https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/issue/feed
วารสารราชานุกูล
2024-08-28T15:20:43+07:00
Chadapim Phoasavasdi
journal.raja2014@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>ISSN: </strong>3056-9095 (Print)<strong> ISSN: </strong>3056-9168 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong>วารสารราชานุกูลมีนโยบายรับตีพิมพ์การศึกษาวิจัยหรือข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูพัฒนาการเด็ก ทั้ง 5 ด้าน อันประกอบด้วย 1) ด้านการเคลื่อนไหว ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor) และกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor) 2) ด้านสติปัญญา/การรู้คิด (Intelligence/Cognition) 3) ด้านภาษาและการสื่อสาร ทั้งการเข้าใจภาษา (Receptive Language) และการใช้ภาษา (Expressive Language) 4) ด้านการช่วยเหลือตนเอง (Self-help personal) และ 5) ด้านทักษะอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Skills) รวมไปถึงภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability) และโรคพัฒนาการระบบประสาท (Neurodevelopmental Disorders) อื่นๆ โรคที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก (Child Developmental Disorders) และยังรวมถึงสุขภาพจิตเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว ภายใต้กระบวนการค้นคว้าของสหสาขาวิชาชีพสาขาต่างๆ ได้แก่ แพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักจิตวิทยาคลินิก นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักการศึกษา นักวิชาการศึกษาพิเศษ นักโภชนาการ นักเทคนิคการแพทย์ และอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง”</p>
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/2551
กิจกรรมอาชาบำบัดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและความสามารถในการทำกิจกรรม สำหรับเด็กออทิสติก
2024-04-23T11:03:10+07:00
สุบิน สาวะธรรม
sawatham.s@gmail.com
<p>งานกิจกรรมบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูสถาบันราชานุกูล ได้จัดกิจกรรมโครงการอาชาบำบัดประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับการทำอาชาบำบัดตามหลักการสัตว์บำบัดและกรอบอ้างอิงการบูรณาการประสาทความรู้สึกรวมไปถึงการพัฒนาทักษะความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไป </p>
2024-04-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/2041
การตรวจสอบการลงข้อมูลรหัสหัตถการทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในสถาบันราชานุกูล
2024-05-15T14:14:55+07:00
ปรารถนา ชีวีวัฒน์
dr.pratana@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาความสอดคล้องและความครบถ้วนสมบูรณ์ของการลงรหัสหัตถการทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่นกับการวินิจฉัยโรค เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลของสถาบันราชานุกูลให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากขึ้น ก่อนนำไปขยายผลระดับกรมหรือกระทรวง</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้ชุดข้อมูลผู้ป่วยที่มีการลงรหัสหัตถการหรือการวินิจฉัยโรคในฐานข้อมูลของสถาบันราชานุกูล ระหว่าง ปี 2560-2565 กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศนำเข้าข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนด คือ วินิจฉัย และหัตถการที่ได้รับ จากนั้นนำมาจัดกลุ่มตามการวินิจฉัย เพื่อดูความสอดคล้องระหว่างวินิจฉัยและหัตถการที่ได้รับ โดยเปรียบเทียบกับตารางกลุ่มโรค การรักษามาตรฐาน และรหัสหัตถการ ที่ได้ทบทวนไว้ วิเคราะห์ความสอดคล้องและความครบถ้วนสมบูรณ์ในการลงรหัสหัตถการ</p> <p><strong>ผล </strong>ความสอดคล้องการลงรหัสหัตถการกับวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยนอก ร้อยละ 67.27 ผู้ป่วยใน ร้อยละ 80.00กลุ่มโรคสูงสูด 3 อันดับ คือ ออทิสติก บกพร่องทางสติปัญญา และพัฒนาการล่าช้า มีอัตราความสอดคล้องสูง คือ ร้อยละ 80-100 ในด้านความสมบูรณ์ ผู้ป่วยนอกไม่ลงรหัสหัตถการ ร้อยละ 49.18 ผู้ป่วยใน ไม่ลงรหัสหัตถการ ร้อยละ 97.74 บริการที่ลงรหัสไม่ครบเป็นส่วนใหญ่ คือ หมวดบริการทางสังคมและการศึกษาพิเศษ ส่วนที่ไม่พบการลงรหัสหัตถการ ได้แก่ การตรวจประเมินต่างๆ การทดสอบทางจิตวิทยา และการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยา</p> <p><strong>สรุป </strong>การบันทึกรหัสหัตถการ ของสถาบันราชานุกูลส่วนใหญ่สอดคล้องกับวินิจฉัยและการรักษามาตรฐาน โดยเฉพาะในโรคกลุ่มหลัก แต่การบันทึกรหัสหัตถการยังไม่ครบถ้วนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยใน</p>
2024-09-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 Pratana Cheeveewat
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1781
ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
2024-02-01T13:41:43+07:00
ภาวินี บุญสวรรค์ส่ง
bpawinee@yahoo.com
จิรพรรณ สาบุญมา
imjira1983@gmail.com
ธัสร์สอร กลางประพันธ์
tuss_sa@hotmait.com
<p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครองในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา โดย 1) เปรียบเทียบคะแนนการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบคะแนนการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> วิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุ 12-18 ปี รับบริการในสถาบันราชานุกูล เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2563 คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย เครื่องมือดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครองในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา และเครื่องมือกำกับการทดลองได้แก่ แบบประเมินทักษะการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กบกพร่องทางสติปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตินอนพาราเมตริก ได้แก่ Wilcoxon Signed - rank test และ Mann - Whitney U Test</p> <p><strong>ผล </strong>ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ ทั้งภาพรวมและรายด้านสูงขึ้น ค่าเฉลี่ยอันดับการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 และค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมในการดูแลฯ ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนค่าเฉลี่ยอันดับการรับรู้สมรรถนะและพฤติกรรมการดูแลฯ ของทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> <p><strong>สรุป </strong>โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ปกครองในการดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญาช่วยส่งเสริมให้ผู้ปกครองรับรู้สมรรถนะและมีพฤติกรรมการดูแลฯ สูงขึ้น</p>
2024-04-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ภาวินี บุญสวรรค์ส่ง, จิรพรรณ สาบุญมา, ธัสร์สอร กลางประพันธ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1436
ผลของโปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ในศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูลต่อคุณภาพชีวิตเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา
2024-01-11T09:12:15+07:00
โสภณ สวัสดิ์
sosawat@gmail.com
ประภาพรรณ เตชะจิตต์โชคเกษม
sosawat@gmail.com
ภัสสร จิตสงบ
sosawat@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อ 1) ศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาในศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูล 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของเด็กบกพร่องฯ ก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กบกพร่องฯ อายุ 1 ปี 6 เดือนถึง 5 ปี ที่รับบริการ ณ ศูนย์ส่งเสริมฯ และเข้าร่วมโปรแกรมฯ ระหว่าง 5 มิถุนายน - 20 สิงหาคม 2561 จำนวน 20 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องฯ ในศูนย์ส่งเสริมฯ ซึ่งผู้วิจัยนำโปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องฯ ของศูนย์ส่งเสริมฯ (คลองกุ่ม) ที่มีค่าความตรงตามเนื้อหา .93 และค่าความเชื่อมั่น .89 มาพัฒนาตามแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กบกพร่องฯ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตเด็กรุ่นที่ 4.0 พัฒนาโดย Dr. James W Varni ฉบับรายงานของผู้ปกครองที่แปลเป็นไทยแล้วมีค่าความน่าเชื่อถือ .83 ค่าความเชื่อมั่น .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ โดยใช้ Paired t-test</p> <p><strong>ผล</strong> คุณภาพชีวิตเด็กบกพร่องฯ หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ในศูนย์ส่งเสริมฯ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรมทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยก่อนการทดลองมีคะแนนคุณภาพชีวิตภาพรวม 2.18 และหลังการทดลองมีคะแนน 2.79 ค่า p-value <.001</p> <p><strong>สรุป</strong> โปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องฯ ในศูนย์ส่งเสริมฯ สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กบกพร่องฯ ได้</p>
2024-04-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 Sopon Sawat, ประภาพรรณ เตชะจิตต์โชคเกษม, Passorn Jitsangob
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1782
ผลของโปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น ต่อความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น
2024-08-28T15:20:43+07:00
จิรภัทร เปลื้องนุช
jirapatplu25@gmail.com
ณภัทร พรหมชู
jirapatplu25@gmail.com
นรุตม์ แพงพรมมา
jirapatplu25@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น และระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเพศหญิง (มารดา, ป้า, ย่า, ยาย ฯลฯ) ของเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติก อายุ 10-18 ปี จำนวน 40 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จับคู่ด้วยอายุซึ่งพบร้อยละ 40 อยู่ในช่วงอายุ 41-51 ปี ก่อนสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่นซึ่งประกอบด้วย 6 กิจกรรมดังนี้ 1) สร้างความสัมพันธ์ ร่วมกันค้นหาและกล้ายอมรับ 2) สังเกตอย่างไรให้รู้หนูมีอารมณ์ทางเพศ 3) จัดการอารมณ์ทางเพศอย่างเข้าใจ 4) การนำความรู้สู่การปฏิบัติ 5) การติดตามความก้าวหน้าในการฝึกปฏิบัติ 6) ความภาคภูมิใจที่ต้องแบ่งปัน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล 8 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ที่ 1 และ 8 เป็นการประเมินความสามารถของผู้ดูแลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ส่วนสัปดาห์ที่ 2–7 เป็นการจัดกิจกรรมตามแผน สัปดาห์ละ 1 ครั้งๆ ละ 90 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t- test และ Independent t- test</p> <p><strong>ผล </strong>คะแนนความสามารถของผู้ดูแลในการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่นของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ (=30.05, SD = 3.66) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=15.70, SD = 3.57) และสูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุม (ก่อนโปรแกรมฯ <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=15.90, SD = 3.193 และหลังโปรแกรมฯ <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=16.20, SD = 3.27) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>สรุป </strong>โปรแกรมการจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่น เป็นวิธีการพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลให้สามารถจัดการอารมณ์ทางเพศของเด็กออทิสติกวัยรุ่นได้ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมที่ออกแบบให้ได้รับทั้งความรู้และการฝึกทักษะตามประเด็นความรู้ที่กำหนดควบคู่กันไป สามารถช่วยให้ผู้ดูแลเกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจ จดจำ นำไปฝึกเด็กออทิสติกได้จริง </p>
2024-09-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 jirapat plueangnuch
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/2550
กลุ่มอาการดาวน์
2024-04-23T10:49:53+07:00
สุชารัตน์ ลิมปะนพรัตน์
limpanopparat@gmail.com
ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์
sornsasa@hotmail.com
จันทนี มุ่งเขตกลาง
k_chantanee@hotmail.com
<p>กลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้การตรวจคัดกรอง และการวินิจฉัยมีความแม่นยำสูง สามารถทราบถึงความผิดปกติล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนคลอด ซึ่งช่วยให้การวางแผนการดูแลรักษาร่วมกันระหว่างครอบครัวกับทีมแพทย์ทำได้อย่างเหมาะสม โดยการบำบัดรักษาต้องเน้นการบูรณาการทั้งการดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจและการเรียนรู้ โดยเฉพาะทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างต่อเนื่องทั้งจากทีมแพทย์ ผู้ปกครองและครู รวมถึงผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการสมวัย สามารถช่วยเหลือตนเอง ดำเนินชีวิตประจำวันตามศักยภาพ และเติบโตต่อไปในสังคมได้อย่างมีความสุข</p>
2024-04-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024