https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/issue/feed วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2023-05-30T11:08:04+07:00 ดร.สุคนธ์ทิพย์ บัวแดง oomsukhontip@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย ทางด้านการพัฒนาสุขภาพ อันเป็นกลไกให้ประชาชน มีสุขภาวะที่ดีและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและเป็นแหล่งให้บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขรวมถึงประชาชนทั่วไป ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ และมีการพัฒนาคุณภาพให้เข้าสู่มาตรฐานตามหลักสากล</strong></p> <p> </p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1194 แนวทางและวิธีการ ช่วยบุคลากรของหน่วยงานทำวิจัยอย่างมีความสุขและเจริญก้าวหน้า ตลอดไป 2023-03-10T10:53:19+07:00 รศ.นพ.สมชาติ โตรักษา quality.phssk@gmail.com <p>ทุกหน่วยงาน/องค์การ/สถาบัน ต้องการผลงานวิจัย ที่จะช่วยนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของตนและบุคลากรของหน่วยงาน อย่างรวดเร็ว มั่นคง และยั่งยืน ยิ่งๆขึ้น แนวทางและวิธีการในการพัฒนา เสนอให้นำ SOAR technique มาประยุกต์ ด้วย R2R2E เชิงบูรณาการ สู่คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้าของประชาชน และความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ เป็นเป้าหมายร่วม</p> 2023-03-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1001 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซิส ของประชาชนตำบลหนองฮาง อำเอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2023-01-20T10:59:50+07:00 Nathawuti Tansila nathawuti8948@gmail.com <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค เลปโตสไปโรซิสของประชาชนตำบลหนองฮาง อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 282 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างกันยายน – ธันวาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อระดับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Pearson product moment Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ระดับดีร้อยละ 27.66 ระดับปานกลางร้อยละ 62.77 และระดับต่ำร้อยละ 9.57 ด้านทัศนคติพบว่าระดับดีร้อยละ 12.06 ระดับปานกลางร้อยละ 76.95 และระดับต่ำร้อยละ 10.99 ด้านพฤติกรรมระดับดีร้อยละ 14.89 ระดับปานกลางร้อยละ 68.09 และระดับต่ำร้อยละ 17.00 และกลุ่มตัวอย่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนตำบลหนองฮาง อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าการศึกษาและรายได้จะมีความสัมพันธ์ระดับความรู้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p &lt; 0.05 อายุและตำแหน่งทางสังคมมีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p&lt;0.05 ดังนั้นควรเน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรค เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองมากยิ่งขึ้น</p> <p> </p> 2023-02-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1082 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 2023-02-15T19:15:21+07:00 อดิศักดิ์ บุญเสนอ adisakboon1@gmail.com <p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งหมด 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือน ธันวาคม 2565 ถึง มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลโดย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการป้องกันและควบคุมโรค การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันและควบคุมโรค และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและควบคุมโรค โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 51.8 (R2=0.518, R2adj=0.514, SEest=2.097, F= 123.82, p&lt;0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยดังกล่าว</p> 2023-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1017 การพัฒนาระบบบริการทางไกลในการคัดกรองโรคสมาธิสั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 2023-02-03T14:50:21+07:00 Nongkran somyuen nongkransomyuen@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย Research and development โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้ระบบทางไกลในการคัดกรองโรคสมาธิสั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบ (System Theory) แบ่งเป็น 3ขั้นตอน 1)การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงบริการผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น2)การพัฒนาระบบทางไกลในการเพิ่มการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้น3)การประเมินผลของระบบทางไกลในการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างในการพัมนาระบบและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 135 คนและ เครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการคัดกรองจำนวน207คน ศึกษาระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2564–กรกฎาคม 2565 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นด้วยระบบบริการสุขภาพทางไกล2)แบบสังเกตพฤติกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ออทิสซึม แอลดีและเด็กเรียนรู้ช้าอายุ 6-12 ปี 3) แบบประเมินพฤติกรรมสมาธิสั้น SNAP-IV (Short Form) 4) แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการและเครือข่าย5)แบบรวมรวมข้อมูลการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้น-วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ความถี่ ร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปี 2564 ส่งผลให้ปัญหาในการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้นของเด็กต่ำกว่าค่าเป้าหมายและไม่สามารถดำเนินงานคัดกรองเด็กสมาธิสั้นในรูปแบบเดิมได้ผู้วิจัย จึงได้พัฒนารูปแบบการคัดกรองเด็กสมาธิสั้นเป็นระบบบริการทางไกลจำนวน8ขั้นตอนดังนี้ 1)ใช้แบบคัดกรองด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมเด็กที่มีความเสี่ยงต่อสมาธิสั้น ออทิสซึม แอลดี และเด็กเรียนรู้ช้า (สถาบันราชานุกูล) 2) คัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นโดยใช้เครื่องมือ SNAP-IV โดยครูผ่านระบบออนไลน์ (กูเกิลฟอร์ม) ที่มีระดับคะแนน ≥ 6 3) ผู้ปกครองคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นโดยใช้เครื่องมือSNAP-IVผ่านระบบออนไลน์ (กูเกิลฟอร์ม) ที่มีระดับคะแนน ≥ 6 4) พยาบาลจิตเวชเด็กฯแปลผลข้อมูลพัฒนาการเด็กจากครูและผู้ปกครองที่ส่งเข้ามาในระบบออนไลน์และนัดหมายกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครู ผู้ปกครองและเด็ก เพื่อซักประวัติ ทดสอบ การเขียน การอ่านคณิตศาสตร์ โดยวิดีโอคอล5)พยาบาลจิตเวชเด็กฯให้คำปรึกษาและตรวจคัดกรองในระบบออนไลน์ (วิดีโอคอล)กับผู้ปกครองและเด็กซักประวัติและนัดหมายพบแพทย์ที่โรงพยาบาล6)เด็กและผู้ปกครองพบแพทย์ที่โรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัย7)รับการรักษาและได้รับคำแนะนำการใช้ยาจากเภสัชกรและ8)พยาบาลจิตเวชประสานข้อมูลผลการวินิจฉัยและแนวทางการดูแลเด็กแก่ครูที่โรงเรียน พยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและผู้ปกครองเด็ก ผลการประเมินการใช้รูปแบบพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสมาธิสั้นร้อยละ32.59มีความเสี่ยงสมาธิสั้นจาก SNAP-IV ร้อยละ 81.82 และอัตราการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ร้อยละ 11.11เพิ่มการเข้าถึงบริการของเด็กโรคสมาธิสั้นในพื้นที่บริการได้ร้อยละ 47.16 ผู้ใช้บริการและเครือข่ายมีความพึงพอใจในระบบทางไกลในระดับพึงพอใจมาก ดังนั้นระบบบริการทางไกลในการคัดกรองโรคสมาธิสั้น สามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการโรคสมาธิสั้นในเด็กและลดการสัมผัสความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ได้ตามวัตถุประสงค์</p> <p> </p> 2023-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1036 การพัฒนารูปแบบกระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในประเด็นการป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีอุดม 2023-02-07T16:18:10+07:00 สะอาด ศิริมงคล sa_sriudom_2012@hotmail.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบกระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในประเด็นการป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีอุดม ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง เดือนกันยายน2565 –มกราคม 2566 รวมระยะเวลา 20 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง นายกองการบริหารส่วนตำบล หัวหน้ากองสาธารณสุข สมาชิกองการบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครูอนามัยโรงเรียน เจ้าอาวาส ผู้ประกอบการร้านชำ ไวยาวัจกร ประชาชน เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน รวมทั้งหมด 70 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 108คน รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการของ เคมมิส และแม็กแท็กการ์ท จำนวน 2 วงรอบโดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบกระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในประเด็นการป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 คือ SIUDOM Model ประกอบด้วย1) Structure &amp;Policy : มีคณะกรรมการดำเนินงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน 2) Integration&amp; Coordination : บูรณาการและการประสานงานความร่วมมือของทุกภาคส่วนในชุมชน 3) Unity:การเป็นหนึ่งเดียวหรือความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกัน มีใจมุ่งสู่เป้าหมายอันเดียวกัน 4) Distribute: แบ่งปันความเป็นเจ้าของในงานที่ทำให้แก่ผู้รับผิดชอบหลักและถือว่าความสำเร็จเป็นของทุกคน5) Open eyes –Open mild : คนในชุมชนเปิดการรับรู้และเปิดใจทำร่วมกัน 6) Measure monitor and motivation :กำหนดแนวปฏิบัติในการประเมินผลที่สอดคล้องกับบริบท มีความต่อเนื่องและนำผลการประเมินมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์จากผลการวิจัยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศรีอุดม ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้</p> 2023-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/988 การพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอดจากภาวะรกค้าง : กรณีศึกษา โรงพยาบาลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 2023-02-03T15:38:32+07:00 Siltham Theangtae sil.tham@hotmail.com <p>ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นภาวะแทรกซ้อนของการคลอดและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของมารดาดังนั้น การให้การพยาบาลมารดาในระยะรอคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอดและการเตรียมจำหน่าย ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้มารดาปลอดภัยและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ผู้วิจัยได้ศึกษาผู้คลอดที่รับบริการคลอดในโรงพยาบาลห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษช่วงเดือนสิงหาคม 2565ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดจากภาวะรกค้าง จำนวน 1 ราย โดยการศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้คลอด การสัมภาษณ์ การสังเกต ผู้คลอดและญาติ การให้การพยาบาลตั้งแต่ระยะรอคลอด ขณะคลอด หลังคลอด ถึงจำหน่ายกลับบ้าน วิเคราะห์การพยาบาลผู้คลอดด้วยกระบวนการพยาบาล ได้แก่ การประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วย แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนและการจัดการรายกรณีตามแนงทางของCMSA(2016) ได้แก่การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การให้การพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ ผลการศึกษา พบว่าแนวทางการพยาบาลการจัดการรายกรณี มารดาตกเลือดหลังคลอดที่มีภาวะรกค้าง พยาบาลต้องสามารถจัดทำระบบในการจัดการดูแลรักษาภาวะวิกฤติในมารดาและทารกได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบการประสานงานกับสหสาขาวิชาชีพและญาติเพื่อให้การดูแลมารดาได้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการพัฒนาทักษะการประเมินและการดูแลรักษาพยาบาลหญิงคลอดจากภาวะรกค้าง ให้แก่พยาบาลห้องคลอดและสหสาขาวิชาชีพ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตของหญิงคลอดในโรงพยาบาลห้วยทับทันต่อไป</p> <p> </p> 2023-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1135 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะสมองการคิดเชิงบริหารขั้นสูงสำหรับเด็กปฐมวัย ในจังหวัดศรีษะเกษ 2023-02-21T14:22:52+07:00 Piyaporn Mongkonsiri mongkon2679@hotmail.co.th <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะสมองการคิดเชิงบริหารขั้นสูงสำหรับเด็กปฐมวัย ในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูหรือครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนำร่องจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 80 คน และกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3-6 ปี ที่มีครูหรือครูพี่เลี้ยงเข้ารับการอบรมส่งเสริมองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมทักษะสมองการคิดเชิงบริหารขั้นสูงสำหรับเด็กปฐมวัย ในจังหวัดศรีสะเกษ ครบถ้วน 2 วันและมีคะแนนอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 41 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Mc Nemar test และ Paired sample t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างครูเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100.0 มีอายุเฉลี่ย 37.32 (S.D.=8.285 ปี) มีประสบการณ์ในการสอนเฉลี่ย 9.56 (S.D.=7.271 ปี) ก่อนการอบรมส่วนใหญ่ครูมีความรู้ทักษะสมองการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยในระดับน้อย และ ปานกลาง ร้อยละ 61.4 คะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเข้าใจทักษะการคิดเชิงบริหารของครูปฐมวัย หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05 ) คะแนนเฉลี่ยทักษะสมองการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยทั้งรายด้าน การยับยั้งชั่งใจ ด้านการคิดยืดหยุ่น ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านความจำขณะทำงาน ด้านการวางแผนจัดการ และภาพรวม หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารมีพัฒนาการอยู่ในระดับสมวัยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองจาก 37 คน (ร้อยละ 90.2) เป็น 40 คน (ร้อยละ 97.6) และมีพัฒนาการอยู่ในระดับสงสัยล่าช้าลดลงจาก 4 คน (ร้อยละ 9.8 ) เป็น 1 คน (ร้อยละ 2.4) แต่ไม่แตกต่างในนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &gt;0.05) ครูปฐมวัยที่เข้าร่วมโปรแกรมสามารถจัดกิจกรรมและส่งผลให้เกิดการส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารทั้งรายด้าน และภาพรวม รวมไปถึงยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้ดีขึ้นได้</p> 2023-03-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1153 การประเมินผลระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมด้วยกลไก 3 หมอรู้จักคุณพื้นที่ต้นแบบ Sandbox อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2023-03-14T19:03:19+07:00 Nathawuti Tansila nathawuti8948@gmail.com สมหวัง พิทักษา oomsukhontip@gmail.com มนตรี แก้วพวง oomsukhontip@gmail.com มินนา กงล้อม oomsukhontip@gmail.com <p> การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแนวคิด CIPP Model Evaluation การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการประเมินผลกระทบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมด้วยกลไก 3 หมอรู้จักคุณ พื้นที่ต้นแบบ Sandbox อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 1,047 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บจากคณะกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระดับตำบลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดูแลผู้สูงอายุ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นักวิชาการสาธารณสุข ผู้จัดการผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์สถิติพรรณนา (Descriptive statistic) ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และแก่นสาระของเนื้อความ (Thematic Analysis) ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 – มกราคม 2566 ผลการศึกษา พบว่า 1) การประเมินด้านบริบท มีนโยบายประเทศและเขตสุขภาพด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มวัยมีอย่างต่อเนื่อง มีเป้าหมายคือทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วย ในระดับอำเภอมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีคุณภาพ และมีการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care : LTC) ทุกตำบล 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีความพร้อมด้านบุคลากร ยังขาดความพร้อมงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์แลสถานที่ 3) การประเมินด้านกระบวนการ มีการกำหนดแผนงานและปฏิบัติงานตามแผน โดยมีคณะทำงานและภาคีเครือข่าย ได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกำหนดบทบาท แผนการดูแลผู้สูงอายุ การคัดกรองและจัดบริการผู้สูงอายุ 4) การประเมินด้านผลผลิต พบว่า การประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ADL จำนวน 1,047 คน มีผลคะแนนรวม ADL ตั้งแต่ 0 – 4 คะแนน ร้อยละ 3.34 มีผลคะแนนรวม ADL ตั้งแต่ 5 – 11 คะแนน ร้อยละ 36.67 และมีผลคะแนนรวม ADL ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป ร้อยละ 59.98 ดังนั้นการดำเนินงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ควรมีนโยบายที่ชัดเจน มีการสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสถานที่อย่างพียงพอ มีแผนงานที่ชัดเจน และมีการทำงานงานเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง จึงจะทำให้การจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ของการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ต่อไป</p> 2023-01-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/1234 การพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการปฐมภูมิโดยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2023-03-28T22:31:00+07:00 Samai Laprawat samailaprawat@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการปฐมภูมิโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 รวมระยะเวลา16 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดระบบบริการปฐมภูมิ จำนวน 81 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินรูปแบบได้แก่ประชาชนในเขตอำเภอเบญจลักษ์จำนวน 100 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis และ McTaggart จำนวน 2 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการใช้รูปแบบโดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดระบบบริการปฐมภูมิโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คือ SAMAI Model 1) Structure&amp; Policy: มีคณะกรรมการดำเนินงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน 2) Analysis (Situation analysis): มีการวิเคราะห์สถานการณ์ตามสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ 3) Management: การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ (คน เงิน ของ) 4) Action &amp; Refection: การลงมือปฏิบัติตามแผนและสะท้อนผลการทำงาน 5) Integration &amp; Cooperation:บูรณาการและการประสานงานความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ จากผลการวิจัยที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานการจัดระบบบริการปฐมภูมิและการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของพื้นที่ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ </p> 2023-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ