วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <ol> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลการศึกษาวิจัยทางด้านการพัฒนาคุณภาพงานสาธารณสุข และคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข</li> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุขทั้งใน และนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข</li> <li>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านสุขภาพของนักวิจัย อาจารย์ นิสิต นักศึกษา</li> <li>เป็นแหล่งวิชาการสำหรับบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงประชาชนทั่วไปในประเทศและนานาชาติได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาคุณภาพวิชาการให้เข้าสู่มาตรฐานตามหลักสากล</li> </ol> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูล (เขียนข้อกำหนด)</p> baokamk@gmail.com (ดร.กำพล เข็มทอง (Dr.Kampol Khemthong)) srisantisang@gmail.com (นางสาวเนาวรัตน์ ศรีสันติแสง (Miss Naovarat Srisantisang)) Mon, 28 Apr 2025 10:20:18 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ภายหลังกระดูกสะโพกหักในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4347 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอุบัติการณ์ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism: VTE) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหักและได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ศรีสะเกษ เนื่องจากภาวะ VTE เช่น ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึก (Deep Vein Thrombosis: DVT) และภาวะ ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism: PE) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจก่อให้เกิดอัตราการเสียชีวิตที่สูงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง งานวิจัยก่อนหน้านี้จากต่างประเทศรายงานอัตราการเกิด VTE หลังผ่าตัดสะโพกสูงถึง 40–70% อย่างไรก็ตาม ในบริบทของประเทศไทยยังมีข้อมูลจำกัด โดยเฉพาะในระดับโรงพยาบาลภูมิภาค การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง และศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ case-control โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 รวมจำนวน 2,781 ราย วิเคราะห์หาผู้ป่วยที่เกิดภาวะ VTE และเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่เกิดภาวะดังกล่าว เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์ของ VTE ในผู้ป่วยกลุ่มนี้อยู่ที่ร้อยละ 0.43 (12 รายจาก 2,781 ราย) แบ่งเป็นภาวะ DVT จำนวน 7 ราย (0.25%) และภาวะ PE จำนวน 5 ราย (0.18%) ผู้ป่วยกลุ่ม Case ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 70 ปี เป็นเพศหญิง และมีตำแหน่งกระดูกสะโพกหักที่ Intertrochanteric ร่วมกับโรคร่วม เช่น ภาวะโลหิตจาง (anemia) และโรคไตเรื้อรัง (CKD) อีกทั้งยังมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลนานกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์แบบ Univariable และ Multivariable logistic regression พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด VTE อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ตำแหน่งกระดูกสะโพกหักแบบ intertrochanteric (Adjusted OR = 5.95, p = 0.046) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลที่ยาวนานขึ้น (เพิ่ม OR = 1.11 ต่อวัน, p = 0.024)</p> <p> ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่า แม้อัตราการเกิด VTE จะต่ำกว่าที่รายงานในประเทศตะวันตก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีกระดูกหักตำแหน่ง Intertrochanteric มีโรคร่วมซับซ้อน และต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ และพิจารณาใช้มาตรการป้องกัน VTE อย่างเหมาะสมทั้งในด้านการใช้ยาและการฟื้นฟูร่างกาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น</p> ฉันทิช ภานุมาสวิวัฒน์, พ.บ. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4347 Sat, 07 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวทางการส่งตรวจและการรายงานผลตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4187 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติการ 3) การสังเกตการณ์ และ4) การสะท้อนกลับ รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง &nbsp;วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาแนวทางการส่งตรวจและรายงานผลทางห้องปฏิบัติการของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ด้วยแนวคิดของ Krejcie and Morgan &nbsp;และการสุ่มจับฉลากกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณจำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;1) แบบสอบถาม และ 2) แบบสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอลำทับ เครื่องมือวิจัยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.90 และ 0.95 ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยภายหลังการนำแนวทาง พบว่า 1) ภาพรวมของระดับความคิดเห็นในการปฏิบัติตามแนวทางอยู่ที่ระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.03 (SD = 0.72) &nbsp;2) ภาพรวมของระดับความพึงพอใจต่อแนวทางที่ใช้อยู่ที่ระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.27 (SD = 0.72) 3) ผลการปฏิบัติงานตามแนวทางการสั่งตรวจและรายงานผลทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ด้านความถูกต้อง ด้านความรวดเร็ว และด้านความปลอดภัยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.73, 0.62 คะแนน และ 1.00 คะแนน (p=0.001) ตามลำดับ และ 4) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานตามแนวด้านความถูกต้อง ด้านความรวดเร็ว และด้านความปลอดภัยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.00, 2.10 คะแนน และ 0.90 คะแนน (p=0.001) ตามลำดับ</p> เสาวณีย์ ปิลวาสน์, วท.บ. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4187 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4425 <p>.</p> บานเย็น เอกศิริ, วท.บ., กำพล เข็มทอง, ส.ด. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4425 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลลัพธ์ของแนวทางการรายงานค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ประเภทค่าเกล็ดเลือดของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลลำทับ จังหวัดกระบี่ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4188 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยชิงปฏิบัติการประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนาด้วยการรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของแนวทางการรายงานค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ประเภทค่าเกล็ดเลือดของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลลำทับ จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างคือข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลลำทับ จังหวัดกระบี่ คัดเลือกเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการรายงานค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ รพ.ลำทับ จ.กระบี่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2567 &nbsp;ด้วยแนวคิดของ Krejcie and Morgan &nbsp;และการสุ่มจับฉลากกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณจำนวน 95 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบบันทึกรวบรวมข้อมูลผลการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและทะเบียนการายงานค่าเกล็ดเลือดที่เป็นค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการ มีดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาเท่ากับ 0.95, 1.00, 0.95 และ 1.00 ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยภายหลังการนำแนวทาง พบว่าผลลัพธ์การดำเนินตามตัวชี้วัดคุณภาพ (1) ร้อยละของระยะเวลาในการรายงานค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการทางแพทย์ได้ครบถ้วนและทันเวลาภายระยะเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 นาที จำนวน 83 ราย (ร้อยละ 87.4) (2) ร้อยละของระยะเวลาในการตอบสนองต่อแก้ไขภาวะวิกฤติของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่ที่มีค่าเกล็ดเลือดต่ำตามเกณฑ์ค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการทางแพทย์ หลังการรายงานค่าวิกฤติที่โรงพยาบาลลำทับ จังหวัดกระบี่ภายระยะเวลาระหว่าง 21 – 30 นาที จำนวน 42 ราย (ร้อยละ 44.2) และ (3) ร้อยละของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่ได้รับการรักษาแนวทางการรักษาที่ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้รับภายหลังการรายงานค่าวิกฤตทางห้องปฏิบัติการทางแพทย์ได้รับรักษาตัวที่โรงพยาบาลลำทับตามปกติจำนวน 89 ราย (ร้อยละ 93.7) และจำเป็นต้องได้รับการส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลกระบี่จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 6.3) โดยใช้ระยะเวลาภายหลังการได้รับรายงานค่าวิกฤติกระทั้งส่งตัวผู้ป่วยใช้เวลาภายใน 30 นาที จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 2.1)</p> จุติมา ปานแดง Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4188 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางในรถจักรยานต่อการทรงตัว ในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4181 <p>.</p> มัลลิกา จงกฎ, พย.บ. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4181 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพธาวาส จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4221 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 38 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ และแบบประเมินทักษะการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 6 ทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานในการเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Paired t-test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทักษะทั้ง 6 ทักษะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000*)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ส่งผลให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ดูแลผู้สูงอายุในความรับผิดชอบ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> ศรัทธา พรหมทอง, นวลนิตย์ ไชยเพชร, ญาณศา จันทร์รงค์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4221 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานวิถีใหม่โดยชุมชนมีส่วนร่วมตำบลบัวน้อย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4426 <p>.</p> วรรณี พันธ์วิไล, พย.บ., กำพล เข็มทอง, ส.ด., นัทธมน เวียงคำ, ส.ม. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4426 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ของประชาชนในพื้นตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4338 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคดังกล่าวของประชาชนในพื้นที่ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 186 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-stage Sampling) ได้แก่ การสุ่มแบบสัดส่วนตามจำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงในแต่ละหมู่บ้าน และการสุ่มอย่างง่ายจากรายชื่อประชากรที่ผ่านการคัดกรอง ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.01</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน ความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 3.94) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือทักษะการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ (M = 4.31) สำหรับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับสูงเช่นกัน (M = 4.05) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี พบความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r = 0.643**, p &lt; 0.001) ผลการวิจัยสะท้อนถึงความสำคัญของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อยกระดับพฤติกรรมป้องกันโรคอย่างยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำผลการศึกษานี้ไปพัฒนาแนวทางการให้ความรู้และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนในพื้นที่เสี่ยง</p> ยุวธิดา ศรีนนท์, ส.บ., สุรเดช สำราญจิตต์, ปร.ด. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4338 Wed, 11 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการตรวจสอบและประเมินผลระบบการควบคุมภายใน หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4428 <p> งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพของการตรวจสอบภายใน 2.ศึกษาประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงาน 3.ร่างและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 4.ทดลองใช้และพัฒนารูปแบบการพัฒนารูปแบบ และ 5.เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการ และยืนยันคุณภาพของรูปแบบการพัฒนางานตรวจสอบและควบคุมภายในหน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ แบ่งการวิจัยเป็น 5 ระยะ, ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาการดำเนินงานและประเมินผลระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ระยะที่ 2 การวิจัยสภาพการดำเนินงานตรวจสอบภายใน ระยะที่ 3 การสร้างรูปแบบและประเมินคุณภาพของรูปแบบ ระยะที่ 4 การดำเนินการทดลองใช้และพัฒนาคุณภาพรูปแบบ และระยะที่ 5 การประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนารูปแบบและยืนยันรูปแบบการพัฒนาการตรวจสอบและควบคุมภายในหน่วยงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายบริหาร หัวหน้ากลุ่มงานตรวจสอบภายใน สาธารณสุขอำเภอ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) และผู้รับผิดชอบดำเนินงานตรวจสอบภายในทุกหน่วยงาน ใช้สูตร Taro Yamane กำหนดขนาดตัวอย่าง ได้จำนวน 201 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์รวบรวมข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย() และส่วนเบี่ยงมาตาฐาน (S.D.)ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p><strong> </strong>ผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 สภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษระดับพอใช้(=2.81) ภาพรวมส่วนใหญ่หน่วยงานได้ดำเนินการครอบคลุมกิจกรรม (58.43%) และที่ไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่ครอบคลุมกิจกรรม (41.57%) ระยะที่ 2 ภาพรวมสามารถดำเนินงานกระบวนการตรวจสอบภายในอยู่ในระดับพอใช้ (=3.09) และมีประเด็นที่ต้องได้รับพัฒนาเพื่อให้การตรวจสอบภายในมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นในโอกาสต่อไป ระยะที่ 3 ผลการร่างและผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนางานตรวจสอบและระบบควบคุมภายใน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับดี(=4.12) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า 1) วัตถุประสงค์รูปแบบ มีความเหมาะสมระดับดี(=4.36) 2) บริบทและแนวคิด มีความเหมาะสมระดับดี=4.56) 3)ยุทธศาสตร์รูปแบบ มีความเหมาะสมระดับดี(=3.66)4)กระบวนการพัฒนารูปแบบมีความเหมาะสมระดับดี (=4.40) 5) แนวทางการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมระดับดี(=4.20) และ 6) ผลลัพธ์ของรูปแบบมีความเหมาะสมระดับดี(=3.54) ระยะที่ 4 ผลการทดลองใช้และพัฒนารูปแบบโดยใช้ PDCA พบว่า รอบที่ 1 คือ 1.ขั้นตอนการวางแผน (Plan) แผนงานจัดทำกฎบัตรคณะกรรมการ และกฎบัตรการตรวจสอบภายใน 2.ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ(Do การร่างกฎบัตรและประเมินกฎบัตร 3. ขั้นตอนการตรวจสอบผลการปฏิบัติ(Check) ตรวจสอบผลการดำเนินงานร่างและประเมินกฎบัตรและ 4.ขั้นตอนการปรับปรุงตามผลการตรวจสอบ (Act) ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎบัตรคณะกรรมการ และกฎบัตรการตรวจสอบภายในมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และระยะที่ 5 ระดับความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนารูปแบบในระดับมาก(=4.08) และผลการยืนยันรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้อง รูปแบบมีความเหมาะสมระดับมาก(=4.08) ความเป็นไปได้ระดับมาก(=3.94)และความเป็นประโยชน์ระดับมาก(=4.07)สามารถใช้เป็นรูปแบบการพัฒนาการตรวจสอบและประเมินการควบคุมภายในหน่วยสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พัดตรากฤติ พรมมี Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4428 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4427 <p>.</p> จันทราภรณ์ แสนโสม, พย.บ., กำพล เข็มทอง, ส.ด. Copyright (c) 2025 ววารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4427 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสมัครสาธาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการปฏิบัติงาน ด้านสุขศึกษา ในตำบลหญ้าปลื้อง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4462 <p>.</p> วุฒิวัฒนา เพ็งชัย, ส.บ. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4462 Tue, 17 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาการจัดบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ป่วยและผู้สงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลหนองหว้า อำเภอเบญจลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4461 <p>.</p> รัตติยา รอดคำทุย, พย.บ. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4461 Tue, 17 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบศูนย์ประสานส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4463 <p>.</p> รังสรรค์ พานจันทร์, พย.บ. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4463 Tue, 17 Jun 2025 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่บริการโรงพยาบาลศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4468 <p>การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่บริการของโรงพยาบาลศรีสะเกษ การศึกษาใช้รูปแบบ Two Group Pretest–Posttest Design โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 82 ราย แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง (ผู้ป่วยในพื้นที่บริการโรงพยาบาลศรีสะเกษ) จำนวน 41 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ (ผู้ป่วยในพื้นที่บริการโรงพยาบาลขุขันธ์) จำนวน 41 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลตนเองที่พัฒนาขึ้นเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการสองครั้ง คือก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2568 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2568</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ใช้สถิติ Paired t-test และการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาภายหลังการทดลองแสดงให้เห็นว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลอง สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับคะแนนก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลลัพธ์จากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการดูแลตนเองที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลอย่างชัดเจนในการเสริมสร้างความรู้ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดอุบัติการณ์ของโรคซ้ำและภาวะแทรกซ้อน จึงถือว่าโปรแกรมดังกล่าวสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างสมบูรณ์</p> สิทธิพันธ์ จันทร์พงษ์, พ.บ. Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4468 Wed, 18 Jun 2025 00:00:00 +0700 การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ของเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4442 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประชากร คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ คณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงาน/โครงการของกองทุน จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม การสัมภาษณ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ มีรูปแบบการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ คือเทศบาลเมืองกันทรลักษ์เป็นเมืองแห่งสุขภาวะที่ยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม มีคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยมีนายกเทศมนตรีเมืองกันทรลักษ์ เป็นประธานและมีปลัดเทศบาลเมืองกันทรลักษ์เป็นเลขานุการ และมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 5 คณะ มีนโยบายการดำเนินงานโดยยึด 3 หลักในการดำเนินงานร่วมกันคือ หลักการมีส่วนร่วม หลักความเท่าเทียมและหลักความยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 4 ประเด็นคือ การส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันโรค การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านสุขภาพ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ครอบคลุม และการแก้ไขปัญหาสุขภาพเฉพาะของพื้นที่ การประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้ 71 คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนที่มีศักยภาพดี ในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือด้านประสิทธิผลการได้รับประโยชน์เชิงรูปธรรม (ทางสุขภาพ) ร้อยละ 80.0 ส่วนด้านที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือด้านประสิทธิภาพการบริหารเงินจ่ายกองทุน ร้อยละ 55.0 ส่วนประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุน พบว่าส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.0 ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 92.0 และด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.0 การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ อยู่ในบริบทของการเป็นเมืองขนาดกลางที่มีความหลากหลายทั้งด้านประชากรและปัญหาสุขภาพ แม้จะมีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจในหลายด้าน แต่ยังคงเผชิญกับความท้าทายสำคัญในเรื่องความยั่งยืนทางการเงิน การพัฒนาบุคลากร และการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน การพัฒนาต่อไปจำเป็นต้องเน้นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการความสำเร็จของกองทุนในอนาคต</p> ปิยะพันธ์ อ่างแก้ว, ขวัญจิตร ศรีชาคำ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4442 Wed, 18 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4167 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลศิลาลาด ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม 2567 เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ สังเกต และเวชระเบียน ใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน และกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลร่วมกับแนวคิดกระบวนการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลตามแผนการรักษาของแพทย์และตามกระบวนการพยาบาลทั้งในระยะวิกฤติฉุกเฉิน ระยะต่อเนื่อง และระยะส่งต่อ พบว่ากรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีความคล้ายคลึงของอาการแสดงที่ชัดเจน คือเจ็บหน้าอก โดยกรณีศึกษาที่ 1 เพศชาย อายุ 62 ปี ปฏิเสธโรคประจำตัว แรกรับที่ห้องฉุกเฉิน มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปแขนทั้ง 2 ข้าง เจ็บนานประมาณ 30 นาที เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที พบ ST-elevated V2-V4 แพทย์วินิจฉัย Anterior wall STEMI หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดครบ ตรวจคลื่นหัวใจซ้ำ มี Reperfusion และผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกลดลง ส่งต่อโรงพยาบาลศรีสะเกษอย่างปลอดภัย กรณีศึกษาที่ 2 เพศหญิง อายุ 72 ปี มีโรคประจำตัว HT แต่ขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้รับประทานยาความดันโลหิตมาประมาณ 8 เดือน แรกรับที่ห้องฉุกเฉิน มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปหลัง เจ็บนานประมาณ 20 นาที เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที พบ ST-elevated V3-V6 แพทย์วินิจฉัย Anterior wall STEMI หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดครบ ตรวจคลื่นหัวใจซ้ำ ไม่มี Reperfusion ส่งต่อโรงพยาบาลศรีสะเกษ เพื่อทำ Rescue PCI ขณะส่งต่อไม่พบภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจนถึงโรงพยาบาลศรีสะเกษอย่างปลอดภัย โดยกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย พบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเหมือนกันจำนวน 5 ข้อ ได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางตามมาตรฐานและส่งต่อตามระบบ STEMI fast track ของโรงพยาบาลศรีสะเกษ</p> จิรกิตต์ สำราญ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4167 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา เปรียบเทียบ 2 ราย โรงพยาบาลยางชุมน้อย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4260 <p>,</p> สร้อยทิพย์ บุษบงก์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SJRH/article/view/4260 Tue, 10 Jun 2025 00:00:00 +0700