https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/issue/feed วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน 2024-05-04T14:25:39+07:00 Dr.Koraphat Artwanischakul pthjohos@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน </strong><strong>(</strong><strong>Journal of Hospital and Community Health Research) </strong>เป็นวารสารวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพและสาธารณสุข โดยมีจุดประสงค์เพื่อ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสาธารณสุข รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการดูแลรักษา พยาบาลผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย เป็นต้น </p> <p> </p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;"> </strong></p> https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/2474 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุชาวไทพวน ในจังหวัดหนองคาย 2024-04-10T15:58:15+07:00 นวนันท์ กองอุด พย.บ. nawa49@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong> </p> <p> การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอาย 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทพวน จังหวัดหนองคาย จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุชาวไทพวนที่อาศัยอยู่ในบ้านโพธิ์ตาก จำนวน 91 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ข้อมูลปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และข้อมูลพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ โดยค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.70 – 0.80 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติประสิทธิ์สหสัมสัมพันธ์ของสเปียร์แมน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุชาวไทพวนมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅= 2.16, SD = 0.16) โดยพบพฤติกรรมรายด้านการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.12, SD = 0.22) ด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 2.01, SD = 0.34) ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพตนเอง (𝑥̅ = 2.23, SD = 0.27) และด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 2.36, SD = 0.25) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่า 1) ปัจจัยนำในด้านความรอบรู้ทางสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง (<em>p</em>-value &gt; 0.05) ส่วนด้านทัศนคติ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt; 0.001) จากผลการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพให้กับผู้สูงอายุชาวไทยพวนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยได้</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: </strong>การดูแลสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ชาวไทพวน</p> <p><strong>ติดต่อผู้นิพนธ์ :</strong> นวนันท์ กองอุด <strong>อีเมล :</strong> <a href="mailto:Nawa49@gmail.com">Nawa49@gmail.com</a></p> 2024-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/2166 นโยบายกับการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 2024-01-29T12:04:32+07:00 พงษ์เพชร ผาตะเนตร ส.บ. paijit.phatanet.13@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสายสนับสนุนของบุคลากรสายสนับสนุนของโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดหนองคายจำนวน 240 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการแบบสอบถามความคิดเห็น ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาคอร์นบาร์คได้ค่าเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ประเด็นหลัก</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.75 และเพศชาย ร้อยละ 36.25 ส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วงอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 30.83 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มากที่สุดร้อยละ 42.50 เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 62.50 มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานสูงสุด 37 ปี และต่ำสุด 1 ปี บุคลากรสายสนับสนุนของโรงพยาบาลชุมชน มีความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาตนเองด้านการฝึกอบรมเป็นอันดับแรก ดังนั้นเพื่อให้องค์กรได้เกิดการพัฒนาได้อย่างครอบคลุม ควรสนับสนุนให้บุคคลากรสายได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานเฉกเช่นบุคลาการสายวิชาชีพอื่นๆเช่นกัน</p> 2024-06-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/2345 ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ดูแลในการจัดการอาการไข้ในเด็ก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ 2024-03-11T10:52:08+07:00 วินยา ธนาสุวรรณ พย.บ. pwinyath@gmail.com <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้กับผู้ดูแลในการจัดการอาการไข้ในเด็ก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลของเด็ก ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ในโรงพยาบาล จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ดูแลในการจัดการอาการไข้ในเด็ก และแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการไข้เด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในการจัดการอาการไข้ของเด็กหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 12.45, p &lt;0.000) จะเห็นว่า โปรแกรมการให้ความรู้ในการจัดการอาการไข้ของเด็ก จะช่วยให้ผู้ดูแลมีความรู้ทั้งในด้านการวัดไข้ การอ่านฉลากยา และทักษะการเช็ดตัวลดไข้ มีความมั่นใจในการจัดการภาวะไข้ได้มากขึ้น สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการภาวะไข้และดูแลเด็กที่มีภาวะไข้เฉียบพลันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทักษะเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการขณะเด็กมีไข้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดูแลเบื้องต้นที่บ้านได้ถูกต้องและป้องกันการเกิดไข้ชักก่อนได้รับการรักษาในโรงพยาบาล</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> <strong>:</strong> ผู้ดูแล, การจัดการอาการไข้, ไข้ในเด็ก</p> 2024-05-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/2346 ผลของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อแม่ที่คลอดปกติ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ 2024-03-11T10:59:01+07:00 สุดาพร วงษาเนาว์ พย.บ. sudapornwongsanao@gmail.com <p><strong> บทคัดย่อ</strong></p> <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อแม่ที่คลอดปกติในห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ แม่ที่คลอดปกติ จำนวน 30 คนและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด จำนวน 9 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ตามเกณฑ์กำหนด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการใช้แนวทางปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพต่อการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด แบบแสดงความคิดเห็น และแบบประเมินตามตัวชี้วัดการตกเลือดหลังคลอด โดยมีการตรวจสอบความเชื่อมั่น ได้ค่าเท่ากับ 0.81, 0.90 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อแม่ที่คลอดปกติในห้องคลอด โดยรวมมีการปฏิบัติการพยาบาลถูกต้องในระดับมากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 55.6 เป็นร้อยละ 100.0 ในด้านความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=5.00, SD=0.00) ร้อยละของตัวชี้วัดการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกของมารดามีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดผ่านเกณฑ์ และระดับความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 30</p> 2024-05-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/2392 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2024-03-28T17:13:58+07:00 ศิรินธร ณ หนองคาย สม. sirinthon65@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2565 โดยใช้รูปแบบ Unmatched case-control เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษา (Case) ที่เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เสียชีวิตระหว่างรักษา จำนวน 40 ราย และกลุ่มควบคุม (Control) ที่เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีชีวิตอยู่ตลอดการรักษา จำนวน 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการรักษาของโรงพยาบาล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทีละตัวแปรโดยใช้ Simple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Odds ratio (OR) วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุโดยใช้ Multiple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ 95 (95% CI.) และนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 3.08 เท่าเมื่อเทียบกับผู้มีอายุน้อยกว่า 60 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR<sub>adj</sub> = 3.08; 95% CI = 1.03-9.21) ผู้ป่วยที่ไม่มีผู้กำกับการกินยา มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 7.51 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยมีผู้กำกับการกินยา ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า (OR<sub>adj</sub> = 7.51; 95% CI = 2.88-19.57) ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 2.99 เท่า เมื่อเทียบกับผู้มีค่าดัชนีมวลกาย 20 ขึ้นไป (OR<sub>adj </sub>= 2.99; 95% CI=0.07-8.36) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 9.89 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่ติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR<sub>adj</sub> = 9.89; 95% CI= 2.62-37.34) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 3.61 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR<sub>adj</sub> = 3.61; 95% CI = 1.13-11.53) ผู้ป่วยที่มีโรคเลือดร่วมด้วย จะมีโอกาสเสียชีวิตเป็น 9.34 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ไม่ป่วยโรคเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR<sub>adj</sub> = 9.34 ; 95% CI = 1.60-54.31) ดังนั้น ควรจัดระบบการประเมินความปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเฉพาะราย ตั้งแต่เริ่มต้นรักษาและวางแผนการดูแลผู้ร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชุม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</p> 2024-06-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน