https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2024-04-30T12:37:08+07:00 ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.เตชภณ ทองเติม spsc_journal@sskru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย (Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand: SHIRT) เป็นวารสารทางวิชาการของ เครือข่ายสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา การออกกำลังกาย พลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ และการบูรณาการศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพสู่ชุมชนและท้องถิ่น โดยมีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม) ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน) ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน) และ ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>ISSN : 2821-9511 (Online)</strong></p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2248 ผลของการฝึกความเร็วอดทนแบบมีแรงต้านด้วยยางยืดที่มีต่อสมรรถภาพเชิงแอโรบิก และแอนแอโรบิก ของนักกีฬาฟุตซอลชายระดับมหาวิทยาลัย 2024-03-02T16:45:01+07:00 ฟุตซาล ปักสัน Siraprapa.p@chandra.ac.th ณรงค์กรณ์ ญาติกลาง Siraprapa.p@chandra.ac.th ณรงค์ฤทธิ์ ภูฆัง Siraprapa.p@chandra.ac.th วงศธร ทองอยู่ Siraprapa.p@chandra.ac.th ทรงทรรศน์ จินาพงศ์ Siraprapa.p@chandra.ac.th ศิรประภา พานทอง Siraprapa.p@chandra.ac.th <div><span lang="TH">การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกความเร็วอดทนแบบมีแรงต้านด้วยยางยืดที่มีต่อสมรรถภาพเชิงแอโรบิกและแอนแอโรบิกของนักกีฬาฟุตซอลชายระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็นนักฟุตซอล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อายุ 19-2</span><span lang="EN-US">2 </span><span lang="EN-US">24 </span><span style="font-size: 0.875rem;">คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1</span><span lang="EN-US">2 </span><span style="font-size: 0.875rem;">คน และกลุ่มควบคุม 1</span><span lang="EN-US">2 </span><span style="font-size: 0.875rem;">คน กลุ่มทดลองทำการฝึกความเร็วอดทนแบบมีแรงต้านด้วยยางยืดร่วมกับการฝึกฟุตซอล เป็นเวลา </span><span lang="EN-US">6 </span><span style="font-size: 0.875rem;">สัปดาห์ ขณะที่กลุ่มควบคุมฝึกโปรแกรมการฝึกฟุตซอลตามปกติ ทำการทดสอบสมรรถภาพเชิงแอโรบิกด้วย </span><span lang="EN-US">Multistage Fitness Test (Beep Test) </span><span lang="TH">และ</span><span lang="TH">แอนแอโรบิกด้วย </span><span lang="EN-US">Running-based Anaerobic Sprint Test: RAST </span><span lang="TH">ทั้งก่อน และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ </span><span lang="EN-US">6 </span><span lang="TH">วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ </span><span lang="EN-US">Dependent sample t-test </span><span lang="TH">และ </span><span lang="EN-US">Independent sample t-test </span><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกความเร็วอดทนแบบมีแรงต้านด้วยยางยืด </span><span style="font-size: 0.875rem;">6 </span><span lang="TH">สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีสมรรถภาพเชิงแอโรบิกและเชิงแอนแอโรบิกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span><span lang="EN-US">0</span><span lang="TH">.05 และกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพเชิงแอโรบิกและเชิงแอนแอโรบิกแตกต่างจากกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฝึกความเร็วอดทนแบบมีแรงต้านด้วยยางยืดสามารถพัฒนาสมรรถภาพเชิงแอโรบิกและแอนแอโรบิกของนักฟุตซอลมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้อย่างมีประสิทธิภาพ</span></div> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2316 ผลของการออกกำลังกายคลาส KFIT ที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกาย ในนักศึกษาหญิงที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2024-02-27T14:49:02+07:00 เขษมศักดิ์ ยุระตา poprider.pop@gmail.com ธนวรรณพร ศรีเมือง ouye_131@hotmail.com ศุภนิธิ ขำพรหมราช poprider.pop@gmail.com <div><span lang="TH">การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกคลาส </span><span lang="EN-US">KFIT </span><span lang="TH">ที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายในนักศึกษาหญิงที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยตัวเองตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาเพศหญิง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน </span><span lang="EN-US">16 </span><span lang="TH">คน แบ่งออกเป็น กลุ่มทดลอง </span><span lang="EN-US">8 </span><span lang="TH">คน ทำการออกกำลังกายคลาส </span><span lang="EN-US">KFIT 30 </span><span lang="TH">นาที </span><span lang="EN-US">2 </span><span lang="TH">ครั้งต่อสัปดาห์ ร่วมกับการออกกำลังกายด้วยตนเองตามปกติ กลุ่มควบคุม </span><span lang="EN-US">8 </span><span lang="TH">คน ทำการออกกำลังกายด้วยตนเอง ทำการประเมินองค์ประกอบร่างกายก่อนการทดลองประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมัน กล้ามเนื้อลายมวลกล้ามเนื้อทั้งหมด น้ำหนักตัว ทำการเก็บข้อมูล </span><span lang="EN-US">4 </span><span lang="TH">สัปดาห์ และประเมินองค์ประกอบร่างกายหลังทดลองสัปดาห์ที่ </span><span lang="EN-US">4 </span><span lang="TH">วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม ด้วยสถิติทีเทส (</span><a name="_Hlk160775226"></a><span lang="EN-US">t-test dependent</span><span lang="EN-US">) </span><span lang="TH">และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ด้วยสถิติทีเทส </span><span lang="EN-US">(t-test independent) </span><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง พบว่า กล้ามเนื้อลาย และมวลกล้ามเนื้อทั้งหมด มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ </span><span lang="EN-US">0.05</span><span lang="TH"> แต่เมื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบร่างกายระหว่างกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ สรุปได้ว่า การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง ไม่พบองค์ประกอบร่างกายที่แตกต่างทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่กลุ่มทดลองที่ออกกำลังกายคลาส </span><span lang="EN-US">KFIT </span><span lang="TH">พบว่า กล้ามเนื้อลาย และมวลกล้ามเนื้อทั้งหมด มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการออกกำลังกายคลาส </span><span lang="EN-US">KFIT </span><span lang="TH">จึงเป็นทางเลือกให้กับบุคคลที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและยังสามารถรักษามวลกล้ามเนื้อได้</span></div> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2263 ผลของการฝึกความคล่องตัวแบบสถานีที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลหญิง 2024-02-24T16:05:36+07:00 ฤทธิรงค์ อัญจะนะ un_koko@hotmail.com กนกวรรณ ผางจันทร์ดา 63040220110@udru.ac.th น้ำฝน เสนานันท์ 63040220116@udru.ac.th <div><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกความคล่องตัวแบบสถานีที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลหญิง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลหญิง โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี ที่มีอายุระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 22 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องตัวแบบสถานี และกลุ่มควบคุมทำการฝึกแบบปกติ ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบการเลี้ยงลูกฟุตซอล โดยใช้แบบทดสอบ </span><span lang="EN-US">Illinois agility test with ball </span><span lang="TH">ในการทดสอบทั้งก่อนการฝึก หลังการฝึก 3 สัปดาห์ และหลังการฝึก 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการใช้ค่าสถิติ </span><span lang="EN-US">Independent sample t-test </span><span lang="TH">และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (</span><span lang="EN-US">One-Way Analysis of Variance With Repeated Measures) </span><span lang="TH">หากพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ </span><span lang="EN-US">0</span><span lang="TH">.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของ </span><span lang="EN-US">LSD </span><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการฝึก 3 สัปดาห์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span><span lang="EN-US">0</span><span lang="TH">.05 ส่วนหลังการฝึก 6 สัปดาห์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span></div> <div><span lang="EN-US">0</span><span lang="TH">.05 การเปรียบเทียบภายในกลุ่มของกลุ่มควบคุมก่อนการฝึก หลังการฝึก 3 สัปดาห์ และหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span><span lang="EN-US">0</span><span lang="TH">.05 ส่วนกลุ่มทดลอง พบว่า ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 6 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span><span lang="EN-US">0</span><span lang="TH">.05</span></div> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2272 ผลของการฝึกร่างกายส่วนล่างโดยใช้เครื่องฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข 2024-03-05T10:32:09+07:00 วิฑูรย์ ลุ่มรวย Kanokwan.r@nrru.ac.th ภัชฌา แสนปรางค์นอก Kanokwan.r@nrru.ac.th ภักดีพร เกนขุนทด Kanokwan.r@nrru.ac.th นันทวัฒน์ สมิงรัมย์ Kanokwan.r@nrru.ac.th กนกวรรณ รัศมียูงทอง kanokwan.r@nrru.ac.th <div><span lang="TH">การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกร่างกายส่วนล่างโดยใช้เครื่องฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ตัวอย่างเป็นนักศึกษา อายุระหว่าง 20</span><span lang="EN-US">-</span><span lang="TH">21 ปี จำนวน 20 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองจะทำการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกร่างกายส่วนล่างโดยใช้เครื่องฝึกด้วยน้ำหนัก จำนวน 6 ท่า ดังนี้ 1</span><span lang="EN-US">) </span><span lang="TH">ท่า </span><span lang="EN-US">Squats </span><span lang="TH">2</span><span lang="EN-US">) </span><span lang="TH">ท่า </span><span lang="EN-US">Leg Press </span><span lang="TH">3</span><span lang="EN-US">) </span><span lang="TH">ท่า </span><span lang="EN-US">Leg Extension </span><span lang="TH">4</span><span lang="EN-US">) </span><span lang="TH">ท่า </span><span lang="EN-US">Leg Curl </span><span lang="TH">5</span><span lang="EN-US">) </span><span lang="TH">ท่า </span><span lang="EN-US">Hip Abduction </span><span lang="TH">และ 6</span><span lang="EN-US">) </span><span lang="TH">ท่า </span><span lang="EN-US">Hip Adduction </span><span lang="TH">โดยกลุ่มทดลองทำการฝึก 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ </span><span lang="EN-US">8</span><span lang="TH">0 นาที และหลังการการทดลองทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาโดยวัดด้วยเครื่อง</span><span lang="EN-US">Leg Press </span><span lang="TH">วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (</span><span lang="EN-US"><img src="blob:https://he03.tci-thaijo.org/0616e4e8-46e5-472d-b51d-3d3b54b50555" width="12" height="14" /></span><span lang="TH">) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (</span><span lang="EN-US">S.D.) </span><span lang="TH">และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาด้วยค่าที (</span><span lang="EN-US">t-test</span><span lang="TH">) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ </span><span lang="EN-US">0</span><span lang="TH">.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span><span lang="EN-US">0</span><span lang="TH">.05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายโดยใช้เครื่องฝึกด้วยน้ำหนักสามารถพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ในนักศึกษาได้</span></div> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2217 ผลการฝึกรูปแบบยางยืดที่มีผลต่อไขมันในช่องท้องของนักเรียนชาย : การศึกษานำร่อง 2024-02-24T16:07:59+07:00 ศักดิ์ดา จันทสิงห์ Ouye_131@hotmail.com สมพล นาคศรี Ouye_131@hotmail.com เอกรัตน์ ใจตรง Ouye_131@hotmail.com ปิติพงษ์ สีตามาตย์ Ouye_131@hotmail.com ธนวรรณพร ศรีเมือง ouye_131@hotmail.com <div><a name="_Hlk163601861"></a><span lang="TH">การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกรูปแบบยางยืดที่มีผลต่อไขมันในช่องท้องของนักเรียนชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านแฮดศึกษา จังหวัดขอนแก่น ที่มีอายุระหว่าง </span><span lang="EN-US">16</span><span lang="TH">-</span><span lang="EN-US">18 </span><span lang="TH">ปี จำนวน </span><span lang="EN-US">10</span><span lang="TH"> คน ซึ่งได้มากจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการฝึกรูปแบบยางยืดและสายวัดรอบเอว โดยกลุ่มตัวอย่างทำการฝึกในรูปแบบยางยืดเป็นระยะเวลา </span><span lang="EN-US">4 </span><span lang="TH">สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ในวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ วันละ </span><span lang="EN-US">40 </span><span lang="TH">นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรอบเอวระหว่างก่อนและหลังการฝึก โดยใช้ค่าที </span><a name="_Hlk160120812"></a><span lang="TH">(</span><span lang="EN-US">pair sample t</span><span lang="TH">-</span><span lang="EN-US">test</span><span lang="TH">) ผลการวิจัยพบว่า ผลการฝึกรูปแบบยางยืดสามารถลดไขมันในช่องท้องของนักเรียนชายได้ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษานำร่อง ควรขยายขนาดกลุ่มตัวอย่าง และระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองให้นานมากขึ้น</span></div> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2349 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพตามแนวชายแดนไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เขตพื้นที่อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี 2024-03-30T18:32:59+07:00 สันติ ฝักทอง santifugthong@hotmail.com <div><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในพื้นที่ชายแดนที่ไม่มีด่านตรวจคนเข้าเมืองและด่านควบคุมโรค แต่ยังมีประชาชนสามารถเดินทางเข้าออกผ่านช่องทางผ่านแดนชั่วคราวหรือช่องทางผิดกฎหมายเพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทสังคมในพื้นที่เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (</span><span lang="EN-US">IHR2005) </span><span lang="TH">กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น </span><span lang="EN-US">2 </span><span lang="TH">กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณชายแดนในเขตอำเภอโพธิ์ไทรที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี จำนวน 385 คน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการระบบบริหารจัดการตามแนวชายแดน ได้แก่ นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจตะเวนชายแดน ผู้นำชุมชน จิตอาสา/อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 49 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน การดำเนินการวิจัยมีขั้นตอน </span><span lang="EN-US">3 </span><span style="font-size: 0.875rem;">ขั้นตอนคือ </span><span lang="EN-US">1) </span><span lang="TH">ศึกษาบริบทและปัญหาของพื้นที่ </span><span lang="EN-US">2) </span><span lang="TH">พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ </span><span style="font-size: 0.875rem;">3)</span><span lang="TH">ประเมินผลประสิทธิภาพของรูปแบบ ผลวิจัยพบว่า ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายแดนไทย-ลาว เขตพื้นที่อำเภอโพธิ์ไทรมีระดับการรับรู้รูปแบบการบริหารจัดการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพตามแนวชายแดนของหน่วยงานภาครัฐระดับมากที่สุด (</span><span lang="EN-US">mean =</span><span style="font-size: 0.875rem;">4.68,</span><span lang="EN-US">S.D. = 0.</span><span lang="TH">35</span><span lang="EN-US">) </span><span lang="TH">มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในชุมชนระดับมาก (</span><span lang="EN-US">mean = 3.50, S.D. = 0.22</span><span lang="TH">) ดังนั้นจึงควรมีการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน รูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพตามแนวชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการประสานความร่วมมือ แนวทางปฏิบัติระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับประเทศ ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค </span></div> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย