วารสารราชานุกูล https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ <p><strong>ISSN</strong>: xxxx-xxxx</p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong>วารสารราชานุกูลมีนโยบายรับตีพิมพ์การศึกษาวิจัยหรือข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูพัฒนาการเด็ก ทั้ง 5 ด้าน อันประกอบด้วย 1) ด้านการเคลื่อนไหว ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor) และกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor) 2) ด้านสติปัญญา/การรู้คิด (Intelligence/Cognition) 3) ด้านภาษาและการสื่อสาร ทั้งการเข้าใจภาษา (Receptive Language) และการใช้ภาษา (Expressive Language) 4) ด้านการช่วยเหลือตนเอง (Self-help personal) และ 5) ด้านทักษะอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Skills) รวมไปถึงภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability) และโรคพัฒนาการระบบประสาท (Neurodevelopmental Disorders) อื่นๆ โรคที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก (Child Developmental Disorders) และยังรวมถึงสุขภาพจิตเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว ภายใต้กระบวนการค้นคว้าของสหสาขาวิชาชีพสาขาต่างๆ ได้แก่ แพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักจิตวิทยาคลินิก นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักการศึกษา นักวิชาการศึกษาพิเศษ นักโภชนาการ นักเทคนิคการแพทย์ และอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง”</p> สถาบันราชานุกูล (Rajanukul Institute) th-TH วารสารราชานุกูล <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; tab-stops: 21.3pt 70.9pt 92.15pt;"><span class="apple-tab-span"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'Angsana New'; color: black; background: white;">ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารราชานุกูล กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น</span></span></p> ประสิทธิผลของระบบยาอัตโนมัติ สถาบันราชานุกูล https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1703 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนทางยาและระยะเวลาการให้บริการจ่ายยาก่อนและหลังใช้ระบบยาอัตโนมัติ</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังใช้ระบบยาอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวนครั้งการให้บริการจ่ายยาในสถาบันราชานุกูล เดือนตุลาคม 2562- สิงหาคม 2563 โดยแบ่งเก็บข้อมูลก่อนการทดลอง (เดือนตุลาคม 2562-มกราคม 2563) และหลังการทดลอง (เดือน เมษายน 2563-สิงหาคม 2563) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือการทดลอง คือ ระบบยาอัตโนมัติที่ทำงานเชื่อมต่อและรับคำสั่งจากระบบ Hospital Information System (HIS) ของสถาบันราชานุกูล (โปรแกรม JHOS) ซึ่งประกอบด้วยตู้ยาอัตโนมัติ 3 รูปแบบ คือ (1) เครื่องนับเม็ดยาอัตโนมัติ (2) ระบบบริหารจัดการยาความเสี่ยงสูง และ (3) ระบบสถานีเก็บและจัดยากึ่งอัตโนมัติ และ 2) เครื่องมือที่ใช้วัด ได้แก่ ใบสั่งยา แบบบันทึกข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา และแบบทันทึกระยะเวลาให้บริการจ่ายยา วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบจำนวนครั้งของการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาด้วยสถิติ Chi-square test และเปรียบเทียบระยะเวลาในการให้บริการจ่ายยาเฉลี่ย ใช้สถิติ Independent t-test</p> <p><strong>ผล</strong> จากกลุ่มตัวอย่างที่รับยาทั้งสิ้น 6,036 ครั้ง พบว่าหลังจากใช้ระบบยาอัตโนมัติความคลาดเคลื่อนทางยา (Prescription error และ Pre-Dispensing error) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.01) และระยะเวลาการให้บริการจ่ายยาเฉลี่ยของทุกกระบวนการ หลังการใช้ระบบยาอัตโนมัติลดลงจากก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) จาก 6.17 นาที เป็น 3.46 นาที</p> <p><strong>สรุป</strong> ระบบยาอัตโนมัติทำให้ความคลาดเคลื่อนทางยาและระยะเวลาในการให้บริการจ่ายยาลดลง</p> พัณณพัฒน์ พรรณ์แผ้ว จินตนา ปรัชญาสันติ Copyright (c) 2023 พัณณพัฒน์ พรรณ์แผ้ว, จินตนา ปรัชญาสันติ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-06 2023-12-06 35 1 ความเห็นของผู้ปกครองต่อการนำ Silver Diamine Fluoride มาใช้ในการยับยั้งฟันผุในเด็กพิเศษ ที่มารับบริการที่สถาบันราชานุกูล https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1732 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อสำรวจความเห็นผู้ปกครองต่อการนำ Silver Diamine Fluoride (SDF) มาใช้ในการยับยั้งฟันผุในเด็กพิเศษ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเห็นนั้น</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การวิจัยแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กพิเศษที่มารับบริการในสถาบันราชานุกูล ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 เลือกตัวอย่างโดยการกำหนดจำนวนผู้ปกครองของเด็กพิเศษที่มารับบริการกระจายตามหน่วยบริการในสถาบันราชานุกูลเท่า ๆ กัน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 200 คน ให้ผู้ปกครองดูวีดีโอเรื่องความรู้เบื้องต้นเรื่อง SDF แล้วเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อการสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และความเห็นของผู้ปกครองต่อการนำ SDF มาใช้ยับยั้งโรคฟันผุในเด็กพิเศษ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นของผู้ปกครองกับปัจจัยต่าง ๆ ด้วยสถิติ Chi-square และ Binary Logistic Regression</p> <p><strong>ผล</strong> ผู้ปกครองร้อยละ 50 อนุญาตให้ใช้ SDF เพื่อยับยั้งฟันผุในฟันน้ำนมและฟันแท้ ยกเว้นตำแหน่งฟันหน้าแท้ที่อนุญาตให้ใช้ SDF เพียงร้อยละ 25 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ได้แก่ อายุผู้ปกครอง โดยผู้ปกครองอายุต่ำกว่า 50 ปี ยอมรับการใช้ SDF ในฟันหน้าน้ำนมและฟันหลังน้ำนมได้มากกว่าผู้ปกครองที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป ผู้ปกครองที่เด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกยอมรับการใช้ SDF มากกว่าผู้ปกครองของเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยหลักว่าเป็นโรคอื่น ๆ และผู้ปกครองที่เห็นด้วยว่าการใช้ SDF เสียค่าใช้จ่ายน้อยเป็นข้อดี ยอมรับการใช้ SDF ได้มากกว่าผู้ปกครองที่ไม่มีความเห็นว่าค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญในการยอมรับ SDF</p> <p><strong>สรุป:</strong> ผู้ปกครองของเด็กที่มารับบริการในสถาบันราชานุกูล มีความเห็นระดับปานกลางต่อการนำ SDF มาใช้ในการยับยั้งฟันผุ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับให้ใช้ SDF ได้แก่ อายุผู้ปกครอง การวินิจฉัยโรคหลักของเด็ก และค่าใช้จ่ายในการใช้ SDF</p> ฐสรรพร เติมทอง Copyright (c) 2023 Thasanporn Toemthong https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-05 2024-01-05 35 1 ผลการศึกษาสถานการณ์สุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษา ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เขตกรุงเทพมหานคร https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1257 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางของนักเรียนมัธยมศึกษา (อายุ 12-18 ปี) <br />ในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (PHQA) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงการฆ่าตัวตายด้วยสถิติ Chi-square test และ Binary logistic regression โดยนำเสนอเป็นค่า odds ratio และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95</p> <p><strong>ผล</strong> กลุ่มตัวอย่าง 3,418 คน อายุเฉลี่ย 15.3 ปี (<u>+</u>1.5SD) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.6 พบความชุกภาวะซึมเศร้าตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงร้อยละ 52.5 และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายร้อยละ 29.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายของนักเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ เพศหญิง การไม่ได้อาศัยอยู่กับผู้ปกครอง มีประวัติการรักษาโรคจิตเวช และมีปัญหาความเครียดในเรื่องการเรียน/ ครอบครัว/ เพื่อน/ อื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ (p &lt; .001)</p> <p><strong>สรุป</strong> ความชุกภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของนักเรียนมัธยมศึกษาในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 พบในอัตราที่สูงกว่าภาวะปกติ นักเรียนเพศหญิง การที่เด็กไม่ได้อาศัยอยู่กับผู้ปกครองมีประวัติโรคจิตเวชและมีความเครียดในเรื่องต่างๆ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควรได้รับการดูแลและเฝ้าระวัง</p> ธนโชติ เทียมแสง Copyright (c) 2023 ธนโชติ เทียมแสง, Wee Mekwilai https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-15 2023-09-15 35 1 ระดับปัญหาพฤติกรรมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษา https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1442 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษาในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษาในประเทศไทย</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนอาชีวศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่ได้รับทุนการศึกษาจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปีการศึกษา 2562 ทั้งหมด 36 วิทยาลัย จากทุกภาคทั่วประเทศไทย จำนวน 26 จังหวัด จำนวน 2,503 คน โดยมีนักเรียนที่ตอบแบบประเมินสมบูรณ์ ทั้งหมดจำนวน 1,782 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน <br />(The Strengths and Difficulties Questionnaire : SDQ) ฉบับภาษาไทย สำหรับนักเรียนประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การแจกแจงแบบตารางไขว้ ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ด้วยการวิเคราะห์ไคสแคว์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio (OR)</p> <p><strong>ผล:</strong> ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาพฤติกรรมโดยรวมของนักเรียนอาชีวศึกษา ในระดับที่มีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 19.8 โดยปัญหาพฤติกรรมที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาพฤติกรรมด้านอารมณ์ ร้อยละ 15.1 รองลงมาคือ ปัญหาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน ปัญหาพฤติกรรมเกเร และปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง คิดเป็นร้อยละ 11.2, 6.1 และ 3.1 ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมโดยรวม ได้แก่ ปัจจัยด้านภูมิภาค</p> <p><strong>สรุป:</strong> ปัญหาพฤติกรรมโดยรวมของนักเรียนอาชีวศึกษาในประเทศไทยซึ่งอยู่ในระดับที่มีปัญหาในระดับสูง ครู และบุคลากรทางการศึกษาควรได้รับการเสริมสร้างความรู้และการเข้าใจเรื่องปัญหาพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาพฤติกรรมและด้านอารมณ์อย่างเหมาะสม</p> กรทิพย์ วิทยากาญจน์ ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์ วีร์ เมฆวิลัย Copyright (c) 2023 กรทิพย์ วิทยากาญจน์, ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์, วีร์ เมฆวิลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-10-17 2023-10-17 35 1 การเล่นเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1639 <p>ผู้ปกครองหรือคุณครูอาจสงสัยและคับข้องใจทำไมฝึกลูกหลาน หรือฝึกเด็กในห้องเรียนให้เขียนซ้ำ ๆ ทำไมเด็กถึงเขียนไม่ได้สักที ความจริงแล้วการเขียนมีองค์ประกอบพื้นฐานที่เด็กต้องฝึกความสามารถผ่านการเล่นควบคู่กับการฝึกเขียนซ้ำ ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน ซึ่งเป็นทักษะการหยิบจับขั้นสูงหรือมีความซับซ้อน</p> ผกาวรรณ สุทธิวงศ์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-15 2023-09-15 35 1 เรืองเล่า: เรียนรู้สู่อาชีพ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/RJJ/article/view/1642 <p>การฝึกทักษะพื้นฐานการทำงานในร้านกาแฟ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาชีพสำหรับเด็กพิเศษที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไปนั้น เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นรูปแบบการปฏิบัติในสถานประกอบการณ์จำลอง ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ที่สำคัญ นำไปสู่ทักษะการทำงานต่อไป</p> จุฑารัตน์ สำโรงแสง Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-09-15 2023-09-15 35 1