วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network <p>วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย (Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand: SHIRT) เป็นวารสารทางวิชาการของ เครือข่ายสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา การออกกำลังกาย พลศึกษา สุขศึกษา นันทนาการ และการบูรณาการศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพสู่ชุมชนและท้องถิ่น <strong>บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน </strong>โดยมีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม) ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน) ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน) และ ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม)</p> <p><strong>ISSN : 2821-9511 (Online)</strong></p> th-TH <div> <p><em><span lang="TH">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</span></em></p> </div> <div> <p><em><span lang="TH">บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน</span></em><span lang="TH">วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย<em> ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก</em><em>วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น</em></span></p> </div> spsc_journal@sskru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.เตชภณ ทองเติม) k.intichit@sskru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐา อินธิชิต) Thu, 19 Dec 2024 11:07:49 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2194 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายได้จากการเลือกแบบเจาะจง จากอาสาสมัครที่พร้อมเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถาม เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกลุ่มภาคเหนือ และ 2) โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบวิลคอกซัน ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุภาพอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 42.00 คะแนน (S.D.=3.34) เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่า หลังการเข้าร่วมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการออกกำลังกาย (t=2.06, p-value=0.02) ด้านการสูบบุหรี่ (t=2.85, p-value =0.00) และด้านการป้องกันโรค (t=2.54, p-value =0.01) ด้านพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05<span class="Apple-converted-space"> </span></p> ยงยุทธ ตันสาลี, จิรัชญา มูลหงษ์, โชคชัย ปัญญาคำ, บุปผา ปลื้มสำราญ, สรายุธ สมบูรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2194 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 แรงจูงในการเล่นกีฬาโปโลน้ำของนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2253 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำของนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทยระหว่างเพศชายและหญิง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย ที่เข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 32 จำนวน 26 คน เป็นเพศชาย 13 คน และเพศหญิง 13 คน จากวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน) ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า แรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำของนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทยทั้งเพศชายและเพศหญิง มีแรงจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่าในเพศชาย มีแรงจูงใจ ด้านความรักความถนัดและความสนใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (4.56±0.40) และแรงจูงใจด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านรายได้และผลประโยชน์ (3.61±0.75) ส่วนแรงจูงใจในเพศหญิง พบว่ามีแรงจูงใจ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด (4.31±0.60) และแรงจูงใจด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านสุขภาพ (4.03±0.62) และจากการเปรียบเทียบผลของแรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำของนักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทย ระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยรวมพบว่า มีแรงจูงใจในการเล่นกีฬาโปโลน้ำ ไม่แตกต่างกัน (t=-0.63, p =0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักกีฬาโปโลน้ำทีมชาติไทยเพศชายและเพศหญิง มีแรงจูงใจในการเล่นกีฬา โปโลน้ำ แตกต่างกันในด้านรายได้และผลประโยชน์ (t=-2.29, p =0.03) โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจด้านรายได้และผลประโยชน์ ของเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย ส่วนแรงจูงใจด้านความรัก ความถนัดและความสนใจ (t=1.17, p =0.25) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง (t=-0.14, p =0.89) ด้านสุขภาพ (t=-0.42, p =0.67) และด้านเกียรติยศชื่อเสียง (t=-1.49, p =0.15) พบว่ามีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน</p> ปราณปรียา หินซุย, ศริณยา หงษ์บิน, อรนันท์ มาแผ้ว, อภิชาต ถาวรนา, ธเนษฐ์พงษ์ สุขวงศ์, ณัฐธิดา บังเมฆ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2253 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ ในยุคหลังของการแพร่ระบาดของโควิด 19 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2378 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษจำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-29 ปี รองลงมาคือ อายุระหว่าง 0-19 ปี และ อายุระหว่าง 40-49 ปี ด้านระดับของศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาจบการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย สายสามัญ/สายอาชีพ และจบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี ด้านสถานภาพ พบว่า ส่วนใหญ่มีสถานะโสด รองลงมาคือ สถานะสมรส และสถานะเป็นหม้าย ด้านการมีโรคประจำตัว พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ด้านการประกอบอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา รองลงมาคือรับราชการ กิจกรรมในการออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษมากที่สุด คือ การเดิน รองลงมาเป็นการวิ่ง และเล่นฟุตบอล ด้านสถานที่ในการออกกำลังกายคือ บ้าน/บริเวณที่พักอาศัย ช่วงเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายคือช่วงเวลา 15.00-17.59 น. เหตุผลในการออกกำลังกายคือต้องการให้ร่างกายแข็งแรง ส่วนข้อเสนอแนะหรือความต้องการ พบว่า อยากให้หน่วยงานภาครัฐ/เอกชนสร้างสวนสาธารณะเพิ่มขึ้น</p> กิติศักดิ์ ชัยนาม, อภิชัย ธรรมนิยม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2378 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศความปลอดภัยกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานโรงงานตัดแต่งชิ้นส่วนไก่แห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2496 <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศความปลอดภัยกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานโรงงานตัดแต่งชิ้นส่วนไก่แห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบรรยากาศความปลอดภัยของโรงงานตัดแต่งชิ้นส่วนไก่ 2) ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศความปลอดภัยกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานส่วนงานสันใน และพนักงานส่วนงานเลาะกระดูกไก่ จำนวน 58 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบง่าย กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.07 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 58.62 มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 43.10 ประสบการณ์การทำงานอยู่ระหว่าง 1 - 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 62.07 เคยได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 72.41 และส่วนใหญ่ไม่เคยประสบอันตรายจากการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 81.03 ระดับความคิดเห็นด้านบรรยากาศความปลอดภัยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก เช่นเดียวกับระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลยังพบว่าบรรยากาศความปลอดภัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การสร้างบรรยากาศความปลอดภัยที่เอื้ออำนวยในองค์กรนั้น มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงานมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น</p> ชลธิชา บุญประเทือง, พรนภา ดิษดำ, รินลนี รอดนิ่ม, ละออง อุปมัย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/2496 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700