วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech
<p><strong>Journal of Environmental and Community Health</strong><br /><strong>วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุ<wbr />ขภาพชุมชน</strong></p> <p><strong>Online ISSN: 6112-9248<br /></strong><strong>Print ISSN: 2672-9717<br /></strong></p>
สมาคมศิษย์เก่าอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
th-TH
วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2672-9717
-
กระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3684
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง และศึกษากระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม 2567 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 รวม 9 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกสภาวะสุขภาพ และ แบบวัดความเข้าใจบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบออนไลน์ในการติดตามเฝ้าระวังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบออนไลน์ในการติดตามเฝ้าระวังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังกระบวนการมีความเข้าใจบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบออนไลน์ในการติดตามเฝ้าระวังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่าก่อนกระบวนการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผู้ป่วยเลือกได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาตามคำแนะนำ สมาธิบำบัด การนอนอย่างมีประสิทธิภาพ การนับคาร์บ การแพทย์ทางเลือก เป็นต้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 40.59 ผู้ป่วยโรคโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 44.13 และผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดีขึ้น</p>
วิทยา วัฒนเรืองโกวิท
สุรเชษฐ์ ภูลวรรณ
ธีรพัฒน์ สุทธิประภา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
1
9
-
ผลของรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินความเสี่ยงต่อการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลเขาวง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3616
<p> การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตกเลือด อัตราความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอด และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2567 – เดือนสิงหาคม 2567 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้อมูลในเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกภาวะสุขภาพ (การสูญเสียเลือดจากการคลอดทางช่องคลอด) และรายงานการคลอดของมารดาที่คลอดทางช่องคลอดที่บันทึกในโปรแกรม HOSxP แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนใช้รูปแบบฯ จำนวน 15 คน กลุ่มหลังใช้รูปแบบฯ จำนวน 15 คน และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดอย่างน้อย 12 เดือน จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัย คือ รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก แบบประเมินความเสี่ยง และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และปรียบเทียบอุบัติการณ์ตกเลือดก่อนและหลังการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลข้อมูลที่ได้นำมาทดสอบวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบฟิชเชอร์ (Fisher’s exact probability test)<br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก มีอัตราการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกแตกต่างกับกลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p = < 0.001) กลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลโดยใช้รูปแบบฯ มีอัตราความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรกน้อยกว่ากลุ่มผู้คลอดทางช่องคลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = < 0.001) พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบฯ ในระดับมาก 5 คน (ร้อยละ 100) โดยพยาบาลร้อยละ 100 มีความคิดเห็นว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวสามารถป้องกันการเกิดการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดรวมทั้งสามารถปฏิบัติตามได้ทุกข้อ และสามารถใช้รูปแบบฯ ได้อย่างต่อเนื่อง</p>
ลำดวน ไชยบุตร
ศัลยา พันธุโพธิ์
กิ่งกนก ภักดีแก้ว
ณัฐปภา ศรีนิล
หนึ่งเดือน กว้างสวาสดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
10
20
-
ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3501
<p> การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) ศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด และ 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด โดยการสนทนากลุ่ม กับผู้ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือน เมษายน 2566 ที่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ร่วมวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 2 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย อาจารย์พยาบาล 1 คน พยาบาลห้องผ่าตัด 1 คน วิสัญญีพยาบาล 1 คน และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชียกลุ่มย่อยละ 8 คน รวมทั้งหมด 4 กลุ่ม โดยมีประเด็นคำถามระหว่างการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และค่าสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย<br /> ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นว่าควรมีการจัดการเรียนการสอนในห้องผ่าตัด ร้อยละ 100 ข้อที่ 1 ความคาดหวังก่อนขึ้นฝึก คาดว่าน่าจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 87.5 และน่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 12.5 ข้อที่ 2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับความคาดหวัง ร้อยละ 100 และบอกว่าเกินความคาดหวังมาก ข้อที่ 3 องค์ประกอบของห้องเรียนเสมือนจริงในห้องผ่าตัด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ของพยาบาลห้องผ่าตัด ได้แก่ 1) อ่างล้างมือ เตียงผ่าตัด โคมไฟผ่าตัด 2) ชุดเสื้อกาวน์และถุงมือ Sterile 3) ห่อผ้า Sterile และ 4) Sterile Set ชุดที่ 2 ของวิสัญญีพยาบาล ประกอบด้วย 1) เครื่องวัดสัญญาณชีพอัตโนมัติ 2) ชุดผสมยาชนิดน้ำและชิดผง 3) ชุดให้ออกซิเจนชนิด Canular, Mask และ T-piece 4) ชุดแทงเส้นให้น้ำเกลือ พร้อมทั้งมีแบบบันทึกทางการพยาบาลก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด ทั้งสองกลุ่มงาน ข้อที่ 4 วิธีการจัดการเรียนการสอนอบบจัดเป็นห้องเรียนเสมือนจริงให้นักศึกษาได้มาฝึกในวันหยุดจนเข้าใจ ก่อนจะเข้าศึกษาดูงานจริง ช่วยลดความประหม่าและความผิดพลาดได้ ร้อยละ 100 ข้อที่ 5 ผลลัพธ์ด้านความรู้ ด้านการ NPO ผู้ป่วย และหลักการตรวจสอบซ้ำ ด้านทักษะปฏิบัติ ทำให้สวมถุงมือได้คล่องมากขึ้น จับคีมคีบได้เก่งขึ้น เปิดห่อของ Sterile ได้อย่างถูกต้อง การแทงน้ำเกลือได้เก่งขึ้น ฉีดยามือไม่สั่น เป็นต้น</p>
ดวงสุดา สุวรรณศรี
วสันต์ชาย สุรมาตย์
ปฏิมาภรณ์ วงค์ภูธร
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
21
27
-
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองเพื่อส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตตามแนวทางของ WHO ในจังหวัดปัตตานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3515
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองตามแนวทาง ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การ วิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหา 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการดูแลที่เหมาะสม และ 3) การ ประเมินผลการใช้งานรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยผู้ป่วยระยะท้ายจำนวน 30 คน ครอบครัวและผู้้ดูแล 30 คน บุคลากรทางการแพทย์ 15 คน และผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า ในขั้นตอนที่ 1 สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในปัจจุบันมีปัญหาหลัก ได้แก่ การขาดความรู้พื้นฐานของผู้ดูแล การขาดแคลนทรัพยากรในระบบบริการสุขภาพ ความไม่ สอดคล้องในการประสานงานระหว่างหน่วยงานและครอบครัว การขาดการสนับสนุนด้านจิตใจ การเข้าถึง บริการสุขภาพที่ไม่ทั่วถึง และการขาดการฝึกอบรมขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดูแลประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้ผู้ดูแล การจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอ การสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์ การสนับสนุนทางจิตใจ และการใช้เทคโนโลยีติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และ ขั้นตอนที่ 3 ผลการ ประเมิน พบว่า ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจในระดับสูง และผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P-Value < .01)</p>
ณัฐนิชา วารีสมาน
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
28
39
-
ปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัย และการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3517
<p> การวิจัยแบบย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 199 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยที่รอดชีพ จำนวน 96 คน และผู้ป่วยที่เสียชีวิต จำนวน 103 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เชิงพรรณนานำเสนอด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และ เปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 วิเคราะห์ปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยใช้การวิเคราะห์ Multiple logistic regression นำเสนอด้วยค่า Adjusted Odds ratio และค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05<br /> ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทำนายการรอดชีพผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ คือ สถานภาพสมรส ระยะการเจ็บป่วย และการแพร่กระจายของโรค โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีสถานภาพโสดมีโอกาสเสียชีวิตหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษมากกว่าสถานภาพอื่นถึง 2.89 เท่า (AOR=2.09 , 95% CI=1.26-3.45) ผู้ป่วยที่มีระยการเจ็ยป่วยในระยะที่ 4 มีโอกาสเสียชีวิตหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษมากกว่าระยะที่ 1 ระยะที่ 3 และ ระยะที่ 3 เป็น 4.23 เท่า (AOR=3.16 , 95%CI=2.04-6.38) และผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่น มีโอกาสเสียชีวิตหลังได้รับการวินิจฉัยและการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีการแพร่กระจายเป็น 2.87 เท่า (AOR=1.87, 95%CI=1.01-3.52) ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะระบุความสัมพันธ์</p>
มะลิ สุปัตติ
อารี บุตรสอน
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
40
50
-
ผลของโปรแกรมนักส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพในหน่วยงานปฐมภูมิ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3521
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนการพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพในหน่วยงานปฐมภูมิก่อนและหลังการใช้โปรแกรมนักส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบคะแนนการพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพในหน่วยงานปฐมภูมิ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมนักส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยงานปฐมภูมิ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 313 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 146 คน และกลุ่มควบคุม 167 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย โปรแกรมนักส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (48 ชั่วโมง 15 บทเรียน) และแบบประเมินองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพของกรมอนามัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการทดลองทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (2.988 vs 2.992, p=0.8891) ภายหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 2.992 เป็น 3.040 (p<0.001) ในขณะที่กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 2.988 เป็น 3.583 (p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.583 vs 3.040, p<0.001)</p>
สุพัฒน์ กองศรีมา
ณัฐพร นิจธรรมสกุล
ภูวนาถ ศรีสุธรรม
พีรยุทธ แสงตรีสุ
อัมภาวรรณ นนทมาตย์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
51
59
-
ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนู ของเกษตรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3529
<p> การศึกษาเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบสองกลุ่ม ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 52 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายจำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเรียนรู้การป้องกันโรคฉี่หนูในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง และแบบสอบถามความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนู วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแตกต่างของความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรม ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Paired sample t-test และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้เรื่องโรคฉี่่หนููระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Independent sample t-test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่่ 0.05<br /> ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มที่ได้รับความรู้ตามปกติ เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในชุมชน หลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคฉี่หนูระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 46.86 (S.D.=3.48) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีคะแนนเฉลี่ย 38.56 (S.D.=3.77)</p>
ปราโมทย์ เกิดผล
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
60
67
-
ผลของโปรแกรมการสอนงานต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3532
<p> การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนงานต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มผู้เป็นโรคเบาหวานที่เสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่ม วัดสองครั้งก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง (Two group pretest-posttest design) ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งหมด 58 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 29 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนงาน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วย เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองชนิดพกพา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบด้วยสถิติไค-สแควร์ (Chi-square test) สถิติที (Independent t-test)<br /> ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากกว่ากลุ่มควบคุม และค่าผลต่างเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) ลดลงต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.22, p<.001 และ t = 2.67, p<.001) ตามลำดับ</p>
อานนท์ สังขะพงษ์
ฐพัชร์ คันศร
นนทกร ดำนงค์
ศรฉัตร แดงกระจ่าง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
68
79
-
การพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3534
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน และศึกษาผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง PDCA คือ PLAN: การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช ออกแบบแผนการดูแล DO: ประชุมเชิงปฏิบัติการและการระดมสมองร่วมกับการมีส่วนร่วมในชุมชน CHECK: ประเมินผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติฯ ACTION: นำผลมาวิเคราะห์ตรวจสอบอุบัติการณ์ผลของการใช้แนวปฏิบัติฯ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ 1). ผู้ให้บริการคือ พยาบาลจำนวน 8 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนจำนวน 22 คน 2). ผู้รับบริการคือ ญาติและผู้ป่วยจิตเวชจำนวน 6 คน ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชสำหรับพยาบาล แบบประเมินความรู้ผู้ป่วยจิตเวชของผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ<br /> ผลการวิจัย ได้แนวปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ที่ประกอบไปด้วย 1.แบบประเมินสำหรับพยาบาล ดังนี้ 1).แบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 2). แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง 3). แบบประเมินซึมเศร้าฆ่าตัวตาย 4). แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน 2. แบบประเมินสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน และญาติ ดังนี้ 1). แบบประเมินอาการทางจิตกำเริบ 2). แบบประเมิน 7 สัญญาณเตือนที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง ผลลัพธ์หลังการใช้แนวปฏิบัติฯ พบว่า 1) ผู้ให้บริการ คือ พยาบาล หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ มีความรู้การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .002 ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ มากกว่าค่าเป้าหมายร้อยละ 80 อยู่ในระดับมากที่ร้อยละ 92.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .002 ผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน หลังการพัฒนามีความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ อยู่ในระดับมากที่ร้อยละ 84.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้รับบริการ คือ ญาติ หลังการพัฒนามีความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 91.33 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .02 และอุบัติการณ์หลังการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ (กค.-ตค.66) พบอุบัติการณ์ลดลงมีจำนวน 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 16.66</p>
ญภา ภัคฐิติพันธ์
สิรินทร เลิศคูพินิจ
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
80
90
-
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3617
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด(Sepsis) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ที่เกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อ รายที่ 1 แพทย์วินิจฉัย Pneumonia with sepsis with chronic kidney stage 2 with liver metastasis รายที่ 2 แพทย์วินิจฉัย Abscess right bottom with sepsis with acute kidney injury with acidosis<br /> ผลการศึกษา พบว่า ทั้ง 2 รายได้รับการปฏิบัติตาม Sepsis guideline และการรักษาพยาบาลในระยะ 6 ชั่วโมงแรก บรรลุเป้าหมายปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้บรรลุผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลผู้ป่วย Sepsis ในระยะ 6 ชั่วโมงแรก คือ Competency ของพยาบาลในการประเมิน ติดตามและเฝ้าระวัง จึงควรเน้นให้พยาบาลตระหนักถึงความสำคัญของการพยาบาลที่สอดคล้องกับการรักษาแบบมุ่งเป้าใน 6 ชั่วโมงแรก เนื่องจากจะช่วยชะลอการล้มเหลวของอวัยวะสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้</p>
วานิช ศรีสุข
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
91
98
-
การพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3618
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดปัตตานี (QOL-NongChik) ปีงบประมาณ 2565-2566 จากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ ตามขั้นตอนการพัฒนาแนวทางการจัดคุณภาพและวงจรเดมมิ่ง (Deming cycle: PDCA) และขั้นตอนการสร้างแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดคุณภาพชีวิต 2) ความเป็นไปได้ของการนำแบบวัดคุณภาพชีวิตไปใช้ 3) การศึกษาผลของแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชนและ 4) การปรับปรุง เผยแพร่และขยายผลของแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอหนองจิก จำนวน 500 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่มวัย (ช่วงอายุ) ได้แก่ กลุ่มปฐมวัย (ช่วงอายุ 0-5 ปี) ฉบับผู้ปกครอง, กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น (ช่วงอายุ 6-14 ปี) ฉบับผู้ปกครองและฉบับประเมินตนเอง, กลุ่มวัยทำงาน (ช่วงอายุ 15-59 ปี) ฉบับประเมินตนเอง และกลุ่มวัยผู้สูงอายุ (ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป) ฉบับประเมินตนเองหรือผู้ดูแลประเมิน คัดเลือกแบบเจาะจงและยินดีเข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดปัตตานี (QOL-NongChik) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและทดสอบทีคู่ (Paired t-test)<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) แบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดปัตตานี (QOL-NongChik) มีองค์ประกอบ 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมและ ด้านสิ่งแวดล้อม 2) ความเป็นไปได้ของการนำแบบวัดคุณภาพชีวิตไปใช้ พบว่า ผู้ใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชนตามกลุ่มวัย ช่วงอายุ ระบุว่า แบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชนที่พัฒนา มีความสะดวกและสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายและมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน อยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนน 9.3) 3) ผลของแบบวัดคุณภาพชีวิตประชาชน จังหวัดปัตตานี (QOL-NongChik) พบว่า ทุกกลุ่มวัยมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (t=8.917), (t=15.125), (t=2.331), (t=7.598) และ (t=13.978) ตามลำดับ และ 4) ได้ประกาศเป็นนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปใช้ในการวัดระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และจดลิขสิทธิ์รับรองผลงานจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เลขที่ ว.044432 ประเภทงาน วรรณกรรม ลักษณะงาน งานนิพนธ์</p>
อังคณา วังทอง
อนุชิต วังทอง
ไพบูลย์ งามสกุลพิพัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
99
112
-
ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนความรู้และทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุม น้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเขาวง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3619
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนความรู้และทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเขาวง ต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 60 คน และกลุ่มทดลอง 60 คน กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนความรู้และทักษะการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลเขาวง 2) เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอัตโนมัติ fasting blood glucose และแบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด 3) แบบทดสอบความรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพการปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ได้แก่ paired t-test, Independent t-test และสถิติทดสอบแบบนอนพาราเมตริก ได้แก่ Wilcoxon-signed rank test และ Mann Whitney U test<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการใช้วง ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งเป้าหมาย 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การวิเคราะห์และประเมินข้อมูล 4) การตัดสินใจ 5) การปฏิบัติ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) สอนให้ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 3 ลด. 2) การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินความสามารถของตนเองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามบริบทของผู้ป่วย โดยมีระยะเวลาการดำเนินการตามโปรแกรมทั้งหมด 4 ครั้ง และ 6) การสะท้อนผลการปฏิบัติหรือการประเมินตนเอง ส่งผลต่อระดับค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ดีกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p-value<.052) ภายหลังการใช้โปรแกรมฯ ส่งผลต่อระดับค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 กลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p-value< .05</p>
ยุวดี คาดีวี
พนิตา จิตจักร
สุขขี แสง
จันทร์ทิต เพียรภายลุน
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
113
123
-
รูปแบบการเสริมสร้างการจัดการขยะตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3621
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะและปริมาณขยะของชุมชนในตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้วและรูปแบบการเสริมสร้างการจัดการขยะตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน สิงหาคม 2567 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2567 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนชุมชนในตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยการเจาะจง จำนวน 462 คน ตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบบันทึกปริมาณขยะ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะในชุมชนของตัวแทนครัวเรือน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด พฤติกรรมการจัดการขยะในชุมชนของตัวแทนครัวเรือน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว ก่อนและหลังการดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ พฤติกรรมการจัดการขยะในชุมชนของตัวแทนครัวเรือน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว หลังดำเนินการดีกว่าก่อนดำเนินการ และผลการจัดการขยะในชุมชนของตัวแทนครัวเรือน ตำบลนาคำ อำเภอคำเขื่อนแก้ว หลังการดำเนินงาน มีการจัดการขยะได้มากขึ้น</p>
บัณดิษฐ สร้อยจักร
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
124
131
-
ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต คลินิกความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3622
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจฯ (The One Group Pretest Posttest Design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิต ดำเนินระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม 2567 ประชากร คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ที่มารับการรักษาที่คลินิกความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โดยมีการสนทนาจำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 เดือน ผ่านกิจกรรมการส่งเสริมการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่องตลอด 12 สัปดาห์ แบบบันทึกการสนทนาสร้างแรงจูงใจ คู่มือการจัดการตนเอง แบบบันทึกการปฏิบัติในการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ สื่อวีดีทัศน์ให้ความรู้ 2 เรื่อง เครื่องวัดความดันโลหิตมาตรฐานชนิดปรอทดิจิตอล แบบบันทึกการสนทนาสร้างแรงจูงใจ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบบันทึกระดับความดันโลหิตก่อนรับโปรแกรม จบโปรแกรมทันที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบ paired sample t-test<br /> ผลการวิจับ พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการจัดการตนเองในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) และพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจฯ มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)</p>
จันทร์ทิต เพียรภายลุน
ยุวดี คาดีวี
พนิตา จิตจักร
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
132
143
-
ประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนครอบครัวต่อการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภทในชุมชน โรงพยาบาลเขาวง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3624
<p> การวิจัยนี้เป็นรูปแบบวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (The One Groups, Pre-test, Post-test Design) เพื่อศึกษามีการทดสอบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนครอบครัวต่อการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภทในขุมชน โรงพยาบาลเขาวง ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมความไม่ร่วมมือในการรับประทานยาที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลเขาวง และผู้ดูแลที่บ้าน เลือกแบบเจาะจง ระหว่างเดือนมิถุนายน 2567 - เดือนสิงหาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบประเมินอาการทางจิต แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา แบบวัดความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท แบบบันทึกร้อยละอาการกำเริบ และแบบบันทึกร้อยละการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ t-test<br /> ผลการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยา ก่อนการดำเนินโปรแกรมฯ และหลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ โดยใช้สถิติ t-test พบว่า คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยาก่อนและหลังการดำเนินโปรแกรมฯมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = - 20.89; p = .000) โดยที่คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความร่วมมือในการรับประทานยาหลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการดำเนินโปรแกรมฯ (Mean = 79.33, SD =3.36) อาการกำเริบจากการขาดความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภทหลังการใช้โปรแกรมฯ มีอาการทางจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 และมีอาการทางจิต จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 ไม่พบผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีอาการกำเริบซ้ำและกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้ป่วยโรคจิตเภทมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 และมีความพึงพอใจระดับมาก จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82</p>
กานดา ศรีโพธิ์ชัย
ธัญญาลักษณ์ ไชยสุขมอลเลอร์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
144
154
-
รูปแบบการจัดบริการดูแลเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3630
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดบริการดูแลเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะพัฒนาระบบ และระยะประเมินผล ผู้มีส่วนร่วมวิจัยประกอบด้วย เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นและผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ทีมสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการปฏิบัติการดูแลเด็กสมาธิสั้น แบบประเมินพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมและอาการข้างเคียงของยา แบบประเมินความพึงพอใจ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรนณาและการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังดำเนินการเกิดรูปแบบการจัดบริการดูแลเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานคือ 3C4R Model ผู้ปกครองและครูได้รับการอบรมครอบคลุมทุกกิจกรรมทุกคนทั้งผู้ปกครองและทีมสุขภาพสามารถปฏิบัติการดูแลได้ถูกต้องร้อยละ 100 บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลเด็กได้ครอบคลุมร้อยละ 100 และพบว่าเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ในรายที่พบปัญหาเร่งด่วนได้รับการส่งต่อทุกราย รวมทั้งไม่พบอุบัติการณ์การแพ้ยาและอาการข้างเคียงรุนแรง ผู้ปกครอง ครู และทีมสุขภาพมีความพึงพอใจต่อระบบการจัดบริการในระดับดีมาก</p>
จันทร์เพ็ญ สว่างไธสง
สาธิตา เรืองสิริภคกุล
อนุชา ไทยวงษ์
ประครอง ประกิระนะ
กัลยาณี ประทุมทอง
ธัญญามาศ เทพสาร
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
155
165
-
รูปแบบการเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3625
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ และศึกษารูปแบบการเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษา ความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ หลังความเข้าใจในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ของแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขมิ้น ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินการ</p>
เลิศสุวรรณ สีอ่อนดี
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
166
173
-
รูปแบบการศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3626
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) รูปแบบการศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ และศึกษารูปแบบการศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและการเปรียบเทียบระดับความเข้าใจในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานระดับความเข้าใจในการตำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินงาน</p>
เชาวฤทธิ์ รองไชย
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
174
180
-
รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3627
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง (Quasi Experiment Research by one group pre – post design) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และศึกษารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน ถึง เดือน พฤศจิกายน 2567 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 60 คน ตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษา พบว่า หลังการดำเนินการความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และ ก่อนและหลังการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังการดำเนินการความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ดีกว่าก่อนการดำเนินการ</p>
กลมลี แสนบุดดา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
181
189
-
การพัฒนารูปแบบการจัดการอาการปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3628
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดการอาการปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย อำเภอยางสีสุราช จากการดำเนินงานกันยายน 2565- ตุลาคม 2566 ผู้มีส่วนร่วมวิจัย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพในรพ./รพ.สต. อสม.และ CG ในชุมชน รวม 43 คน 2) ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายและครอบครัว 20 คน ขั้นตอนวิจัย ศึกษาปัญหาและสถานการณ์ จากการทบทวนอุบัติการณ์ ประชุมระดมสมอง ทบทวนเวชระเบียน สังเกตการดูแล หลังจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำสู่การ พัฒนารูปแบบฯ นำไปใช้ปรับปรุงตามวงรอบและประเมินผล เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินระดับการปวด แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ แบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งดัดแปลงมาจากแบบประเมินของสำนักพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดย จำนวน ค่าเฉลี่ยและร้อยละ<br /> ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการอาการปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย อำเภอยางสีสุราช คือ P-A-I-N Model ประกอบด้วย 1) Pain & Performance : การประเมินอาการปวดและความสามารถในการช่วยเหลือทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ดูแลในครอบครัว มีการกำหนด กำกับติดตาม แนวทางประเมินความปวดที่ชัดเจน 2) Assurance of guiline : มีแนวทางปฏิบัติ คู่มือการจัดการความปวด 3) Information & Communication: การบันทึกข้อมูล Pain score การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ พัฒนา Link ในการประเมินอาการปวด มี PCWN ระหว่างหน่วยงานและผู้ดูแลที่บ้านเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลและคลิปสั้นการให้ยา 4 ) Net Work : เครือข่ายเข้มแข็งโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและผู้ดูแลในชุมชน พบว่าระดับคะแนนความปวดผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายจากระดับรุนแรงหลังได้รับการจัดการ 48 ชม.พบว่าลดลงร้อยละ50 และผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดอยู่ในระดับมาก (Mean=4.57,S.D 0.54) เครือข่ายบริการในชุมชนมีความพึงพอใจในในการประเมินโดยใช้ Link ประเมิน PPS score อสม.และCG มีทักษะและความมั่นใจเกี่ยวกับการดูแลอาการปวดเพิ่มขึ้น</p>
คำตัน ปินะโต
พีร์ วัชรพงษ์ไพบูลย์
ศุภชัย แพงคำไหล
กัลยาณี ประทุมทอง
กาญจนา จันทะนุย
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
190
200
-
พัฒนากระบวนการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในบริบทโรงพยาบาลชุมชน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3631
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น 10-19 ปี ผู้มีส่วนร่วมวิจัยประกอบด้วย1) วัยรุ่นที่มาคลอดโรงพยาบาลนาเชือก จำนวน 60 ราย , 2) ผู้ให้คำปรึกษา/ติดตามต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ ANC จำนวน 3 ราย 3) เจ้าหน้าที่ห้องคลอด จำนวน 7 ราย,4) เจ้าหน้าที่คลินิกวัยรุ่นจำนวน 8 ราย 5) เจ้าหน้าที่รพ.สต จำนวน 12 ราย 6) อสม บัดดี้ 12 ราย ,7) ผู้ปกครองหรือสามีของหญิงตั้งครรภ์จำนวน 60 ราย ดำเนินงานวิจัย ในพื้นที่อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินงานระหว่าง เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2565<br /> ผลการวิจัยพบว่า เกิดกระบวนการพัฒนา 3 วงจรปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแมกแทกการ์ท PAOR มีการเชื่อมโยงกระบวนการดูแล ระหว่างโรงพยาบาลครอบครัว, อสม และ รพ.สต, 1) แผนกฝากครรภ์ (anc)ให้ความรู้ให้บริการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว หญิงตั้งครรภ์และญาติ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจการวางแผนคุมกำเนิดที่ถูกวิธี,2)คลินิกวัยรุ่นรับให้คำปรึกษา (Youth Friendly HealthServices) กรณีมารดาหลังคลอดที่ยังไม่ตัดสินใจในการคุมกำเนิดไม่ได้ ยังมีความลังเลใจ ให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ พร้อมเบอร์โทรผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่นให้มารดาตั้งครรภ์เพื่อเปิดช่องทางการติดต่อสื่อสาร 3) ห้องคลอด(Labour Room) ให้ความรู้เรื่องการการวางแผนครอบครัวหลังคลอดพร้อมญาติ กำหนด วัน เวลา สถานที่ในการคุมกำเนิดการวางแผนครอบครัวไม่เกิน 7 วันหลังคลอดที่มาตรวจแผลฝีเย็บ 4) ครอบครัว(Home) มีส่วนร่วมวางแผนในการคุมกำเนิดเพราะครอบครัวมีอำนาจในการช่วยเหลือ เสริมแรงในการคุมกำเนิด 5) ติดตามเยี่ยมบ้านพร้อมเจ้าหน้าที่รพ.สต อสม.เนื่องจากมีหน้ารับข้อมูลหลังจากที่จากคลินิกวัยรุ่นในการประสานให้เยี่ยมบ้าน มารดาหลังคลอดในวัยรุ่น7วันหลังคลอด ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ กระบวนการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น ANC -YFHS - LR- Family planning – home อำเภอนาเชือก ไม่พบมารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ </p>
จินตหรา ปัญโยวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
201
207
-
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับวิสัญญีพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือด หลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3632
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับวิสัญญีพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย กลุ่มตัวอย่างเป็น มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่เข้าพักฟื้นในห้องพักฟื้นจำนวน 62 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึก แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ และแบบสังเกตการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ<br /> ผลการศึกษา พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับวิสัญญีพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการประเมินสภาพผู้ป่วย การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก การดูแลกรณีมดลูกหดรัดตัวดีและหดรัดตัวไม่ดี การประเมินเลือดออกทางช่องคลอด การรายงานแพทย์ การส่งต่อข้อมูล การจำหน่ายจากห้องพักฟื้น ประเมินผลพบว่า บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกด้าน มีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลในระดับมากที่สุด มารดาหลังผ่าตัดคลอดมีภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดีจำนวน 3 คน(4.84 %) ไม่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ผ่าตัดซ้ำ และตัดมดลูก ส่งผลให้มารดาหลังคลอดปลอดภัย</p>
นิติยา หวังสันติวงศา
บัณฑิต หวังสันติวงศา
นริศรา มาลี
ราตรี อันปัญญา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
208
217
-
แนวทางการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและมีความเสี่ยงสูงในการก่อความรุนแรงโดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3633
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง อำเภอยางสีสุราช ระยะเวลาการศึกษามีการพัฒนา 3 ระยะ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2564 - มีนาคม 2566 คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการดูแล ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นจิตเวชเรื้อรัง (F20-F29) จำนวน 34 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้เครื่องมือแบบประเมินอาการทางจิต (Brief Psychiatric Rating Scale : BPRS) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง (Overt Aggression Scale : OAS) แบบประเมินคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา กระทรวงสาธารณสุข (V.2) แบบประเมินแรงจูงใจและระยะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of change) แบบคัดกรอง/ประเมินโรคซึมเศร้า (2Q 9Q) และแบบประเมินฆ่าตัวตาย (8Q) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการศึกษา พบว่าแนวทางการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงโดยชุมชนมีส่วนร่วม ประกอบด้วยการดูแล 3 ระยะ คือ การดูแลระยะก่อนเข้าโรงพยาบาล (Pre-Hospital) การดูแลขณะในโรงพยาบาล (In-Hospital) และการดูแลต่อเนื่องหลังจากกลับสู่ชุมชน (Post-Hospital) เกิดการโดยการดูแลแบบมีส่วนร่วมของชุมชนของ 3 หมอ และ 4 ทีม รวมทั้งมีการพัฒนาคู่มือแนวทางการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดและจิตเวชที่มีอาการทางจิตและมีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน ประกอบด้วย 1) คู่มือแนวทางการค้นหา/คัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่ออาการจิตเวชในชุมชน 2) คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยยาเสพติดและญาติ 3) คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยจิตเวชและญาติที่บ้าน 4) คู่มือการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยยาเสพติดและจิตเวชที่มีอาการทางจิตต่อเนื่องหลังจากจำหน่ายในชุมชน ผลลัพธ์การดำเนินงาน พบว่า ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและก่อความรุนแรงได้รับการดูแลฉุกเฉินและการส่งต่อดูแลต่อเนื่อง ร้อยละ 100 ไม่เกิดอุบัติการณ์รุนแรงจากพฤติกรรมของผู้ป่วย SMI-V ซ้ำในชุมชน ชุมชนสามารถประเมินและจัดการอุบัติการณ์รุนแรงเบื้องต้นได้ และสามารถดูแลต่อเนื่องหลังผู้ป่วยจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้</p>
ประครอง ประกิระนะ
จันทร์เพ็ญ สว่างไธสง
ดนัย บุญมี
กาญจนา จันทะนุย
อรนุช ไชยสันต์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
218
228
-
การจัดบริการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3635
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดบริการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอยางสีสุราช ดำเนินการวิจัย เดือน กันยายน 2563 – สิงหาคม 2564 ผู้มีส่วนร่วมวิจัย 2 กลุ่ม ได้แก่ `1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ ทีมสหวิชาชีพในรพ. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรพ.สต. อสม. อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และ ผู้นำชุมชน 2) ผู้ป่วยและครอบครัวที่มีป่วยด้วยวัณโรคปอด จำนวน 35 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบจำแนกระดับความรุนแรงผู้ป่วยวัณโรค แบบบันทึกการรับประทานยาระบบ DOTS`แบบฟอร์มการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ผู้ใกล้ชิด แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน แบบประเมินผู้ป่วยตามแนวทาง INHOME-SSS แบบสังเกต แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดยจำนวน ค่าเฉลี่ยและร้อยละ<br /> ผลการศึกษา พบว่า การจัดบริการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลยางสีสุราชโดย ประกอบด้วย 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม มีการนิเทศงานและติดตามประเมินผลของเครือข่าย เกิดจากการมีส่วนร่วมและผลักดันให้เกิดแผนงานโครงการสนับสนุนจากอปท.และพชอ. 2) พัฒนาจัดบริการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดในคลินิกบริการและในชุมชน ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพทีมหสวิชาชีพใน โรงพยาบาล,รพ.สต.และภาคีเครือข่ายชุมชน,พัฒนา CNPG การจัดการรายกรณีผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีโรคร่วม / ผู้ที่มีปัญหาด้านผู้ดูแลและการรับประทานยาวัณโรค รวมถึงพัฒนา CPG ,พัฒนาการจัดบริการ one stop service, จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการอาการแทรกซ้อนทางยาให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว,พัฒนาระบบส่งต่อ, พัฒนาระบบดูแลต่อเนื่องในชุมชน 3) พัฒนาระบบการข้อมูลและการส่งต่อข้อมูล รวมถึงระบบการให้คำปรึกษาแก่ รพ.สต./ชุมชน 4) พัฒนาเครือข่ายชุมชนในการดูแลระบบ DOTที่บ้าน ประเมินผล พบว่า ผู้ป่วยขาดนัดลดลงจาก 2.25 เป็น 0 ร้อยละการหยุดยาเอง 1.58 เป็น 0 ร้อยละการเกิดภาวะทุพโภชนาการ จาก 3.47 เป็น 1.32 ร้อยละการกลับมารักษาซ้ำภายใน 1 เดือน จาก 3.67 เป็น 0 อัตราความครอบคลุมการรักษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 79.63 เป็น 91.33 อัตราเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 15.63 เป็น 3.52 อัตราผลสำเร็จการรักษา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.22 เป็น 88.05 ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษา ลดการเสียชีวิต รักษาสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา</p>
ภิรญา พินิจกลาง
ธัญญามาศ เทพสาร
ธนวัฒน์ กางมาเทศ
อรนุช ไชยสันต์
กาญจนา จันทะนุย
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
229
240
-
รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ด้วยกระบวนการ A-I-C ตำบลปะอาว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3556
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1)วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ 2)เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และ3)เพื่อประเมินรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลปะอาว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้น จำนวน 287 คน เก็บรวบรวมข้อมูลภาวะสุขภาพจากแบบบันทึกสุขภาพ สะท้อนผลการดำเนินงานตามรายกิจกรรมที่กำหนดในรูปแบบการดูแลสุขภาพ ประเมินสภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการวิจัยพบว่าระดับความรู้ในการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับความรู้ดี ปัจจัยทางด้านจิตสังคม ด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้ข่าวสารการตระหนักในสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ด้านอาหาร ด้านอารมณ์ ด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง ด้านอโรคยา ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านอบายมุข อยู่ในระดับสูง ปัญหาในผู้สูงอายุด้านร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาด้านจิตใจ และปัญหาทางด้านสังคมและเศษฐกิจ อยู่ในระดับต่ำ ความต้องการของผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย อยู่ในระดับสูง ความต้องการทางด้านจิตใจ อยู่ในระดับต่ำ และความต้องการทางด้านสังคมและเศษฐกิจ อยู่ในระดับสูง มีรูปแบบในการดำเนินกิจกรรม คือ1)การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโดยการบรรยายประกอบสื่อ 2)การสร้างแนวทางการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3)การคัดเลือกกิจกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ที่เหมาะสมประเมินสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดรูปแบบแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 4)การสร้างแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยแบ่งตามประเภทของผู้สูงอายุ ได้แก่กลุ่มช่วยเหลือตนเองได้ดี กลุ่มช่วยเหลือตนเองได้บ้าง กลุ่มช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 5)การสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ที่เหมาะสม ซึ่งผลการประเมินตามรูปแบบก่อนและหลังดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
อุไรวรรณ หลาทอง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
241
248
-
การพัฒนาการเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดของห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสวรรคโลกโดยใช้ LINE BOT
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3737
<p> การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา พัฒนา และใช้รูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดของห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสวรรคโลกโดยใช้ LINE BOT ทาการศึกษาระหว่างมกราคม 2566 - มกราคม 2567 จานวน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยผ่าตัด จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวคำถามกึ่งโครงสร้างในการพัฒนารูปแบบ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เตรียมตัวผ่าตัด แบบประเมินความพึงพอใจบริการห้องผ่าตัด แบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงเนื้อหาแบบสามเส้า เชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเปรียบเทียบก่อนหลังด้วยสถิติ paired-t test<br> ผลการศึกษา กระบวนการ พัฒนาการเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัดของห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสวรรคโลกโดยใช้ LINE BOT ประกอบด้วย 6 กระบวนการดังนี้ 1) ทบทวนบทบาท จุดเริ่มต้น ปัญหา การจัดทาและคิดค้นนวัตกรรม 2)กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองใช้นวัตกรรม 3) ออกแบบลักษณะผลงานนวัตกรรม 4) กำหนดเป้าหมายนวัตกรรม 5) กำหนดหลักการและขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการพัฒนา 6) ทดลองและนาร่องการใช้นวัตกรรมในห้องผ่าตัด ผลลัพธ์ของรูปแบบส่งผลให้อุบัติการณ์ความไม่พร้อมในการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนจากการดูแลตนเองหลังผ่าตัดลดลง ความรู้เตรียมตัวผ่าตัด แบบประเมินความพึงพอใจบริการห้องผ่าตัด แบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรม เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=8.82, 6.88, 8.69 ตามลำดับ)</p>
กุลพัชร เขียวชอุ่ม
ณัฐยา ชูเชิด
Copyright (c) 2025
2024-12-31
2024-12-31
9 6
249
259
-
ผลการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุรินทร์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3544
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิด One group pretest-posttest design เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับประชาชนไทย (Rational Drug Use Literacy tool: RDUL) ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) รายงานค่าสถิติเป็น ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, SD) ส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผล ก่อนและหลังการพัฒนา ใช้สถิติ Paired sample t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.3 อายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี ร้อยละ 41.3 ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ป.5-ป.6 ร้อยละ 37.0 เคยตรวจและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ร้อยละ 37.0 ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50.0 รองลงมา คือ เบาหวาน ร้อยละ 19.6 และ ไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 15.2 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 92.4 หลังการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพียงพอเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 70.7 เป็น ร้อยละ 90.2 และพบว่าการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ทำให้คะแนนความรอบรู้ของ อสม. เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุก ๆ ด้าน (p<.05)</p>
เบญจวรรณ กิ่งมณี
ณัฐภรณ์ สมบุตร
สรชา งามทรัพย์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
260
270
-
ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสำนักอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3546
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสำนัก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง ได้แก่ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสำนัก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 31 คน กลุ่มเปรียบเทียบ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนหนองยางหนองม่วง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 27 คน รวม 58 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่าง 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05<br /> ผลการศึกษาพบว่า ผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ทัศนติต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก การรับรู้ความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพช่องปาก การรับรู้ความรุนแรงของปัญหาสุขภาพช่องปาก การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพช่องปาก การรับรู้อุปสรรคในการดูแลสุขภาพช่องปาก แรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
กนกวรรณ คำโสภา
อารี บุตรสอน
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
271
283
-
การยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3560
<p> การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุ ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับตนเองกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีของผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 263 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ค่า Least Significant Difference LSD (LSD) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีการยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ และสถานภาพสมรสต่างกัน มีพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่างกัน มีพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดีไม่ต่างกัน 3) การยอมรับตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) สัมพันธภาพในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเตรียมตัวตายดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
กาญจน์วรินทร์ วรินธนวัฒน์
ทิพย์วัลย์ สุรินยา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
284
297
-
ผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ "Easy Splint Care" ต่อความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังใส่เฝือกของผู้รับบริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3581
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้แอปพลิเคชันไลน์ “Easy Splint Care”กับแผ่นพับให้ความรู้ของห้องเฝือกต่อระดับความรู้การปฏิบัติตัวหลังใส่เฝือกของผู้รับบริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของเอดการ์ เดล (Edgar Dale ,1996)คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 52 คน จากผู้ป่วยที่ใช้บริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ที่ใส่เฝือกของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 26 คน และ กลุ่มทดลอง 26 คน โดยกลุ่มควบคุมใช้แผ่นพับให้ความรู้ห้องเฝือก จำนวน 26 คน และกลุ่มทดลองจะใช้แอปพลิเคชันไลน์ “Easy Splint Care”จำนวน 26 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความรู้เรื่อง การปฏิบัติตัวหลังใส่เฝือก ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 18-29 มีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสถิติ Paired t-test และ Independent t-test<br /> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับสื่อแผ่นพับและสื่อแอปพลิเคชันไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของกลุ่มทดลองที่ได้รับแอปพลิเคชันไลน์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับแผ่นพับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น สามารถนำรูปแบบสื่อการสอนแอปพลิเคชันไลน์“Easy Splint Care” ไปใช้กับผู้ป่วยที่ใช้บริการห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ที่ใส่เฝือกได้</p>
ดวงพร ชาศรี
ชัชรชัย ทองเชื้อ
ภัทรพงษ์ สิงหรักษ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
298
306
-
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรด้านความเชื่อของบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เสี่ยง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3580
<p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรด้านความเชื่อของบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM<sub>2.5</sub> ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เสี่ยง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค อยู่ระหว่าง .868 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณณา และวิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)<br /> ผลจากการศึกษา พบว่า รับรู้อุปสรรคในการป้องกันตนเอง การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันตนเอง และการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM<sub>2.5 </sub>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 .01 และ.001 ตามลำดับ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM<sub>2.5</sub> อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM<sub>2.5 </sub>ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ คือ การนำปัจจัยตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงกลุ่มอื่น ๆ เพื่อนำผลการวิจัยมาหาข้อสรุปและกำหนดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM<sub>2.5 </sub>ในพื้นที่เสี่ยงต่อไป</p>
อภิชา น้อมศิริ
วิศรี วายุรกุล
อลิสสา รัตนตะวัน
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
307
317
-
ความสมดุลในชีวิตและการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และความเหนื่อยหน่ายในงาน ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3582
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความสมดุลในชีวิตและการทำงาน การสนับสนุนทางสังคมและ ความเหนื่อยหน่ายในงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเพื่อศึกษาอิทธิพลของความสมดุลในชีวิตและการทำงาน และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 158 คน เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย โดยการนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์แล้วไปแจกกลุ่มตัวอย่าง ตามจำนวนที่ได้คำนวณไว้ตามสัดส่วนโดยอธิบายถึงขั้นตอนและรายละเอียดของการตอบแบบสอบถาม ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง เก็บรวบรวมแบบสอบถามพร้อมทั้งตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบบสอบถาม นำแบบสอบถามทั้งหมด มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติและตราจสอบความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด นำข้อมูลที่ได้มาบันทึกแบบบลงรหัส แล้วนำมาวิเคราะห์ และประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์<br /> ผลการวิจัยพบว่า ความสมดุลในชีวิตและการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.54, SD = 0.61) การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.66, SD = 0.79) การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนอยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.80, SD = 0.76) การสนับสนุนทางสังคมจากคนสำคัญอยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.77, SD = 0.63) ความเหนื่อยหน่ายในงานอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 2.34, SD = 0.53) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าความสมดุลในชีวิตและการทำงานมีอิทธิพลทางลบต่อความเหนื่อยหน่ายในงาน (β = -0.663, p < .001) ในขณะที่การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีอิทธิพลทางบวก (β = 0.296, p < .001) การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนมีอิทธิพลทางลบ (β = -0.411, p < .001) และการสนับสนุนทางสังคมจาก คนสำคัญมีอิทธิพลทางบวก (β = 0.556, p < .001) โดยร่วมกันทำนายความเหนื่อยหน่ายในงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร้อยละ 27.0 (R<sup>2</sup> = 0.270)</p>
เสาวนีย์ จันทนบุบผา
นรุตม์ พรประสิทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
318
325
-
ผลของสื่อการสอนในรูปแบบแอนิเมชันเรื่อง “Newborn Jaundice” ต่อความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2567
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3584
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่อง การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับชมสื่อแอนิเมชันเรื่อง “Newborn Jaundice” และกลุ่มควบคุมที่ได้รับเอกสารการสอนเรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 60 คน โดยเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยใช้วิธีจับคู่ให้มีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน ในด้าน เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อแอนิเมชันเรื่อง “Newborn Jaundice” เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาค่า IOC เท่ากับ 1.00 และหาค่าความเที่ยงได้ค่า KR-20 เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ independent t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)</p>
ชลินทรา วรรณภักตร์
จิรปรียา โรจนเกียรติปรีดา
ฐิติรัตน์ มูลมงคล
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
326
334
-
การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดอุดรธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3655
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ บริบทของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน พัฒนาและประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาดำเนินการวิจัย มิถุนายน 2567 - พฤศจิกายน 2567 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จำนวน 1,078 คน กลุ่มที่ 2 เครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิและเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิส่วนนอกงานสาธารณสุข จำนวน 100 คน กลุ่มที่ 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 20 คน และทดลองใช้รูปแบบฯ กับกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 200 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์และปัญหาการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) และระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบและผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน (Inferential statistic) ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติ Paired sample t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรอบรู้ด้านสุขภาพภาพรวมอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 34.14 พฤติกรรมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก-ดีเยี่ยม ร้อยละ 58.91 และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (HbA1c < 7) ร้อยละ 36.92 2. รูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหาแบบมีส่วนร่วม 2) สร้างคู่มือสร้างความรอบรู้ด้านสุภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3) สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้ทฤษฎีเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) 4) ส่งเสริมภาคีเครือข่ายให้เกิดแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5) เยี่ยมเสริมพลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามประเมินผล 3. หลังดำเนินการพัฒนารูปแบบฯพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นจากก่อนดำเนินการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงจากก่อนดำเนินการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)</p>
มยุรี คนยัง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
335
245
-
การปรับปรุงสถานีงานและท่าทางการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3590
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และประเมินความรู้สึกปวดเมื่อยล้า ของ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทพลาสติก ก่อนและหลังการปรับปรุงสถานีงานและท่าทางการทำงาน และเพื่อออกแบบปรับปรุงสถานีงานและท่าทางการทำงาน ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ โดยทำการศึกษากับ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทพลาสติกแห่งหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยแผนกฉีดขึ้นรูปและแผนกบรรจุสินค้า จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการยศาสตร์ท่าทางในการทำงานด้วยวิธี REBA (Rapid Entire Body Assessment) แบบสอบถามความรู้สึกปวดเมื่อยล้าของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติ Paired Samples T-Test<br /> ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานก่อนการปรับปรุงสถานีงานยังอยู่ในระดับสูงมาก (ค่าเฉลี่ย 11.20±1.014 และ 9.0±1.095) แต่หลังการปรับปรุงด้วยการออกแบบและติดตั้งตัวปรับระดับความสูงของโต๊ะทำงาน ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ลดลงมาอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 4.07±1.033 และ4.50±2.811 ) นอกจากนี้ ระดับความรู้สึกปวดเมื่อยล้าของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของผู้ปฏิบัติงานแผนกฉีดขึ้นรูปและแผนกบรรจุชิ้นงาน ก่อนปรับปรุงท่าทางการทำงานมีอัตราที่ลดลงหลังการปรับปรุงท่าทางการทำงานด้วยการออกแบบและติดตั้งที่พักเท้า ในพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงสถานีงานร่วมกับการปรับปรุงท่าทางการทำงานส่งผลให้ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานแผนกบรรจุสินค้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)</p>
วรพล สงชุม
เสรีย์ ตู้ประกาย
ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช
นันท์นภัสร อินยิ้ม
โกวิท สุวรรณหงษ์
วัฒนา จันทะโคตร
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
346
354
-
ผลการใช้รูปแบบการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3656
<p> การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ และศึกษารูปแบบการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แกนนำชุมชน ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ จำนวน 60 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษา พบว่า หลังดำเนินงาน ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อศักยภาพของชุมชนในการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อศักยภาพของชุมชนในการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ก่อนและหลังดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อศักยภาพของชุมชนในการบำบัดยาเสพติดแบบมีส่วนร่วมในชุมชน หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการดำเนินการ</p>
นริส คมจิตร
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
355
365
-
การพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3591
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ บริบท ปัจจัย เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาความรู้ และทัศนคติ ต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 3) พัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ และ 4) ศึกษาผลของรูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่พัฒนาขึ้น มีรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนเพศหญิงพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านนาฮี ที่มีอายุระหว่าง 30 – 60 ปี และไม่ได้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างปี 2564 – 2566 กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนเพศหญิง ที่อาศัยในพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านนาฮี จำนวน 9 หมู่บ้าน ที่มีอายุระหว่าง 30 – 60 ปี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ และรูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ก่อน หลังการใช้รูปแบบฯ ด้วยสถิติ Paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกในระดับปานกลาง และมีทัศนคติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระดับต่ำ ผลการพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 หัวข้อ ได้แก่ ชื่อรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขอบเขต นิยามศัพท์เฉพาะ และรูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยเน้นการดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน และใช้วิธีการให้กลุ่มเป้าหมายเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจด้วยตนเอง (HPV Self Sampling) หลังจากการนำรูปแบบไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ และระดับทัศนคติเพิ่มสูงขึ้นแตกต่างจากก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ความรู้: Mean 5.975, SD. 2.258, p=0.00, ทัศนคติ: Mean 10.075, SD. 3.744, p=0.00)</p>
ลกช พิริยะ
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
366
374
-
ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3593
<p> การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการทดลองพบว่าคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 46.828 และ 53.057 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติหลังการทดลองเท่ากับ 53.057 และ 47.942 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 68.085 และ 102.514 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติหลังการทดลองเท่ากับ 102.514 และ 63.971 ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)</p>
อัมพร พรชยากร
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
375
383
-
การพัฒนาสมรรถนะแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3599
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว เพื่อพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดที่เหมาะสม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน และเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลจากแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชก่อนและหลังการได้รับการพัฒนาสมรรถนะ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไป ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test<br /> ผลการศึกษา พบว่า แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน หลังการได้รับโปรแกรมฯ มีสมรรถนะสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยมีคะแนนความรู้ก่อนได้รับการพัฒนาสมรรถนะเฉลี่ย 8.96 (S.D. = 1.82) และหลังได้รับการพัฒนาสมรรถนะมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 12.53 (S.D. = 1.40) ในส่วนของการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดที่เหมาะสม หลังการได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยมีคะแนนทักษะการดูแลผู้ป่วยก่อนได้รับการพัฒนาสมรรถนะฯ เฉลี่ย 33.56 (S.D. = 6.31) และคะแนนทักษะการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับการพัฒนาสมรรถนะฯ เฉลี่ย 37.10 (S.D. = 4.05) ในส่วนของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวาน หลังการได้รับการพัฒนาสมรรถนะสูงกว่าก่อนการได้รับการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยก่อนได้รับการดูแล ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 9.16 (S.D. = 2.15) และหลังได้รับการดูแลผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 12.86 (S.D. = 1.59) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานด้านการควบคุมอาหาร และด้านจัดการความเครียด พบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานก่อนการได้รับคำแนะนำสูงกว่าหลังได้รับคำแนะนำ ส่วนด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานด้านการออกกำลังกาย ด้านการพักผ่อน และด้านการใช้ยา พบว่า คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานหลังการได้รับการแนะนำสูงกว่าก่อนการได้รับการแนะนำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> </p>
ธัญญรัตน์ ศุภการนรเศรษฐ์
สรรปกรณ์ ศุภการนรเศรษฐ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
384
403
-
รูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3683
<p> การศึกษา รูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ . เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และศึกษาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่าง เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือน ธันวาคม 2567 รวม 2 เดือน จำนวน 4 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังรูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 4 ราย และ D/C ร้อยละ 100.0 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ปี 2567 ไม่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดทั้ง 2 ข้อ ผ่าน 2 ข้อ</p>
รังสินี วันยาว
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
404
411
-
ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3602
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลหลังการทดลอง 1 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการร้านชำที่จำหน่ายยา จำนวน 36 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีเลือกแบบจับคู่อย่างมีระบบ กลุ่มละ 18 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมจะได้รับการเฝ้าระวังและสุ่มตรวจร้านตามปกติ ระยะเวลาในการวิจัยตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2567 ถึง กันยายน 2567 รวม 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการร้านชำ, สื่อ/อุปกรณ์การอบรม, แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัย, แบบสอบถามความคาดหวังต่อการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัย และแบบทดสอบการตัดสินใจเลือกซื้อยามาจำหน่ายในร้านชำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Independent t – test และสถิติ Repeated Measure ANOVA ด้วยเทคนิค LSD<br /> ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังต่อการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าคะแนนเฉลี่ยการตัดสินใจเลือกซื้อยามาจำหน่ายในร้านชำมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เมื่อติดตามผลหลังการทดลอง 1 เดือน กลุ่มทดลองยังคงมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ (p < 0.001) ความคาดหวัง (p < 0.001) และการตัดสินใจเลือกซื้อยา (p < 0.001) โดยด้านการตัดสินใจยังมากกว่าระยะหลังการทดลองทันทีอีกด้วย (p < 0.001) จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯมีประสิทธิผลในการพัฒนาผู้ประกอบการร้านชำทั้งด้านความรู้ ความคาดหวัง และการตัดสินใจเลือกซื้อยามาจำหน่าย ดังนั้นควรนำไปใช้สำหรับพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านชำในการจำหน่ายยาอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็นในการขยายผลโปรแกรมฯ ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่อไป</p>
มยุเรศ ฤทธิ์ทรงเมือง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
412
420
-
ประสิทธิภาพการพยากรณ์การเสียชีวิตในผู้ป่วยหลังผ่าตัดแผลในกระเพาะอาหาร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ พ.ศ. 2563-2567
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3605
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพการพยากรณ์การเสียชีวิตในผู้ป่วยหลังผ่าตัดแผลในกระเพาะอาหาร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ พ.ศ. 2563-2567 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดแผลในกระเพาะ จำนวน 480 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ในการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าต่ำสุด (Minimum), ค่าสูงสุด (Maximum) และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Chi-square test และ และ การหาขนาดของความสัมพันธ์ ใช้ค่าของ Odd Ratio, 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br /> ผลการศึกษา: พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยหลังผ่าตัดแผลในกระเพาะอาหาร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่า 30 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคเบาหวาน (OR = 30.74, 95%CI = 12.86 – 73.52, p-value < 0.001), ผู้ป่วยที่มีโรคตับมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่า 35 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคตับ (OR = 35.769, 95%CI = 20.929 – 61.132, p-value < 0.001), ผู้ป่วยที่มีโรคมะเร็งมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่า 38 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีโรคมะเร็ง (OR = 38.667, 95%CI = 22.121 – 67.586, p-value < 0.001) และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต โดยพบว่าโอกาสเสียชีวิตสูงกว่า 23 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ (OR = 23.600, 95%CI = 15.369 – 36.239, p-value < 0.001)</p>
จุฑามาศ ปัททุม
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
421
429
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ของกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ เรื้อรังด้วยบริการการแพทย์แผนไทย ในผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงาน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3604
<p> การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เรื่องกลุ่มอาการปวด ปัจจัยการรับรู้ และปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง ที่รับบริการการแพทย์แผนไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการวัยทำงาน จำนวน 179 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ศูนย์ราชการฯ กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.10) มีอายุเฉลี่ย 37.72 ± 10.28 ปี ประกอบอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีลักษณะการทำงานที่ต้องใช้ท่าทางซ้ำๆ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการปวด การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยกระตุ้นพบว่าปัจจัยภายในอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ปัจจัยภายนอกอยู่ในระดับสูง โดยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการกลับเป็นซ้ำของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ผลการวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่า มีสองปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการกลับเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> < 0.05) ได้แก่ ลักษณะงานที่ต้องเอื้อมหยิบของ (AOR: 2.62, 95%CI: 1.37-4.50) และปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก (AOR: 16.14, 95%CI: 1.98-131.40)</p>
จุฑารัตน์ ว่องกิดาการ
เกษร สำเภาทอง
กิตรวี จิรรัตน์สถิต
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
430
438
-
การศึกษาการวางแผนตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดและลักษณะทางสังคมแม่วัยรุ่น โรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี 2564
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3657
<p> องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) อัตราการคลอดในวัยรุ่นของไทยยังคงจัดอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อย (Less developed regions) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและการใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง การถูกล่วงละเมิดทางเพศรวมถึงการข่มขืนและถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ส่งผลกระทบในหลายมิติ งานคลินิกวัยรุ่น โรงพยาบาลศรีสะเกษจึงทำการศึกษาแม่วัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด และลักษณะทางสังคมของแม่วัยรุ่น ประชากรคือแม่วัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 412 คน รูปแบบการศึกษา เชิงพรรณนา (Descriptive Research) เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Serial Cross Sectional Study) โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)<br /> ผลการวิจัยพบว่า แม่วัยรุ่นตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้วางแผน ไม่ได้ตั้งใจ ไม่คุมกำเนิดและคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ เพื่อนชาย (พ่อของเด็ก) คุมกำเนิดต่ำ แม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในขณะที่ยังไม่จบการศึกษาและออกกลางคัน เพื่อนชาย (พ่อของเด็ก) อาชีพไม่มั่นคงและตกงาน ยังมีสถานะเป็นนักเรียน นักศึกษา ครอบครัวแม่วัยรุ่นพึ่งพิงรายได้จากพ่อแม่ผู้ปกครอง</p>
กุสุมา มีศิลป์
พงศ์ศิริ ชิดชม
อนัญญาลักษณ์ สุดชารี
สุภาภรณ์ ทัศนพงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
439
445
-
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการลดการเกิดภาวะภูมิไวเกินจากการได้รับยากลุ่ม Paclitaxel Carboplatin ในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช โรงพยาบาลสุโขทัย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3658
<p> การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการลดอัตราการเกิดภาวะภาวะภูมิไวเกิน และ ลดระดับความรุนแรงของการเกิดภาวะภูมิไวเกินจากยาในผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่รับยากลุ่ม Paclitaxel Carboplatin ตามรูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลของ ซูคัพ (Soukup, 2000) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ได้รับยาเคมีบำบัดกลุ่ม Paclitaxel Carboplatin ในการรักษาโรคมะเร็งทางนรีเวชที่โรงพยาบาลสุโขทัย จำนวน 89 ราย เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกอาการเกิดภาวะภูมิไวเกินจากการได้รับยากลุ่ม Paclitaxel Carboplatin และระดับการเกิดภาวะภูมิไวเกิน และระยะเวลาในการให้ยาเคมีบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบได้แก่ Independent T-test และ Chi – square ตามลักษณะของข้อมูล<br /> ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ผู้ป่วยเกิดภาวะภูมิไวเกินร้อยละ 41.83 และพบความรุนแรงตั้งแต่ระดับ 1 ถึง 4 มีการบริหารเวลาในการให้ยาเกิน 180 นาที ร้อยละ 53.06 จัดเป็น Specific Clinical risk ระดับ E และ H ระยะที่ 2 สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาทางคลินิก ได้วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 15 ฉบับ ระยะที่ 3 สร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล นำมาทดลองใช้ และ ปรับปรุง 2 ครั้ง นำไปประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติโดยใช้แบบประเมิน AGREE II จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ท่าน ได้แนวปฏิบัติที่เรียกว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลในการบริหารยากลุ่ม Paclitaxel Carboplatin แบบ SBT (Sukhothai hospital Best Titrate) ระยะที่ 4 นำแนวปฏิบัติการพยาบาลในการบริหารยาแบบ SBT ไปใช้จริง พบว่า 1) อัตราการเกิดภาวะภูมิไวเกินของผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน (p- value 0.05) 2) ความรุนแรงของภาวะภูมิไวเกินของกลุ่มทดลอง ไม่เกินระดับ 2 ส่วนกลุ่มควบคุม ไม่เกินระดับ 4 3) สัดส่วนของการได้รับยาเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา180 นาทีของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p- value 0.05)</p>
เบ็ญจวรรณ ทอดเสียง
สุนทรี เยื้องเจริญ
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
446
454
-
การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและจัดบริการพยาบาลขณะรอตรวจ แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3659
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ ดำเนินการพัฒนาการจัดบริการพยาบาลร่วมกับทีมการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกและทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ตามแนวคิดคุณภาพบริการ (Service Quality) ของ Parasuraman, Zeithaml & Berry, 1990 ระยะเวลาวิจัย เดือน กันยายน 2564 -ตุลาคม 2565 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มการจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจ แบบรายงานความเสี่ยง RCA FORM แบบรายงานข้อมูลผู้ป่วยทรุดลง แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการคัดกรองและจัดบริการพยาบาลขณะรอตรวจ แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป โรงพยาบาลโพนพิสัย คือ OPD CARE ประกอบด้วย O=OPD triage : แนวทางการคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย P=Preceptor : การมีพี่เลี้ยง D=Job Description : กำหนดหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน C= Competency :พัฒนาสมรรถนะพยาบาล A=Awareness : ตระหนักในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะทรุดลง R = Response : แนวทางการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน E=Evaluation : การประเมินผล สะท้อนกลับ นิเทศติดตาม ประเมินผล พบว่า ผู้ป่วย Under Triage จากร้อยละ 5.03 ลดลงเหลือ 4.17 ผู้ป่วย Over Triage จากร้อยละ 14.75 ลดลงเหลือ 10.20 ร้อยละผู้ป่วยสีเหลืองเกิดภาวะวิกฤตฉุกเฉิน (สีเหลืองกลายเป็นสีแดง) ขณะรอตรวจ OPD จาก 2 ราย เป็น 0 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการพยาบาลเพิ่มขึ้นขณะรอตรวจทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบอุบัติการณ์ข้อร้องเรียน</p>
เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์
ศิริวรรณ สิงหศิริ
นงค์นุช โฮมหงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
455
463
-
รูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3660
<p> การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ และศึกษารูปแบบการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยระหว่างรอตรวจ ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ ระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2567 รวม 3 เดือน จำนวน 507 คน คำนวณจากสูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ Krejcie และ Morgan เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษา พบว่า หลังการดำเนินงาน ความเข้าใจของผู้ป่วยในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ระหว่างรอตรวจและความเข้าใจของผู้ป่วยในการให้บริการตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด และความเข้าใจของผู้ป่วยในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ระหว่างรอตรวจและความเข้าใจของผู้ป่วยในการให้บริการตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จ ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังดำเนินการความเข้าใจของผู้ป่วยในการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ระหว่างรอตรวจและความเข้าใจของผู้ป่วยในการให้บริการตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จ ดีกว่าก่อนการดำเนินการ และไม่พบอุบัติการณ์อาการไม่พึงประสงค์</p>
สรางค์รัตน์ อ่อนดี
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
464
471
-
ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3661
<p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ, เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ และเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ที่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรก ณ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือน สิงหาคม-ธันวาคม 2567 จำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่, แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบสอบถามพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, แบบบันทึกการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและแบบบันทึกการติดตามผลการตรวจหาความเข็มข้นของเม็ดเลือดแดง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Paired- Samples t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า เฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.01 โดยหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 8.8 คะแนน (SD±1.224) มากกว่าหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 6.7 คะแนน (SD±2.259) ค่าเฉลี่ยคะแนนคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ภาพรวมค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.001 โดยหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 75 คะแนน (SD±3.115) มากกว่าหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 63.2 คะแนน (SD±12.508) และค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ และค่าเฉลี่ยฮีมาโตคริตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.001 โดยหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 33.6 vol% (SD±5.7) มากกว่าหลังได้รับโปรแกรมฯ เท่ากับ 30.7 vol% (SD±1.1)</p>
กมลวรรณ เตชะฟอง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
472
482
-
การพัฒนารูปแบบการป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเองโดยกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3662
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม Participatory Action Research (PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเอง อำเภอละแม จ.ชุมพร กลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) ได้แก่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน แกนนำครอบครัว แกนนําผู้สูงอายุ ปราชญชาวบ้าน พระ บุคลากรสาธารณสุข แกนนําเยาวชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ญาติผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยจิตเวช ผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในชุมชน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ตามความสมัครใจ จำนวน 55 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Non -Structured interview) การสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์เจาะลึก (In – depth Interview) กับผู้เกี่ยวข้องในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)<br /> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง และกลุ่มผู้ติดสุราและสารเสพติด ซึ่งได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 100 และผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องรับการรักษาได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 3 คน ในรอบ 1 ปี มีผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายและกระทำรุนแรง จำนวน 94 คน คิดเป็น 12.75 ต่อแสนประชากร ผู้พยายามฆ่าตัวตายทุกรายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านภายใน 30 วัน อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยบุคลากรสุขภาพใช้แผนการดูแลรายบุคคล และติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี จากบุคลากรสุขภาพและ/หรือเครือข่ายชุมชน จนปลอดภัยจากการฆ่าตัวตาย ส่วนอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ปี พ.ศ.2567 ลดลง เหลือ 3.40 ต่อแสนประชากร</p>
มนต์ทิพา เทพเทียมทัศน์
ฤทธี เพ็ชรนิล
วิษณุ อนิลบล
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
483
492
-
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3606
<p> การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในระบบการดูแลระยะยาวโดยโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ(Sufficient Care for Dementia : SCD) ของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างในระยะการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 350 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ที่เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่ม 1 กลุ่ม 2 ในระบบการดูแลระยะยาว จำนวน 33 คน และผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 32 คน ในช่วงเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2565 – ก.ค. 2566 แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติ Paired T-Test และ Mac Nemar Test<br /> ผลการศึกษาพบว่า 1. การคัดกรองผู้สูงอายุในชุมชนพบมีผู้สูงอายุที่มีสงสัยภาวะสมองสื่อม ร้อยละ 16.8 และพบปัญหาพฤติกรรมผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 60.0 2. กระบวนการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอในระบบการดูแลระยะยาว พบว่าประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ การออกแบบแผนการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอภายใต้โปรแกรมการดูแลระยะยาว การพิจารณาแผนการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอโดยคณะอนุกรรมการกองทุนระบบการดูแลระยะยาว การ จัดบริการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมแบบเพียงพอในชุมชน และ การประเมินผลลัพธ์ของการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ 3. ผลลัพธ์การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างเพียงพอในระบบการดูแลระยะยาว หลังวิจัย 3 เดือน และ 6 เดือน พบว่าพฤติกรรมผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ของผู้สูงอายุลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) คะแนนเฉลี่ยภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุลดลง (P=0.048) ด้านผู้ดูแลพบว่าภาระการดูแลของผู้ดูแลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และความพึงพอใจของผู้ดูแลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.002)</p>
ดังการ พลลาภ
ศิราณี ศรีหาภาค
ประครอง ขันบำรุง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
493
503
-
ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วมในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3608
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วม ดำเนินการวิจัยในเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง 24 คน เป็นผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วมที่เข้ารับการรักษาในระยะบำบัดด้วยยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง และ (3) โปรแกรมการจัดการรายกรณี สำหรับเครื่องมือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และโปรแกรมการจัดการรายกรณีผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทีคู่ (paired t-test)<br /> ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมการจัดการรายกรณี มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em> = -30.06, <em>p</em> < .001) สรุปได้ว่าโปรแกรมการจัดการรายกรณีมีประสิทธิผลสามารถเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีโรคจิตเภทร่วมได้</p>
ไกรวุฒิ ศรีจันทร์
รัชณีย์ วรรณขาม
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
504
511
-
ผลของการให้คำปรึกษาเด็ก และเยาวชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกใช้ยาเสพติด โรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3612
<p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาเด็ก และเยาวชนแบบผสมผสานตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกใช้ยาเสพติด และเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาเด็ก และเยาวชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกใช้ยาเสพติด โรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เป็นการทดลอง ประชากรจำนวน 10 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลองได้รับการให้คำปรึกษาแบบผสมผสานตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม จำนวน 5 คน และกลุ่มควบคุมได้รับการให้คำปรึกษาตามคู่มือหลักสูตรการให้คำปรึกษาการจัดการภาวะยาเสพติด จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบคัดกรองการใช้สารเสพติด ASSIST-LITE วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon Signed Ranks Test) และการทดสอบแมนวิทนีย์ (Mann - Whitney U Test)<br /> ผลการวิจัย พบว่า หลังการให้คำปรึกษาแบบผสมผสานตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีระดับพฤติกรรมการเลิกใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการเลิกใช้ยาเสพติดระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม หลังการให้คำปรึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p>
จรรจิรา กางทอง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
512
518
-
การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร ด้วยเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3615
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร ให้ได้ตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน และคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบเก็บข้อมูลการประเมินจากระบบ DDC PMQA 4.0 กรมควบคุมโรค แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล และแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติพรรณนา โดยใช้จำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์จากเนื้อหาของข้อมูล <br /> ผลการวิจัยพบว่า ช่องว่างในการพัฒนา คือ ขาดการคาดการณ์ผลการดำเนินงานและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ให้ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อรองรับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ขาดการจำแนกกลุ่มผู้รับบริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการประเมินความต้องการและความผูกพันที่ชัดเจน ขาดความชัดเจนในการระบุนวัตกรรม และเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ขาดกระบวนการ แนวทาง กลไกเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรที่ชัดเจน และขาดการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน หน่วยงานมีคะแนนการประเมินตามเกณฑ์หมวด 1 - 6 ซึ่งเป็นหมวดกระบวนการที่หน่วยงานได้พัฒนาการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566 มีผลคะแนนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ในหมวด 1-5 และ หมวด 6 คะแนนคงเดิม</p>
ธวัชชัย รักษานนท์
ณัฐธิดา ชำนิยันต์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
519
529
-
การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3707
<p> การศึกษานี้เป็นกรณ๊ศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ ผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดจำนวน 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลห้วยเม็ก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 ของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลลัพธ์การพยาบาล<br /> ผลการศึกษา : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัย Pneumonia with Septic shock โดยรายที่ 1 หญิงไทย อายุ 70 ปี ไข้ เหนื่อยเพลีย ทานได้น้อย มา 3 วัน มีโรคประจำตัวคือ Diabetes mellitus type 2 with Hypertension with Ischemic heart disease และพบ SIRs 3 ข้อ , NEWs 12 คะแนน แพทย์ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จนอาการดีขึ้น และจำหน่ายกลับบ้าน รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 8 วัน รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 89 ปี ไข้ ซึม ทานได้น้อย มา 2 วัน มีโรคประจำตัวคือ Diabetes mellitus type 2 with Hypertension with Old cerebrovascular accident และพบ SIRs 2 ข้อ , NEWs 8 คะแนน แพทย์ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ จนอาการดีขึ้น และจำหน่ายกลับบ้าน รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 6 วัน</p>
วไลลักษณ์ สีละพัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
530
539
-
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเข้มงวด เพื่อเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3708
<p> การศึกษานี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Rresearch and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเข้มงวด เพื่อเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยดเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษาพบว่า ก่อนดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ77.37 อายุเฉลี่ย56.01 + 9.80 BMI ผิดปกติ ร้อยละ 100.00 FBS เกินร้อยละ 77.4 และ A1C เกิน 77.4 รับประทานยา MFM ร้อยละ 97.08 Glipizideร้อยละ 62.04 pioglitazone ร้อยละ 7.29 หลังการดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ BMI ผิดปกติ ร้อยละ 97.1 FBS เกินร้อยละ 59.5 และ A1C เกิน 32.1 รับประทานยา MFM ร้อยละ 81.38 Glipizide ร้อยละ 50.36 pioglitazone ร้อยละ 5.10 ลดขนาดยา ร้อยละ 25.18 และหยุดยา ร้อยละ 5.83 ผลการเปรียบเทียบสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกัน โดย น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาล ระดับน้ำตาลสะสม มีค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
เดือนเพ็ญ เคี่ยนบุ้น
พงษ์เธียร พันธ์พิพัฒไพบูลย์
ภูมิธพัฒน์ มายุศิริ
ณกานต์ชญาน์ นววัชรินทร์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
540
550
-
ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเพื่อป้องกันความรุนแรงของการดำเนินโรค หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3709
<p> การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเพื่อป้องกันความรุนแรงของการดำเนินโรค ในแผนกหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 20 คน 2) ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับการรักษาแผนกหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส ระหว่างวันที่ 9 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2567 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯแบบเดิม จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯแบบใหม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติฯ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯแบบใหม่ และแบบบันทึกผลลัพธ์หลังใช้แนวปฏิบัติ เครื่องมือในการทดลองคือ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ Paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯแบบเดิมและแบบใหม่อยู่ในระดับสูง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 104.75, S.D.=17.13; <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 123.60, S.D.=6.90) เมื่อเปรียบเทียบพบว่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯแบบใหม่สูงกว่าการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-5.951, p<0.001) ด้านผลลัพธ์ต่อผู้รับบริการพบว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯแบบเดิมเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระดับรุนแรง/เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อร้อยละ 10.0 อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3.3 นอนรักษาในโรงพยาบาลไม่เกิน 7 วันร้อยละ 76.7 ค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนโรงพยาบาลเท่ากับ 6.07 วัน (S.D.=5.03) ส่วนกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯแบบใหม่เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระดับรุนแรง/เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อลดลงเป็นร้อยละ 3.3 อัตราการเสียชีวิตลดลงเป็นร้อยละ 0.0 นอนรักษาในโรงพยาบาลไม่เกิน 7 วันเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96.7 ค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนโรงพยาบาลลดลงเหลือ 3.93 วัน (S.D.=2.19) และพยาบาลวิชาชีพพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติฯแบบใหม่ในระดับมากที่สุด</p>
พจนาฏ ศรีธรรมมา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
551
561
-
ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อ Human papillomavirus High Risk Group ของสตรีไทยที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3730
<p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายตัวของการการติดเชื้อ Human Papillomavirus ในสตรีไทยที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ระหว่าง เดือนตุลาคม 2566 ถึง เมษายน 2567 จำนวน 1,576 ราย<br> ผลการศึกษาพบว่า ความชุกในการติดเชื้อ HPV คิดเป็น ร้อยละ 11.17 สายพันธุ์ที่พบมาก 5 ลำดับแรกคือ สายพันธุ์ 52, 16, 58, 66 และ 39 คิดเป็น ร้อยละ 14.85, 12.60, 9.71, 8.60 และ 8.52 ตามลำดับ ในกลุ่มที่พบติดเชื้อไวรัส HPV พบผลการตรวจเซลล์วิทยาผิดปกติ ร้อยละ 18.28 โดยผลทางเซลล์วิทยาที่ตรวจพบคือ ASC-US ร้อยละ 65.7, LSIL ร้อยละ 25 และ HISL ร้อยละ 6.2 กลุ่มช่วงอายุที่พบการติดเชื้อ HPV มากที่สุดคือ ช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 13.66 และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เพิ่มความเสี่ยง 15.94 เท่า (OR=15.94, 95%CI 10.06-25.27) และการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ทำให้เพิ่มความเสี่ยง 3.42 เท่า (OR=3.42, 95%CI=2.44-4.78) สรุปผลการศึกษา พบความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อ HPV คิดเป็นร้อยละ 11.17 สายพันธุ์ที่พบมาก 5 ลำดับแรก คือ สายพันธุ์ 52, 16, 58, 66 และ 39 ที่ร้อยละ 14.85, 12.60, 9.71, 8.60 และ 8.52 ตามลำดับ</p>
กมล วิสุวรรณ
Copyright (c) 2024
2024-12-31
2024-12-31
9 6
562
568
-
การพัฒนารูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรก ที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3710
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยวิธีศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 และเพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ <br />หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ด้วยวิธีการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ และสถิติ paired t test<br /> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 มีการพัฒนาโดยใช้กระบวนการ PAOR ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Planning: P) 2) การปฏิบัติตามแผน (Action: A) 3) การสังเกต ตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ (Observation: O) 4) การสะท้อนการปฏิบัติ (Reflection: R) เกิดกระบวนการแนวทางการให้บริการที่ชัดเจน มีกระบวนการทำงานเชิงระบบ มีแนวทางเวชปฏิบัติการคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วยด้านการแพทย์แผนไทย การบริบาลหญิงตั้งครรภ์ด้วยการประคบสมุนไพร โรงพยาบาลโพนพิสัย พบว่าความพึงพอใจของการให้บริการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 (S.D. = 0.33) โดยเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระดับความปวดก่อนและหลังการประคบสมุนไพรร้อนชื้น พบว่า การประคบสมุนไพรร้อนชื้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความปวดหลังส่วนล่างในหญิงตั้งครรภ์แรกที่มีอายุครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก่อนและหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)</p>
จุฑารัตน์ แวดล้อม
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
569
578
-
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจสั่นพลิ้วที่รับประทานยา Warfarin ในคลินิก : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3711
<p> การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว ได้รับยา Warfarin เปรียบ เทียบกรณีศึกษา ผู้ป่วย 2ราย โดยการคัดเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่มารับ การรักษาในคลินิก Warfarin และรับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสีชมพู จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้แบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วิเคราะห์ข้อมูล วางแผนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล<br /> ผลการศึกษา : จากการศึกษา เปรียบเทียบ 2 ราย สรุปได้ว่าการใช้กระบวนการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วย ค้นหาความต้องการด้านสุขภาพ ให้การพยาบาลที่สอดคล้อง กับภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว ที่ได้รับยา Warfarin ไม่มีภาวะ แทรกซ้อนจากยา ผู้ป่วยปลอดภัย จากกรณี ศึกษาทั้ง 2 ราย มีสาเหตุ การเกิดโรค และโรคร่วมที่ต่างกัน รายที่ 1 ได้รับการวินิจฉัยเป็น ภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว มีโรคร่วมคือ โรคหัวใจรูมาติก, โรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบและ เบาหวาน รายที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยเป็น โรคหัวใจสั่นพลิ้ว มีโรคร่วมคือ โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง ต่อมลูกหมากโต และโรคเก๊าท์ ปัญหาการพยาบาลที่เหมือนกัน ดังนี้ 1. เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะเลือดออกง่าย 2. ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยที่ซับซ้อนและมีโรคร่วมหลายโรค และมีปัญหาการพยาบาลที่แตกต่างกัน ดังนี้ รายที่ 1 พบปัญหาทางการพยาบาลได้แก่ 1. เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากมีภาวะน้ำเกิน ลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ 2. เสียงต่อการเกิดภาวะพลัดตกหกล้มเนื่องจากPotassium ในเลือดต่ำ 3. ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวล เกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยที่ซับซ้อน มีโรคร่วมหลายโรค รายที่ 2 พบปัญหาทางการพยาบาลได้แก่ 1. เสียงต่อภาวะเนื้อเยื่อของร่างกายพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพใน การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ลดลงจากพยาธิสภาพของโรคปอดอักเสบ 2. ไม่สุขสบายเนื่องจาก ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ 3. มีภาวะพร่องโภชนาการเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง 4. มีภาวะเสียงต่อการเกิด ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ 5. ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวล เกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วยที่ซับซ้อน มีโรคร่วมหลายโรค</p>
อาภรณ์ ดีอันกอง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
579
588
-
ผลของการรับรู้ความสามารถแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการจัดการขยะของประชาชนตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3637
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรับรู้ความสามารถแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการจัดการขยะของประชาชนตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 36 คน รวม 72 คน กลุ่มทดลอง คือ ประชาชนตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ประชาชนตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2567 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05<br /> ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถแห่งตน การมีส่วนร่วม แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการจัดการขยะของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
ธวัชชัย บัวขาว
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
589
597
-
ผลของโปรแกรมการเสริมพลังและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโพธิ์ศรี ตำบลท่าโพธ์ศรี อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3638
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมพลังและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าโพธิ์ศรี ตำบลท่าโพธ์ศรี อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 46 คน รวม 92 คน กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลท่าโพธ์ศรี อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเปรียบเทียบ คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลแก้ง อำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05<br /> ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้พลังอำนาจของตนเอง แรงจูงใจในการป้องกันโรคเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
ฉวีวรรณ พวงมาลัย
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
598
606
-
ความสุขและความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3640
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสุขและความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60-74 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่พักอาศัยในตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 268 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความสุขโดยรวมของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=4.50) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของความสุขของผู้สูงอายุ คือ ท่านเป็นคนหัวเราะง่าย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=5.05) รองลงมาคือ ท่านรู้สึกว่าชีวิตนั้นมีคุณค่ามาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=5.04) ส่วนคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ท่านใส่ใจคนรอบข้าง อย่างมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.81) 2. ความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขโดยรวมทั้ง 4 ด้าน ของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบางกระเจ็ด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.54) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก คือ กิจกรรมด้านสุขภาพ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.85) รองลงมา คือ กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.79) และกิจกรรรมด้านนันทนาการ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.55) ส่วนความต้องการกิจกรรมสร้างความสุขของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ กิจกรรมด้านสื่อออนไลน์ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.01)</p>
สมรทิพย์ วิภาวนิช
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
60ึ7
613
-
ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมลำโดมใหญ่ ตำบลโพนงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3641
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมลำโดมใหญ่ ตำบลโพนงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มทดลอง จำนวน 51 คน กลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 66 คน ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความเสี่ยงเมื่อป่วยเป็นบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์ของการควบคุมเบาหวาน การรับรู้อุปสรรคของการควบคุมเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
ทรัพย์ทวี พวงคต
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
614
622
-
ผลของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีมงคล ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3642
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีมงคล ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง คือ ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีมงคล ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชานี จำนวน 67 คน กลุ่มเปรียบเทียบ คือ ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนเมือง ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชานี จำนวน 67 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 และ 75 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองผลต่างคะแนนเฉลี่ยของการเข้าถึงข้อมูลโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี การเข้าใจข้อมูลโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี การสืบค้นข้อมูลโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี การตัดสินใจด้านสุขภาพโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี การประยุกต์ใช้ข้อมูลโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
วันเพ็ญ เถาว์ทุมมา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
623
630
-
ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของตัวแทนครัวเรือนบ้านนาโพธิ์เหนือ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3644
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว (One-Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของตัวแทนครัวเรือนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโพธิ์ใต้ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือนในบ้านนาโพธิ์เหนือ หมู่ที่ 8 ตำบลนาโพธิ์กลาง จำนวน 30 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง<br /> ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (mean=66.27, SD=13.32) เป็นระดับดี (mean=88.17, SD=4.66) โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (mean=16.63, SD=3.79) เป็นระดับดี (mean=25.60, SD=2.28) โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอัตราการพบลูกน้ำยุงลาย ร้อยละของบ้านและภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง</p>
ดวงใจ พูลงาม
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
631
638
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3666
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระดับภาระการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระดับสัมพันธภาพในครอบครัว และระดับการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ประวัติโรคประจำตัว ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยภาระการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยสัมพันธภาพในครอบครัว และปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับการรักษาที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกคลินิกโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 133 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสเปียร์แมน<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับน้อย ภาระในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับน้อย สัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับน้อย และการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และ 2) ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อายุและภาระในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระดับต่ำและระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 ส่วนเพศ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ และโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง</p>
จินดาพร บุรานอก
ปณิธาน กระสังข์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
639
646
-
การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร เพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3686
<p> การศึกษาเรื่อง "การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร เพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม" มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและกลไกการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขและ อบจ.มุกดาหาร ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและอุปสรรคในการบูรณาการความร่วมมือฯ การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานสาธารณสุขและ อบจ.มุกดาหาร รวมถึงการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการศึกษาพบว่า การบูรณาการความร่วมมืออยู่ในรูปแบบของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานร่วม การจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณร่วมกัน แต่ยังขาดความชัดเจนของบทบาทหน้าที่ ความต่อเนื่องในการประสานงาน และการติดตามประเมินผลที่เป็นระบบ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม การสื่อสารและการมีส่วนร่วม การจัดสรรทรัพยากร และการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ในขณะที่อุปสรรค ได้แก่ ความแตกต่างของโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กร ข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากร และการขาดการยอมรับและมีส่วนร่วมของประชาชน</p>
ปราณี อุสุพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
647
656
-
การเตรียมความพร้อมร้านยาจังหวัดนครนายก สู่มาตรฐานร้านยาคุณภาพ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3687
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาร้านยาสู่มาตรฐานร้านยาคุณภาพในจังหวัดนครนายกประชากรคือ คือ ร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีความประสงค์เข้าร่วมการประเมินมาตรฐานร้านยาคุณภาพ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ร้านขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดนครนายกมีจำนวน 47 แห่ง เก็บข้อมูลจาก แบบบันทึกการตรวจประเมินที่ประยุกต์จากคำขอของสภาเภสัชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา<br /> ผลการวิจัย: มีร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีความประสงค์เข้าร่วมการประเมินมาตรฐานร้านยาคุณภาพจำนวน 15 ร้านจากร้านยาทั้งหมด 47 ร้าน หลังจากดำเนินการตามวงจรคุณภาพรอบที่ 1 มีร้านยาประเมินผ่านมาตรฐานจำนวน 5 ร้าน และหลังจากดำเนินการตามวงจรคุณภาพรอบที่ 1 มีร้านยาประเมินผ่านมาตรฐานจำนวน 8 ร้าน รวมเป็นจำนวน 13 ร้าน โดยมีร้านยาที่ไม่ประสงค์เข้ารับการประเมินมาตรฐานร้านยาคุณภาพหลังไม่ผ่านการประเมินรอบที่ 1 จำนวน 2 ร้าน</p>
วราภรณ์ หงสาภินันทน์
ตุลาการ นาคพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
657
667
-
รูปแบบการพัฒนาศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดนครปฐม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3688
<p> การศึกษารูปแบบการพัฒนาศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง/ระยะท้าย (Palliative Care) และรูปแบบการพัฒนาศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่าง เดือน ตุลาคม 2567 ถึง ธันวาคม 2567 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดนครปฐม จำนวน 2,159 คน เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br /> ผลการศึกษา พบว่า หลังดำเนินการ ความพร้อมศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ความพร้อมศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม สำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ของ CM กับ CG ก่อนและหลังการดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานการประเมินความพร้อมศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม สำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ระหว่าง CM ดีกว่าก่อนการดำเนินงาน ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้โครงการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Long Term Care) ได้รับการดูแลตาม Care plan ร้อยละ 100.00 และมีศูนย์ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงตัวอย่าง ได้แก่ เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม</p>
สุภัทร กตัญญูทิตา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
668
677
-
การพัฒนารูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3689
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เชิงคุณภาพ ได้แก่ ภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน 40 คน เชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 30 คน ดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบเก็บข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบประเมินความรุนแรงของอาการหายใจเหนื่อย แบบประเมินผลกระทบจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อระดับคุณภาพชีวิต แบบบันทึกระยะทางที่เดินได้บนพื้นราบใน 6 นาที และแบบเก็บข้อมูลด้านคุณภาพการดูแลผู้ป่วย สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบก่อนหลังพัฒนาด้วยสถิติ Paired t test<br /> ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 1) ระบบบริการสุขภาพสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2) การสนับสนุนการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วย 3) การสนับสนุนการตัดสินใจให้กับบุคลากรทีมสุขภาพ 4) ระบบฐานข้อมูลโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 5) การสร้างนโยบายที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชน 6) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชน 7) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วม ผลการใช้รูปแบบฯ พบว่าผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระยะทางที่เดินได้บนพื้นราบใน 6 นาทีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <.05, t = 8.80, 14.78) ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของอาการหายใจเหนื่อย และผลกระทบจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อระดับคุณภาพชีวิตลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <.05, t= -12.23, -10.02) ตามลำดับ และพบว่าผลลัพธ์ด้านคุณภาพการดูแลดีขึ้น</p>
ธมภร โพธิรุด
จิรพันธ์ อินทรศักดิ์
กัญชริญา ส่องสี
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
678
688
-
ผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและการให้คุณค่าต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของบุคลากรโรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3668
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและการให้คุณค่าต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของบุคลากรโรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน รวม 60 คน กลุ่มทดลอง คือ บุคลากรโรงพยาบาลปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเปรียบเทียบ คือ บุคลากรโรงพยาบาลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ถึง 15 พฤศจิกายน 2567 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ paired t-test และระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05<br /> ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในด้านการมีส่วนร่วม ทัศนคติ ความตั้งใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value < 0.001)</p>
จิราวรรณ พรหมมานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
689
695
-
ความรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตภาคเหนือ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3675
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้โรคหลอดเลือดสมอง (KR-20) เท่ากับ .64 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Cronbach's alpha) เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.66 อายุส่วนใหญ่ อยู่ในช่วง 51-60 ปี ร้อยละ 59.74 BMI อยู่ในช่วง 23-24.90 (ท้วม หรือ โรคอ้วนระดับ 1) มากที่สุด ร้อยละ 58.70 ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) อยู่ในช่วง 121-129 mmHg มากที่สุด ร้อยละ 74.03 ส่วนใหญ่เคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ร้อยละ 63.38 แต่ไม่เคยได้ยินคำว่า “ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง” ร้อยละ 79.74 และส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.49 รับรู้ว่าตนเองไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 66.49 และ มีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.10</p>
พรรณพิไล สุทธนะ
ปิ่นนเรศ กาศอุดม
ดาราวรรณ บุญสนธิ
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
696
701
-
การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านจัดการสุขภาพบึงกาฬ 5 ดี พลัส จังหวัดบึงกาฬ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3676
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบหมู่บ้านจัดการสุขภาพบึงกาฬ 5 ดี พลัส จังหวัดบึงกาฬ 2) เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพบึงกาฬ 5 ดี พลัส จังหวัดบึงกาฬ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้สถิติ Paired Samples t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับเรื่องการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพบึงกาฬ 5 ดี พลัส หลังการทดลอง ทีมนำสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (t = -6.04, p-value<0.001) การเปรียบเทียบค่าคะแนนการมีส่วนร่วม หลังการทดลองส่วนใหญ่ มีค่าคะแนน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 86.0 (mean= 139.08 S.D.= 12.24) ซึ่งค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วม เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.88, p ≤ 0.00) และ การวัดความพึงพอใจในการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพบึงกาฬ 5 ดี พลัส จังหวัดบึงกาฬ หลังการทดลอง มีระดับคะแนนอยู่ในระดับสูงและระดับปานกลางเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p>
คำไฝ พลสงคราม
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
702
712
-
การประเมินคุณภาพรายงานทางการเงินของโรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3692
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบและประเมินผลการจัดการคุณภาพรายงานทางการเงินโรงพยาบาลหนองเรือ ปีงบประมาณ 2564 – 2566 ด้วยรูปแบบ CIPP Model โดยศึกษาประเด็นคุณภาพรายงานทางการเงิน 4 ด้าน ได้แก่ 1) สถานการณ์ 2) ระบบเฝ้าระวัง 3) มาตรการการจัดการคุณภาพรายงานทางการเงิน และ 4) ตัวชี้วัดกระบวนการและผลการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลวิเคราะห์วิกฤตทางการเงิน 7 ระดับ ข้อมูลผลประเมินประสิทธิภาพการเงินการคลัง ข้อมูลอัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและบริหารจัดการ และรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร CFO และกรรมการจัดเก็บรายได้ การประเมินแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบท วิเคราะห์สาเหตุคุณภาพรายงานทางการเงิน 2) ศึกษาปัจจัยนำเข้า ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและพอเพียงของทรัพยากร 3) ศึกษากระบวนการด้านบริหารรายได้ บริหารจัดการเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และคลัง และ 4) วิเคราะห์ผลผลิตเปรียบเทียบก่อนและหลังการแก้ไขปัญหา โดยวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลังต่อเนื่องทุกเดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพรายงานทางการเงินมีความครบถ้วน ทันเวลา เปรียบเทียบได้และใช้ประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น จากปีงบประมาณ 2564 ที่มี Score C- พัฒนาเป็น Score A และ B ในปีงบประมาณ 2565-2566 โดยมีการบริหารด้านรายได้ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และคลังอย่างเป็นรูปธรรม มีคณะกรรมการควบคุม กำกับ ติดตาม เฝ้าระวังความเสี่ยงด้านคุณภาพรายงานทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ</p>
อุไรพร ดิเรกศรี
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
713
721
-
การวิเคราะห์ต้นทุนและประเมินความพร้อมของการผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสยเพื่อสนับสนุนสถานบริการของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 7 ปี พ.ศ.2566 – 2567
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3693
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ต้นทุนและประเมินความพร้อมของการผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสยเพื่อสนับสนุนสถานบริการของรัฐ ในเขตสุขภาพที่ 7 ปี พ.ศ.2566 – 2567 โดยศึกษาระหว่าง เดือนกันยายน 2565 – เดือนตุลาคม 2567 รวม 24 เดือน ศึกษาในหน่วยประชากรคือ โรงพยาบาลกมลาไสย เก็บรวบรวมข้อมูล จาก แบบบันทึกการผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการศึกษา พบว่า โรงงานผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสย สามารถผลิตยาสมุนไพรได้ทั้งหมด 47 ชนิดสมุนไพรที่ผลิตได้มากที่สุด ได้แก่ ยาแคปซูลขมิ้นชัน 500 มิลลิกรัม 10 แคปซูล/แผง กำลังการผลิต 130,000 แคปซูล ต้นทุก 10 บาทต่อแคปซูลรวมมูลค่า 1,300,000 บาท และยาแคปซูลฟ้าทะลายโจร 400 มิลลิกรัมกำลังการผลิต 130,000 แคปซูล ต้นทุก 10 บาทต่อแคปซูลรวมมูลค่า 1,300,000 บาท ต้นทุนรวมทั้งหมด 1,792,612.39 บาท จำนวนเงินรายรับที่ได้เข้าโรงพยาบาล 707,387.61 บาท ส่วนต่างต้นทุน เท่ากับ 1,085,224.78 บาท ผลการประเมินมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพรตามเกณฑ์ WHO-GMP แจกแจงรายละเอียดหัวข้อในแต่ละหมวด พบว่า การผลิตยาสมุนไพรของโรงพยาบาลกมลาไสย ผ่านการประเมิน ร้อยละ 65.29</p>
กฤช โชติการณ์
อรนิฏา ธารเจริญ
รัตติยา แดนดงยิ่ง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
722
732
-
การศึกษาความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3677
<p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุชาวไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับบริการกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการประเมินความพร้อมของครอบครัว ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล และ (2) ระดับความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย 10 ด้าน โดยเครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบคุณภาพ มีค่า IOC เท่ากับ 0.8-1.0 และค่าความเที่ยง/ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.908<br /> ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวนและร้อยละ พบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่มีระดับความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุในระดับน้อยที่สุด โดยเฉพาะความพร้อมด้านความรู้ในการดูแลผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 0.21 อย่างไรก็ตาม ด้านรายได้พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.03 แสดงให้เห็นว่า แม้โดยรวมครอบครัวจะมีรายได้เพียงพอต่อการสนับสนุนการดูแล แต่ความพร้อมในด้านการจัดการความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุยังอยู่ในระดับที่ต้องการการพัฒนาเพิ่มเติม นอกจากนี้ ปัจจัยด้านการสื่อสารและการทำความเข้าใจของสมาชิกครอบครัวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ควรมีการเสริมสร้างทักษะการดูแลและการสนับสนุนทางสังคมแก่ครอบครัว รวมถึงการสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีบทบาทในการช่วยเหลือครอบครัว เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุมีคุณภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น</p>
พฤกษาชล เหล่าสกุลศิริ
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
733
740
-
การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำใน 24 ชั่วโมงหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่าง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3679
<p> การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำใน 24 ชั่วโมง หลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่าง เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และทรัพยากรทางการแพทย์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำใน 24 ชั่วโมงหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่าง และประเมินผลลัพธ์ของระบบดังกล่าว โดยใช้กรอบแนวคิด Donabedian Model ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ดำเนินการในโรงพยาบาลนครปฐม เป็นเวลา 5 เดือน โดยแบ่งการศึกษาครั้งนี้ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การประเมินระบบบริหารความเสี่ยงทางการพยาบาลวิสัญญี 2) การพัฒนาระบบการพยาบาลต้นแบบโดยใช้กระบวนการ 3P (Purpose, Process, Performance) และ 3) การประเมินผลลัพธ์ของระบบที่พัฒนาขึ้น<br /> ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่าจุดเด่นของระบบบริหารความเสี่ยงในปัจจุบันคือ การเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด แต่ยังขาดมาตรฐานในการส่งต่อข้อมูลและการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอ ระยะที่ 2 ได้พัฒนาระบบต้นแบบประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อมก่อนการระงับความรู้สึก ได้แก่ แบบฟอร์มประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Form) 2) จัดทำแนวทางการป้องกันใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่าง 3) พัฒนาแนวทางในการส่งต่อข้อมูลระหว่างห้องพักฟื้นและหอผู้ป่วยใน ระยะที่ 3 การประเมินผลลัพธ์พบว่า อัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำลดลงจากร้อยละ 0.15 เหลือร้อยละ 0.05 ความพึงพอใจ (M= 4.78 ,SD=0.03) และความมั่นใจ (M= 4.71,SD=0.06) ในระบบของวิสัญญีพยาบาลและพยาบาลหอผู้ป่วยในหลังการใช้ระบบอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
นันทวรรณ แสงโสภิต
กันตินันท์ สอดสุข
ศิริเนตร สุขดี
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
741
752
-
ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3694
<p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ (Information-. Motivation-Behavioral Skill: IMB Model) เป็นแนวคิดที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Fisher และ Fisher โดยเป็นการวิจัยการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Designs) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนทดลองและหลังการทดลอง (One – Group Pretest Posttest Design) กลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกเปะ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 57 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะของประชากรกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงวิเคราะห์ ใช้ในการวิเคราะห์ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้เปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองใช้สถิติ Paired T-test<br /> ผลการวิจัย กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งพฤติกรรมสุขภาพด้านการควบคุมอาหาร (p-value<0.001) ด้านการออกกำลังกาย (p-value<0.001) ด้านการจัดการความเครียด (p-value<0.001) ด้านการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา (p-value<0.001) ด้านการใชยารักษาโรคเบาหวาน (p-value<0.001) ด้านการเฝ้าระวังภาวะแทรกซอนจากโรคเบาหวาน (p-value<0.001) พฤติกรรมสุขภาพด้านการดูแลสุขภาพในภาพรวม (p-value<0.001) และเมื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ก่อนทดลอง และหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือดลดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.011)</p>
บรรทม แสนแก้ว
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
753
763
-
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3695
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิดแบบ 1 กลุ่ม (one sample t-test design) เปรียบเทียบก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนสวรรค์ ทำการศึกษาในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลสุขภาพ แบบประเมินการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) โดยใช้สถิติ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br /> ผลการศึกษา : พบว่า 1) การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จากผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ของกลุ่มตัวอย่าง หลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
วนิดา คู่เคียงบุญ
นันทยา นนเลาพล
พิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์
สิโรนี ฟองแก้ว
ไขพร อุ่นเทียมโสม
มนันยา มณีประกรณ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
764
773
-
การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันการเป็นผู้ป่วยรายใหม่ผ่านกลไกสถานีสุขภาพ (Health station) ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3696
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทปัญหา พัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลตนเองของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันการเป็นผู้ป่วยรายใหม่ผ่านกลไกสถานีสุขภาพ (Health station) ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2567 รวมระยะเวลา 5 เดือน กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขตตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 83 คน เครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเก็บข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินการดูแลตนเอง 3) แบบประเมินการบริโภคเหลือโซเดียม 4) แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 5) แบบประเมินศักยภาพสถานีสุขภาพ และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 83 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.74 อาชีพทำนา ร้อยละ 38.37 อายุส่วนมาก 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 42.94 (Mean± SD= 63.23 ปี± 2.34, Min=31 ปี, Max=65 ปี) สถานภาพแต่งงาน ร้อยละ 75.35 มัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ร้อยละ 33.60 การพัฒนาแนวทางประกอบด้วย 5 แนวทางดังนี้ 1) ส่งเสริมการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง โดย อสม. มีส่วนร่วม 2) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานสถานีสุขภาพ (Health station) 3) แต่งตั้งคณะทำงานที่ชัดเจนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 4) เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพในชุมชน และสร้างการรับรู้ภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน 5) พัฒนาแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน ผลของการใช้รูปแบบพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการลดเกลือและโซเดียมลดลง พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสี่ยงลดลง ศักยภาพของสถานีสุขภาพเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจเพิ่มขึ้น ภายหลังการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p <.05, t = 16.57, 14.62, 16.60, 7.94, 7.18 ตามลำดับ</p>
นงลักษณ์ โคกสีอำนวย
สุวิมล แสงเรือง
วีระวุฒิ ศรีอำนวย
อาริยา แดงวงษา
พนมพรณ์ อร่ามพงษ์พันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
774
784
-
ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในการดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3680
<p> การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง พัฒนาโปรแกรมโดยใช้กรอบแนวคิดการรับรู้ความสามารถแห่งตนของแบนดูราและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบ Paired sample t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (<em>p</em>-value < 0.001) การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (<em>p</em>-value = 0.011) และพฤติกรรมในการดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (<em>p</em>-value < 0.001)</p>
ภัทรภร กิตติไชยากร
ขนิษฐา มลิหอม
ประยุทธ ศรีกระจ่าง
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
785
795
-
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3703
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ภาคีเครือข่ายสุขภาพและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันการติดเชื้อ จำนวน 53 คน และ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวคำถามปลายเปิดการสนทนากลุ่ม, แบบวัดความรู้การดูแลผู้ป่วยในภาคีเครือข่าย แบบวัดความรู้ในการดูแลตนเองในผู้ป่วย การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบ ก่อน-หลัง ด้วยสถิติ Paired t-test<br /> ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาประกอบด้วย 8 รูปแบบสำคัญ ดังนี้ 1) พัฒนาแบบฟอร์มค้นหาความเสี่ยงโดย อสม. 2) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3) พัฒนาแนวทางแก้ไขเบื้องต้นในการประเมินทางคลินิก 4) พัฒนาโครงสร้างพยาบาลผู้ประสานงาน 5) พัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 6) พัฒนาคู่มือและแนวปฏิบัติ 7) สร้างการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชนตามบทบาทหน้าที่ 8) พัฒนาแบบฟอร์มและระบบส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อในชุมชน ผลลัพธ์ของรูปแบบส่งผลให้ภาวะการติดเชื้อลดลง ระดับความรู้การดูแลในภาคีเครือข่าย และ ความรู้การดูแลตนเอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 10.24, 11.29)</p>
ดวงจันทร์ บัวรัตน์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
796
802
-
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการผ่าตัดและมีภาวะแคลเซียมต่ำ: กรณีศึกษา 2 ราย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3714
<p> การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งไทรอยด์ โดยเลือกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามะเร็งไทรอยด์ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 ถึง เดือน กันยายน 2567 จำนวน 2 ราย<br /> ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งไทรอยด์ชนิดตัดออกทั้งหมด (Total Thyroidectomy ) ซึ่งภาวะแทรกช้อนที่อาจเกิดหลังผ่าตัด ได้แก่ แผลติดเชื้อ สายเสียงไม่ทำงาน ทำให้มีเสียงแหบ สำลัก หากตัดถูกต่อม Parathyroid ก็จะมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือมีเลือดออกใต้ผิวหนัง คอบวม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจหอบ เหนื่อย เสียงหายใจผิดปกติ (Stridor) ซึ่งการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จะทำให้สามารถแก้ไขภาวะฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจจะเกิดได้ ดังนั้น บทบาทสำคัญของพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ประสบการณ์ ประเมิน และคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุม เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ</p>
ปิมประภา แพงศรี
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
803
811
-
ปัญหาและความต้องการระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์เพื่อรายงานการรักษาผู้ป่วยในงานการพยาบาลเรือนจำ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3721
<p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการระบบเวชระเบียนของงานการพยาบาลเรือนจำ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เจ้าหน้าที่พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่งานเวชระเบียนของสถานพยาบาลในเรือนจำ สังกัดกรมราชทัณฑ์ เขต1 – เขต10 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นโดยการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย เขตละ 1 เรือนจำ จำนวน 10 เรือนจำๆละ 1 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่งานเวชระเบียนของสถานพยาบาลในเรือนจำ สังกัดกรมราชทัณฑ์ จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลเมื่อ เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.0 มีช่วงอายุระหว่าง 40-49ปี ร้อยละ 60.0 มีตำแหน่งทางวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ร้อยละ 50.0 การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 70.0 มีประสบการณ์ในการทำงานในสถานพยาบาลเรือนจำอยู่ในช่วง 20-29ปี ร้อยละ 50.0 ภาพรวมของระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้เวชระเบียนกระดาษอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.37 ในรายด้านพบว่ามีความคิดเห็นต่อปัญหาด้านการจัดการเวชระเบียนในระดับมากที่สุด ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.56</p>
กฤชฐา สีหบัณฑ์
พรรณี บัญชรหัตถกิจ
ทัศพร ชูศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
812
823
-
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลนามน จังหวดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3682
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลนามน จังหวดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างในเชิงคุณภาพ คือคณะผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน จำนวน 22 คน เชิงปริมาณคือพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานขึ้นเวรนอกเวลา จำนวน 38 คน ดำเนินการวิจัยเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคำถามปลายเปิดการสนทนากลุ่มการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย แบบเก็บข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบสมารรถนะความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาณในการทดสอบก่อนหลังพัฒนาด้วย pared t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการพัฒนารูประกอบด้วย 7 กระบวนการดังนี้ 1) ทบทวนและกำหนดบทบาทของหัวหน้าพยาบาล 2) ทบทวนนโยบายการบริหารจัดการอัตรากำลัง 3) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการอัตรากำลัง 4) พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังเพื่อความปลอดภัย 5) กำหนดเกณฑ์การจัดอัตรากำลังตามบริบทสุขภาพตามวิถีชีวิตบุคลากร (Life style medicine) 6) การผสมผสานอัตรากำลังพยาบาลร่วมกับแนวคิด Care D+ 7) การบริหารงานแบบลีนในกลุ่มการพยาบาลร่วมกับฝ่ายอื่นๆในโรงพยาบาล ผลการใช้รูปแบบส่งผลให้พยาบาลมีสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.12 ภายหลังการพัฒนารูปแบบ สมรรถนะการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.68 ระดับความพึงพอใจก่อนการพัฒนารูปแบบความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 3.28 ภายหลังการพัฒนารูปแบบความพึงพอใจเพิ่มเป็นระดับมากคะแนนเฉลี่ย มีค่า 4.32 อัตราอุบัติการณ์ด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วลดลงร้อยละ 21.85 การทดสอบผลลัพธ์ของรูปแบบพบว่าพยาบาลมีสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยด้วยความปลอดภัยและความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p>
เชิด วรพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
824
830
-
การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3724
<p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาพัฒนาและใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษาระหว่างตุลาคม 2566 - ตุลาคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง เชิงคุณภาพ ได้แก่ บุคลากรภาคีเครือข่ายสุขภาพ จำนวน 69 คน เชิงปริมาณผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวคำถามกึ่งโครงสร้างในการพัฒนารูปแบบ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินคัดกรองการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) แบบการประเมินความเศร้า (TGDS) แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเชิงเนื้อหาแบบสามเส้า เชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเปรียบเทียบก่อนหลังด้วยสถิติ paired-t test<br /> ผลการศึกษา กระบวนการพัฒนา12 รูปแบบสำคัญดังนี้ 1) ตรวจคัดกรองผู้สูงอายุให้ครอบคลุม 2) จัดทำ care plan ทุกราย 3) เยี่ยมแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพ 4) สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 5) จัดระบบบริการต่อเนื่องประสานทุกระดับ 6) มีนโยบายและกิจกรรมโครงการที่ครอบคลุม 7) บูรณาการช่วยเหลือสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ 8) ส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ 9) ส่งเสริมความรู้ในผู้สูงอายุและผู้ดูแล 10) ส่งเสริมอาชีพและรายได้ผู้สูงอายุ 11) สนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านผู้สูงอายุ 12) สนับสนุนการดูแลสุขภาพจิตใจ ผลลัพธ์ของรูปแบบส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย (ADL) และจิตใจ (TGDS) ดีขึ้น ระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้น ระดับความพึงพอใจดีขึ้น อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=6.18, 8.13, 6.26, 5.18)</p>
ปรียาวดี บุญไชยโย
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
831
838
-
ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย โดยผู้ดูแลในครอบครัว ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3547
<p> การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยโดยผู้ดูแลในครอบครัว ตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือลมจับโปงแห้งคัดเลือกแบบเจาะจงเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 80 คน แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้ดูแล แบบประเมินโรคข้อเข่าเสื่อม และแบบประเมินอาการปวด วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t – test และสถิติ Independent-t-test ดำเนินการวิจัยเดือนกรกฎาคม 2565 - มิถุนายน 2566<br /> ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมสูงกว่ากลุ่มควบคุมและก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean<sub>กลุ่มทดลอง</sub> = 26.54 ± 11.20 VS Mean<sub>กลุ่มควบคุม</sub> = 29.63 ± 12.06, p < 0.05) และคะแนนเฉลี่ยอาการปวดน้อยกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean<sub>กลุ่มทดลอง</sub> = 3.80 ± 3.25 VS Mean<sub>กลุ่มควบคุม</sub> = 6.53 ± 3.25, p< 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มทดลองมีความโก่งของเข่าและค่าเฉลี่ยของระยะห่างของส้นเท่ากับก้นน้อยกว่าและก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
สุภาพร ปัญญาวงษ์
สรัญญา คุ้มไพฑูรย์
อนุชา ไทยวงษ์
กำทร ดานา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
839
850
-
การพัฒนาการจัดบริการการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายเชื่อมโยงสู่ชุมชน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3651
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดบริการการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะท้ายเชื่อมโยงสู่ชุมชน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยระยะท้ายในเขตอำเภอนาเชือก จำนวน 48 ราย ดำเนินการระหว่างเดือน กรกฎาคม 2565– มิถุนายน 2566 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่1)แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 2)แบบประเมินPPS v2 3)แบบประเมินESAS 4)แบบฟอร์มการวางแผนการดูแลล่วงหน้า 5)แบบประเมินความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยแบบประคับ ประคอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลวิจัยพบว่า <em>ระยะวิเคราะห์สถานการณ์</em> 1)พบแนวโน้มของผู้ป่วยระยะท้ายที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคองมีจำนวนมากขึ้น 2)บุคลากรสาธารณสุขยังขาดความเชี่ยวชาญและทักษะในการประเมินปัญหาและการวางแผนการดูแลที่ไม่ครอบคลุม 3)การวางแผนการจำหน่ายและการเชื่อมโยงข้อมูลการดูแลต่อเนื่องไม่ชัดเจน 4)แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายไม่ชัดเจน 5)การวางแผนการดูแลล่วงหน้าที่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค 6)ความไม่เพียงพอด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์และยาเพื่อบรรเทาอาการรบกวนต่างๆ ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลและจัดการอาการอย่างเหมาะสมต่อเนื่อง <em>ระยะการพัฒนา</em> ได้ดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบ 1)มีแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายครอบคลุมจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนโดยใช้กระบวนการทางการพยาบาลในการดูแลและการวางแผนจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ 2)มีช่องทางการสื่อสารแบบสองทางเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการเข้าถึงการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางโทรศัพท์, ไลน์กลุ่ม,โปรแกรมSmart COC 3)บุคลากรสาธารณสุขผู้ให้บริการได้รับการพัฒนาสมรรถนะจนเกิดทักษะและมีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เชื่อมโยงการให้บริการเชิงรุกในชุมชน 4)มีเครือข่ายชุมชนในติดตามดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง <em>ระยะประเมินผล</em> พบว่า1)ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ร้อยละ 98 2)ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ร้อยละ 80.46 3)ผู้ป่วยระยะท้ายสามารถเข้าถึงยาชนิดOpioidsในการบรรเทาอาการปวดและหอบเหนื่อย ร้อยละ 57.57 4)ผู้ป่วยระยะท้ายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ98 5)ความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยประคับประคองต่อบริการพยาบาลแบบประคับ ประคองในร้อยละ 96</p>
นิยากร อินทะขัน
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
851
860
-
ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3654
<p> การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษาหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนและเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลป่วยจิตเภทในชุมชนที่รับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลนางรองซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ และครอบครัว จำนวน 22 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ได้แก่ เป็นผู้ดูแลป่วยจิตเภทในชุมชนซึ่งเป็นผู้ดูแลหลัก กลุ่มทดลองได้รับการให้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา 2)แบบวัดความรู้เรื่องโรคจิตเภทสำหรับผู้ดูแล 3) แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานยาตามเกณฑ์การรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way Repeated Measure ANOVA.<br /> ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนของกลุ่มทดลอง สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
กุลยาณิชพงศ วงหนูพะเนาว์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
861
871
-
ผลลัพธ์ของโปรแกรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3557
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ (Sufficient Care for Dementia : SCD) ในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสบปราบ จังหวัดลำปาง จำนวนกลุ่มละ 64 คน ดำเนินวิจัยเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ถึง สิงหาคม 2567 โดยกลุ่มทดลองมีกิจกรรมปกติของคลินิกโรคเรื้อรังและโปรแกรมการป้องกันภาวะสมองเสื่อมอย่างเพียงพอ ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมตามปกติของคลินิกโรคเรื้อรัง ระยะเวลาการวิจัย 4 เดือน แล้วประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอ้างอิงด้วยสถิติ t-test<br /> ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ย 70 ปี ส่วนใหญ่มีผู้ดูแลอยู่ร่วมบ้านเดียวกับผู้ป่วย ร้อยละ 96.9 พบสูบบุหรี่ร้อยละ 10.9 ดื่มสุราร้อยละ 26.6 และออกกำลังน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 57.8 ส่วนกลุ่มควบคุมพบมีอายุเฉลี่ย 68.6 ปี มีผู้ดูแลอยู่ร่วมบ้านเดียวกับผู้ป่วย ร้อยละ 95.3 พบยังคงสูบบุหรี่ร้อยละ 6.3 ดื่มสุรา ร้อยละ 39.1 และออกกำลังน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 56.3 ส่วนโรคร่วมที่พบบ่อยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มโรคเช่นเดียวกัน ได้แก่ โรคร่วมที่พบบ่อย ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ไตวายเรื้อรัง ต้อกระจกหรือจอประสาทตา ข้อเสื่อม และ หลอดเลือดหัวใจ 2) ผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกก่อนและหลังการวิจัย 4 เดือนภายในกลุ่มทดลอง พบว่าคะแนนภาวะบกพร่องการรับรู้และภาวะสมองเสื่อมอยู่ระดับดีขึ้นกว่าก่อนการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value และความสามารถการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.001) เช่นเดียวกับการควบคุมโรคเรื้อรัง พบว่า การควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสม 4 เดือน ระดับไขมันคลอเรสเตอรอล และระดับไขมันแอลดีแอลน้ำตาล หลังการวิจัยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.001) และ 3) การเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการดำเนินการวิจัย 4 เดือน พบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะบกพร่องทางการรับรู้ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.001) ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับซีสโตลิก ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <.013) และ (P-value <.024) ตามลำดับ ในขณะที่ระดับคะแนนภาวะสมองเสื่อม ความสามารถการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน ระดับน้ำตาลสะสม 4 เดือน ระดับไขมันคลอเรสเตอรอล ระดับไขมันแอลดีแอล พบว่าหลังการวิจัยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
ภวรัญชน์ จิรเชฐพัฒนา
ศิราณี ศรีหาภาค
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
872
883
-
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจากการใช้สารเสพติดในชุมชน : กรณีศึกษา 2 ราย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3558
<p> การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจากการใช้สารเสพติดในชุมชน ที่เข้ารับการรักษาที่งานยาเสพติด โรงพยาบาลหนองสองห้อง ตั้งแต่ระยะผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute care) ระยะดูแลต่อเนื่อง ระยะฟื้นฟูและการวางแผนจำหน่าย โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ และเวชระเบียน การประเมินอาการ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย นำข้อมูลมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนการพยาบาล และมีการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง<br /> ผลการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจากการใช้สารเสพติดในชุมชน กรณีศึกษา 2 ราย ที่ได้รับการรักษาที่งานยาเสพติดโรงพยาบาลหนองสองห้อง ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 จากกรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทย อายุ 41 ปี ใช้สารเสพติดได้แก่ ยาบ้า และดื่มสุราร่วมด้วย มีพฤติกรรมก้าวร้าว หูแว่ว ภาพ หลอน และมีพฤติกรรมรุนแรงโดยการทำร้ายตนเอง ได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิต ยาควบคุมอารมณ์ และจิตสังคมบำบัด สามารถควบคุมอารมณ์พฤติกรรมได้เหมาะสมและกลับไปอยู่กับครอบครัวได้ แต่ยังติดตามผลอยู่เรื่อย ๆ กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทย อายุ 45 ปี ใช้สารเสพติดได้แก่ ยาบ้า กัญชา และสุรา จนเกิดอาการทางจิต ประสาทหลอน เอะอะโวยวาย ข่มขู่ผู้อื่น มีภาวะหวาดระแวง ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวและความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงระดับสูงหลังให้การบำบัดรักษาด้วยยาต้านโรคจิตทั้งชนิดรับประทาน ยาฉีดออกฤทธิ์ระยะยาว ยาควบคุมอารมณ์ และจิตสังคมบำบัด สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น แต่ยังควบคุมอารมณ์ได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีศึกษารายที่ 1 การจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย คือ มาบำบัดแบบสมัครใจ ยังมีอาการผิดปกติ หูแว่ว ไม่มีภาพหลอน แต่ยังต้องติดตามบำบัดสารเสพติดเพื่อไม่ให้เสพอีก</p>
ประนอม เปรมปรี
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
884
898
-
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตำบลหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3561
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคมะเร็งปากมดลูก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่สตรีอายุ 30 – 60 ปี ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลบ้านหัวเสือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 47.12 ปี ร้อยละ 35.10 ระดับความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.00 และทัศนคติต่อการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 40.00 เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการมารับบริการ พบว่า ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก พบว่า ปัจจัยด้านความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.338, P-value < 0.001) เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกพบว่าปัจจัยด้านด้านทัศนคติ มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (r = 0.416, P-value < 0.001)</p>
มนัชญา สุขทองสา
รุจิรา อำพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
899
904
-
ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพกับระดับน้ำตาลในเลือดของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำไฮ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3570
<p> การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพกับระดับน้ำตาลในเลือดของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานรายใหม่ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำไฮ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 330 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 56.63±7.88) โดยด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพมีระดับดีมากสูงสุด (ร้อยละ 46.4) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 72.08±9.38) โดยเฉพาะพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ (ร้อยละ 78.2 และ 77.6 ตามลำดับ) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.109, p = 0.048) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.352, p < 0.001)</p>
กัลยา ภูห้องเพชร
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
905
914
-
พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3569
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน 2) ศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้ครอบครัว และชุมชนเป็นฐาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสานวิธี ระหว่างเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ประชากร คือผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 65 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน และการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหา เรียบเรียงประเด็น<br /> ผลการวิจัย พบว่า ระดับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />=3.83, S.D.=0.69) 2)การมีครอบครัวที่เข้าใจ และส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรค และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นในด้านสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ และชุมชน และการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานในระดับของชุมชนนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลที่ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการสร้างชุมชนที่มีสุขภาพดีได้อีกด้วย</p>
ยุพิน พิลายนต์
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
915
921
-
ความรู้และทัศนคติของพยาบาลต่อการบันทึกทางการพยาบาล และการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังเกี่ยวกับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งตรวจพิเศษ ของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อ
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3566
<p> การศึกษาเชิงสำรวจแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งตรวจพิเศษของพยาบาลวิชาชีพ 2) ศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพ กับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งตรวจพิเศษ โดยทำการศึกษาจากแบบบันทึกการรับส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อ ที่บันทึกโดยพยาบาลวิชาชีพที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 5 ราย จำนวน 297 ฉบับ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ตุลาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษ แบบสอบถามทัศนคติต่อการบันทึกทางการพยาบาล แบบเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบประเมินความสมบูรณ์ของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษ และแบบประเมินคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน<br /> ผลการศึกษาพบว่า ความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 97.21 และ 92.94 ตามลำดับ) ความรู้และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลระหว่างส่งผู้ป่วยตรวจพิเศษอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 90 และ 96 ตามลำดับ) ระยะเวลาปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์สูงมากในทางลบกับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล (r=-0.966, p=0.008 และ r=-0.990, p=0.001 ตามลำดับ) และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพต่อการบันทึกทางการพยาบาลมีความสัมพันธ์สูงมากในทางบวกกับความสมบูรณ์และคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล (r=0.883, p=0.047 และ r=0.927, p=0.024 ตามลำดับ)</p>
จรินทิพย์ เติมศิลป์
วัชระ โยกมา
กุลธรา จงตระการสมบัติ
อริญชย์ เมตรพรมราช
กันตภณ หันไชยโชติ
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
922
933
-
ผลการยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดมุกดาหาร ด้วยโปรแกรมการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3716
<p> การศึกษาเรื่องผลการยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดมุกดาหาร ด้วยโปรแกรมการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วม "การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบการนำไปปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดมุกดาหาร ด้วยโปรแกรมการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กรอบแนวคิด RE-AIM Framework กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 170 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบบันทึกผลทางคลินิก การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test Multiple Logistic Regression และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ร้อยละ 91.18 มีประสิทธิผลในการลดระดับ HbA1c จากร้อยละ 8.25 เป็นร้อยละ 7.32 (p<0.001) และเพิ่มคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านอาหารจาก 3.15 เป็น 4.09 คะแนน และด้านการออกกำลังกายจาก 2.85 เป็น 3.85 คะแนน (p<0.001) ได้รับการยอมรับในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหาร การทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ และการมีแผนงานที่ชัดเจน</p>
ทองเสริฐ ใจตรง
ชาญณรงค์ คนเพียร
ทรงรักษ์ แอนดราดา
Copyright (c) 2024 วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
2024-12-31
2024-12-31
9 6
934
942
-
การเสริมสร้างแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงของแกนนำชุมชน
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3733
<p> การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์กทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง และศึกษาแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน กันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 รวม 4 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test<br> ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจของแกนนำชุมชนต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน ก่อนการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการเตรียมความพร้อมผู้ป่วย อยู่ในระดับมาก หลังการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และความเข้าใจของแกนนำชุมชนต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังการดำเนินงานความเข้าใจของแกนนำชุมชนต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงแกนนำชุมชน ดีกว่าก่อนการดำเนินการ</p>
สุพัฒน์ วิเศษวงษา
Copyright (c) 2025
2024-12-31
2024-12-31
9 6
943
951
-
การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพสำหรับการประเมินความมั่นคงทางอาหาร ในแปลงพืชร่วมยาง
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3734
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำหรับการประเมินความมั่นคงทางอาหารในแปลงพืชร่วมยางของเกษตรกรต้นแบบที่คัดเลือกแบบเจาะจงจากพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดนราธิวาส วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) การกำหนดขอบเขตโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert scoping) โดยผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญทำการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 49 เรื่อง สรุปวิเคราะห์จัดทำเป็นร่างขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดการประเมินฉบับที่ 1 เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือการกำหนดขอบเขตโดยผู้เชี่ยวชาญและชุมชน (Expert and community scoping) เก็บข้อมูลจากการระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) กับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 16 คน ที่ถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br> ผลการศึกษาพบว่าขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดสำหรับการประเมินความมั่นคงทางอาหารในแปลงพืชร่วมยาง ประกอบด้วย 4 มิติ คือ มิติด้านความเพียงพอของอาหาร มิติด้านการเข้าถึงอาหาร มิติด้านการใช้ประโยชน์ด้านอาหาร และมิติด้านการมีเสถียรภาพทางอาหาร โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัดแต่ละมิติ ดังต่อไปนี้ 1) มิติด้านความเพียงพอของอาหาร ได้แก่ การถือครองที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การมีพื้นที่ผลิตอาหารที่ปลอดภัยเพียงพอ การมีปัจจัยการผลิตอาหาร การมีอาหารที่มีคุณภาพไว้บริโภคอิ่มทุกมื้อ และการมีอาหารเพียงพอต่อสมาชิกในครัวเรือนทุกคน 2) มิติด้านการเข้าถึงอาหาร ได้แก่ ความสามารถในการหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติใกล้บ้าน การมีรายได้ที่เพียงพอ การมีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้อย่างเพียงพอ จำนวนแหล่งจำหน่ายสินค้าอาหารอาหารปลอดภัย และความสามารถในการเข้าถึงแหล่งจำหน่ายสินค้า 3) มิติด้านการใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ได้แก่ ความหลากหลายของผลผลิตที่ได้ การบริโภคอาหารที่หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ การบริโภคพืชผักปลอดภัยที่เพียงพอ และความสามารถในการแปรรูปผลผลิต และ 4) มิติด้านการมีเสถียรภาพทางอาหาร ได้แก่ มีระบบการวางแผนการจัดการการผลิตทางการเกษตร มีปฏิทินการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตร และการเก็บพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ไว้ขยายพันธุ์ในอนาคต ตัวชี้วัดถูกนำไปจัดทำเครื่องมือเพื่อทำการประเมินความมั่นคงทางอาหารในแปลงพืชร่วมยาง</p>
อิสรา มิตรช่วยรอด
เพ็ญ สุขมาก
Copyright (c) 2025
2024-12-31
2024-12-31
9 6
952
961