วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo <p><strong>วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน </strong><strong>(</strong><strong>Journal of Hospital and Community Health Research) </strong>เป็นวารสารวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพและสาธารณสุข โดยมีจุดประสงค์เพื่อ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสาธารณสุข รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการดูแลรักษา พยาบาลผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย เป็นต้น </p> <p> </p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;"> </strong></p> th-TH pthjohos@gmail.com (Dr.Koraphat Artwanischakul ) nestzero2012@gmail.com (พิทักษ์ ตึกสุอินทร์) Fri, 13 Sep 2024 11:18:58 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยไข้เลือดออก โรงพยาบาลโพนพิสัยและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/3053 <p>บทคัดย่อ</p> <p>ก</p> <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึง เดือนมิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานผู้ป่วยนอก, งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช, ศูนย์สุขภาพชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองผู้ป่วยฯ 2) ด้านทัศนคติและความคิดเห็นต่อรูปแบบฯ 3) ด้านความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการคัดกรองโรคไข้เลือดออก ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยวิธีของ Kuder– Richardson (KR-20) ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.81 และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาช ได้เท่ากับ 0.80, 0.83 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired Samples T-Test</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบในการคัดกรองผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD triage) กรณีที่ผู้ป่วยมาด้วยอาการไข้เฉียบพลัน Probable dengue หรือผู้ป่วยที่สงสัยจะเป็นไข้เลือดออก 2) แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัยโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และ 3) แนวทางการคืนข้อมูลเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรคในพื้นที่ ผลการนำรูปแบบฯ ไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก และมีความคิดเห็นมากที่สุดเกี่ยวกับการมีแนวทางปฏิบัติในการทำงานชัดเจน สื่อสารที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การประเมินความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองฯก่อนและหลัง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt;0.001) เป็นต้น</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong><strong>ไข้เลือดออก รูปแบบการคัดกรองไข้เลือดออก</strong></p> ศุภรดา ภาแสนทรัพย์ พยม. , ภคพร ตู้จินดา พบ., ศิริวรรณ สิงหศิริ พย. Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/3053 Fri, 13 Sep 2024 00:00:00 +0700