https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jnhi/issue/feed วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ 2025-01-24T10:52:57+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธีพร มูลศาสตร์ sutteeporn@yahoo.com Open Journal Systems <p>วารสารฯ ขอเรียนเชิญ พยาบาล อาจารย์พยาบาล และผู้สนใจส่งบทความวิจัย และบทความวิชาการเกี่ยวกับการศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล วิชาชีพการพยาบาลและการดูแลสุขภาพที่มีเนื้อหาทันสมัย เพื่อลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ </p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jnhi/article/view/3738 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนเมือง จังหวัดราชบุรี 2025-01-07T13:51:32+07:00 ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง parinyaporn.th@bcnr.ac.th วิภาวรรณ ขันธ์แก้ว parinyaporn.th@bcnr.ac.th จิริยา อินทนา parinyaporn.th@bcnr.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยอายุ ระดับการศึกษา สถานะในชุมชน การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ การมีภาวะโรคร่วม ความเชื่อด้านสุขภาพ และการสื่อสารทางสุขภาพกับความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนเมือง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 92 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ความร่วมมือในการรับประทานยา ความเชื่อด้านสุขภาพ และการสื่อสารทางสุขภาพ ซึ่งมีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม .60-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคส่วนความร่วมมือในการรับประทานยา เท่ากับ .85 ความเชื่อด้านสุขภาพ เท่ากับ .88 และการสื่อสารทางสุขภาพ เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า ความร่วมมือในการรับประทานยาและความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (<em>M </em>= 3.15, <em>SD </em>= 0.59; <em>M </em>= 3.44, <em>SD </em>= 0.63) ตามลำดับ และการสื่อสารทางสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (<em>M </em>= 3.58, <em>SD </em>= 0.51) โดยการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง (<em>rs</em> = .702) กับความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุ (<em>rs</em> = .514) ระดับการศึกษา (<em>rs</em> = .507) ความเชื่อด้านสุขภาพ (<em>rs</em> = .615) และการสื่อสารทางสุขภาพ (<em>rs</em> = .689) มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-01-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jnhi/article/view/3747 ประสิทธิผลของโปรแกรมกำกับตนเองร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันไลน์ ในบุคลากรที่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ 2025-01-08T23:19:05+07:00 พัณณ์ชิตา จันทร์สุหร่าย phanchita96@gmail.com <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกำกับตนเองร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการนอน ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวของบุคลากรที่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในโรงพยาบาลที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป และมีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมกำกับตนเองร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันไลน์ ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม ถึง 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพ และข้อมูลทางคลินิก ซึ่งแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 &nbsp;วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทีคู่ &nbsp;</p> <p>&nbsp;ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมบุคลากรกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการนอนดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารโรงพยาบาลจึงควรส่งเสริมให้มีการนำโปรแกรมกำกับตนเองไปใช้อย่างต่อเนื่องกับบุคลากรที่มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานเพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง</p> 2025-01-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jnhi/article/view/3799 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดจันทบุรี 2025-01-23T22:34:22+07:00 ณรงค์ชัย หัตถี aeiputtiporn29@gmail.com พุทธิพร พงศ์นันทกุลกิจ aeiputtiporn29@gmail.com <p>การวิจัยเชิงทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาอิทธิพลของเจตคติต่อการใช้บุหรี่ไฟฟ้า อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และความผูกพันในครอบครัวต่อพฤติกรรมการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี จำนวน 247 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล เจตคติเกี่ยวกับการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้า อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ความผูกพันในครอบครัว และพฤติกรรมการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์แบบสหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.59, SD = 1.10) โดยความผูกพันในครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากที่สุด (<em>ß</em> = .631) รองลงมาคือเจตคติต่อการใช้บุหรี่ไฟฟ้า (<em>ß</em> = .341) และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน (<em>ß</em> = .183) โดยตัวแปรทั้งสามตัวสามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้ร้อยละ 51.6 (<em>p</em>&lt;.001)</p> <p>บุคลากรด้านสาธารณสุขควรให้ความสำคัญกับปัจจัยความผูกพันในครอบครัว เจตคติต่อการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนในการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย</p> 2024-12-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jnhi/article/view/3745 การบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อในยุควิถีปกติใหม่: สิ่งที่ท้าท้ายทีมสุขภาพ 2025-01-08T23:00:05+07:00 รภัทภร เพชรสุข petchsuk@hotmail.com อารี ชีวเกษมสุข petchsuk@hotmail.com <p>ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเน้นการขยายการให้บริการให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นได้อย่างทั่วถึง ทั้งการขยายบริการในระดับปฐมภูมิและการให้บริการในระดับโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ การบริการสุขภาพของประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายเรื่องคุณภาพการบริการรักษาสุขภาพ จึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริการสุขภาพและความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการมากขึ้น การที่ประชาชนใช้บริการโรงพยาบาลมากขึ้น ใช้เวลาในการเดินทางมาพบแพทย์ รอคอยแพทย์นาน เกิดความแออัดในโรงพยาบาล อีกทั้งระบบการบริการสุขภาพแต่ละระบบยังแบ่งเป็นส่วน ๆ ขาดความต่อเนื่องของการให้บริการ บทความนี้จึงนำเสนอแนวคิดการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อที่สามารถนำมาใช้ในการบริการสุขภาพ เพื่อทำให้การดูแลสุขภาพผู้ใช้บริการมีความต่อเนื่อง ผู้ใช้บริการปลอดภัย ลดระยะการรอคอยแพทย์ ลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดการมารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านบริการเป็นเลิศ แผนพัฒนาการบริการสุขภาพ<sup>1 </sup>และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)<sup>2</sup> แนวคิดการบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อช่วยพัฒนามาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพด้านกระบวนการดูแลผู้ป่วย</p> <p>การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นภัยคุกคามที่สำคัญและเร่งด่วนต่อสุขภาพ เช่นเดียวกับประเทศอื่นของประชากรโลก ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการบริการสุขภาพ&nbsp; ทำให้พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นยุควิถีปกติใหม่ การใช้บริการสุขภาพจึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าท้ายทีมสุขภาพในการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน เพื่อให้การดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึงและปลอดภัย มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการมากขึ้น</p> 2025-01-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024