วารสารวิจัยนวัตกรรมและหลักฐานเชิงประจักษ์ทางสุขภาพ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/PBRI
<p>วารสารวิจัยนวัตกรรมและหลักฐานเชิงประจักษ์ทางสุขภาพ ดำเนินงาน โดย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ร่วมกับ องค์การนักศึกษาสถาบันพระบรมราชชนก เปิดรับบทความผลงานวิจัย นวัตกรรม กรณีศึกษา และบทความทางวิชาการจากหลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่า สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ในด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุขการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ</p> <p>กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ</p> <p>มกราคม - มิถุนายน</p> <p>กรกฎาคม - ธันวาคม</p>
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
th-TH
วารสารวิจัยนวัตกรรมและหลักฐานเชิงประจักษ์ทางสุขภาพ
3057-0336
-
ผลการประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ สำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/PBRI/article/view/3168
<p>การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ประเมินจากการปฏิบัติและความพึงพอใจของพยาบาล และปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จำนวน 16 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวนอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จำนวน 118 คน แบ่งเป็นระยะก่อนการทดลอง จำนวน 59 คน ระยะทดลอง จำนวน 59 คน ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ 2566 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาล แบบเฝ้าระวังปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการแนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Chi-square test และ Fisher exact test ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>หลังการประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> <.001) 2) ความพึงพอใจความพึงพอใจต่อแนวทางที่ประยุกต์ขึ้นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 91.46 คิดเป็นร้อยละ 42.71 และ 57.29 ตามลำดับ 3) หลังการประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว พบว่าจำนวนวันการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 261 เป็น 136 วัน และอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 15.33 เป็น 7.35 ครั้งต่อ 1000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ</p> <p>ดังนั้น ผลการวิจัยนี้แสดง ให้เห็นว่าแนวทางที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบได้</p>
นวลฤดี เจือจาน
อุดมรัตน์ หงี่ยมโพธิ์
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-26
2024-11-26
3 2
1
13
-
ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายทารกที่มีภาวะตัวเหลืองโดยใช้รูปแบบ IDEAL ต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแล
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/PBRI/article/view/3174
<p>วิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการวางแผนจําหน่ายทารกที่มีภาวะตัวเหลืองต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแลโดยใช้กรอบแนวคิดแบบ IDEAL และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการวางแผนจําหน่าย ในผู้ดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลือง จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ แบบประเมินทักษะ และรูปแบบการวางแผนจําหน่ายทารกที่มีภาวะตัวเหลือง ตามกรอบ IDEAL ได้ค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยะล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>คะแนนเฉลี่ยในการให้ความรู้ผู้ดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำในทารกตัวเหลืองหลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ IDEAL สูงกว่าก่อนการได้รับการวางแผนจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t </em>= 9.953;<em> p</em> < .001) คะแนนเฉลี่ยความแตกฉานในการให้ฝึกทักษะผู้ดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองหลังได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ IDEAL สูงกว่าก่อนการได้รับการวางแผนจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em> = 76.69; <em>p</em> < .001)</p> <p>โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ IDEAL ส่งผลให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะการดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองที่ถูกต้อง เหมาะสมและมั่นใจในตนเอง ตลอดจนช่วยให้ทารกแรกเกิดตัวเหลืองปลอดภัยจากการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนำสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของทารกต่อไป</p>
ศศิประภา สุระขัน
เสาวภา ขุนวิไชย
ศิริวรรณ พันธ์สวัสดิ์
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-26
2024-11-26
3 2
14
22
-
การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกเชิงกรานหักร่วมกับมีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/PBRI/article/view/3253
<p>กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกเชิงกรานหักร่วมกับมีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดอย่างปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และให้การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ ตั้งแต่แรกรับ จนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาวะกระดูกเชิงกรานหักร่วมกับเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด ถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต เนื่องจากกระดูกเชิงกรานเป็นแหล่งเลือดขนาดใหญ่ การหักของกระดูกเชิงกรานจึงอาจทำให้เกิดการเสียเลือดอย่างรุนแรง และเมื่อมีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดเพิ่มเข้ามา จะทำให้ปอด ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดออกซิเจนในเลือดและอวัยวะอื่นๆ ภาวะนี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเสียชีวิต จากกรณีศึกษา จำนวน 1 ราย ผู้ป่วยชายไทย อายุ 51 ปี สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ ประสบอุบัติเหตุเดินเท้าบนท้องถนนแล้วถูกรถพ่วงบรรทุก เฉี่ยวชน หมดสติ หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ขั้นสูงของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลาเกิดเหตุ 21.00 น. ได้รับแจ้ง/ออกรับผู้ป่วยเวลา 21.30 น. ถึงโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ เวลา 22.36 น. หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ขั้นสูงของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ใช้แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลแบบองค์รวม (Holistic Care) ในการให้การพยาบาลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ให้การพยาบาลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ดูแลครบทุกด้านไม่แยกส่วนโดยคำนึงถึงองค์ประกอบของร่างกาย ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem มาวิเคราะห์ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย และจัดระบบบริการทดแทนที่ผู้ป่วยต้องได้รับ ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บหลายระบบ มีบาดแผลขนาดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดจำนวนมาก หมดสติ ไม่รู้สึกตัว จึงทำให้เกิดความผิดปกติของสัญญาณชีพ ไม่สามารถรับรู้และช่วยเหลือตนเองได้ในทุกเรื่อง และไม่สามารถหายใจได้เอง นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยมีภาวะพร่องในการดูแลตนเอง พยาบาลจำเป็นต้องใช้ระบบการพยาบาล แบบทดแทนทั้งหมด (Therapeutic Self-Care Demand) กับผู้ป่วยรายนี้ และวินิจฉัยการพยาบาลตามรูปแบบ ของ NANDA ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>ผู้ป่วยมีปัญหาการพยาบาลที่สำคัญ 5 ข้อ ดังนี้ 1) มีภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการหายใจไม่มีประสิทธิภาพจากการมีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด 2) มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด เนื่องจากมีกระดูกเชิงกรานหักและมีบาดแผลเปิดขนาดใหญ่ที่ศีรษะและมีเลือดไหลออกจากแผลเป็นจำนวนมาก 3) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันอุดตันหลอดเลือดในปอด จากการมีกระดูก เชิงกรานหัก 4) ปวดขา 2 ข้างเนื่องจากเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ และ 5) ญาติมีความวิตกกังวลกับอาการบาดเจ็บจากเกิดอุบัติเหตุซึ่งจากการใช้กระบวนการพยาบาลกับผู้ป่วยดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลให้การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจน ตั้งแต่แรกรับ ณ จุดเกิดเหตุ และดูแลต่อเนื่องบนรถพยาบาลจนถึงห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวต่ำ GCS 3 คะแนน (E1V1M1) หายใจ Air Hunger จึงใส่ท่อช่วยหายใจ เบอร์ 7.5 และให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นจนผู้ป่วยมีอาการคงที่และสามารถส่งต่อไปรับการรักษาต่อ ที่โรงพยาบาลพุทธโสธรได้อย่างปลอดภัย</p>
พิชญาภัค บุญประสิทธิ์
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-26
2024-11-26
3 2
23
34
-
ผลของการเผายาต่อคะแนนความปวดในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/PBRI/article/view/3248
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเผายาต่อคะแนนความปวดในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 28 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่การเผายาและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินระดับอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยใช้มาตรวัดความเจ็บปวด (Visual Analog Scale : VAS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และ สถิติ Repeated measure ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>หลังการเผายา 3 ครั้งในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ระดับความปวดมีแนวโน้มลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001</p> <p>ดังนั้นโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพในเครือข่ายควรนำศาสตร์การเผายามาใช้กับผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1,3 หลัง เพื่อลดปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันและเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพภาพขึ้น</p>
ฟารีสา สะมะแอ
กิตติพร เนาว์สุวรรณ
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-01
2024-12-01
3 2
35
42
-
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ชั้นลึกในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/PBRI/article/view/3238
<p>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพก ใช้กรอบแนวคิดในการพัฒนาแนวปฏิบัติ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidenced - Based Practice Model) ในการพยาบาลโดย Soukup (2000) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ จำนวน 33 คน และผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ 1 : การประเมินและคัดกรองความเสี่ยงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก ของออทาร (Autar DVT Risk Assessment Scale) (Autar, 2003) แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ 2 : การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสำหรับพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการพยาบาล การประเมินความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวปฏิบัติ การประเมินผลลัพธ์ เกี่ยวกับความสามารถของพยาบาลในการปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับผู้ป่วยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสำหรับผู้สูงอายุ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Pair t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ได้คะแนนเฉลี่ยภาพรวม 4.10 คะแนน ในระดับมาก ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลระหว่างก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก มีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีผลต่างเท่ากับ 5.30 ความเป็นไปได้ในการนําแนวปฏิบัติไปใช้ปฏิบัติในหน่วยงาน คะแนนความเป็นไปได้เฉลี่ยในภาพรวม 4.32 คะแนน มีความเป็นไปได้ในการนำระดับสูง ไม่พบการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึกในผู้สูงอายุ ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติได้คะแนนเฉลี่ยในภาพรวม 4.78 คะแนน ในระดับพึงพอใจมากที่สุด</p> <p> ดังนั้นแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานในหน่วยงาน ในการป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหักอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
จุฬาภรณ์ ศรีโท
ณฐมน ภัทรเกริกชัย
กมลชนก โพธิ์เปี้ยศรี
สุมัทณา แก้วมา
Copyright (c) 2024 สถาบันพระบรมราชชนก
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-01
2024-12-01
3 2
43
55