วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo <p><strong>วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน </strong><strong>(</strong><strong>Journal of Hospital and Community Health Research) </strong>เป็นวารสารวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพและสาธารณสุข โดยมีจุดประสงค์เพื่อ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสาธารณสุข รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการดูแลรักษา พยาบาลผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย เป็นต้น </p> <p> </p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;"> </strong></p> โรงพยาบาลโพธิ์ตาก (Photak Hospital) th-TH วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน 2985-0630 ืืืืผลการใช้แนวทางปฏิบัติการทางการพยาบาล การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/3552 <p><strong> บทคัดย่อ</strong></p> <p> </p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงโดยอาศัยเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 14 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษา จำนวน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินการใช้แนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ แบบสอบถามความพึงพอใจ และอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เป็นต้น</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 71.43 มีสถานะโสด คิดเป็นร้อยละ 64.3 มีอายุระหว่าง 20-25 ปี มากที่สุดเป็นร้อยละ 42.85 จบการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในช่วง 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.14 ปฏิบัติงานในตำแหน่งปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 64.3 ปฏิเสธโรคประจำตัว 13 คน คิดเป็นร้อยละ 92.85 หลังการใช้แนวทางปฏิบัติฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพิ่มเติม และมีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 98.04 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้แนวฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.55 เป็นร้อยละ 99.27 และช่วยลดอุบัติการณ์การอักเสบที่ส่วนปลายหลอดเลือดดำ จากเป็นร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 6 ตามลำดับ จะเห็นว่า แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ช่วยเพิ่มความรู้และทักษะการปฏิบัติกิจกรรมพยาบาลจนเกิดผลดีแก่ผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: </strong>แนวปฏิบัติกิจกรรมพยาบาล,การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ,หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ</p> <p><strong>ติดต่อผู้นิพนธ์</strong><strong> : </strong>มณเฑียร โคตรชมภู <strong>อีเมล </strong><strong>: </strong><a href="mailto:Monthiankcp@gmail.com">Monthiankcp@gmail.com</a></p> มณเฑียร โคตรชมภู . พย.บ. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน 2024-12-06 2024-12-06 2 3 151 164 การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยไข้เลือดออก โรงพยาบาลโพนพิสัยและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/3053 <p>บทคัดย่อ</p> <p>ก</p> <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง เดือนมิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานผู้ป่วยนอก, งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช, ศูนย์สุขภาพชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองผู้ป่วยฯ 2) ด้านทัศนคติและความคิดเห็นต่อรูปแบบฯ 3) ด้านความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการคัดกรองโรคไข้เลือดออก ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยวิธีของ Kuder– Richardson (KR-20) ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.81 และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาช ได้เท่ากับ 0.80, 0.83 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired Samples T-Test</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบในการคัดกรองผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD triage) กรณีที่ผู้ป่วยมาด้วยอาการไข้เฉียบพลัน Probable dengue หรือผู้ป่วยที่สงสัยจะเป็นไข้เลือดออก 2) แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัยโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และ 3) แนวทางการคืนข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรคในพื้นที่ ผลการนำรูปแบบฯ ไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก และมีความคิดเห็นมากที่สุดเกี่ยวกับการมีแนวทางปฏิบัติในการทำงานชัดเจน สื่อสารที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การประเมินความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองฯก่อนและหลัง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001) เป็นต้น</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong><strong>ไข้เลือดออก รูปแบบการคัดกรองไข้เลือดออก</strong></p> ศุภรดา ภาแสนทรัพย์ พยม. ภคพร ตู้จินดา พบ. ศิริวรรณ สิงหศิริ พย. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน 2024-09-13 2024-09-13 2 3 136 150