https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/issue/feed วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข 2024-12-17T19:45:09+07:00 ผศ.ดร.อัศนี วันชัย nhphj@bcnb.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข (Nursing, Health, and Public Health Journal) เป็น วารสารเผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3652 บทบรรณาธิการ 2024-12-17T19:45:09+07:00 อัศนี วันชัย ausanee@bcnb.ac.th <p>วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุขได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานมาครบ 3 ปี โดยฉบับนี้ เป็น ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2567 มีบทความวิจัยที่น่าสนใจซึ่งสะท้อนถึงความก้าวหน้าทางการพยาบาลในด้านต่าง ๆ ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ 1) ประสิทธิผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย 2) ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมต่อทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะต้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 3) การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 4) ความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของนิสิตระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย และ 5) ผลของการใช้แนวปฏิบัติสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตต่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ ที่เกิดเหตุ นอกโรงพยาบาล</p> <p>ดิฉันขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่สนับสนุนวารสารของเราอย่างต่อเนื่อง และเนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่า 2567 ที่กำลังจะผ่านไป และต้อนรับปีใหม่ 2568 ที่กำลังจะมาถึง ดิฉันในฐานะบรรณาธิการวารสาร การพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข (Nursing, Health, and Public Health Journal: NHPHJ) ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเคารพบูชาอำนวยพรให้ผู้อ่านทุกท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ คิดหวังสิ่งใดที่ดีงามขอให้สมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ</p> <p>ทางวารสารมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะนำเรียนทุกท่านว่าในปี 2568 ทางวารสารจะเพิ่มจำนวนบทความวิจัยและวิชาการเป็น 10 เรื่องต่อฉบับ เพื่อเพิ่มความหลากหลายและคุณค่าแก่ท่านผู้อ่าน จึงขอเชิญชวนนักวิจัยและนักวิชาการทุกท่านร่วมส่งบทความวิชาการ และบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและส่งผลงานวิชาการผ่านทางระบบออนไลน์ได้ที่ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj สวัสดีปีใหม่ค่ะ!</p> <p><br>ผศ.ดร.อัศนี วันชัย <br>บรรณาธิการ</p> <p>&nbsp;</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2798 ประสิทธิผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย 2024-06-20T20:27:26+07:00 ธัลฐภรณ์ วชิรรมณียกุล tanthaporn@gmail.com <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน ตามเกณฑ์การคัดเข้า กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ การสนับสนุนทางอารมณ์ การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนด้านทรัพยากร และการสนับสนุนด้านการประเมินค่า กลุ่มควบคุมให้การพยาบาลตามปกติ ติดตามและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.87 และค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของคอร์นบาร์ช เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ paired simple t-test และ independent t-test </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .01) และ มีค่าเฉลี่ยของน้ำตาลเฉลี่ยสะสมลดลงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .01)</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรนำโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานให้บริการทางสุขภาพในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป</p> 2024-07-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2555 ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมต่อทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะต้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 2024-04-25T08:11:33+07:00 กรวัลล์ หาญโนนแดง korawan.han@gmail.com <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมต่อทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือดําเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม และแบบประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.73 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบ Paired t-test และสถิติทดสอบ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05; p &lt; 0.05 ตามลำดับ) และ ค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05; p&lt;.05 ตามลำดับ) </p> <p>ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง สามารถพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม และทักษะตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยงได้ สามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีในพื้นที่ต่อไป<br /> </p> 2024-08-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2406 การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 2024-04-01T16:35:07+07:00 กัญญาณัฐ ใจกลาง n.chaiklang@gmail.com <p>การวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ 1) ผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกโรคไตเรื้อรังใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง โดยแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน กลุ่มทดลอง 15 คน และ 2) ผู้ป่วยที่นอนรักษาด้วยภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรังระยะ 4 ในแผนกผู้ป่วยใน ใช้แผนการทดลองวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง จำนวน 15 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ paired t-test และ independent t-test</p> <p>ผลของการทดลองใช้โปรแกรมทั้งที่คลินิกโรคไตเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยใน พบว่าผู้ป่วย หลังได้รับโปรแกรม มีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมโดยรวม รายด้าน และค่าอัตราการกรองของไตสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 ช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเหมาะสมส่งผลให้ชะลอไตเสื่อมได้ดีขึ้น </p> 2024-08-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2797 ความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของนิสิตระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย 2024-06-19T22:53:17+07:00 พิมพ์ชนก คำชู phimchanokk64@nu.ac.th บัณฑิตา จารี buntitaj64@nu.ac.th เบญญาภา ทั่งจ้อย benyapat64@nu.ac.th ปราณี คำวงค์ษา praneek64@nu.ac.th จีรนันท์ วงศ์ศิลป์ jeeranunw64@nu.ac.th อิสราภรณ์ เหมะภูษิต issarapornh64@nu.ac.th เกาซัร มาแตเต๊ะ kausarm64@nu.ac.th ณัฐสุดา เสียงประโคน Natsudas64@nu.ac.th ดวงพร ปิยะคง duangporn@nu.ac.th ณภัคลชา ผลอนันต์ naphaklachap@nu.ac.th <p>บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ แต่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันโดยเฉพาะในนิสิตหรือนักศึกษา ซึ่งเป็นวัยความอยากรู้อยากลอง การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับทัศนคติ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของนิสิตระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 433 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และแบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เท่ากับ 0.72 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับไฟฟ้าเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Spearman correlation </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในระดับปานกลาง (Mean = 9.39, S.D = 7.07) คะแนนทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าระดับต่ำ (Mean = 20.36, S.D = 11.61) และความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบกับทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ (r= -0.209, p&lt;0.001) ผลการศึกษาทำให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อช่วยสร้างความตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และความรู้เป็นพื้นฐานของการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งอาจนำสู่การป้องกันหรือลดพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้า</p> 2024-12-06T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2649 ผลของการใช้แนวปฏิบัติสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตต่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ ที่เกิดเหตุ นอกโรงพยาบาล 2024-05-18T12:41:22+07:00 เบญจมาศ ปิงเมือง keangnakra@gmail.com วิปัศยา คุ้มสุพรรณ keangnakra@gmail.com <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ ที่เกิดเหตุ นอกโรงพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดิม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 56 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 28 ราย ตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด มีค่าความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ IOC = 1.0 และ 0.8 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square และ Mann Whitney</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง เข้าถึงการรักษาพยาบาลแก้ไขภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดรวดเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) โดยมีระยะเวลาแรกรับที่ ER จนถึงได้รับการแก้ไขภาวะ Sepsis กลุ่มทดลองใช้เวลาเฉลี่ย 8.5 นาที กลุ่มควบคุมใช้เวลาเฉลี่ย 32 นาที การได้รับ NSS Load 1,500 ml กลุ่มทดลองใช้เวลาเฉลี่ย 45 นาที กลุ่มควบคุมใช้เวลาเฉลี่ย 73.5 นาที และการได้รับยาปฏิชีวนะ กลุ่มทดลองใช้เวลาเฉลี่ย 52 นาที กลุ่มควบคุมใช้เวลาเฉลี่ย 73.5 นาที</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรขยายการใช้แนวปฏิบัติสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต ในหน่วยบริการนอกโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้บุคลากรคัดกรอง สังเกตอาการและนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว </p> 2024-12-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช