วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj <p>วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข (Nursing, Health, and Public Health Journal) เป็น วารสารเผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษา และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> th-TH nhphj@bcnb.ac.th (ผศ.ดร.อัศนี วันชัย) nhphj@bcnb.ac.th (ผศ.ดร.อัศนี วันชัย) Fri, 26 Jul 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ประสิทธิผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2798 <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน ตามเกณฑ์การคัดเข้า กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ การสนับสนุนทางอารมณ์ การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนด้านทรัพยากร และการสนับสนุนด้านการประเมินค่า กลุ่มควบคุมให้การพยาบาลตามปกติ ติดตามและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.87 และค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของคอร์นบาร์ช เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ paired simple t-test และ independent t-test </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .01) และ มีค่าเฉลี่ยของน้ำตาลเฉลี่ยสะสมลดลงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .01)</p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรนำโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานให้บริการทางสุขภาพในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป</p> ธัลฐภรณ์ วชิรรมณียกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2798 Fri, 26 Jul 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2406 <p>การวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ 1) ผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกโรคไตเรื้อรังใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง โดยแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน กลุ่มทดลอง 15 คน และ 2) ผู้ป่วยที่นอนรักษาด้วยภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรังระยะ 4 ในแผนกผู้ป่วยใน ใช้แผนการทดลองวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง จำนวน 15 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ paired t-test และ independent t-test</p> <p>ผลของการทดลองใช้โปรแกรมทั้งที่คลินิกโรคไตเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยใน พบว่าผู้ป่วย หลังได้รับโปรแกรม มีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมโดยรวม รายด้าน และค่าอัตราการกรองของไตสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 ช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเหมาะสมส่งผลให้ชะลอไตเสื่อมได้ดีขึ้น </p> กัญญาณัฐ ใจกลาง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2406 Thu, 15 Aug 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมต่อทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะต้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2555 <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมต่อทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือดําเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม และแบบประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.73 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบ Paired t-test และสถิติทดสอบ Independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05; p &lt; 0.05 ตามลำดับ) และ ค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.05; p&lt;.05 ตามลำดับ) </p> <p>ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง สามารถพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม และทักษะตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยงได้ สามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีในพื้นที่ต่อไป<br /> </p> กรวัลล์ หาญโนนแดง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2555 Wed, 07 Aug 2024 00:00:00 +0700