วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj
<p>วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข (Nursing, Health, and Public Health Journal) เป็น วารสารเผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p>
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
th-TH
วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข
2774-082X
-
การประยุกต์ใช้ทฤษฏีของโอเร็มกับการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต: กรณีศึกษา 2 ราย
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3500
<p>โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายพบเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด เพราะช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ แต่การพยาบาลหลังผ่าตัดพบความเสี่ยงการทำงานของไตล่าช้า ความไม่สมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ ภาวะปฏิเสธไตเฉียบพลัน และการติดเชื้อ อีกทั้งผู้ป่วยจะต้องมีความรู้และต้องปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวต่อไป</p> <p>การศึกษาครั้งนี้ นำทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็ม 3 ระบบ คือ 1) ระบบทดแทนทั้งหมด 2) ระบบทดแทนบางส่วน และ 3) ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ มาประยุกต์ให้การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต จำนวน 2 ราย โดยรายที่ 1 เป็นเพศชาย รับไตจากผู้บริจาคสมองตาย หลังผ่าตัดพบการทำงานของไตล่าช้า สารน้ำและเกลือแร่ไม่สมดุล และภาวะซีด รายที่ 2 เป็นเพศหญิง รับไตจาก ผู้บริจาคมีชีวิต หลังผ่าตัดไตใหม่ทำงานได้ดี แต่ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและปรับสมดุลสารน้ำและเกลือแร่ อย่างใกล้ชิด ทั้งสองรายได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด และระยะจำหน่าย รวมถึง การฝึกทักษะการดูแลตนเอง ผลลัพธ์การพยาบาล กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มีความปลอดภัยและสามารถดูแลตนเองได้ จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในระยะเวลา 21 วัน และ 11 วัน ตามลำดับ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มช่วยเพิ่มคุณภาพการพยาบาล ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
สมบูรณ์ บัวศักดิ์
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-30
2025-03-30
4 1
52
66
-
ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงต่อความสามารถ ในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3276
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ ปีการศึกษา 2562 รายวิชาแนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีการพยาบาล และกระบวนการพยาบาล จำนวน 53 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดการเรียน การสอนกระบวนการพยาบาล โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง เป็นระยะเวลา 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนตามรูปแบบสถานการณ์เสมือนจริงเพื่อที่ส่งเสริมความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินระดับความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ Wilcoxon signed-rank test และสถิติ Paired samples t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้สถานการณ์เสมือนจริงต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลสูงกว่าก่อนทดลอง (Mean = 4.01, S.D. = 0.44) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) </p> <p>ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยนี้สนับสนุนให้อาจารย์พยาบาลจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง ไปใช้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล และความมั่นใจ ในการปฏิบัติการพยาบาล</p>
ศิราวัลย์ เหรา
เจษฎาภรณ์ อิกำเหนิด
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-02-28
2025-02-28
4 1
1
10
-
การพัฒนาระบบการจัดการทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา ในหอผู้ป่วยวิกฤติหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3176
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการทางการพยาบาลในการป้องกันติดเชื้อดื้อยาในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัญหาการติดเชื้อดื้อยาและปัญหาการจัดการการติดเชื้อดื้อยา 2) การพัฒนาระบบการจัดการปัญหาการติดเชื้อดื้อยา 3) การประเมินผลการพัฒนาระบบ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยไอซียูจำนวน 20 คน 2) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยไอซียูจำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบระบบการจัดการทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหอผู้ป่วยวิกฤติหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกกรรม วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ สถิติ Paired t-test, Wilcoxon matched pairs signed ranks test และ Chi-square test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ต่อสถานการณ์เพิ่มขึ้น 0.42 (95%CI = (-0.66)–(-0.13)) (p<em>-value</em> = 0.003) และค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อระบบการจัดการปัญหาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.66 (95%CI = (-0.92)–(-0.44)) (p<em>-value < </em>0.001) ส่วนผู้ป่วยพบว่าการติดเชื้อดื้อยาลดลงต่ำกว่าก่อนพัฒนาระบบ (Chi-square = 9.001, p-<em>value </em>= 0.003) การติดเชื้อดื้อยา CRAB-MDR กลุ่มควบคุมลดลงจากร้อยละ 74.2 กลุ่มทดลองร้อยละ 25.8 โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบการจัดการทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาส่งผลทำให้ลดอัตราการติดเชื้อดื้อยาลงได้ควรนำระบบไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในระยะยาว</p>
ยศภัค มีเดช
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-02-28
2025-02-28
4 1
11
27
-
การรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลกองทุนหลักประกันสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3649
<p>การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลกองทุนหลักประกันสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก มาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 341 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลกองทุนหลักประกันสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์ มีค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.82 และค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของคอร์นบาร์ชเท่ากับ 0.85 ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาล ดังนี้ สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ในระดับสูง (Mean = 1.61, S.D. = 0.57) สิทธิประกันสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 1.32, S.D. = 0.61) และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในระดับสูง (Mean = 1..47, S.D. = 0.62) </p> <p>ดังนั้นจึงควรนำผลวิจัยไปพัฒนาส่งเสริมการรับรู้สิทธิประกันสังคมของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกกองทุนและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าต่อไป</p>
เตือนใจ ภาณุธนะสวัสดิ์
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-04
2025-03-04
4 1
28
37
-
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติต่อการปฏิบัติของพยาบาล และระยะเวลาในการเริ่มการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/3717
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลหลังทำการทดลอง (Posttest control group design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติต่อการปฏิบัติของพยาบาลและระยะเวลาในการเริ่ม การหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท จำนวน 15 คน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่เข้ารับการดูแลที่ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จำนวน 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 16 คน โดยกลุ่มควบคุมพยาบาลใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามปกติ กลุ่มทดลองพยาบาลได้รับโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมการการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ คู่มือการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพตามแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ และแบบบันทึกข้อมูลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Chi-square test และสถิติ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติในภาพรวมและกลุ่มทดลองมีระยะเวลาในการเริ่มการใช้แนวปฏิบัติสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <em>p</em> < .05</p> <p>โปรแกรมการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ช่วยให้พยาบาลวิชาชีพมีทักษะในการใช้แนวปฏิบัติเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยได้รับการประเมินการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วขึ้น</p>
นพกาญจน์ ปู่ซึ้ง
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-03-04
2025-03-04
4 1
38
51