความดันโลหิตปกติร้อยละ 63.3 และคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดีร้อยละ 64.2 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับระดับความดันโลหิต พบว่า คุณภาพการนอนหลับ ค่าดัชนีมวลกาย การมีประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว และการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 (p= 0.002, p=0.037, p= 0.009, p=0.004 ตามลำดับ) ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรเสนอแนะกับบริษัทรับเหมาให้ดำเนินการตามกฎหมายแรงงาน ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค</p> ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ธีรานันท์ นาคใหญ่, พัชรี คงเจริญ, สิริพรรณ วงษ์ทิม, บูรพา จิรกิตต์หิรัญ, ณัฐสุดา ลอยฟู, เบญจรัตน์ ตรงดี, นันทพร ภัทรพุทธ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2231 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของสารทําความสะอาด: กรณีศึกษาภายใน สถานที่พักอาศัยแห่งหนึ่ง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2232 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของสารทำความสะอาดภายในสถานที่พักอาศัยแห่งหนึ่ง ทำการเก็บตัวอย่าง 3 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยเก็บตัวอย่างในช่วงเช้าและช่วงบ่ายตาม NIOSH Method 0800 ตรวจนับจำนวนโคโลนี วิเคราะห์ลักษณะของเชื้อ ทดสอบประสิทธิภาพของสารทำความสะอาดในการฆ่าแบคทีเรียต่างสายพันธุ์กันด้วยวิธี Disc Diffusion และนำสารทำความสะอาดมาทดสอบภายในสถานที่จริง โดยสารทำความสะอาดที่นำมาใช้ทดสอบมีดังนี้ สารที่ 1, สารชนิดที่ 2, สารชนิดที่ 3, สารชนิดที่ 4, และน้ำกลั่นเป็นตัวควบคุม&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมในการเก็บตัวอย่างช่วงเช้าจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าช่วงบ่าย แต่จะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าช่วงบ่าย ทำให้ปริมาณแบคทีเรียรวมในช่วงเช้าเท่ากับ 265.54 CFU/m3 และช่วงบ่ายมีปริมาณเท่ากับ 250.03 CFU/m3 แบคทีเรียที่พบทั้งหมดมี 7 ชนิด โดยเชื้อแบคทีเรียที่พบมากที่สุดทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย คือ Staphylococcus spp. มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 202.98 CFU/m3&nbsp; และแบคทีเรียที่พบน้อยที่สุดคือ Bacillus cereus มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.90 CFU/m3&nbsp; และสารทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อทั้ง 7 สายพันธุ์มากที่สุด คือ สารชนิดที่ 3 และ สารชนิดที่ 4 โดยสารชนิดที่ 3 มีสารออกฤทธิ์เป็น alkyl dimethyl benzoyl ammonium chloride เข้มข้น 2.4%&nbsp; ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อ ที่สามารถใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย แต่มีความรุนแรง จึงเหมาะสำหรับใช้กับพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ และสารชนิดที่ 4&nbsp; มีองค์ประกอบของสารฆ่าเชื้อ Chloroxylenol เข้มข้น 4.8% ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส โดยผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียไม่แตกต่างกัน</p> พรพรรณ วัชรวิทูร, ชลธิชา แสงชนะ, ทรรศพร ภูกิ่งงาม, ดวงสุดา พงษ์จังหรีด, จารุวรรณ ขันนาค, สร้อยสุดา รอดกำเหนิด Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2232 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพของแรงงานตัดเย็บผ้า อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2233 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพของแรงงานตัดเย็บผ้า อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จำนวน 28 คน และตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ ความเข้มของแสงสว่างและความดังเสียง ในพื้นที่การปฏิบัติงานของแรงงานตัดเย็บผ้า เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และเครื่องมือตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ช่วงเวลาการทำวิจัย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2566</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.4 มีอายุอยู่ในช่วง 20-25 ปี ร้อยละ 46.4 มีประสบการณ์ทำงาน 1-2 ปี ร้อยละ 46.4 ปัญหาสุขภาพของแรงงานตัดเย็บผ้าในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 5 อันดับ คือ มีอาการปวดหลัง/ปวดเอว ร้อยละ 75.0 รองลงมาคือ ปวดชาตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ร้อยละ 71.4 ปวดไหล่ ร้อยละ 64.3 ปวดต้นคอ ร้อยละ 64.3 และกล้ามเนื้อตาล้า ร้อยละ 64.3&nbsp; ตามลำดับ การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านเคมี พบว่า แรงงานตัดเย็บผ้าสัมผัสฝุ่นผ้าจากกระบวนการตัดเย็บ ร้อยละ 89.3 สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ พบว่า แรงงานตัดเย็บผ้าทำงานโดยสัมผัสเสียงดังจากเครื่องจักร ร้อยละ 64.3 ทำงานกับเครื่องจักรที่มีความสั่นสะเทือน ร้อยละ 57.1 และผลการตรวจวัดความดังเสียงและความเข้มแสงสว่าง ในพื้นที่การทำงาน พบว่า ความดังเสียงในการทำงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ความเข้มแสงสว่างไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สภาพแวดล้อมทางด้านการยศาสตร์ พบว่า แรงงานตัดเย็บผ้านั่งหรือยืนทำงานติดต่อกันเป็นะยะเวลานานเกิน 2 ชั่วโมง ร้อยละ 85.7 ทำงานในท่าทางเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน ร้อยละ 82.1 ก้มโค้งตัวไปด้านหน้าขณะทำงาน ร้อยละ 78.6 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานตัดเย็บผ้า จังหวัดปัตตานี ได้แก่ อายุ ตำแหน่งงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานของแรงงานตัดเย็บผ้า ได้แก่ แสงสว่างและความดังเสียง ดังนั้น การอบรมให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางการตัดเย็บผ้าที่เหมาะสม การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการทำงานที่ปลอดภัย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า</p> ไชยวัฒน์ เหตุหมัน, ฮัสนา เจะอิ, โสมศิริ เดชารัตน์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2233 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700 การประมาณค่าความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสแสงสว่างในสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถานประกอบการ กรณีศึกษาที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2234 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินการรับรู้ความรู้สึกไม่สบายตาในขณะที่สัมผัสแสงในการทำงานและเพื่อประมาณค่าความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสแสงสว่างของพนักงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และ ในสถานประกอบการ กรณีศึกษา ที่ สปป ลาว โดยการใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 231 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อาสาสมัคร ตรวจวัดความเข้มแสงสว่างในการทำงานเฉพาะจุด และเมตริกความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จากการสัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ความชุกของอาการรู้สึกไม่สบายตา ในขณะที่สัมผัสแสงในการทำงานของพนักงานจากมากไปหาน้อย ได้แก่ มีอาการการรับรู้ที่ไม่สบายตา ร้อยละ 74.90 มีความสบายทางสายตา ร้อยละ 25.10 ผลการประมาณค่าความเสี่ยงจากการรับสัมผัสแสงสว่างของพนักงานจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ลักษณะงานใช้คอมพิวเตอร์พนักงานได้รับความเสี่ยงจากการสัมผัสแสงสว่างส่วนมากเป็นระดับสูง ร้อยละ 30.74 และมีความเสี่ยงในระดับสูงมาก ร้อยละ 4.33 ลักษณะงานทันตกรรม มีความเสี่ยงระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 2.16 เตียงผ่าตัด มีความเสี่ยงระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 3.46 ส่วนพื้นที่ที่มีลักษณะงานเป็นบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน พนักงานได้รับความเสี่ยงจากการสัมผัสแสงสว่างส่วนมากเป็นระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 6.49 และมีความเสี่ยงในระดับความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 1.30 และพื้นที่ที่มีลักษณะงานเป็นบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิต พนักงานได้รับความเสี่ยงจากการสัมผัสแสงสว่างส่วนมากเป็นระดับความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงสูง ร้อยละ 6.49 ของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบเห็นปัญหาพนักงานเกิดความไม่สบายทางสายตาซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพพนักงานที่ทำงานในสถานที่ที่ต้องใช้แสงสว่างในการทำงานดังกล่าว</p> คำทวีสุข เดชจันทะจักร, วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล, สุนิสา ชายเกลี้ยง Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/OHSWA/article/view/2234 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700