https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/issue/feed วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2024-06-30T10:19:58+07:00 ผศ.ดร.วรกร วิชัยโย echjojack@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>Journal of Environmental and Community Health</strong><br /><strong>วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุ<wbr />ขภาพชุมชน</strong></p> <p><strong>Online ISSN: 6112-9248<br /></strong><strong>Print ISSN: 2672-9717<br /></strong></p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2677 การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้านโรคติดต่อและไม่ติดต่อในพื้นที่ ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 2024-05-28T22:35:34+07:00 จรรยา คุณภาที thongnak7123@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เพื่อประเมินผลรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้านโรคติดต่อและไม่ติดต่อเรื้อรัง ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 82 คน ทำการสุ่มเลือกรายชื่อของอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Random sampling) ดำเนินการทดลองโดยให้กลุ่มเป้าหมายได้รับกิจกรรมการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ จำนวน 4 กิจกรรม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าโดยใช้สถิติ Independent Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /> ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงร้อยละ 56.10 อายุเฉลี่ย 56.34 ปี (Min=37 ปี , Max=84 ปี , S.D.=9.21) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 80.50 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ37 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 75.60 รายได้เฉลี่ย7,148 บาท/เดือน(Min=1,200 บาท , Max=50,000 บาท , S.D.= 6,881.16) ระยะเวลาการเป็น อสม.เฉลี่ย 19.82 ปีโดยเป็น อสม. มากกว่า 30 ปี ร้อยละ 30.49 (Min=1ปี,Max=46 ปี,S.D.= 11.92) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดี (X=22.3,S.D=3.06) ระดับพฤติกรรมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (X=6.41,S.D.=5.05) ภายหลังการเข้าร่วมรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้านโรคติดต่อและไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรอบรู้สุขภาพดีกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมและคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมสุขภาพดีกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ(p-value&lt;0.05) ยกเว้นพฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2814 การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก ในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับโรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 2024-06-26T05:43:39+07:00 ฐาปริมนต์ วงศ์รัตนจิรากุล nattawut7788p@gmail.com <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ จำนวน 66ราย เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกตามระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด หลังผ่าตัดแบบติดตามอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังจำหน่าย และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสัมภาษณ์ การประชุมระดมสมองและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการศึกษา : รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นการปรับรูปแบบบริการทางวิสัญญี สามารถจัดตั้งคลินิกเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดโดยวิสัญญีแพทย์และพยาบาล และมีหอผู้ป่วยรองรับการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ สามารถผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ละ 2 รายเป็นสัปดาห์ละ 5 - 7 ราย ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีลดลงเหลือร้อยละ 6.06 เพิ่มระบบติดตามผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังจำหน่ายกลับบ้าน และความพึงพอใจในการรับบริการทางวิสัญญี อยู่ในระดับดีมาก</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2674 ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายต่อความรู้ ความวิตกกังวลและการเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 2024-05-28T15:49:59+07:00 ชยุต ทองวงศา phicychu88@gmail.com <p> การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ต่อความรู้ ความวิตกกังวลและการเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องและได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวานรนิวาส ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามความรู้ และแบบบันทึกอุบัติการณ์เลื่อนผ่าตัดจากผู้ป่วยไม่พร้อม เครื่องมือในการทดลองคือโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 56.67 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.33 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 73.33 จบระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 40.00 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 36.67 รายได้ครอบครัวต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 46.67 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 60.00 ไม่เคยมีประวัติได้รับยาระงับความรู้สึกมาก่อน ร้อยละ 70.0 ASA class ระดับ 2 ร้อยละ 70.0 มีดัชนีมวลกาย 25.0-29.9 kg/m<sup>2</sup> ร้อยละ 36.67 ไม่เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 76.67 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นบางครั้ง ร้อยละ 76.67 หลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย พบว่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=13.148, p&lt;0.001) คะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-10.966, p&lt;0.001) และไม่พบอุบัติการณ์เลื่อนผ่าตัด</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2675 การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ในโรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม 2024-05-28T22:33:26+07:00 ศิรินาฎ เนืองนอง tanathip1983@gmail.com วรรณ์นิภา แสนสุภา tanathip1983@gmail.com พจนาท ยางธิสาร tanathip1983@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ที่เข้ารับบริการในระบบการดูแล จำนวน 46 คน โดยมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างโดยสถิติเชิงพรรณนา หาความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบบันทึกการปฏิบัติตามกระบวนการ และการเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนาระบบโดยใช้สถิติ Pair T-test<br /> ผลการศึกษา : พบว่า 1) ความรู้ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน หลังการพัฒนาระบบมีค่าคะแนนความรู้ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน พบว่า หลังการพัฒนาระบบมีค่าคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับยา วาร์ฟารินสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินหลังการพัฒนาระบบมีค่าคะแนนความรู้ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) การเปรียบเทียบดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ค่า INR ของผู้ป่วย ที่ได้รับยาวาร์ฟาริน พบว่า หลังการพัฒนาระบบมีค่า INR ของผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินเพิ่มขึ้นและค่าเฉลี่ยการผ่านเกณฑ์ % TIR ดีกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2713 การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องทางด่วนจากหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินสู่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสกลนคร 2024-06-17T05:29:11+07:00 นิจวรรณ หนองขุ่นสาร sereesaetan@gmail.com วิชชุดา กิตติวราฤทธิ์ sereesaetan@gmail.com <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องทางด่วนจากหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินสู่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินการปฏิบัติตามระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องทางด่วน แบบบันทึกข้อมูลผลลัพธ์ด้านคุณภาพบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา<br /> ผลการวิจัย พบว่า ระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องทางด่วนมีประสิทธิภาพ โดยความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับมาก (Mean=4.27, SD=40) ด้านการปฏิบัติตามบริการพยาบาลผ่าตัดเร่งด่วนของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 100) ด้านผลลัพธ์ด้านคุณภาพบริการ ช่วยลดระยะเวลารอคอยผ่าตัดเฉลี่ย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จำนวนวันนอนเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง และผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดภายใน 30 นาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2678 รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุในคลินิกชีวาภิบาล เขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2024-05-28T22:38:46+07:00 อภิรักษ์ วัฒนวิกกิจ thongnak7123@gmail.com <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในคลินิกชีวาภิบาล เขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน Wilcoxon Matched Paired Signed Rank Test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแลกเปลี่ยนวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ประเด็น ตามลำดับชั้นของข้อมูล<br /> ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.0 มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 52.0 การเปรียบเทียบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแล พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ผู้ดูแลผู้สูงอายุในคลินิกชีวาภิบาล มีพฤติกรรมสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแล ในระดับปานกลาง แต่หลังเข้าร่ววมกิจกรรม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแล อยู่ในระดับดี การประเมินกิจวัตรประจำวันผู้ผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมิน ADL พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนน ADL เฉลี่ยเพิ่มขึ้น และการวิเคราะห์ข้อมูลผลต่างของการประเมินกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผลการประเมินประเมินกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุ มีค่ามัธยฐานของผลต่าง 0 ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ช่วงเชื่อมั่น 95% CI ของค่ามัธยฐานของผลต่าง -1 ถึง 0</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2683 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแท้งคุกคามในหญิงตั้งครรภ์และผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ 2024-05-27T21:16:46+07:00 กนกวรรณ ยลถวิล phicychu88@gmail.com <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแท้งคุกคาม และผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม การศึกษารูปแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 759 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน Simple logistic regression<br /> ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคามมีอายุเฉลี่ยอายุ 28.71 ปี (SD. = 6.39) พบในครรภ์ที่ 2 (ร้อยละ 38.6) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 83.79) ไม่สูบบุหรี่ (ร้อยละ 99.08) และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 99.08) ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ พบว่า ทารกเกิดมีชีพ (ร้อยละ 82.08) และแท้งสมบูรณ์ (ร้อยละ 17.92) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแท้งคุกคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ช่วงอายุ 20 – 35 ปี มีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามในหญิงตั้งครรภ์เป็น 0.67 เท่า เมื่อเทียบกับอายุต่ำกว่า 19 ปี (95%CI = 0.29 -1.48) และอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามในหญิงตั้งครรภ์เป็น 1.56 เท่า เมื่อเทียบกับอายุต่ำกว่า 19 ปี (95%CI = 0.63 -3.86) และการไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามในหญิงตั้งครรภ์เป็น 0.30 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ออกกำลังกายนาน ๆ ครั้ง (95%CI = 0.20 - 0.45)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2684 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการคุมกำเนิดต่อความรู้และความตั้งใจในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด 2024-05-27T21:18:41+07:00 รำไพ จันทวงษ์ phicychu88@gmail.com นัยนา ราชบุตร phicychu88@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (one-group pre-test post-test design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการคุมกำเนิดต่อความรู้และความตั้งใจในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย กลุ่มตัวอย่างมารดาวัยรุ่นหลังคลอดอายุ 12-19 ปี ที่มาพักรักษาในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างเดือนธันวาคม 2566-กุมภาพันธ์ 2567 จํานวน 27 คน คัดเลือกแบบเจาะจงมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด แบบสอบถามความรู้การคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด แบบสอบถามทัศนคติ และแบบสอบถามความตั้งใจในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบ ผลของโปรแกรมส่งเสริมการคุมกำเนิดต่อความรู้และความตั้งใจ ในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ก่อนทดลองและหลังทดลอง พบว่า คะแนนความรู้ในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก คะแนนทัศคติ และคะแนนความตั้งใจในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2685 กระบวนการดูแลผู้ใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวาง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2024-05-27T21:20:25+07:00 พนม ขันธบูรณ์ phicychu88@gmail.com <p> งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหายาเสพติด, ความพร้อม และกระบวนการดูแลผู้ใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวาง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม 2567 ถึง มิถุนายน 2567 รวม 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ ชุดปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดตำบลและหมู่บ้าน จำนวน 82 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และ Dependent t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการดูแลผู้ใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย การวิเคราะห์ชุมชน, การจัดโครงสร้างและกำหนดบทบาท, การวางแผน, การดำเนินการ, การติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน ทำให้ชุดปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดตำบลและหมู่บ้านมีความพร้อมในการดูแลผู้ใช้สารเสพติดหลังดำเนินการโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยที่หลังดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยแตกต่างจากก่อนดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในด้านการเตรียมพื้นที่, การค้นหา, การคัดกรอง, การบำบัดฟื้นฟูสภาพ, การลดอันตรายจากยาเสพติด และการติดตามดูแลช่วยเหลือทางสังคม</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2686 ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการคัดกรองผู้ป่วยตามความเร่งด่วนสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 2024-05-27T22:28:27+07:00 รัตติยา แสดคง phicychu88@gmail.com <p> การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการคัดกรองผู้ป่วยตามความเร่งด่วนสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1 ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการตรวจโรคทั่วไปแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลวานรนิวาสระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ แบบสอบถามการปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยตามความเร่งด่วน แบบบันทึกความถูกต้องในการคัดกรองผู้ป่วย และแบบบันทึกจำนวนผู้ป่วยมีอาการทรุดขณะรอตรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ nonparametric Wilcoxon signed rank test<br /> ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอกทั้งหมดเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100.00 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 58.83 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 47.06 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 100.00 รับราชการ ร้อยละ 82.35 ระยะเวลาปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอกมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 41.18 การเปรียบเทียบผลลัพธ์พบว่าหลังได้รับโปแกรมการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Z=-3.097, p=0.002; Z=-3.558, p&lt;0.001) และก่อนได้รับโปรแกรมพยาบาลวิชาชีพคัดกรองผู้ป่วยถูกต้องร้อยละ 92.83 และคัดกรองผู้ป่วยไม่ถูกต้อง ร้อยละ 7.17 หลังได้รับโปแกรมพบว่ามีการคัดกรองผู้ป่วยถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96.04 และมีคัดกรองผู้ป่วยไม่ถูกต้องลดลงเป็นร้อยละ 3.96 นอกจากนี้ยังพบว่าก่อนดำเนินโปรแกรมการฝึกอบรมพบผู้ป่วยมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจร้อยละ 0.82 และหลังดำเนินโปรแกรมพบผู้ป่วยมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจลดลงเป็นร้อยละ 0.41</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2676 ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของนักเรียน ชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านหนองพอกน้อย ตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร 2024-05-28T20:49:43+07:00 ภัคจิรา เหลาพรม echjojack@gmail.com <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) แบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest–Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านหนองพอกน้อย ตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 ที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์กำหนด ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 46 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนหลังด้วยสถิติ Paired Sample T-Test<br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 6 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.13 อายุเฉลี่ย 5.15 ปี เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 58.70 และกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 คิดเป็นร้อยละ 39.13 หลังการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก พบว่า นักเรียนชั้นอนุบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกวิธี 7 ขั้นตอน ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน เพิ่มมากกว่าก่อนการใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ &lt; 0.05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก มีผลในการเพิ่มความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการล้างมือในเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2717 ผลของโปรแกรมการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์โดยแนวคิดลีนต่อประสิทธิภาพการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลหนองคาย 2024-06-12T21:34:36+07:00 อิฏฐิวรรณ พิมพศักดิ์ tanathip1983@gmail.com นงนุช ลานอุ่น tanathip1983@gmail.com <p> การวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์โดยแนวคิดลีนต่อประสิทธิภาพการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)เปรียบเทียบผลของการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์งานจ่ายกลาง ด้านความถูกต้อง มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน และทันเวลา ระหว่างรูปแบบเดิมและรูปแบบ Lean Concepts 2) เปรียบเทียบผลการปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์งานจ่ายกลางระหว่างรูปแบบเดิมและรูปแบบ Lean Concepts และ 3) ความพึงพอใจของบุคลากรต่อการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์รูปแบบ Lean Concepts เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) ชนิดสองกลุ่มเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองกลุ่มละ 77 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แนวทางปฏิบัติการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์รูปแบบเดิม และ 2)แนวทางปฏิบัติการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์แบบ Lean Concepts สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test Independent และ Chi-square<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปนเปื้อนของบุคลากรงานจ่ายกลาง ตอบว่า ถูกต้อง สูงสุด คือ มีการขนย้ายอุปกรณ์ที่ใช้แล้วด้วยความระมัดระวัง การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปราศจากเชื้อของบุคลากรงานจ่ายกลาง มีผู้ตอบถูกคือ การวางอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในตำแหน่งที่ตกลงกับทางหน่วยงาน การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปนเปื้อนของบุคลากรงานจ่ายกลาง ตอบว่า ถูกต้อง ตอบว่า พร้อมใช้ คิดเป็นร้อยละสูงสุด คือ มีการขนย้ายอุปกรณ์ที่ใช้แล้วด้วยความระมัดระวัง การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปราศจากเชื้อของบุคลากรงานจ่ายกลาง มีผู้ที่ตอบสูงสุด คือ การวางอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในตำแหน่งที่ตกลงกับทางหน่วยงาน การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปนเปื้อนของบุคลากรงานจ่ายกลาง ตอบว่า ถูกต้อง ทันเวลา คิดเป็นร้อยละสูงสุด คือ มีการขนย้ายอุปกรณ์ที่ใช้แล้วด้วยความระมัดระวัง การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปราศจากเชื้อของบุคลากรงานจ่ายกลาง คือ การวางอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในตำแหน่งที่ตกลงกับทางหน่วยงาน 3) ความพึงพอใจของกลุ่มควบคุม โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.82 เมื่อแยกวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ความพึงพอใจสูงสุด คือ เวลาในการรับส่ง</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2641 พัฒนารูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉินในช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยานอุดรธานี 2024-05-26T05:06:12+07:00 ปรีชา เศษสมบูรณ์ preecha.ses@gmail.com <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเสี่ยงโรค และภัยสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในช่องทางเข้าออกประเทศท่าอากาศยานอุดรธานี 2) พัฒนารูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉินในช่องทาง 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่บุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกัน ควบคุมโรคในท่าอากาศยานอุดรธานี โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างร่วมกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยง และพัฒนาแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จำนวน 14 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมกระบวนการประเมินความเหมาะสมของแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเสี่ยงตามแนวทาง Risk Assessment เอกสารการจัดทำแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน แบบสอบถามเชิงโครงสร้างเพื่อประเมินผลการซ้อมแผน และแบบสอบถามความเหมาะสมของแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าฐานนิยม (Mode)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>ผลจากการประเมินความเสี่ยง โรคและภัยสุขภาพที่มีความเสี่ยงในระดับสูง ได้แก่ 1) โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2) ภัยจากคุณภาพอากาศภายในอาคาร 3) ภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก และโรคและภัยสุขภาพที่มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง ได้แก่ 1) โรคไข้เหลือง 2) วัณโรค 3) การรั่วไหลของสารโคบอลต์จากเครื่องตรวจสัมภาระผู้โดยสาร 4) ไฟไหม้อาคารผู้โดยสาร 5) เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์</li> <li>แผนเฉพาะโรคและภัยสุขภาพ กรณีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มีองค์ประกอบของแผน คือ 1) ที่มา และความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขอบเขตของแผน 4) ความรับผิดชอบ (หน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุน) 5) นิยาม / คำจำกัดความ 6) ข้อสันนิษฐาน 7) กรอบการปฏิบัติงาน (โครงสร้างการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างภารกิจ ภารกิจที่สำคัญก่อนเกิดเหตุการณ์ ระหว่างเกิดเหตุการณ์ และหลังเกิดเหตุการณ์) 8) การติดต่อสื่อสาร</li> <li>การประเมินความเหมาสมของแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โดยผลการประเมินพบว่า ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับสูง</li> </ol> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2643 รูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในสถานบริการสาธารณสุข ที่โอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2024-05-26T05:10:41+07:00 วรวุฒิ จันทิ worawutchanti@gmail.com <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10.2 จังหวัดมุกดาหาร ในพื้นที่ 3 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในสถานบริการสาธารณสุขที่โอนภารกิจไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ติดตามประเมินผลการใช้รูปแบบการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในสถานบริการสาธารณสุขที่โอนภารกิจไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่โอนภารกิจไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง แบบสอบถามการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง และแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าฐานนิยม (Mode)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>ข้อมูลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงหลังโอนย้ายภารกิจพบว่าในภาพรวมการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความพึงพอใจในการดำเนินงาน อยู่ในระดับปานกลาง</li> <li>รูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขอบเขตของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) องค์ประกอบด้านนโยบาย และยุทธศาสตร์ 4) องค์ประกอบด้านกระบวนการ และแนวทางการดำเนินงาน 5) องค์ประกอบด้านกลไกการติดต่อประสานงาน 6) องค์ประกอบด้านการติดตามประเมินผล</li> <li>ผลการทดสอบความเหมาะสมของรูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงพบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมกับการดำเนินงาน ด้านความมีประโยชน์ ด้านความถูกต้อง และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับสูง ตามลำดับ</li> </ol> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2758 การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอสไอวี/เอดส์ ร่วมโรควัณโรคเยื่อหุ้มปอด 2024-06-24T03:33:52+07:00 กุลจิรา ยืนยงค์ nattawut7788p@gmail.com <p> การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอสไอวี/เอดส์ ร่วมโรควัณโรคเยื่อหุ้มปอด มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ร่วมโรควัณโรคเยื่อหุ้มปอดโดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ร่วมโรคผู้ป่วยเอดส์ร่วมโรควัณโรคเยื่อหุ้มปอด ศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย<br /> ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วย(ประวัติติดเชื้อเอชไอวีมาและเคยรักษาวัณโรคปอดมาก่อนป่วยเป็นวัณโรคเยื่อหุ้มปอดรับการรักษา เริ่มยาต้านไวรัสตั้งแต่รักษาวัณโรคปอดปี พ.ศ 2560 แต่ผู้ป่วยมารับการรักษาไม่ต่อเนื่องขาดยาต้านไวรัส 2 ปี) มาโรงพยาบาลด้วยอาการ หายใจเหนื่อย มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอกขวาเวลาหายใจเข้าแพทย์ทาการตรวจรักษาและวินิจฉัยโรคให้ยารักษาและนัดติดตามอาการจนอาการคงที่ จึงขอไปรับการรักษาตามสิทธิประกันสุขภาพ ได้การประสานงานกับโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิประกันสุขภาพ และส่งตัวไปเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยมาด้วยอาการ ง่าย มีไข้ อ่อนเพลียหายใจเหนื่อย เวลาหายใจเข้าเจ็บหน้าอกและชายโครง ผู้ป่วยทราบผลเลือดเอชไอวี Positive หลังจากตรวจพบว่าเป็นวัณโรคเยื่อหุ้มปอด แพทย์ทาการตรวจรักษาและวินิจฉัยโรคให้ยารักษาและนัดติดตามอาการ ต่อมาผู้ป่วยพบว่าเป็น Ovarian tumor ทาการส่งต่อรักษาสถาบันมะเร็งต่อไป</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2682 การพยาบาลมารดาคลอดก่อนกำหนดและมีภาวะช็อคจากการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก: กรณีศึกษา 2024-05-28T21:02:12+07:00 ภีมวัชร์ จันทร์ช่างทอง tanathip1983@gmail.com <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการคลอดก่อนกำหนดและการดำเนินของภาวะตกเลือดหลังคลอด ผลกระทบต่อมารดาทารกการรักษาพยาบาลในรายกรณีและนําผลการศึกษามาใช้เป็นองค์ความรู้ในการดูแลรักษาพยาบาลมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ผลการศึกษากรณีตัวอย่าง 1 รายโดยศึกษาที่งานห้องคลอด โรงพยาบาลคอนสาร ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดมารดาตั้งครรภ์ครั้งแรก(G1P0A0L0)อายุ16 ปีประจําเดือนครั้งสุดท้าย จําไม้ได้ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2565 ไม่ได้รับการฝากครรภ์ ไม่ระบุตัวสามีจากผล ultrasoundอายุครรภ์ประมาณ 32 สัปดาห์ ผลการตรวจเลือด Hct: 27.5 % VDRL: Non-reactive, HbsAg: Negative, HIV: Negative, Blood group: AB มาดวยอาการเจ็บครรภ์คลอดมีเลือดออกทางช่องคลอดจำนวนมากก่อนมาโรงพยาบาล4ชั่วโมง สัญญาณชีพแรกรับอุณหภูมิ 37.2 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของชีพจร 100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 90/60 มิลลิเมตรปรอท ร้องเจ็บครรภ์ท่าทางกังวล ให้ 0.9 % NSS 1000 ml. Free Flow 500 ml. ตรวจภายในพบปากมดลูกเปิด 9 cm effacement 100% ย้ายเข้าทำคลอด คลอด NL,2 degree tear ทารกเพศชาย นน.1,235 กรัม Active ดี Apgar score ที่ 1,5 นาที=9,10 หลังรกคลอดมีเลือดออกจากช่องคลอดลักษณะ active bleeding รกคลอดครบได้รับการรักษา Oxytocin 20 unit ใน 5% D/NSS 1000 ml.หยดเข้าเส้นเลือดดํา 100 มิลิลิตร/ชั่วโมง, Methergin 1 amp. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ คลึงมดลูกตลอดเวลา เลือดหยุดภายใน 3 นาที ประมาณการการสูญเสียเลือด 600 มิลลิลิตร สัญญาณชีพวัดอุณหภูมิได้ 37.2 องศาเซลเซียส อัตราการเต้น ของชีพจร 100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 90/50 มิลลิเมตรปรอท แพทย์ให้ RLS 1000 ml. Free Flow 500 ml. และ ให้ PRC 2 unit แพทย์พิจารณาส่งต่อเพื่อพบสูติแพทย์โรงพยาบาลชัยภูมิพร้อมทารกที่มีปัญหาคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2680 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการคุณภาพโดยรวมของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวัง 2024-05-28T21:10:10+07:00 ภาสิริ ริยะกุล thongnak7123@gmail.com ชลธิชา แก้วอนุชิต thongnak7123@gmail.com ศุภกฤต โสภิกุล thongnak7123@gmail.com กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน thongnak7123@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการคุณภาพโดยรวมของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวัง กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวัง จำนวน 293 คน โดยใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม เมื่อปีพ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการคุณภาพโดยรวมของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวังอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 57.0 รองลงมาคือระดับมาก คิดเป็น ร้อยละ 34.1 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการคุณภาพโดยรวมของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา (𝑥<sup>2</sup>=51.335) ตำแหน่งงาน (𝑥<sup>2</sup>=25.516) การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพโดยรวม (𝑥<sup>2</sup>=82.754) แผนก/ฝ่ายที่สังกัด (𝑥<sup>2</sup>=31.827) อายุ (r=0.301) ระยะเวลาการทำงาน (r=0.438) รายได้ต่อเดือน (r=0.320) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (r=0.232) และวัฒนธรรมองค์การ (r=0.648) โดย p-value &lt; 0.001</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2328 การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกฝ่าเท้าหักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด : กรณีศึกษา 2024-04-26T11:44:09+07:00 ปิยวรรณ วัดพ่วงแก้ว piyawan.wad@gmail.com <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกฝ่าเท้าหักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 55 ปี แพทย์วินิจฉัยโรค Closed fracture of the left fifth Metatarsal bone มีโรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ได้รับการผ่าตัด Open Reduction and Internal Fixation (ORIF) with tension band wiring (TBW) ที่เท้าข้างซ้ายภายใต้การระงับความรู้สึกโดย การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง (Spinal block)<br /> ผลการศึกษา : ผ่าตัดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 แผลผ่าตัดที่เท้าซ้ายไม่ซึม อาการทั่วไปและสัญญาณชีพคงที่ ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูร่างกาย ฝึกเดินโดยใช้ walker ใช้เท้าซ้ายแตะพื้นลงน้ำหนักได้เต็มที่ตามที่ผู้ป่วยทนได้ (weight bearing as tolerate) โดยใส่รองเท้าเฝือกลม (Walking Boot) แผลผ่าตัดแห้งดี แพทย์จำหน่ายให้กลับบ้านได้ ไม่ต้องทำแผลยกเว้นกรณีแผลซึม และนัดมาตรวจตามนัด 2 สัปดาห์ ปัญหาและให้การพยาบาลสำคัญ ๆ คือ ผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด, ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด, เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดอุดตันที่ขา, มีโอกาสเกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด, มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อลีบและข้อติด, ขาดความรู้และทักษะในการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการผ่าตัด, มีโอกาสเกิดพลัดตกหกล้ม และผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติก่อนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน รวมเวลานอน โรงพยาบาลทั้งหมด 3 วัน </p> <p> </p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2681 คุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร 2024-05-28T21:14:15+07:00 สุลัดดา สุวรรณวิเศษ thongnak7123@gmail.com ชลธิชา แก้วอนุชิต thongnak7123@gmail.com ศุภกฤต โสภิกุล thongnak7123@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 267 คนสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 – 30 พฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.40 นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร สำหรับตัวแปรด้านการรับรู้การบริการของผู้รับบริการ (r=0.29) และตัวแปรการบริหารจัดการองค์กรต่อระบบบริการ (r=0.61) พบว่า มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2663 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันก่อนการส่งต่อช่องทางด่วน : กรณีศึกษา 2024-06-02T06:36:57+07:00 ฐิติพร ชนมนัส tiponnu7@gmail.com <p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลการเจ็บป่วย ปัจจัยเสี่ยง พยาธิสภาพอาการและอาการแสดง การรักษา การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตันเฉียบพลัน แบบกรณีศึกษา 2 ราย ตั้งแต่ระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-hospital) ระยะรักษาในโรงพยาบาล (In-hospital) และภายหลังจำหน่ายโดยการส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่าย(โรงพยาบาลหลังสวน) (Post-hospital) ผู้ศึกษาเลือกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตันเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลทุ่งตะโก และจำหน่ายโดยการส่งต่อทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Fast Track) โรงพยาบาลหลังสวน ระหว่างวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 2 ราย<br /> ผลการศึกษา การศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตันเฉียบพลัน แบบกรณีศึกษา จำนวน 2 ราย พบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดที่เหมือนกันคือ เพศ และอายุ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกัน รายที่ 1 มีภาวะอ้วนระดับที่ 2 ในรายที่ 2 เป็นโรคความดันโลหิตสูง นาน 26 ปี มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา พยาธิสภาพอาการและอาการแสดง รวมทั้งการรักษา ทั้ง 2 ราย มีความคล้ายคลึงกัน แต่กรณีศึกษารายที่ 2 ได้รับยา Nicardipine ทางหลอดเลือดดำ ก่อนและระหว่างส่งต่อ Stroke fast track เนื่องจากระดับความดันโลหิตสูงตอนแรกรับ สำหรับ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการรักษา ระยะก่อนถึงโรงพยาบาล มีความแตกต่างกัน กรณีศึกษารายที่ 1 มีการรับรู้อาการและมีวิธีการจัดการเมื่อสงสัยโรคหลอดเลือดสมองล่าช้า ทำให้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จนถึงผู้เห็นเหตุการณ์นำส่งโรงพยาบาล เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง ส่วนรายที่ 2 มีการรับรู้อาการสำคัญทางคลินิกและการจัดการอาการของโรคหลอดเลือดสมอง โดยการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทำให้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จนถึงนำส่งโรงพยาบาล มีระยะเวลา 30 นาที และผู้ป่วยได้รับการรักษาเบื้องต้น โดยตั้งแต่จุดเกิดเหตุ ระหว่างนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลมีความขัดข้องด้านเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อการเตรียมความพร้อมในการรับผู้ป่วยไม่มีความต่อเนื่อง ระยะในโรงพยาบาล มีการรักษาพยาบาลที่เหมือนกัน ตาม Stroke fast track protocol ต่างกันที่รายที่ 1 เสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองแตกเนื่องจากมีภาวะความดันโลหิตสูงตอนแรกรับ จึงได้รับยาลดระดับความดันโลหิตตามแผนการรักษา และระหว่างส่งต่อช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลหลังสวน ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการพยาบาลตาม Stroke fast track protocol อย่างต่อเนื่อง และระยะการติดตามการผลการรักษา ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับ CT Brain และได้รับยา recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) ทันเวลา ภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยา</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2667 ลักษณะของผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นวัณโรคปอดในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี 2024-06-02T06:31:54+07:00 ยุวลี ฉายวงศ์ wiyadap@bcnu.ac.th วิยะดา เปาวนา wiyadap@bcnu.ac.th จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ์ wiyadap@bcnu.ac.th ประภัสสร ศรีแสงจันทร์ wiyadap@bcnu.ac.th <p> การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังรายกรณี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ภายหลังได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอดรายใหม่ จากการทบทวนเวชระเบียนจากระบบฐานข้อมูล ระหว่างปีพ.ศ. 2561-2565 จำนวน 20 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา<br /> ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 90 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีประวัติสูบบุหรี่และดื่มสุราและจบประถมศึกษา ร้อยละ 55 ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 60 รองลงมาเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 15 2) ปัจจัยด้านเชื้อก่อโรคและมะเร็ง ผลตรวจเสมหะเป็นบวกร้อยละ 65 ผลตรวจเอกซเรย์ปอดผิดปกติร้อยละ 95 โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นมะเร็งลิ้น รองลงมาเป็นมะเร็งช่องปาก ร้อยละ 40 และ 15 ตามลำดับ มะเร็งลุกลามไปที่ปอดพบมากที่สุดร้อยละ 35 และเป็นมะเร็งระยะที่ 4 ร้อยละ 65 การรักษาทั้งเคมีบำบัดและรังสีรักษาร้อยละ 55 3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 45 จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 4 คน ร้อยละ 35 ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมบ้าน ร้อยละ 10 มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โสต ศอ นาสิก ร้อยละ 100</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2671 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคตาแห้ง สถาบันราชประชาสมาสัย 2024-06-02T06:25:56+07:00 ศิริรัตน์ ภูโอบ sirirat475@gmail.com อำนาจ โกสิงห์ sirirat475@gmail.com <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคตาแห้งสถาบันราชประชาสมาสัย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้ป่วยที่วินิจฉัยเป็นโรคตาแห้ง 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม แบบคัดลอกข้อมูลเป็นเครื่องมือวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคตาแห้ง สถาบันราชประชาสมาสัย ประกอบด้วย DRY EYE RPSI คือ D: Dry eye assessment plus ซักประวัติ ประเมิน วินิจฉัยทางการพยาบาลอาการตาแห้ง, R : Record and interpretations บันทึกทางการพยาบาล , Y : Yourself of care นวัตกรรมการดูแลตัวเองต่อเนื่องที่บ้าน, EY : Eyelid massage &amp; eye compress สปาเปลือกตา, E : Evaluate the eye surface index ประเมินผลระดับค่าตาแห้ง RPSI : Raj Pracha Samasai Institute รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคตาแห้งที่สามารถใช้ได้จริงตามบริบทของสถาบันราชประชาสมาสัย (2) จักษุแพทย์ พยาบาลวิชาชีพให้การยอมรับรวมต่อรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นระดับมากที่สุด (3) ผู้ป่วยโรคตาแห้งมีความ พึงพอใจต่อรูปแบบระดับมากที่สุด (4) ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่เกิดจากรูปแบบฯ พบว่า ค่าปริมาณน้ำตาผู้ป่วยโรค ตาแห้งอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ100.00 ไม่เกิดอุบัติการณ์กระจกตาเป็นแผล</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2711 ผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบตึกอายุรกรรม (ราชาวดี) โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 2024-06-17T05:30:49+07:00 วารุณีย์ อุดม nattawut7788p@gmail.com <p> การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง The One Group Pretest Posttest Design เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบตึกอายุรกรรม (ราชาวดี) โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบ จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่าค่าความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ (Content Validity Index for Scale, S-CVI) เท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.95 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 17 มกราคม 2567 ถึง 17 เมษายน 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired T-Test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br /> ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังเข้าร่วมการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุเป็นโรคปอดอักเสบตึกอายุรกรรม (ราชาวดี) โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = 7.86, 95% CI: 7.08-8.64, p-value&lt;0.001) และพบว่าระดับความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบตึกอายุรกรรม (ราชาวดี) โรงพยาบาลวานรนิวาส ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 (S.D.=0.62)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2698 ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ชุมชนนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี 2024-06-09T03:41:28+07:00 อรอนงค์ นิลพัฒน์ onil2517@bcnu.ac.th <p> การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-4 ของชุมชนนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-4 ที่ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 49 ราย เก็บข้อมูลรวบรวมระหว่าง สิงหาคม-กันยายน 2565 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ 6 ด้าน และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 4 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่ากลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 64.9) โดยคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านทักษะการตัดสินใจในการป้องกันและควบคุมโรค มีคะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด (mean = 4.78, S.D. = .57) ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดคือการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ มีคะแนนอยู่ในระดับมาก (mean = 3.50, S.D. = 1.66) สำหรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.22, S.D. = 1.10) โดยพฤติกรรมด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือการออกกำลังกายมีคะแนนอยู่ในระดับมาก (mean = 4.32, S.D. = 1.09) ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากคือการจัดการดูแลตนเอง (mean = 4.05, S.D. = 1.10)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2714 ผลของการใช้โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่ไอโอดีน - 131 ปริมาณสูง ในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี 2024-06-17T05:25:17+07:00 ประภานันท์ กิติราช mapreawkana@gmail.com ชลการ ทรงศรี mapreawkana@gmail.com ภรณ์ทิพย์ อนันตกุล mapreawkana@gmail.com ยุพิณ คำกรุ mapreawkana@gmail.com กาญจนา หล้าบา mapreawkana@gmail.com <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่ไอโอดีน - 131 ปริมาณสูง ในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่ไอโอดีน - 131 ปริมาณสูง กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 30 คน คือ ผู้ที่มารับบริการระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2567 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษา สี่เสาสร้างสุขภาพ 2) แบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ฉบับภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างได้ทำกิจกรรมสี่เสาสร้างสุขภาพและได้รับการติดตามทางโทรศัพท์ทุกวันศุกร์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เพื่อกำกับติดตามการทำกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบด้วยการทดสอบค่าที่<br /> ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 93.30 สถานภาพสมรส ร้อยละ 73.33 มีอายุเฉลี่ย 35.17 ส่วนใหญ่ทำอาชีพการเกษตร ร้อยละ 40.00 ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 76.67 คุณภาพชีวิตโดยรวมก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรม เสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ พบว่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 7.05, S.D. = 1.02) โดยที่คุณภาพชีวิตด้านร่างกายอยู่ในระดับสูง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 8.05, S.D. = 1.61) คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ สังคมและด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 6.57, S.D. = 1.50) (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=7.23, S.D. = 1.70) (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=6.03, S.D. = 1.69) ตามลำดับ หลังการดำเนินเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้าง สุขภาพ พบว่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมยังอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 7.21, S.D. = 0.93) โดยที่คุณภาพชีวิตด้านร่างกายยังคงอยู่ในระดับสูง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 8.29, S.D. = 1.28) คุณภาพชีวิตด้าน จิตใจ สังคมและด้านจิตวิญญาณยังคงอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 6.81, S.D. = 1.26) (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=7.59, S.D. = 1.52) (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=6.14, S.D. = 1.50) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพ ชีวิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการเข้าร่วมให้โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ พบว่าค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิต โดยรวมไม่แตกต่างกัน มีเพียงอย่างไรก็ตามคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.02)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2723 ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ต่อมลูกหมากโต งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองคาย 2024-06-09T22:24:27+07:00 พยอม เกียงแก้ว nattawut7788p@gmail.com ลิกิจ โหราฤทธิ์ nattawut7788p@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (one-group pre-test post-test design) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวล ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อมลูกหมาก และความพึงพอใจหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อมลูกหมาก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต จำนวน 30 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 - เมษายน 2567 คัดเลือกอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินความพึงพอใจ และโปรแกรมการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อมลูกหมาก วิเคราะห์ด้วยข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ test dependent และ test for dependent Samples<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต ของผู้ป่วยก่อนการทดลอง พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, 2) ผลการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต พบว่า ก่อนการทดลอง คะแนนค่าเฉลี่ยหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต พบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ รู้สึกมั่นใจในการเตรียมความพร้อมได้ถูกต้อง รองลงมาคือ หลังได้รับความรู้แล้วท่านรู้สึกวิตกกังวล หลังการทดลอง ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต พบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ สื่อการสอนเหมาะสม รองลงมา คือ ระยะเวลา สถานที่เหมาะสม และเป็นกิจกรรมที่ดีควรจัดอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนต่ำสุด คือ หลังได้รับความรู้แล้วท่านรู้สึกวิตกกังวล</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2737 การพัฒนารูปแบบปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน 2024-06-17T18:46:11+07:00 นิพนธ์ กุลนิตย์ nattawut7788p@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) คือ เด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน โดยเข้าเกณฑ์ ท้วม เริ่มอ้วน อ้วน ตามกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเด็กอายุ 6-19 ปี จำนวน 32 คน ดำเนินกิจกรรมระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566 โดยใช้แบบสังเกตการณ์มีส่วนร่วม แบบสอบถาม ประกอบด้วย การประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว การรับรู้ความสามารถของตนเองของในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด สถิติ Paired t-test<br /> ผลการศึกษาทำให้ได้รูปแบบปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน ผลการดำเนินกิจกรรมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 32 คน พบว่า หลังได้รับกิจกรรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน ด้านโภชนาการ ด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน ด้านการจัดการความเครียด สูงกว่าก่อนได้รับกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value &lt;0.05 นักเรียนที่เข้าเกณฑ์ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน มีจำนวนลดลง จาก 32 คน เป็น 22 คน (ลดลง 31.2%) </p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2738 การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี 2024-06-17T18:49:06+07:00 นิพนธ์ กุลนิตย์ eakaphak2244@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) คือ ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 113 คน และ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนการเกินในเด็กเล็ก ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินในเด็กของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน พฤติกรรมการบริโภคของเด็ก และพฤติกรรมการออกกำลังกายของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ด้วยสถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P-value &lt;0.05<br /> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนการเกินในเด็ก ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินในเด็กของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน พฤติกรรมการบริโภคของเด็ก และพฤติกรรมการออกกำลังกายของเด็กก่อนวัยเรียน สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value &lt;0.05 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างได้ประโยชน์จากโปรแกรมฯ และนำความรู้และกิจกรรมจากการเข้าร่วมไปปรับใช้กับเด็กก่อนวัยเรียนในความปกครอง ส่งผลให้เด็กเล็กที่เข้าเกณฑ์ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน มีจำนวนลดลง จาก 20 คน เป็น 18 คน คิดเป็นลดลง ร้อยละ 10.0</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2745 รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี 2024-06-17T22:30:39+07:00 ปรัชญา สุนา anuwangtong@gmail.com อารี บุตรสอน anuwangtong@gmail.com <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครอบครัวผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ประชาชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวม 62 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 20 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถิติ paired t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี คือ ACICC Model ประกอบด้วย 1) Accessibility: การเข้าถึงระบบบริการ 2) Continuity of care: การดูแลอย่างต่อเนื่อง 3) Integrated care: การบริการแบบผสมผสาน 4) Coordination of care: การประสานการดูแล 5) Community empowerment: การเสริมพลังชุมชน</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2752 ผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายเบาหวานต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตึกอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร 2024-06-17T22:21:49+07:00 ภัคภิญญา ใจดี anuwangtong@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและประเมินผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจําหน่ายต่อความรู้ต่อโรคเบาหวาน ความรู้ในการดูแลเท้า และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน ที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งประกอบด้วย คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน คู่มือการดูแลเท้า และคู่มือการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยสำหรับพยาบาล ตามรูปแบบการวางแผนจําหน่าย D-M-E-T-H-O-D เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ paired t test<br /> ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความรู้การดูแลเท้า และพฤติกรรมการควบคุมน้ำตาล ภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p &lt; .05, t=15.48, 6.21, 9.93 ตามลำดับ</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2753 การพัฒนารูปแบบการดูแลโดยใช้การจัดการตนเอง ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลปลาปาก จังหวัดนครพนม 2024-06-17T22:26:20+07:00 ธนัญญา แสนบรรดิษฐ jetsada99chai@gmail.com <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลโดยใช้การจัดการตนเอง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลปลาปาก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในหน่วยไตเทียม โรงพยาบาลปลาปาก คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์ ที่คัดเข้าได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 23 คน เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มี ระยะเวลาศึกษา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเอง ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้สถิติที<br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2754 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลนาหว้า จังหวัดนครพนม 2024-06-17T22:29:58+07:00 อารีรัตน์ แพงยอด eakaphak2244@gmail.com <p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลนาหว้า จังหวัดนครพนม ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลนาหว้า ศึกษาในเดือนเมษายน - มิถุนายน 2567 จำนวน 35 คน เปรียบเทียบก่อนและหลังชนิดแบบ 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสุขภาพ แบบประเมินการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และผลลัพธ์ทางคลินิก โดยสถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test<br /> ผลการศึกษา : พบว่า 1) การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด พบว่าหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2755 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม 2024-06-17T22:33:51+07:00 อนุชิต ขันทะชา lampan221@gmail.com วราลี วงศ์ศรีชา phicychu88@gmail.com วนัสนันท์ ไตรยราช phicychu88@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคความผิดปกติทางจิต (Psychotic disorder) จำนวน 120 คน โดยมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ (works shop) เพื่อระดมความคิดเห็น (focus group) แบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ข้อมูลทั่วไปทั่วไป,ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของการพัฒนารูปแบบโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และเปรียบเทียบข้อมูลความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ dependent Sample t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ทำให้ได้รูปแบบและแนวทาง/ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ในโรงพยาบาลที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น 2) ความพึงพอใจของทีมสุขภาพ,ทีมผู้เกี่ยวข้องและผู้ป่วยโรคความผิดปกติทางจิต (Psychotic disorder) หลังการพัฒนาระบบมีค่าคะแนนความพึงพอใจสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบ 3) ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช พบว่า หลังการพัฒนาระบบข้อมูลดัชนีชี้วัดของผู้ป่วยจิตเวช เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2746 ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 2024-06-18T23:48:26+07:00 นันทยา นนเลาพล phicychu88@gmail.com สิโรนี ฟองแก้ว phicychu88@gmail.com พรสวรรค์ นาวงหา phicychu88@gmail.com ไขพร อุ่นเทียมโสม phicychu88@gmail.com พจมาน นาวงศ์หา phicychu88@gmail.com มนันยา มณีประกรณ์ phicychu88@gmail.com <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมี<strong>วั</strong>ตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน โรงพยาบาลโพนสวรรค์ ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคไตจากเบาหวาน และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวาน ประเมินผลก่อนและหลัง ทำการศึกษาในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test<br /> ผลการศึกษา : 1) ความรู้เกี่ยวกับโรคไตจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไตจากเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และ eGFRs พบว่า หลังการทดลองดีกว่ากว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2747 ผลของการปฏิบัติตามกระบวนการวางแผนจำหน่ายโดยใช้ D-METHOD ต่อพฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการและระดับเฟอร์ริตินในผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาการให้เลือด 2024-06-18T23:50:50+07:00 สุมนา แจ้งวัง thongnak7123@gmail.com เกศกัญญา ไชยวงศา thongnak7123@gmail.com ศิรินุช เปรมโต hongnak7123@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบวัดผลก่อนและหลังทดลองโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างมาเพียงกลุ่มเดียวทำการวัดซ้ำ 4 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการและระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดในผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาการให้เลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาการให้เลือด ที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนเมษายน 2567 จำนวน 36 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการดูแลตามกระบวนการวางแผนจำหน่ายโดยใช้ D-METHOD เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินพฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการ และตรวจระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดก่อนและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดด้วยสถิติ Paired t-tests เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการด้วยสถิติ Repeated measurement ANOVA<br /> ผลวิจัยพบว่า เปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยรายคู่พฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการจากการประเมินครั้งที่ 1 (ก่อนทดลอง) กับครั้งที่ 2 (สัปดาห์ที่ 4), ครั้งที่ 3 (สัปดาห์ที่ 8) และครั้งที่ 4 (สัปดาห์ที่ 12) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F (2.61, 91.20) = 31.342, p&lt; .001) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดก่อนและหลังทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2748 ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวานต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหน่วยบริการปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสุขเกษม โรงพยาบาลสกลนคร 2024-06-18T23:53:06+07:00 จุฑาทิพย์ งอยจันทร์ศรี tanathip1983@gmail.com <p> การวิจัยกึ่งทดลอง Quasi experimental research ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวานต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหน่วยบริการปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสุขเกษม โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้มาจากผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลพฤติกรรมผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ.2 ส. โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลก่อนและหลังการนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.ฯ มาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง paired t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรมคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (M=3.13, SD=0.10) สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม (M=2.14, SD=0.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.001) และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 5.00, S.D. = 4.32)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2749 ผลของการพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังก่อนการเข้าสู่ภาวะวิกฤตของผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบติดเชื้อ หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หญิง โรงพยาบาลอุดรธานี 2024-06-18T23:55:32+07:00 อัญชลี ถิ่นสอน jaruk_kum@hotmail.com พรพันธ์ คณาศรี jaruk_kum@hotmail.com รัชนี เจริญเพ็ง jaruk_kum@hotmail.com จุฬาภรณ์ ศรีโท jaruk_kum@hotmail.com ปานวดี มณีศรี jaruk_kum@hotmail.com <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการประเมินเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังก่อนการเข้าสู่ภาวะวิกฤตของผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบติดเชื้อในด้านอุบัติการณ์ของผู้ป่วยที่ทรุดลงจากการเฝ้าระวังไม่เหมาะสม อุบัติการณ์การช่วยฟื้นคืนชีพ และอุบัติการณ์การเสียชีวิตหลังการใช้รูปแบบ โดยใช้การพัฒนางานตามวงจรปรับปรุงคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle) โดยมีขั้นตอน Plan-Do-Check Act ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 – กรกฎาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หญิง โรงพยาบาลอุดธานี จำนวน 10 คน และเวชระเบียนรวมถึงผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่หอผู้ป่วย ออร์โธปิดิกส์หญิง โรงพยาบาลอุดธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการคงที่ตลอดการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย มีเพียงร้อยละ 6.67 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการทรุดลงระหว่างการเฝ้าระวัง แต่ไม่รุนแรงจนต้องได้รับการฟื้นคืนชีพ หรือเสียชีวิต ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีถึงดีมากต่อรูปแบบ ว่าสามารถช่วยในการตัดสินใจในการประเมินผู้ป่วยแต่ละรายว่าต้องการความช่วยเหลือระดับใด รวมถึงมีความพึงพอใจต่อแนวทางการพยาบาลและการเฝ้าระวังที่ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในการศึกษานี้</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2777 ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการประคบเย็นต่ออาการปวดและบวมของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดดามเหล็ก กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี 2024-06-24T03:44:25+07:00 พรพันธ์ คณาศรี tanakit5525@gmail.com อัญชลี ถิ่นสอน tanakit5525@gmail.com ธิดารัตน์ จำปาวงศ์ tanakit5525@gmail.com อัจฉรา คำมะทิตย์ tanakit5525@gmail.com <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการประคบเย็นต่ออาการปวดและบวมของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดดามเหล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดดามเหล็กในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลอุดรธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม2567-กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวด และแบบวัดอาการบวมของขา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที<br /> ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 8, 16, 24, 32, 40 และ 48 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 4 ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 24, 48 และ 72 ค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงของขากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2778 การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลอุบลรัตน์ 2024-06-24T03:46:31+07:00 พวงเพชร จันทร์บุตร lumpon1972@gmail.com เยาวลักษณ์ มัคคะน้อย lumpon1972@gmail.com นิภา ไทโส lumpon1972@gmail.com คณรัตน์ เดโฟเซซ์ lumpon1972@gmail.com รัชนี พจนา lumpon1972@gmail.com สุรดา โพธิ์ตาทอง lumpon1972@gmail.com วราลักษณ์ กองสิน lumpon1972@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง และประเมินผลลัพธ์การพัฒนา ใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยสูงอายุภาวะพึ่งพิงและผู้ดูแล จำนวน 30 คู่ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่กรกฎาคม 2566 –เมษายน 2567 เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความพึงพอใจของทีมต่อการพัฒนารูปแบบ แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน (Activity Daily Living, ADL) และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแล และความพึงพอใจของพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติ Pair t-test<br /> ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการใช้รูปแบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของทีมอยู่ในระดับพึงพอใจ (M=3.56, SD=0.76) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุและผู้ดูแลที่บ้านอยู่ในระดับดี (M=2.56, SD=0.52) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-5.12, p&lt;.05)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2779 ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกาย(Timed Up and Go, 30 second chair stand, 4 stage balance) ในผู้สูงอายุ 2024-06-18T07:33:00+07:00 คณรัตน์ เดโฟเซซ์ thongnak7123@gmail.com วราลักษณ์ กองสิน thongnak7123@gmail.com รัชนี เจริญเพ็ง thongnak7123@gmail.com พวงเพชร จันทร์บุตร thongnak7123@gmail.com <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองในการออกกำลังกาย ต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเองในการออกกำลังกาย และสมรรถภาพทางกาย (Timed Up and Go, 30 second chair stand, 4 stage balance) ในผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูล เดือน มีนาคม 2567- พฤษภาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 34 คนเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05)<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) คะแนนความรู้เรื่องการออกกำลังกายหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -23.048, Sig. = .000) 2) คะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองในการออกกำลังกายหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -39.929, Sig. = .000) 3) เวลาในการทดสอบ Timed Up and Go หลังเข้าโปรแกรมน้อยกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 24.313, Sig. = .000) 4) สมรรถนะทางกายด้วยการทดสอบ 30 Second Chair Stand Test หลังเข้าโปรแกรมมากกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -27.031, Sig. = .000)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2780 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบ ประคับประคอง โรงพยาบาลบางปลาม้า 2024-06-18T07:29:16+07:00 พัชรมนต์ ไกรสร eakaphak2244@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองโรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี การรับรู้ถึงคุณภาพชีวิต ผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (POS) และความพึงพอใจของผู้ป่วยระยะท้ายต่อการดูแลที่ได้รับตามแนวปฏิบัติ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 – มกราคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ 40 คน และหลังให้แนวปฏิบัติ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ แนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง แบบวัดคุณภาพชีวิตทางสุขภาพแบบทั่วไป short form : SF-36 แบบประเมินผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (POS) และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p &lt; .05) หลังการใช้แนวปฏิบัติค่าคะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care Outcome :POS) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p&lt; .05) ความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองภาพรวมระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.27,SD=0.61)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2793 การสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ระยะ 3 คลินิกอายุรกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 2024-06-23T00:35:33+07:00 ศิริวรรณ สิงหศิริ phicychu88@gmail.com เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์ phicychu88@gmail.com นงค์นุช โฮมหงษ์ phicychu88@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและประเมินผลของการสร้างเสริม ความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ระยะ 3 คลินิกอายุรกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษาในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพ 7 ด้าน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ paired t test<br /> ผลการศึกษา พบว่า หลังการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ ความรอบรู้ทางสุขภาพในภาพรวม ทั้ง 7 ด้าน เพิ่มขึ้นเป็น 31.95 คะแนน อยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p &lt; .05, t=11.05 ความพึงพอใจเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 4.67 คะแนน อยู่ในระดับ ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p &lt; .05, t=6.01</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2794 ผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร 2024-06-23T00:37:36+07:00 เกษร บัวขันธ์ tanathip1983@gmail.com <p> การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และนอนรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2567 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตามกระบวนการ D-METHOD การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test สำหรับความรู้ และ Paired t-test สำหรับพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือด<br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.50 อายุเฉลี่ย 60.58 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 75.76 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 57.57 มีโรคร่วมคือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 54.55 และไม่มีกลุ่มตัวอย่างกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2760 ประสิทธิภาพของการส่งเสริมความรู้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร 2024-06-24T03:42:13+07:00 ลัดดาวัลย์ นรสาร t.perakanya@gmail.com <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi– experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The one group pre–test post–test design) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายระหว่างและหลังการส่งเสริมความรู้เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย และเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในผู้ป่วยที่ได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร โดยได้รับการคัดกรองให้นอนสังเกตอาการที่ห้องสังเกตอาการ จำนวน 39 คน และได้รับการรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสกลนคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและประวัติการเจ็บป่วยแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย และแบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำส่วนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายประเภทน้ำเกลือ ร้อยละ 71.8 และได้รับการแทงเข็มคาไว้ที่หลอดลือดดำส่วนปลาย ร้อยละ 23.1 จากนั้นกลุ่มตัวอย่างได้รับการส่งต่อไปยังหอผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังหอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 82.06 และได้รับแทงเข็มเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายจำนวน 1 ครั้งเป็นส่วนใหญ่ โดยแทงบริเวณแขนซ้าย แขนขวา ข้อพับแขนซ้ายและข้อพับแขนขวา ร้อยละ 84.6 เมื่อติดตามการเกิด Phlebitis หลังกลุ่มตัวอย่างแอทมิทในหอผู้ป่วยไปแล้ว 72 ชั่วโมง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เกิด Phlebitis แต่มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 รายที่เกิด Phlebitis คิดเป็นร้อยยละ 15.4 โดยเกิดในระดับที่ 1</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2761 ผลของการให้คำปรึกษารายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลินรายใหม่ 2024-06-24T03:40:14+07:00 วาสนา แสนมหาชัย t.perakanya@gmail.com <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (The one group pretest-posttest only design) เพื่อเปรียบเทียบผลของพฤติกรรมการดูแลตนเอง และเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ก่อนและหลังได้รับการให้คำปรึกษารายกรณี ประชากรที่ศึกษาคือผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ที่ได้รับการรักษาด้วยยาชนิดรับประทานยา ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการใช้การจัดการรายกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มประชากร แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการรับประทานยา ด้านการออกกําลังกาย และด้านสุขวิทยาส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการศึกษา พบว่า หลังได้รับคำปรึกษารายกรณีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่มีคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่หลังได้รับการให้คำปรึกษารายกรณี พบว่า หลังได้รับการให้คำปรึกษารายกรณีพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมาก ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ พบว่า หลังได้รับการให้คำปรึกษารายกรณีค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ดีขึ้น ทั้งน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2626 ประสิทธิผลของโปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาชนิดกิน ต่อการเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ ในโรงพยาบาลปะทิว จังหวัดชุมพร 2024-05-26T04:56:19+07:00 ลำเนาว์ ใจโต noewjaito@gmail.com <p> การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาชนิดกินต่อการเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ ในโรงพยาบาลปะทิว จังหวัดชุมพร ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567 ศึกษาผู้ป่วย จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ paired samples t - test<br /> ผลการศึกษา: พบว่า การพัฒนาโปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้น ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาชนิดกินต่อการเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ โดยใช้กระบวนงาน PDCA โปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้นดำเนินการ 5 ครั้ง ดังนี้ 1) สร้างสัมพันธภาพ 2) ติดตามสภาวะผู้ป่วย 3) การสื่อสารสร้างแรงจูงใจ 4) คงกิจกรรมทางกาย 5) ระยะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลของการจัดโปรแกรม ได้แก่ 1) ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น 2) ผู้ป่วยปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพได้ดี และ 3) การประเมินผล ภาวะโรคเบาหวานของผู้ป่วย พบว่า หลังพัฒนาผู้ป่วยส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยภาวะโรคเบาหวาน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต โปรตีนในปัสสาวะ serum-creatinine Cholesterol, LDL, HDL, HbA1C และอัตรากรองไต หลังพัฒนาผู้ป่วยโดยรวมมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-12.736, p&lt;0.001) และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการมีส่วนร่วมตามโปรแกรมเพิ่มขึ้น (t=-8.798, p&lt;0.001)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2630 ผลของโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 2024-05-26T05:00:22+07:00 อมาวสี ทองโมทย์ amawa2518@gmail.com <p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ สมรรถภาพทางกาย ความกลัวในการหกล้ม ความสามารถในการทรงตัว และพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test<br /> ผลการศึกษา พบว่า โปรแกรมการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ใน 8 สัปดาห์ คือ สัปดาห์ที่ 1 ชี้แจงการจัดกิจกรรม สัปดาห์ที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สัปดาห์ที่ 3 วิธีการออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 4-6 การฝึกออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 7 การปรับสิ่งแวดล้อม สัปดาห์ที่ 8 ประเมินผล พบว่า หลังได้รับโปรแกรมผู้สูงอายุมีสมรรถภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -8.231, df=51, p&lt;0.001) มีความสามารถในการทรงตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -7.524, df=51, p&lt;0.001) มีพฤติกรรมป้องกันการหกล้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-8.363, df=51,p&lt;0.001) มีความกลัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 6.651, df=52, p&lt;0.001) และไม่มีการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 36.5 เป็นร้อยละ 63.5</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2817 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน 2024-06-27T14:36:01+07:00 วัชราพร ดวงแก้ว nattawut7788p@gmail.com อรทัย ธรรมป๊อก nattawut7788p@gmail.com ธนิตา จิตนารินทร์ nattawut7788p@gmail.com อัญชลี ศรีสุตา nattawut7788p@gmail.com มาลีวรรณ เกษตรทัต nattawut7788p@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน ทำการศึกษาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 -พฤษภาคม ปี 2567 รวมระยะเวลา 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 19 คน และ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการในโรงพยาบาลลำพูน จำนวน 223 คน รวม 2 กลุ่ม 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาล แบบสัมภาษณ์เชิงคุณภาพเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนา ประกอบด้วย 11 มาตรการสำคัญ ดังนี้ 1) การลดอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) การเพิ่มจำนวนเตียง ด้วยประชุมทีมผู้ดูแลผู้ป่วย Stroke นำข้อมูลผู้ป่วย มาคำนวณจำนวนเตียงเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล 3) การลดระยะเวลา Door to Operation time, Door to needle time 4) การพัฒนาสมรรถนะโรงพยาบาลอำเภอชุมชน 5) การพัฒนาระบบนิเทศทางคลินิก 6) การพัฒนาระบบการประเมินผู้ป่วยในโรงพยาบาล 7) การพัฒนาระบบแจ้งเหตุและดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 8) การพัฒนาระบบส่งต่อในชุมชน 9) การให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 10) กระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ 11) พัฒนาระบบเซ็นยินยอมของญาติเพื่อการรักษา และทำหัตถการที่รวดเร็ว 2. คะแนนสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 12.06) 3. เวลาเฉลี่ย Door-to-needle พบว่าระยะก่อนพัฒนามีความสัมพันธ์กับ Door-to-needle ระยะหลังพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x<sup>2</sup>=3.91)</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2789 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย 2024-06-24T03:51:01+07:00 วไลพร หงส์พันธ์ nattawut7788p@gmail.com <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย โดยดัดแปลงจากแนวคิดของแนวปฏิบัติในการช่วยชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บขั้นสูง (ATLS) กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ จำนวน 13 คนและผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ จำนวน 30 คน.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบและพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 2) แบบประเมินความยาก-ง่ายและความเป็นไปได้ของกิจกรรม 3) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 5) แบบบันทึกผลลัพธ์ของผู้ป่วยจากการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบเป็นลักษณะแบบบันทึกเพื่อใช้ในการประเมินเบื้องต้นและการคัดกรอง ประเมินและการช่วยเหลือระยะแรก ประเมินและการช่วยเหลือระยะที่สอง และระยะเตรียมจำหน่าย/Admit ภายหลังนำรูปแบบไปใช้ พบว่า ส่วนใหญ่แนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นมีระดับความยาก-ง่ายและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับง่ายที่สุด และพยาบาลสามารถทำตามแนวปฏิบัตินี้ได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 88.90 เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในระดับมาก ร้อยละ 84.6 และระดับปานกลาง ร้อยละ 15.4 การประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกตัวชี้วัด</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2788 การประยุกต์ใช้แนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 2024-06-24T03:48:42+07:00 บุญญพร เหล่าสุวรรณ nattawut7788p@gmail.com <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลการประยุกต์ใช้แนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลนาทม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 40 คน และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.79 การวิเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลทั่วไปใช้ค่าจำนวน ร้อยละ พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกโดยใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อน-หลัง ร่วมกิจกรรมโดยใช้สถิติ paired t-test<br /> ผลการศึกษา ก่อน-หลังเข้าร่วมกิจกรรมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C) มีค่าเฉลี่ยลดลงจาก 7.7% เป็น 7.2%, อัตราการกรองไตมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 87.9 เป็น 96.2 ml/min/1.73m<sup>2</sup>/yr, ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าเฉลี่ยลดลงจาก 177 mg/dl เป็น 152 mg/dl, ระดับไขมันเลว มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 97 mg/dl เป็น 102 mg/dl, เปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C), อัตราการกรองไต (eGFR) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์และไขมันเลวไม่แตกต่างกันทางสถิติ ด้านพฤติกรรมสุขภาพก่อน-หลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าการบริโภคอาหารมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=37.93, SD=4.554) เป็นระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=43.10, SD=3.128), การออกกำลังกายมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=12.70, SD=2.544) เพิ่มขึ้นเป็นระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=16.88, SD=3.368) การใช้ยามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=18.72, SD=2.396) เป็นระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=24.05, SD=2.229) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2756 ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร 2024-06-24T03:27:03+07:00 อรัญญา วงศ์สวัสดิ์ trinnawat2565@gmail.com วัลภา เฟือยงาราช trinnawat2565@gmail.com <p> การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ อย่างน้อย 1 ปี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ Paired t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลองอยู่ที่ 47.67 (S.D. = 10.57) และหลังการทดลองเพิ่มขึ้นเป็น 61.93 (S.D. = 4.79) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลองอยู่ที่ 41.07 (S.D. = 9.22) และหลังการทดลองเพิ่มขึ้นเป็น 57.87 (S.D. = 4.66) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (SBP) และขณะหัวใจคลายตัว (DBP) ของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) โดยค่าเฉลี่ย SBP ก่อนการทดลองอยู่ที่ 149.37 มิลลิเมตรปรอท (S.D. = 8.16) และลดลงเป็น 123.87 มิลลิเมตรปรอท (S.D. = 13.99) หลังการทดลอง และค่าเฉลี่ย DBP ก่อนการทดลองอยู่ที่ 81.83 มิลลิเมตรปรอท (S.D. = 10.81) และลดลงเป็น 73.10 มิลลิเมตรปรอท (S.D. = 10.45) หลังการทดลอง</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2791 ประสิทธิภาพของถ่านดัดแปลงสภาพจากกะลามะพร้าวชนิดต่างกันในการดูดซับสีโรดาห์มีนบี 2024-06-24T03:55:53+07:00 วัสมาส พุ่มจันทร์ nattawut7788p@gmail.com อัญชลี เจริญวัย nattawut7788p@gmail.com สมเจตน์ ทองดำรงธรรม nattawut7788p@gmail.com สิทธิชัย ใจขาน nattawut7788p@gmail.com จิราภรณ์ หลาบคำ nattawut7788p@gmail.com <p> งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของถ่านดัดแปลงสภาพจากกะลามะพร้าวขนาดต่างกันในการดูดซับสีโรดาห์มีนบี กลุ่มตัวอย่าง คือ กะลามะพร้าวที่นํามาเผาเป็นถ่านดัดแปลงสภาพจํานวน 3 ขนาด ได้แก่ ถ่านชนิดผงขนาด 1.0 มิลลิเมตร ถ่านชนิดเกล็ดขนาด 3.0 มิลลิเมตร และถ่านชนิดก้อนขนาด 5.0 มิลลิเมตร และ สีโรดาห์มีนบีที่มีความ เข้มสี 3 ระดับ คือ 100 200 และ 300 ADMI เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกผลการทดลอง และ เตาเผา อุณหภูมิสูง และ เครื่องวัดสี U-VIS Spectrophotometer (ADMI) ผลการศึกษาพบว่า ถ่านดัดแปลงสภาพจากกะลามะพร้าวทุกชนิด และทุกขนาดมีประสิทธิภาพในการดูดซับสีโรดาห์มีนบีดีที่สุดที่ช่วงเวลา 60 นาที โดยพว่า ถ่านดัดแปลงสภาพจากกะลามะพร้าวชนิดผงขนาด 1 มิลลิเมตร มีประสิทธิภาพในการดูดซับสีโรดาห์มีนที่มีค่าความเข้มสีก่อนบำบัด 100 และ 300 ADMI มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85 และ ร้อยละ 63 ตามลำดับ ส่วนถ่านชนิดเกล็ดขนาด 3 มิลลิเมตรประสิทธิภาพในการดูดซับสีโรดาห์มีนที่มีค่าความเข้มสีก่อนบำบัด 200 ADMI มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2790 แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสมบูรณ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2024-06-24T03:53:17+07:00 วีรวัฒน์ รัศมี nattawut7788p@gmail.com <p> การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึง ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน<br /> ผลการศึกษาพบว่า ระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดพยาธิใบไม้ตับในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=2.25, S.D.=0.55) ระดับการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดพยาธิใบไม้ตับในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=2.00, S.D.=0.39) ระดับการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันพยาธิใบไม้ตับในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=2.18, S.D.=0.58 ระดับการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันพยาธิใบไม้ตับในภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=2.23, S.D.=0.63) พฤติกรรมการป้องกันพยาธิใบไม้ตับอยู่ในระดับ ปานกลาง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=2.30, S.D.=0.49) ด้านความสัมพันธ์ พบว่า อายุ (r=0.324, p-value&lt;0.001) เคยการรับประทานยาถ่ายพยาธิใบไม้ตับ (r=0.531, p-value &lt;0.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ (r= 0.52, p&lt;0.001) การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับมาก (r= 0.63, p=0.001) การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ(r= 0.78, p&lt;0.001) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ (r =0.74, p&lt;0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันพยาธิใบไม้ในตับของประชาชนในเชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันพยาธิใบไม้ตับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2716 ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อลดการบาดเจ็บบริเวณจมูกในทารกแรกเกิดที่ได้รับออกซิเจนแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม 2024-06-23T03:52:55+07:00 ไพรวัลย์ ไชยโกษี thongchai.ar@npu.ac.th <p> การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อลดการบาดเจ็บบริเวณจมูกในทารกแรกเกิดที่ได้รับออกซิเจนแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลศรีสงคราม สุ่มตัวอย่างทารกแรกเกิดที่ได้รับออกซิเจนความดันสูงทางจมูกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 47 คน กลุ่มทดลองได้รับการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัยเดือนธันวาคม 2566-พฤษภาคม 2567 เปรียบเทียบระยะเวลาการเกิดการบาดเจ็บ สัดส่วนการบาดเจ็บและความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการบาดเจ็บที่จมูกและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระยะเวลาการบาดเจ็บที่จมูกด้วยสถิติ Independent t-test และทดสอบ Chi-square test และคำนวณค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์พร้อมประมาณช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเพศหญิงร้อยละ 42.5 และร้อยละ 51.1 อายุเฉลี่ย 9.6 วันและ 10.2 วัน น้ำหนักเฉลี่ย 2,871 กรัมและ 2,944.9 กรัม ความยาวเฉลี่ย 51.1 เซนติเมตรและ 51.3 เซนติเมตร การวินิจฉัยโรค Congenital pneumonia มากที่สุดร้อยละ 61.7 และ 66.6 ตามลำดับ มีระยะเวลาในการให้ออกซิเจนเฉลี่ย 10.5 วันและ 11.3 วัน ตรวจพบการบาดเจ็บที่จมูกในกลุ่มทดลองเฉลี่ย1.44 วันและเฉลี่ย 0.64 วัน ในกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองมีระยะเวลาบาดเจ็บที่จมูกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉลี่ย 0.79 วัน และมีความเสี่ยงบาดเจ็บที่จมูกน้อยกว่ากลุ่มควบคุม -3.54 เท่า โดยพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติมีความพึงพอใจภาพรวมมากว่าร้อยละ 80 โดยพึงพอใจต่อการนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2809 ผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี 2024-06-24T03:58:01+07:00 เกียรติศักดิ์ วิจักษณกุล nattawut7788p@gmail.com <p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมจำนวน 36 คน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับโปรแกรมปกติจำนวน 36 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลองในช่วงเวลาเดียวกันระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 มีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และ Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05<br /> ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การมีส่วนร่วม และแรงสนับสนุนทางสังคม รวมถึงพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองและกับกลุ่มเปรียบเทียบ</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2810 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน เขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฝั่งแดง จังหวัดนครพนม 2024-06-24T04:00:07+07:00 กรรธิมา ฝาระมี nattawut7788p@gmail.com รินทร์หทัย ธนพรสิทธิกูล nattawut7788p@gmail.com ผกาพรรณ อังคนาวราพันธุ์ nattawut7788p@gmail.com อุเทน สุทิน nattawut7788p@gmail.com <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) แบบ 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (WHOQOL-BREF-THAI) และแบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเบื้องต้นใช้การทดสอบค่าที Dependent t-testหรือ Fisher’s exact test และสถิติที่ใช้เปรียบเทียบ2 กลุ่ม ค่าคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กรณีข้อมูลเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นด้วยการทดสอบค่าที Independent t test<br /> ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านคุณภาพชีวิต (t = 18.89, 95%CI = 1.30 ถึง 1.61) และความผาสุกทางจิตวิญญาณ (t = 19.79, 95%CI = 1.43 ถึง 1.76) หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P&lt; .0001 และหลังการทดลองใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน คุณภาพชีวิต (t = 27.95, 95%CI = 1.35 ถึง 1.55) และความผาสุกทางจิตวิญญาณ (t = 23.60, 95%CI = 1.46 ถึง 1.72) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P&lt; .0001</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2811 การผลิตถ่านอัดแท่งจากตะกอนน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเครื่องปรุงรสและถ่านกะลามะพร้าว 2024-06-25T21:06:36+07:00 ประยุกต์ เดชสุทธิกร prayook@go.buu.ac.th ธรรมวัฒน์ ปวงษาพัฒน์ prayook@go.buu.ac.th รจฤดี โชติกาวินทร์ prayook@go.buu.ac.th ธีรยุทธ เสงี่ยมศักดิ์ prayook@go.buu.ac.th อารีรัตน์ แต้มรู้ prayook@go.buu.ac.th จิดาภา รัตนประเสริฐ prayook@go.buu.ac.th ธัญญพร เต็นประโคน prayook@go.buu.ac.th ศิริวรรณ บรรเลงทรัพย์ prayook@go.buu.ac.th สุกัญญา นาเมือง prayook@go.buu.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของการผลิตถ่านอัดแท่ง จากตะกอนน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเครื่องปรุงรสและถ่านกะลามะพร้าวในการผลิตเป็นเชื้อเพลิง การวิจัยมีการแปรเปลี่ยนอัตราส่วนของตะกอนน้ำเสียต่อถ่านกะลามะพร้าวร้อยละ 0:100, 20 : 80, 40 : 60, 60 : 40 และ 80 : 20 ตามลำดับ ผลการศึกษาคุณภาพของถ่านอัดแท่ง พบว่า ทุกอัตราส่วนผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.238/2547) ยกเว้นที่อัตราส่วน 60:40 และ 80:20 อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่ง คือ อัตราส่วน 20:80 โดยมีค่าผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และค่าความร้อน 6,711.6 ± 122.5 แคลอรี่ต่อกรัม คาร์บอนคงตัวร้อยละ 71.27 ± 2.31 และอัตราการเผาไหม้ 52.10 ± 1.11 นาที โดยมีค่ามากที่สุด เมื่อเทียบกับอัตราส่วนอื่นๆ จึงมีคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงที่ดี และมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน