วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network <p>วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย (Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand: SHIRT) เป็นวารสารทางวิชาการของ เครือข่ายสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา การออกกำลังกาย พลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ และการบูรณาการศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพสู่ชุมชนและท้องถิ่น <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน </strong>โดยมีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม) ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน) ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน) และ ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>ISSN : 2821-9511 (Online)</strong></p> เครือข่ายสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย th-TH วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2821-9511 <div> <p><em><span lang="TH">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</span></em></p> </div> <div> <p><em><span lang="TH">บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน</span></em><span lang="TH">วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย<em> ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก</em><em>วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น</em></span></p> </div> การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4242 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์สาขาวิชาพลศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง ปีการศึกษา<span class="s1"> 2567 </span>ณ สถาบันการศึกษา จำนวน<span class="s1"> 10 </span>แห่ง ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน<span class="s1"> 52 </span>คน ด้วยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง แบ่งเป็น<span class="s1"> 5 </span>ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านนักศึกษา ด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางพลศึกษา และด้านการวัดและประเมินผลพลศึกษา<span class="s1"> (IOC </span>เท่ากับ<span class="s1"> 1 </span>และได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของ<span class="s1"> Cronbach </span>เท่ากับ<span class="s1"> 0.99) </span>วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย<span class="s1"> (M) </span>และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<span class="s1"> (S.D.) </span>ผลการศึกษาพบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า ด้านการวัดและประเมินผลพลศึกษา<span class="s1"> (M = 4.44, S.D. = 0.67) </span>ด้านอาจารย์ผู้สอน<span class="s1"> (M = 4.28, S.D. = 0.81) </span>ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน<span class="s1"> (M = 4.27, S.D. = 0.71) </span>ด้านนักศึกษา<span class="s1"> (M = 3.67, S.D. = 0.86) </span>และด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทางพลศึกษา<span class="s1"> (M = 3.64, S.D. = 0.94) </span>ตามลำดับ<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> การะเกด หัตถกิจวิไล อรพิมล กิตติธีรโสภณ วิเชียร ทุวิลา Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-04 2025-05-04 4 3 1 13 การลดความรุนแรงโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริงผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4238 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์<span class="s1"> 1) </span>เพื่อพัฒนากิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริงเพื่อลดความรุนแรงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น<span class="s1"> 2) </span>เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการลดความรุนแรงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริง วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา<span class="s1"> (R&amp;D) </span>แบ่งเป็น<span class="s1"> 4 </span>ขั้นตอน ได้แก่<span class="s1"> 1) </span>ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน<span class="s1"> 2) </span>ออกแบบและพัฒนา<span class="s1"> 3) </span>ทดลองใช้ และ<span class="s1"> 4) </span>ประเมินผล โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยขั้นทดลองใช้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และโรงเรียนธนาคารออมสิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนละ<span class="s1"> 30 </span>คน รวมทั้งหมด<span class="s1"> 60 </span>คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการทดลองสัปดาห์ละ<span class="s1"> 1 </span>ครั้ง ๆ ละ<span class="s1"> 30 </span>นาที จำนวน<span class="s1"> 6 </span>สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้<span class="s1"> 1) </span>กิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริงผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น<span class="s1"> 2) </span>แบบทดสอบพฤติกรรมการลดความรุนแรง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า<span class="s1"> t-test dependent </span>ผลการวิจัยพบว่า<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> <p class="p1"><span class="s1">1. </span>กิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริงเพื่อลดความรุนแรงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งได้กิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริง ทั้งหมด<span class="s1"> 3 </span>สถานการณ์ ดังนี้<span class="s1"> 1) </span>การลดความรุนแรงทางเพศ<span class="s1"> 2) </span>การลดความรุนแรงทางสังคมและทางไซเบอร์ และ<span class="s1"> 3) </span>การลดความรุนแรงทางกายภาพและทางวาจา มีค่า<span class="s1"> IOC 0.93<span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> <p class="p1"><span class="s1">2. </span>พฤติกรรมการลดความรุนแรงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดกิจกรรมบทบาทสมมติเสมือนจริงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> 0.05</span></p> บุญทิพย์ แป้นทอง ธำรงค์ บุญพรหม คมชนัญ โวหาร จารุต บุศราทิจ ยศ ธีระเดชพงศ์ กัญญารัตน์ คำวิชัย Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-04 2025-05-04 4 3 14 25 การพัฒนาเครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกาย ทวิส ฟิตเนส เทส สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4241 <p class="p1">วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อพัฒนาเครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกาย ทวิส ฟิตเนส เทส และเกณฑ์ปกติ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่<span class="s1"> 1-3 </span>จำนวน<span class="s1"> 95 </span>คน ที่ศึกษาในสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา<span class="s1"> 2567 </span>จากการเลือกแบบเจาะจง เพื่อหาความเชื่อถือได้และความเป็นปรนัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกาย ทวิส ฟิตเนส เทส ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ หาค่าความเชื่อถือได้ ด้วยการทดสอบซ้ำ และค่าความเป็นปรนัยของผู้ประเมิน<span class="s1"> 2 </span>ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสร้างเกณฑ์ปกติด้วยหลักการให้เกรดโดยใช้โค้งปกติ ผลการวิจัยพบว่า<span class="s1"> 1) </span>เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกาย<span class="s1"> </span>ทวิส ฟิตเนส เทส มีความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ที่เหมาะสมทุกรายการ สามารถนำไปใช้ทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ ดังนี้<span class="s1"> Modified sit and reached test </span>มีความเชื่อถือได้ระดับดี<span class="s1"> (r = 0.82) </span>มีความเป็นปรนัยระดับดีมาก<span class="s1"> (r = 1.00) Shoulder lift test </span>มีความเชื่อถือได้ระดับดี<span class="s1"> (r = 0.82) </span>มีความเป็นปรนัยระดับดีมาก<span class="s1"> (r = 1.00) Trunk lift test </span>มีความเชื่อถือได้ระดับดี<span class="s1"> (r = 0.89) </span>มีความเป็นปรนัยระดับดีมาก<span class="s1"> (r = 1.00) Back scratch test </span>ด้านขวา มีความเชื่อถือได้ระดับดี<span class="s1"> (r = 0.82) </span>มีความเป็นปรนัยระดับดีมาก<span class="s1"> (r = 1.00) </span>ด้านซ้าย มีความเชื่อถือได้ระดับดี<span class="s1"> (r = 0.84) </span>มีความเป็นปรนัยระดับดีมาก<span class="s1"> (r = 1.00) Hexagon test </span>มีความเชื่อถือได้ ระดับดี<span class="s1"> (r = 0.85) </span>มีความเป็นปรนัยระดับดีมาก<span class="s1"> (r = 1.00) </span>และ<span class="s1"> Standing long jump test </span>ความเชื่อถือได้ระดับดีมาก<span class="s1"> (r = 0.92) </span>มีความเป็นปรนัยระดับดีมาก<span class="s1"> (r = 1.00) </span>และ<span class="s1"> 2) </span>สร้างเกณฑ์ปกติของทุกแบบทดสอบ แบ่งเกณฑ์เป็น<span class="s1"> 5 </span>ระดับ คือ ดีมาก ดี ปานกลาง ต่ำ ต่ำมาก<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> อรพิมล กิตติธีรโสภณ การะเกด หัตถกิจวิไล Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-18 2025-05-18 4 3 26 37 การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4141 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและจัดลำดับความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่<span class="s1"> (1) </span>นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน<span class="s1"> 372 </span>คน จากทั้ง<span class="s1"> 7 </span>คณะและ<span class="s1"> 1 </span>วิทยาลัย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น<span class="s1"> (Stratified Random Sampling) </span>และ<span class="s1"> (2) </span>ตัวแทนนักศึกษาจากคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาของแต่ละคณะ รวม<span class="s1"> 8 </span>คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นชนิดมาตราส่วน<span class="s1"> 5 </span>ระดับ รูปแบบตอบสนองคู่ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง<span class="s1"> (IOC) </span>เท่ากับ<span class="s1"> 0.97 </span>โดยทุกข้อคำถามมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง<span class="s1"> 0.80-1.00 </span>และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ<span class="s1"> 0.86 </span>และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง<span class="s1"> (IOC) </span>เท่ากับ<span class="s1"> 0.93 </span>สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น<span class="s1"> (PNI modified) </span>ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มีความต้องการจำเป็นในระดับมากที่สุด โดยมีค่า<span class="s1"> PNI modified </span>เท่ากับ<span class="s1"> 0.61 </span>เมื่อจัดลำดับด้านที่มีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่สุดคือ ด้านกิจกรรมทางกาย<span class="s1"> (PNI modified = 0.63) </span>รองลงมาคือ ด้านการเสริมสร้างความฉลาดรู้ทางกาย<span class="s1"> (PNI modified = 0.61) </span>และด้านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ<span class="s1"> (PNI modified = 0.59) </span>ตามลำดับ ซึ่งทุกด้านถือว่ามีความต้องการจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการพัฒนา ทั้งนี้ ผลการสรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความต้องการกิจกรรมที่หลากหลาย ทันสมัย และสอดคล้องกับบริบทของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม เช่น การเต้นแอโรบิก โยคะ เวทเทรนนิ่ง เกมการแข่งขัน กิจกรรมเดิน<span class="s1">-</span>วิ่งเพื่อสุขภาพ รวมถึงความต้องการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโภชนาการ การดูแลสุขภาพ และการให้คำปรึกษา โดยผลสรุปจากทั้งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แสดงให้เห็นถึงความต้องการจำเป็นของนักศึกษามีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> ณัฐวุฒิ ฉิมมา Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-18 2025-05-18 4 3 38 51 การเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อระหว่างนักกีฬาเพาะกายระดับแชมป์กับ นักกีฬาเพาะกายฝึกใหม่ขณะโพสท่าบังคับ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/3885 <p class="p1">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อระหว่างนักเพาะกายระดับแชมป์และนักเพาะกายฝึกใหม่ในขณะทำการโพส<span class="s1"> 7 </span>ท่าบังคับ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเพาะกายชายระดับแชมป์<span class="s1"> 10 </span>คน ประกอบด้วย แชมป์โลก<span class="s1"> 3 </span>คน แชมป์เอเชีย<span class="s1"> 7 </span>คน และนักเพาะกายฝึกใหม่<span class="s1"> 10 </span>คน บันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ<span class="s1"> (EMG) biceps brachii (BB), triceps brachii (TB), latissimus dorsi (LD), rectus abdominis (RA), rectus femoris (RF) </span>และ<span class="s1"> pectoralis major (PM) </span>ในขณะโพสท่าบังคับ<span class="s1"> 7 </span>ท่า ได้แก่<span class="s1"> front double biceps (FDB), front lat spread (FLS), side chest (SC), back double biceps (BDB), back lat spread (BLS), side triceps (ST) </span>และ<span class="s1"> abdominals &amp; thighs (AT) </span>ทำการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเฉลี่ยและค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อสูงสุดของกลุ่มตัวอย่างและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มนักเพาะกายระดับแชมป์และกลุ่มนักเพาะกายฝึกใหม่ ผลการวิเคราะห์<span class="s1"> EMG </span>พบว่าค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเฉลี่ยและสูงสุดของ<span class="s1"> TB </span>ข้างซ้ายขณะโพส<span class="s1"> FDB </span>และ<span class="s1"> BDB </span>ในกลุ่มนักเพาะกายระดับแชมป์สูงกว่ากลุ่มนักเพาะกายฝึกใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<span class="s1"> (p≤0.001) </span>ในขณะที่ค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของ<span class="s1"> LD </span>ข้างขวาและ<span class="s1"> LD </span>ข้างซ้าย ขณะโพส<span class="s1"> FLS </span>และ<span class="s1"> BLS </span>ในกลุ่มนักเพาะกายฝึกใหม่กลับมีค่าสูงกว่ากลุ่มนักเพาะกายระดับแชมป์<span class="s1"> (p&lt;0.05) </span>นอกจากนี้ พบว่า<span class="s1"> RF </span>ข้างขวาขณะโพส<span class="s1"> AT </span>ในกลุ่มนักเพาะกายระดับแชมป์สูงกว่ากลุ่มนักเพาะกายฝึกใหม่อย่างมีนัยสำคัญ<span class="s1"> (p=0.001) </span>อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้ออื่น ๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองกลุ่ม ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมฝึกที่มุ่งเน้นการกระตุ้นกล้ามเนื้อในขณะโพสท่าบังคับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์กล้ามเนื้อเพื่อช่วยปรับปรุงเทคนิคการโพสให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการฝึกและการแข่งขัน ในอนาคตควรมีการศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการกระตุ้นกล้ามเนื้อ รวมถึงการขยายขนาดกลุ่มตัวอย่างเพื่อเพิ่มความครอบคลุมและประโยชน์ในการปฏิบัติ</p> ธเนษฐ์พงษ์ สุขวงศ์ พชร ชินสีห์ วรเมธ ประจงใจ นงนภัส เจริญพานิช ชำนาญ ชินสีห์ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-18 2025-05-18 4 3 52 65 ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกดริลล์ร่วมกับยางยืดออกกำลังกายที่ส่งผลต่อ ความคล่องแคล่วว่องไวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4198 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกดริลล์ร่วมกับยางยืดออกกำลังกายที่ส่งผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักกีฬาฟุตซอลเพศชายในระดับกำลังพัฒนา ที่มีอายุระหว่าง<span class="s1"> 18-23 </span>ปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย<span class="s1"> 20.40 ± 1.22 </span>ปี กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ในการแข่งขันฟุตซอลไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า<span class="s1"> 1 </span>ปี ได้รับการคัดเลือกด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน<span class="s1"> 30 </span>คน แบ่งออกเป็น<span class="s1"> 2 </span>กลุ่ม กลุ่มละ<span class="s1"> 15 </span>คน ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยดำเนินการฝึกตามโปรแกรมที่กำหนดเป็นระยะเวลา<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการฝึกด้วยวิธีการทดสอบอิลลินอยส์ ทดสอบความแข็งแรงด้วยวิธีการทดสอบแรงเหยียดขา นำข้อมูลค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของนักกีฬาในกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลการทดสอบหลังการฝึก<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ<span class="s1"> Independent t-test </span>กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่<span class="s1"> .05 </span>ผลการวิจัยพบว่า<span class="s1"> 1) </span>ก่อนการฝึก พบว่า กลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไวเท่ากับ<span class="s1"> 16.34 ± 0.96 </span>วินาที และกลุ่มควบคุมมีความคล่องแคล่วว่องไวเท่ากับ<span class="s1"> 16.55 ± 0.91 </span>วินาที ส่วนความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา กลุ่มทดลองมีค่าเท่ากับ<span class="s1"> 2.77 ± 0.19 </span>กิโลกรัม<span class="s1">/</span>น้ำหนักตัว และกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ<span class="s1"> 2.71 ± 0.22 </span>กิโลกรัม<span class="s1">/</span>น้ำหนักตัว ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการฝึกไม่พบความแตกต่างทางสถิติ และ<span class="s1"> 2) </span>ภายหลังการฝึก<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไวเท่ากับ<span class="s1"> 14.94 ± 0.86 </span>วินาที และกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ<span class="s1"> 15.93 ± 0.81 </span>วินาที ส่วนความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา กลุ่มทดลองมีค่าเท่ากับ<span class="s1"> 2.98 ± 0.06 </span>กิโลกรัม<span class="s1">/</span>น้ำหนักตัว และกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ<span class="s1"> 2.83 ± 0.16 </span>กิโลกรัม<span class="s1">/</span>น้ำหนักตัว ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการฝึก<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> .05<br /></span></p> <p>สรุปได้ว่า การฝึกความคล่องแคล่วร่วมกับการเพิ่มความหนักของงานสามารถเพิ่มความคล่องแคล่วและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p class="p1"><span class="s1"> </span></p> เด่น ครองคัมภีร์ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-19 2025-05-19 4 3 66 77 ผลการเปรียบเทียบโปรแกรมการเต้นลีลาศประเภทสแตนดาร์ดและโปรแกรมการเต้นลีลาศ ประเภทลาตินอเมริกันที่มีต่อการทรงตัวในนักกีฬาลีลาศระดับเยาวชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4089 <p class="p1">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกเต้นลีลาศประเภทสแตนดาร์ด และการเต้นลีลาศประเภทลาตินอเมริกันที่มีต่อการทรงตัวภายในกลุ่มทดลองที่<span class="s1"> 1 </span>และกลุ่มทดลองที่<span class="s1"> 2 </span>และระหว่างกลุ่มทดลองที่<span class="s1"> 1 </span>และกลุ่มทดลองที่<span class="s1"> 2 </span>กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาลีลาศระดับเยาวชน จังหวัดมหาสารคาม ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน<span class="s1"> 36 </span>คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย โปรแกรมการเต้นลีลาศประเภทสแตนดาร์ดและประเภทลาตินอเมริกัน แบบทดสอบการทรงตัวขณะอยู่กับที่ โดยการยืนขาเดียว และการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ โดยการกระโดดขาเดียว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบที ผลการวิจัย<span class="s1"> 1) </span>ภายในกลุ่มทดลองที่<span class="s1"> 1 </span>มีการทรงตัวขณะอยู่กับที่ทั้งขาข้างซ้ายและขาข้างขวาก่อนและหลังการฝึกมีค่าดีขึ้น และการทรงตัวขณะเคลื่อนที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ส่วนภายในกลุ่มทดลองที่<span class="s1"> 2 </span>การทรงตัวขณะอยู่กับที่ทั้งขาข้างซ้ายและขาข้างขวา ก่อนและหลังการฝึกมีค่าดีขึ้น ส่วนการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> .05 </span>และ<span class="s1"> 2) </span>ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเต้นลีลาศประเภทสแตนดาร์ดกับกลุ่มเต้นลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน พบว่า การทรงตัวขณะอยู่กับที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> .05 </span>ส่วนการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ไม่แตกต่างกัน ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโปรแกรมฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬาลีลาศอย่างเป็นระบบ โดยเน้นการเลือกใช้รูปแบบการฝึกที่สอดคล้องกับลักษณะการเคลื่อนไหวของแต่ละประเภท ที่จะช่วยให้เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังส่งเสริมการฝึกการเคลื่อนไหวในนักกีฬาอื่นๆ ที่ต้องใช้การทรงตัวในระดับสูง</p> อัญชลี สีมอซา ชิระวุฒิ อัจฉริยชีวิน ณัฐชัย พรมโม้ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-19 2025-05-19 4 3 78 90 ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่ออัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ และพลังงานที่ใช้ของนักกีฬาฟุตซอลหญิง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/3881 <p class="p1">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่ออัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด<span class="s1"> (VO<sub>2</sub>max) </span>ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ และพลังงานที่ใช้ของนักกีฬาฟุตซอลหญิง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลหญิง ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน<span class="s1"> 10 </span>คน อายุระหว่าง<span class="s1"> 18–22 </span>ปี กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมฝึกเป็นระยะเวลา<span class="s1"> 4 </span>สัปดาห์ สัปดาห์ละ<span class="s1"> 3 </span>วันๆ ละ<span class="s1"> 50 </span>นาที โดยโปรแกรมประกอบด้วยการฝึก<span class="s1"> 5 </span>สถานี ได้แก่<span class="s1"> Mountain Climbers, Sprinting in Zigzag, Forward-Backward Sprint, Stair Running </span>และ<span class="s1"> Cone Sliding Drills </span>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ<span class="s1"> 1) </span>โปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น<span class="s1"> 2) </span>การทดสอบวิ่ง<span class="s1"> 2400 </span>เมตร คำนวณ<span class="s1"> VO<sub>2</sub>max </span>จากสูตร<span class="s1"> Cooper </span>และ<span class="s1"> 3) </span>การประเมินพลังงานที่ใช้สูตร<span class="s1"> Wilmore </span>และคณะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที<span class="s1"> (pair sample t-test) </span>ผลการวิจัยพบว่า ค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด<span class="s1"> (VO<sub>2</sub>max) </span>เพิ่มขึ้นจาก<span class="s1"> 34.97 ± 1.18 </span>เป็น<span class="s1"> 38.79 ± 2.81 (ml/kg/min) (p &lt; 0.05) </span>ขณะที่เวลาในการวิ่งระยะทาง<span class="s1"> 2,400 </span>เมตร ลดลงจาก<span class="s1"> 15.37 ± 0.57 </span>เป็น<span class="s1"> 13.76 ± 0.99 </span>นาที<span class="s1"> (p &lt; 0.05) </span>และพลังงานที่ใช้ระหว่างการวิ่งลดลงจาก<span class="s1">144.94 ± 18.83 </span>เป็น<span class="s1"> 143.41 ± 18.57 </span>กิโลแคลอรี<span class="s1"> (p &lt; 0.05) </span>นอกจากนี้พบความสัมพันธ์ในระดับสูงมากระหว่างเวลาวิ่ง<span class="s1"> 2400 </span>เมตร กับพลังงานที่ใช้<span class="s1"> (r = 0.9998, p = 0.001) </span>สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกแบบสถานีมีประสิทธิภาพในการเพิ่มอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด<span class="s1"> (VO<sub>2</sub>max) </span>พัฒนาความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ และช่วยให้ร่างกายใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถภาพของนักกีฬาฟุตซอลหญิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> จิราพร มะพันธ์ ขจรศักดิ์ ทองออน ธนกรณ์ ดวงมาลัย ธนวรรณพร ศรีเมือง ไตรมิตร โพธิแสน จักรดาว โพธิแสน Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-19 2025-05-19 4 3 91 103 การวิเคราะห์ทางสังคมของกีฬาอีสปอร์ตกับปัจจัยในการพัฒนากิจการกีฬาทางทหารในประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4108 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์<span class="s1"> 1) </span>เพื่อศึกษาสภาพทางสังคมและแนวทางการพัฒนากิจการกีฬากีฬาอีสปอร์ตของประเทศไทยและกีฬาอีสปอร์ตทางทหารของประเทศไทย<span class="s1"> 2) </span>เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากิจการกีฬาอีสปอร์ตในกองทัพไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้เชียวชาญ<span class="s1"> 3 </span>ท่าน และการวิจัยเชิงปริมาณผ่านแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง<span class="s1"> 400 </span>คน ซึ่งประกอบด้วยกำลังพลทหารและนักศึกษา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมกีฬาอีสปอร์ตในประเทศไทยได้เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในมิติของเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและบุคลากรในกองทัพ อีสปอร์ตมิได้เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อความบันเทิง แต่ยังเป็นพื้นที่ในการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับภารกิจทางทหาร เช่น ทักษะการตัดสินใจภายใต้ความกดดัน การทำงานเป็นทีม และการคิดวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผลการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่า การพัฒนากิจการอีสปอร์ตในกองทัพไทยมีศักยภาพในการส่งเสริมความพร้อมด้านจิตใจและสมรรถภาพทางปัญญาของกำลังพล โดยเฉพาะผ่านการออกแบบกิจกรรมฝึกที่จำลองสถานการณ์ใกล้เคียงกับสนามรบจริง นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างด้านบทบาทตามเพศและตำแหน่งหน้าที่ โดยเพศชายมีแนวโน้มมีส่วนร่วมในกีฬาอีสปอร์ตทางทหารมากกว่าเพศหญิงและนายทหารชั้นสัญญาบัตรมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมอีสปอร์ตภายในกองทัพมากกว่าทหารชั้นประทวน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปคือ การศึกษาทักษะเฉพาะที่เกิดจากการฝึกอีสปอร์ตในบริบททางทหารอย่างลึกซึ้ง การเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาอีสปอร์ตในกองทัพของประเทศต่าง ๆ ตลอดจนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมอีสปอร์ตอย่างยั่งยืนในกองทัพไทย<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> ขจรศักดิ์ กั้นใช้ ภัธรภร ปุยสุวรรณ ชนาภรณ์ ปัญญาการผล Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-19 2025-05-19 4 3 104 119 ผลการฝึกพลัยโอเมตริกและการฝึกยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงและ พลังกล้ามเนื้อขา ในนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนชาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4128 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนชาย โรงเรียนมัธยมเทศบาล<span class="s1"> 6 (</span>นครอุดรธานี<span class="s1">) </span>กลุ่มตัวอย่าง คือ นักฟุตบอลชาย โรงเรียนมัธยมเทศบาล<span class="s1"> 6 (</span>นครอุดรธานี<span class="s1">) </span>จำนวน<span class="s1"> 30 </span>คน แบ่งออกเป็น<span class="s1"> 3 </span>กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ฝึกแบบพลัยโอเมตริกและกลุ่มที่ฝึกด้วยยางยืด และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ<span class="s1"> 10 </span>คน ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล<span class="s1"> 4 </span>สัปดาห์ สัปดาห์ละ<span class="s1"> 3 </span>วัน วันละ<span class="s1"> 60 </span>นาที ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาโดยใช้แบบทดสอบแรงเหยียดขา และทดสอบพลังกล้ามเนื้อขาโดยใช้แบบทดสอบการกระโดดสูงก่อนและหลังการฝึกและทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยการวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม โดยใช้สถิติที และทำการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หากพบความแตกต่างจึงทำการเทียบเปรียบรายคู่ด้วยวิธีของ<span class="s1"> LSD </span>ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> .05 </span>ผลวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง<span class="s1"> 4 </span>สัปดาห์ กลุ่มทดลองทั้ง<span class="s1"> 2 </span>กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> .05 </span>แต่เมื่อนำค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม จะเห็นว่าความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขาภายหลังการฝึกของกลุ่มที่ฝึกด้วยยางยืดเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ฝึกแบบ<span class="s1"> </span>พลัยโอเมตริก ดังนั้น สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกด้วยยางยืดสามารถพัฒนาความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขาได้ดีกว่าโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกในนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนชาย</p> ปัญญนรินญ์ สุขส่ง พิมพ์ชญารักษ์ พราช ศิริรัตน์ วุฒิแสน ทินกร ฤทธิ์จันดิ์ ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ธนัมพร ทองลอง Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-19 2025-05-19 4 3 120 132 สุขภาพเด็กปฐมวัยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/3984 <p class="p1">การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพเด็กปฐมวัยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย จำนวน<span class="s1"> 54 </span>คน และผู้ปกครอง จำนวน<span class="s1"> 54 </span>คน เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงสิงหาคม<span class="s1"> - </span>กันยายน<span class="s1"> 2566 </span>ในกลุ่มผู้ปกครองโดยประยุกต์ใช้<span class="s1"> PRECEDE-PROCEDE Model </span>ด้วยแบบสอบถาม ในกลุ่มเด็กใช้แบบบันทึกการตรวจสุขภาพฟันของกรมอนามัย แบบประเมินพัฒนาการเด็ก<span class="s1"> DSPM </span>และแบบบันทึกภาวะโภชนาการตามโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ น้ำหนัก ส่วนสูง<span class="s1"> (IMNU - Thai Growth) </span>วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ ไค<span class="s1"> - </span>สแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เด็กปฐมวัยอายุ<span class="s1"> 2 </span>ปี ร้อยละ<span class="s1"> 72.2 </span>เป็นเพศหญิง ร้อยละ<span class="s1"> 53.7 </span>และเรียนอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสำนัก ร้อยละ<span class="s1"> 37.0 </span>อายุของผู้ปกครองอายุช่วง<span class="s1"> 25 - 35 </span>ปี ร้อยละ<span class="s1"> 64.8 </span>ผู้ปกครองเป็นเพศหญิง ร้อยละ<span class="s1"> 66.7 </span>มีความสัมพันธ์กับเด็กเป็นพ่อแม่ ร้อยละ<span class="s1"> 81.5 </span>ระดับการศึกษาของผู้ปกครองจบระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ<span class="s1"> 31.5 </span>และอาชีพของผู้ปกครองประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ร้อยละ<span class="s1"> 35.2 </span>และมีรายได้ครอบครัวต่อเดือน<span class="s1"> 5,000 - 10,000 </span>บาท ร้อยละ<span class="s1"> 50.0 </span>สุขภาพด้านช่องปาก พบฟันผุ ร้อยละ<span class="s1"> 16.7 </span>สุขภาพด้านโภชนาการ พบว่าเด็กมีภาวะโภชนาสมส่วน ร้อยละ<span class="s1"> 64.8 </span>สุขภาพด้านพัฒนาการ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ<span class="s1"> 88.9 </span>โดยปัจจัยคุณลักษณะประชากรที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพด้านช่องปาก ได้แก่ เพศของผู้ปกครอง<span class="s1"> (<em>p</em> –value &lt; 0.001) </span>และรายได้<span class="s1"> (<em>p</em> –value &lt; 0.001) </span>ปัจจัยคุณลักษณะประชากรที่มีความสัมพันธ์กับโภชนาการเด็กปฐมวัย ได้แก่ อาชีพของผู้ปกครอง<span class="s1"> (<em>p</em> –value &lt; 0.001) </span>ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัย<span class="s1"> </span>ได้แก่ ปัจจัยเอื้อด้านการสร้างความผูกพันทางอารมณ์สนับสนุนประคับประคองทางจิตใจ<span class="s1"> (<em>p</em> –value &lt; 0.001)<span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> <p class="p1"><span class="s1"> </span>โดยสรุป สุขภาพเด็กปฐมวัยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านผู้ปกครอง ทั้งเพศและรายได้ที่มีผลต่อสุขภาพด้านช่องปาก อาชีพที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพด้านโภชนาการ และปัจจัยด้านการสร้างความผูกพันทางอารมณ์ที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพด้านพัฒนาการ ดังนั้นการให้ความรู้และสร้างการรับรู้ให้กับผู้ปกครองจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย และควรดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่ดี</p> นัยนา อรัมสัจจากุล อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-19 2025-05-19 4 3 133 147 ผลการฝึกด้วยแอโรบิกสเต็ปที่มีต่อแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของนักวิ่งรอบเมืองหรือนักวิ่งบนถนน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4028 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยแอโรบิกสเต็ปที่มีต่อแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของนักวิ่งรอบเมืองหรือนักวิ่งบนถนน เป็นระยะเวลา<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งรอบเมือง หรือนักวิ่งบนถนน เพศชาย เป็นผู้ที่อาศัยในกรุงเทพฯ อายุ<span class="s1"> 35 - 50 </span>ปี จำนวน<span class="s1"> 30 </span>คน แบ่งเป็น<span class="s1"> 2 </span>กลุ่ม กลุ่มละ<span class="s1"> 15 </span>คน ได้แก่ กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกวิ่งตามปกติร่วมกับการฝึกแอโรบิกสเต็ป ทำการฝึกครั้งละ<span class="s1"> 60 </span>นาที<span class="s1"> 3 </span>วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่มีการฝึกวิ่งตามปกติ ก่อนและหลังการฝึก<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ทำการทดสอบตัวแปรแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อและความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบภายในกลุ่มโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีแบบรายคู่<span class="s1"> (Paired sample t-test) </span>และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีแบบอิสระ<span class="s1"> (Independent sample t-test) </span>กำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> 0.05 </span>ผลการวิจัย ภายหลังการฝึก<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการฝึกและแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> 0.05 </span>จึงสรุปได้ว่าการฝึกด้วยแอโรบิกสเต็ป ระยะเวลา<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ สามารถช่วยพัฒนาแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดในนักวิ่งรอบเมืองหรือนักวิ่งบนถนนได้ และสามารถนำการฝึกนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกซ้อมร่วมกับการวิ่งรอบเมือง วิ่งบนถนน หรือระยะอื่น ๆ ได้</p> ศิรประภา พานทอง ธนกร ไข่มุสิก นวภัทร เวียงนนท์ สิทธิศักดิ์ รัศมี อธิป ประสิทธิพันธุ์ วุฒิศักดิ์ ศรีใส ณัฐธิดา บังเมฆ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-19 2025-05-19 4 3 148 160 ผลการฝึกเคลื่อนที่ด้วยบันไดลิงประกอบจังหวะเพลงที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว และความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อในนักกีฬาฟุตซอลชาย โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์มัธยม https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4286 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเคลื่อนที่ด้วยบันไดลิงประกอบจังหวะเพลงที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว และ ความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลชาย โรงเรียน หนองจอกพิทยานุสสรณ์มัธยม ประจำปีการศึกษา<span class="s1"> 2567 </span>จำนวน<span class="s1"> 22 </span>คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น<span class="s1"> 2 </span>กลุ่ม กลุ่มละ<span class="s1"> 11 </span>คน คือกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกซ้อมฟุตซอลปกติร่วมกับฝึกการเคลื่อนที่ด้วยบันไดลิงประกอบจังหวะเพลง และกลุ่มควบคุมทำการฝึกซ้อมฟุตซอลปกติ ในระยะเวลา<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ ทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว<span class="s1"> </span>และความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ก่อนฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่<span class="s1"> 8 </span>วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<span class="s1"> Dependent sample t-test </span>และ<span class="s1"> Independent sample t-test </span>ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึก<span class="s1"> 8 </span>สัปดาห์ กลุ่มทดลอง มีความคล่องแคล่วว่องไวและความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมภายหลังการฝึกในสัปดาห์ที่<span class="s1"> 8 </span>พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความคล่องแคล่วว่องไวและความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ<span class="s1"> .05 </span>จึงสรุปได้ว่าการฝึกการเคลื่อนที่ด้วยบันไดลิงประกอบจังหวะเพลงสามารถช่วยพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไว และความสัมพันธ์ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อในนักกีฬาฟุตซอลได้<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> ชัยธัช เกิดปั้น ปรวดี แจ่มกระจ่าง เจษฏา โพธาราเจริญ ปกรณ์ มั่นคง ณัฐธิดา บังเมฆ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-28 2025-05-28 4 3 161 171 การเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชน: ความแตกต่างระหว่างเพศ เป้าหมายในการเล่นกีฬา และประเภทกีฬา https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4122 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชน โดยพิจารณาตามตัวแปรด้านเพศ เป้าหมายของการเล่นกีฬา และประเภทกีฬา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักกีฬาเยาวชนสังกัดจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน<span class="s1"> 172 </span>คน แบ่งเป็นเพศชาย<span class="s1"> 89 </span>คน และเพศหญิง<span class="s1"> 83 </span>คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเชื่อมั่นในระดับเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการวิเคราะห์ค่าทีแบบกลุ่มอิสระ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม นักกีฬามีระดับความเข้มแข็งทางจิตใจอยู่ในระดับสูงทุกด้าน ยกเว้นด้านการจัดการกับความเครียดให้ลดน้อยลงซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง<span class="s1"> (16.93 ± 3.722) </span>ความเข้มแข็งทางจิตใจระหว่างเพศพบว่า นักกีฬาเพศชายและเพศหญิงไม่มีความแตกต่างกัน เช่นเดียวกับนักกีฬาที่มีเป้าหมายแบบมุ่งที่ความสามารถและเป้าหมายแบบมุ่งที่ผลลัพธ์ ในส่วนประเภทกีฬาพบว่า ความเข้มแข็งทางจิตใจระหว่างนักกีฬาต่อสู้ นักกีฬาความเร็ว นักกีฬาแร็กเกต และนักกีฬาแม่นยำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> .05 </span>โดยนักกีฬาต่อสู้มีความเข้มแข็งทางจิตใจสูงกว่านักกีฬาความเร็วในด้านอัตมโนทัศน์ทางจิตใจ ด้านศักยภาพ ด้านความคุ้นเคยกับงาน ด้านการตระหนักถึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง ด้านความรู้สึกถึงคุณค่าของงาน และด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย ขณะที่นักกีฬาความเร็วมีความเข้มแข็งทางจิตใจต่ำกว่ากนักกีฬาแร็กเกตในด้านศักยภาพ ด้านการรวบรวมความตั้งใจเฉพาะกับงานที่ทำอยู่ ด้านการตระหนักถึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง ด้านความรู้สึกถึงคุณค่าของงาน ด้านความมุ่งมั่นต่อเป้าหมาย ด้านความคิดในแง่บวก ด้านการจัดการกับความเครียดให้ลดน้อยลง และด้านความรู้สึกในทางบวกเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน นอกจากนี้ ยังพบว่านักกีฬาความเร็วมีความเข้มแข็งทางจิตใจต่ำกว่านักกีฬาแม่นยำในด้านศักยภาพอีกด้วย จากผลการวิจัยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจให้เหมาะสมกับเพศ เป้าหมายการเล่นกีฬา และประเภทกีฬา เพื่อส่งเสริมศักยภาพและการพัฒนาด้านจิตใจอย่างยั่งยืน</p> เจริญชัย สุวรรณศรี สราวุธ กุสุมภ์ ศรัณย์รัตน์ หิรัญรัตนธรรม ปภินวิชตฎ์ โพธิ์กาศ รัชตะ รอสูงเนิน Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-28 2025-05-28 4 3 172 187 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้บรรยากาศแรงจูงใจทางการกีฬาของนักกีฬาระดับเยาวชน ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ รอบคัดเลือกภาค 5 ครั้งที่ 40 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/4029 <p class="p1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการรับรู้บรรยากาศแรงจูงใจของนักกีฬาระดับเยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ รอบคัดเลือกภาค<span class="s1"> 5 </span>ครั้งที่<span class="s1"> 40 </span>ลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาระดับเยาวชนเพศชายและหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนตัวอย่าง<span class="s1"> 570 </span>คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ<span class="s1"> (Stratified Random Sampling) </span>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรฐานเกี่ยวกับการรับรู้บรรยากาศแรงจูงใจในนักกีฬา แบบมาตราส่วนประมาณค่า<span class="s1"> (Rating Scale) </span>มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ<span class="s1"> Cronbach's alpha coefficient </span>เท่ากับ<span class="s1"> 0.82 </span>วิเคราะห์ข้ลมูลเบื้องต้นด้วยสถิติจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบค่าที<span class="s1"> (t- test Independent) </span>กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<span class="s1"> 0.05 </span>ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้บรรยากาศแรงจูงใจในการเล่นกีฬาระหว่างเพศและประเภทการแข่งขันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในภาพรวมและด้านบรรยากาศจูงใจที่มุ่งเน้นความชำนาญ อย่างไรก็ตาม พบว่า ด้านบรรยากาศจูงใจที่มุ่งเน้นประสิทธิผลพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่ระดับ<span class="s1"> (p &lt; 0.05) </span>โดยเพศชายมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ<span class="s1"> (X = 3.17, X = 3.01, p = 0.021) </span>สรุปผลการวิจัยนักกีฬาชายให้ความสำคัญกับประสิทธิผลในการเล่นกีฬามากกว่านักกีฬาหญิงการออกแบบโปรแกรม<span class="s1"> </span>การฝึกซ้อมควรคำนึงถึงความแตกต่างด้านแรงจูงใจระหว่างเพศเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาให้ดียิ่งขึ้น<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span></p> ยุทธการ ขาววรรณา กุสุมา บัวใหญ่ ฐิติมา ผ่องผึ้ง ณัฐกุล แบ่งทิศ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2025-05-28 2025-05-28 4 3 188 199