วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลการศึกษาวิจัยทางด้านการพัฒนาคุณภาพงานสาธารณสุข และคุณภาพชีวิต นำไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ</li> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุขทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข</li> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านสุขภาพของนักวิจัย อาจารย์ นิสิต นักศึกษา</li> <li>เป็นแหล่งวิชาการให้บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขรวมถึงประชาชนทั่วไป แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ และพัฒนาคุณภาพให้เข้าสู่มาตรฐานตามหลักสากล อันเป็นกลไกส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีและพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมของประชาชน</li> </ol> สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ th-TH วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2822-0749 <p>เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)</p> ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3386 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุ กลุ่มละ 31 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลมัญจาคีรี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 – กันยายน 2566 โดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างและดำเนินการการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยในรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวทางของ DEMETHOD ในกลุ่มทดลองจนครบ 31 คน หลังจากนั้นดำเนินการในกลุ่มควบคุมโดยใช้โปรแกรมการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในระบบปกติจำนวน 31 คน รวมระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติการรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ความสามารถของตน พฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ระดับความดันโลหิตผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการทดลองแสดงว่าโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถสร้างสร้างการรับรู้และการเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้</p> สุธิดา หล้าเลิศ, พย.ม สุคนธ์ทิพย์ อรุณกมลพัฒน์, ปร.ด. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-16 2024-10-16 3 4 1 15 การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้การมีส่วนร่วมของ พชอ. ตำบลตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3399 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้การมีส่วนร่วมของ พชอ. ตำบลตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาในชุมชนได้รับการดูแลจากทางเจ้าหน้าที่รพ.สต. อสม. กู้ชีพ และผู้นำชุมชนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างเป็นอสม. กู้ชีพ และผู้นำชุมชน จำนวน 110 คน ศึกษาระหว่าง วันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Pair t- tast </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.40 มีอายุเฉลี่ยที่ 55.07 ปี อายุน้อยสุด 28 ปี อายุมากสุด 74 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 79.10 ระดับการศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 69.2 เป็น อสม. ร้อยละ 82.70 กู้ชีพ ร้อยละ 9.10 และผู้นำชุมชน ร้อยละ 8.20 ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช ก่อนและหลังฝึกอบรม ของ กลุ่มตัวอย่าง พบว่า หลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวช เพิ่มขึ้นก่อนการอบรม<em>(</em>P-value<em>&lt;0.001</em><em>) หลังอบรม(</em>P-value<em>&lt;0.001</em><em>)</em> พบว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง(S.D.=0.99.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ความพึงพอใจในการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า หลังการอบรมมีความพึงพอใจในการพัฒนาระบบเครือข่ายด้านสัมพันธภาพกับบุคลากรในหน่วยงาน/การได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ( 2.96, S.D. 0.188) <em> </em>ด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีโอกาสเสนอแนะข้อคิดเห็นในการกำหนดนโยบาย การวางแผนการปฏิบัติงาน( 2.96, S.D. 0.188) และมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก ( 29.57, S.D. 0.656)</p> สมพงษ์ สุรักษ์, ส.ม. รุจิรา อำพันธ์, ส.ม. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 3 4 16 23 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตำบลหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3397 <p> การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็ง ปากมดลูก กลุ่มตัวอย่างได้แก่สตรีอายุ 30 – 60 ปี ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 265 คน เก็บรวบรรวมข้อมูลในระหว่าง 1 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ทัศนคติและพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าไคสแควร์ <br /> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 47 ปี ร้อยละ 35.10 มีระดับความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.00 และมีทัศนคติต่อการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 40.00 เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก พบว่า ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก(r = 0.068, P-value = 0.271) ปัจจัยด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.338, P-value &lt; 0.001) ปัจจัยด้านด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรม การมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.416, P-value &lt; 0.001)<br /><br /></p> มนัชญา สุขทองสา, วท.บ. รุจิรา อำพันธ์, ส.ม. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-15 2024-12-15 3 4 24 35 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของวัยกลางคนในเขตตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3400 <p> การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลอายุระหว่าง 40-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ คัดเลือกด้วยวิธี คำนวนขนาดตัวอย่างจำนวน 123 คน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง 1 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2567 โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงแก้ไขจากแบบสอบถามของ ชนัญญา ปัญจพล ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัยการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุเท่ากับ 0.736 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน และเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และ75 วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน Chi-square Test และ Fisher’s Exact test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้านร่างกาย ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 55.28, 49.59 และ 44.72 ตามลำดับ และการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีการเตรียมความพร้อมอยู่ระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 48.78, 49.59 และ 44.72 ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (p-value = 0.087, 0.101, 0.240, 0.356, 0.200, 0.634, 0.734, 0.116, 0.070, 0.098, 0.404, 1.000, 0.502, 0.074, 0.888, 0.108 และ 0.287 ตามลำดับ) อาจจะมีปัจจัยอื่นที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เช่น ศาสนา การมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง รูปแบบการอยู่อาศัย เป็นต้น<br /> ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ควรมีการสนับสนุนให้มีการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ เพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลงกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวัยผู้สูงอายุ ร่วมถึงส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และการออมเงิน เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ</p> วีระ คันศร, ส.ม. รุจิรา อำพันธ์, ส.ม. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-13 2024-12-13 3 4 36 48 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3418 <p> วัณโรค เป็นโรคติดเชื้อที่ที่มีความสำคัญ ส่วนใหญ่มักเกิดพยาธิสภาพที่ปอด แพร่กระจายได้ในอากาศผ่านการไอ จาม หรือพูด ผู้ที่สูดอากาศที่ปนเปื้อนวัณโรคเข้าไปมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ประกอบด้วย 1) การประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 2) อบรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้แก่ ญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วย และ อสม. 3) การดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วย และ อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 4) การกำกับการกินยาผู้ป่วยวัณโรคโดยญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วย 5) การสื่อสารระหว่างญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผ่านระบบออนไลน์ทุกวัน 6) ประเมินค่าคะแนนความรู้ พฤติกรรม และทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค 7) ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข 8) คืนข้อมูลสู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง<br />ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค 62 คน มีคะแนนความรู้เรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001) คะแนนพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) ทัศนคติการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) ทัศนคติการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value &lt; 0.001) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การพัฒนาศักยภาพญาติผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย วัณโรค โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นผู้ติดตามกำกับการกินยาและสอบถามอาการผู้ป่วย ผ่านญาติผู้อาศัยร่วมบ้านทุกวัน</p> เชาวฤทธิ์ บุญลี, ส.บ. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-17 2024-12-17 3 4 49 59 การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตร ตำบลคอนกาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3564 <p> </p> <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์และรูปแบบการดูแลสุขภาพ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ และ 3) ผลจากการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตามจุดมุ่งหมาย และคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยของประชากรกรณีที่ทราบขนาดประชากร ประกอบด้วย 1) แรงงานภาคการเกษตร จำนวน 165 คน และ 2) กลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานภาคการเกษตร จำนวน 50 คน ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือน ธันวาคม 2566 – เมษายน 2567 <br />เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แนวทางการสนทนากลุ่ม และแนวทางการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired Samples t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธี การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) </p> <p> ผลการวิจัย จากการสำรวจและประเมินความเสี่ยง พบว่า พบปัญหาจากการทำงาน<em>ยังพบผู้ป่วยที่มีอาการหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช</em> และยังไม่มีรูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตรอย่างมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ซึ่งต้องพัฒนารูปแบบตามสภาพปัญหาที่เปลี่ยนไป โดยรูปแบบการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตรที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย <br />4 องค์ประกอบ คือ 1) โครงสร้างรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 2) กระบวนการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน <br />3) กระบวนการการดูแลสุขภาพทั้งเชิงรับและเชิงรุก และ 4) การติดตามและประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งค่าเฉลี่ยการดูแลสุขภาพแรงงานภาคการเกษตร ก่อนพัฒนารูปแบบ มีค่าเฉลี่ย 6.5 (S.D=1.82) หลังพัฒนารูปแบบ มีค่าเฉลี่ย 8.5 (S.D.=1.28) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.001) โดยภายหลังการพัฒนารูปแบบแรงงานภาคการเกษตรมีค่าเฉลี่ยการดูแลสุขภาพมากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ(Mean Difference= 2.0) สรุปได้ว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพที่พัฒนาขึ้น ทำให้กระบวนการการดูแลสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดผลลัพธ์เพื่อแก้ไขปัญหาความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานภาคการเกษตร</p> รุ่งเพชร ทัดเทียม, ส.บ. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-18 2024-12-18 3 4 60 71 การพัฒนาโปรแกรมและผลของโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกหอมแดง ในพื้นที่ตำบลไผ่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3648 <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นแบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมและประเมินผลของโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกหอมแดง ดำเนินการวิจัยดำเนินการวิจัยในระหว่าง 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567 ระยะที่ 1 ศึกษาความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจั ดศัตรูพืชในกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร 57 คน ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้โปรแกรม “รอบรู้ รอบด้าน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช” และศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและ จัดโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริม ความรอบรู้สุขภาพในการป้องกันอันตรายจาก การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และจัดกิจกรรมให้ กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired Samples t-test <br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.2 และมีอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 42.1 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 94.7 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 44 และมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 82.5 มีประวัติการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 47.4 และสัมผัสสารเคมี 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 47.4 เคยได้รับการอบรมเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 91.2 และได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 66.7 ผลของโปรแกรม จำแนกตามรายด้านพบว่า ด้านความรู้ก่อนการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 6.58 (S.D.=3.44) หลังการใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 12.32 (S.D.=0.74) ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 25.91 (S.D.=2.16) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 32.91 (S.D.=1.21) ด้านการสื่อสารก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 29.93 (S.D.=2.04) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 35.91 (S.D.=1.75) ด้านการการจัดการตนเองก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 19.89 (3.83) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 27.39 (S.D.=1.37) ด้านการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 21.82 (3.91) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 28.44 (S.D.=1.21) และด้านการตัดสินใจก่อนใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 38.39 (4.34) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 47.25 (S.D.=1.37) ความรอบรู้สุขภาพในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังการใช้โปรแกรมเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) และความรอบรู้สุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในขั้นตอนการเตรียมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 39.40 (S.D.=5.45) หลังใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 30.32 (S.D.=1.53) พฤติกรรมขณะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 38.28 (S.D=3.82) หลังใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 42.93 (S.D.=1.00) พฤติกรรมหลังเสร็จสิ้นการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ย 46.89 (S.D.=3.33) หลังใช้โปรแกรม 50.81 (S.D.=1.09) พฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หลังการใช้โปรแกรมเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ภายหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดสูงขึ้นกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p&lt;0.011) โดยก่อนการใช้ อยู่ในระดับ ไม่ปลอดภัยร้อยละ 29.8 ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปลอดภัย ร้อยละ 31.6</p> ทองคำ กมล, ส.บ. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-17 2024-12-17 3 4 72 86 การพัฒนาแนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยน ข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3667 <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในโรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด จำนวน 30 คน และศัลยแพทย์ระบบกระดูกและข้อ โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 11 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม และนาฬิกาจับเวลา และ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกระยะเวลาการเตรียมเครื่องมือผ่าตัด แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัด เครื่องมือดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดและของศัลยแพทย์ระบบกระดูกและข้อต่อแนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัด โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ 0.85, และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Paired t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลศรีสะเกษ ประกอบด้วย ใบรายการเครื่องมือ/อุปกณ์ผ่าตัด 2) ค่าเฉลี่ย ระยะเวลาการเตรียมเครื่องมือผ่าตัด หลังการพัฒนา (mean = 12.86, S.D. = 1.92) ลดลงกว่าก่อนการพัฒนา (mean = 22.03, S.D. = 3.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.0001) 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดต่อการใช้แนวทางการเตรียมเครื่องมือโดยรวม (mean = 4.76, S.D. = .43) อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความพึงพอใจของศัลยแพทย์ระบบกระดูกและข้อต่อแนวทางการเตรียมเครื่องมือโดยรวม (mean = 4.81, S.D. = 0.40) อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> สรุปได้ว่า แนวทางการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลศรีสะเกษ สามารถนำไปใช้ได้จริง ควรส่งเสริมในทางปฏิบัติแก่พยาบาลห้องผ่าตัด ที่อยู่ในระยะเรียนรู้งาน ให้นำไปใช้ในการพัฒนางาน โดยประยุกต์ใช้ตามบริบทของโรงพยาบาลต่อไป</p> จิราภรณ์ ถิรบุตร, พย.บ. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 3 4 87 99 การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมผลของการใช้ลิโดเคนร่วมกับโปรโพฟอล ต่อปริมาณโปรโพฟอลที่ใช้ในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3509 <p> การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เป็นการตรวจทางเดินอาหารชนิดไม่รุกล้ำ การสงบประสาทระดับปานกลางถึงลึก ทำให้ผู้ป่วยสุขสบาย ลดความกังวล ทำหัตถการได้นานขึ้น สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำหัตถการ การใช้โปรโพฟอลขนาดที่สูง อาจทำให้เกิด ภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะหยุดหายใจ ความดันโลหิตต่ำและทางเดินหายใจส่วนบนอุดกลั้น การใช้ลิโดเคนร่วมกับโปรโพฟอลสามารถลดปริมาณการใช้ยาโปรโพฟอลลงได้ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ prospective randomized controlled trial มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของลิโดเคนร่วมกับโปรโพฟอลต่อปริมาณ โปรโพฟอลที่ใช้ในการสงบประสาทในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ และระบบหัวใจและหลอดเลือด ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 18-80 ปี ที่มารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ที่โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จำนวน 52 คน ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2567 โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม (L) ลิโดเคน และกลุ่ม (P) โปรโพฟอล โดยเปรียบเทียบปริมาณโปรโพฟอลที่ใช้ทั้งสองกลุ่ม และอุบัติการณ์ การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ และระบบหัวใจและหลอดเลือด ในระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และหลังตรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยใบบันทึกข้อมูลจากใบบันทึกการระงับความรู้สึกและใบประเมินผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานทดสอบความแตกต่างของปริมาณยาโปรโพฟอลโดยใช้ student T test และสำหรับข้อมูลแจงนับใช้ Chi square test หรือ Fisher exact test<br /> ผลการวิจัยพบว่าการให้ลิโดเคนร่วมกับโปรโพฟอลสามารถลดจำนวนโปรโพฟอลเฉลี่ยที่ใช้ในการสงบประสาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างกลุ่มลิโดเคน (158.85 ± 53.65 มิลลิกรัม) และกลุ่มโปรโพฟอล ( 261.54 ± 78.16 มิลลิกรัม) ที่ p value &lt; 0.001 โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน student T test พบการขยับขณะทำหัตถการ การจัดการทางเดินหายใจ และระยะเวลาในการตื่นน้อยกว่ากลุ่มที่ได้โปรโพฟอลเพียงอย่างเดียว ส่วนความพึงพอใจของผู้ป่วยและแพทย์ ส่องกล้องสูงกว่ากลุ่มที่ได้โปรโพฟอลเพียงอย่างเดียว<br /> งานวิจัยนี้สรุปว่าการให้ลิโดเคนร่วมกับโปรโพฟอลมีประสิทธิผลในการลดจำนวนโปรโพฟอลเฉลี่ยที่ใช้ ในการสงบประสาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการให้ลิโดเคนร่วมด้วย</p> รัชพล หาพันธ์, พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 3 4 113 124 อุบัติการณ์ และผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิส โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3527 <p> งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิสในโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัยด้วยภาวะคีโตเอซิโดซิสระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square หรือ fisher exact test ในการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปรเชิงคุณภาพของกลุ่มผู้ป่วย และใช้สถิติ independent t-test หรือ Mann-Whitney-U test ในการวิเคราะห์ความแตกต่างค่ากลางตัวแปรเชิงปริมาณของกลุ่มผู้ป่วย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิสจำนวน 90 คน อายุเฉลี่ย 54.41±14.44 ปี เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากที่สุดร้อยละ 93.33 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 6.67 ตามลำดับ อุบัติการณ์การเกิดภาวะคีโตเอซิโดซิสใน 3 ปีคิดเป็นร้อยละ 2.05 ต่อผู้ป่วยเบาหวานที่นอนโรงพยาบาล อาการและอาการแสดงที่พบ ได้บ่อยคืออาการสัมพันธ์กับอาการของเบาหวานร้อยละ 50 อาการระบบทางเดินหายใจร้อยละ 50 อาการสัมพันธ์กับ การติดเชื้อร้อยละ 33.33 และอาการระบบทางเดินอาหารร้อยละ 32.22 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยกระตุ้นการเกิดภาวะคีโตนเอซิโดซิสสาเหตุหลักคือการไม่ร่วมมือในการรักษา (Non-adherence with treatment) ร้อยละ 77.78 การติดเชื้อร้อยละ 44.67 ยาหรือสารที่กระตุ้นให้เกิดภาวะคีโตเอซิโดซิสร้อยละ 14.44 และวินิจฉัยเบาหวานครั้งแรกร้อยละ 13.33 ตามลำดับ การวินิจฉัยภาวะคีโตเอซิโดซิสมีระดับน้ำตาลเฉลี่ย 642.73±226.32 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม(HbA1C) ร้อยละ 11.24±2.70 ระยะเวลาในการหายจากภาวะคีโตเอซิโดซิสเฉลี่ย 9.38±6.50 ชั่วโมง พบภาวะแทรกซ้อนภายใน 24 ชั่วโมงหลังการรักษาภาวะคีโตเอซิโดซีสคือ โพแทสเซียมในเลือดต่ำร้อยละ 42.22 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำร้อยละ 20 และระดับโซเดียมในเลือดสูงร้อยละ 3.33 ตามลำดับ การเกิดน้ำตาลในเลือดสูงซ้ำภายใน 24 ชั่วโมงหลังหายจากภาวะคีโตเอซิโดซิสร้อยละ 58.89 อัตราการเสียชีวิตจากภาวะคีโตเอซิโดซิสร้อยละ 4.44</p> กัญญาพร สุพิมพ์,พ.บ. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-26 2024-12-26 3 4 163 177 ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/3673 <p>อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนระบบสาธารณสุขชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของ อสม. ในอำเภอราษีไศล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานที่เสริมสร้างศักยภาพของ อสม. ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 3) ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการพัฒนาที่นำไปสู่การปรับปรุงการทำงานอย่างยั่งยืน ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะระหว่าง 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. จำนวน 38 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์ การบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบสอบถามเพื่อประเมินผลเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาอย่างง่ายได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test และประเมินผลกระทบของกิจกรรม</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 80.1 มีอายุระหว่าง 40-59 ปี ร้อยละ 79.3 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 75.0 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 75.4 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 46.9 รายได้ต่อเดือนระหว่าง 1,000 – 5,000 บาท ร้อยละ 81.3 ระยะเวลาการเป็น อสม. ระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 32.8 ส่วนใหญ่ได้เข้ามาเป็น อสม. โดยความสมัครใจ ร้อยละ 87.9 ด้านความสัมพันธ์ ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านการนิเทศงาน ปัจจัยด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนและปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการปฏิบัติงานโดยรวมของ อสม. ปัจจัยด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ อสม. ในด้านการปรับพฤติกรรมสุขภาพและด้านการประสานงานกับบุคคลองค์กรและเครือข่าย (p&lt;0.05) ปัจจัยด้านการนิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ อสม. ในด้านการประสานงานกับบุคคลองค์กรและเครือข่ายและด้านการปฏิบัติงานที่สถานีสุขภาพ (Health Station) (p&lt;0.05) ปัจจัยด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ อสม. ในด้านการประสานงานกับบุคคลองค์กรและเครือข่ายและด้านการปฏิบัติงานที่สถานีสุขภาพ (Health Station) (p&lt;0.05) ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ อสม.ในด้านการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการประสานงานกับบุคคลองค์กรและเครือข่ายและด้านการปฏิบัติงานที่สถานีสุขภาพ (Health Station) (p&lt;0.05) ระดับความรู้และระดับการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านของ อสม. หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นพื้นฐานดีกว่าก่อนเข้าโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) และ อสม.ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.73 มีความพึงพอใจในระดับสูง (Mean = 7.84, SD = 3.94) ภายหลังการเข้าร่วมโครงการ</p> <p> จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้ การปฏิบัติ และความพึงพอใจโดยโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นพื้นฐานสามารถนำไปใช้ในการสร้างศักยภาพ ส่งเสริมการปฏิบัติงานของ อสม. ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ภาครัฐ) และ อสม. (ภาคประชาชน) และผู้มีส่วนได้ส่วยเสียในชุมชนสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน</p> กิตติพงศ์ บุญเจริญ, ส.ม. ณัฏฐ์นรี คำดี, ส.บ. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-28 2024-12-28 3 4 190 202