วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc <p><span style="font-size: 0.875rem;"><strong>วัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์วารสาร </strong><br /> 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้เผยแพร่บทความทางวิชาการและบทความวิจัยที่มีคุณภาพ <br /> 2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านวิชาการ และด้านการวิจัย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"><strong>กำหนดการเผยแพร่ </strong> <br /> </span><span style="font-size: 0.875rem;">ปีละ 4 ฉบับ<br /> ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มีนาคม <br /> ฉบับที่ 2 เดือน เมษายน - มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม - กันยายน<br /> ฉบับที่ 4 เดือน ตุลาคม - ธันวาคม</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"><strong>เจ้าของวารสาร </strong> <br /> วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"><strong>สำนักงาน </strong><br /> กองบรรณาธิการวารสาร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น <br /> 888 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน (แนวเก่า) ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000<br /> โทรศัพท์ 055-517488 ต่อ 5</span></p> วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2730-1583 ผลของการให้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ต่อระดับความดันโลหิต ในกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4096 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสาธารณสุขไทย การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและการให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจะช่วยลดการเกิดโรคได้ ในปัจจุบันการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ผู้วิจัยจึงพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันไลน์มาใช้กับกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตของผู้ที่มีระดับความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับความรู้แบบปกติกับกลุ่มที่ได้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ การวิจัยกึ่งทดลอง ในผู้ที่มีความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูงจำนวน 50 คน จัดสรรตัวอย่างด้วยวิธี Blocked randomization แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลอง 25 คน ได้รับให้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ และ กลุ่มควบคุม 25 คน ได้รับความรู้แบบปกติ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประเมินผลหลังการทดลองด้วยการวัดระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure,SBP) และระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure, DBP) การวิเคราะห์ความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างข้อมูลใช้สถิติ Independent T -Test และ Chi-Square test และข้อมูลที่ลักษณะการกระจายตัวผิดปกติจะใช้สถิติ Independent samples Mann-Whitney U test โดยใช้ค่า p-value &lt; 0.05 การวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มเดียวกันใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test โดยใช้ค่า p-value &lt; 0.05 ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่า SBP และค่า DBP ลดลงอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) ในขณะที่กลุ่มควบคุมมี ค่า SBP และค่าDBP แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P&gt;0.05) และเมื่อ ระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่าปลุ่มทดลองมีค่า SBP และค่า DBP ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) ด้วย การให้ความรู้ร่วมกับการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ สามารถลดระดับความดันโลหิตซิสโตลิก และระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิก ในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตในเกณฑ์เกือบสูงได้ ดังนั้น ควรมีการศึกษาติดตามระดับความดันโลหิตของกลุ่มตัวอย่างในระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน</p> ภาณุเดช นกอินทร์ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 1 14 การเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพในการเข้ารับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเด่นชัย อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4097 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษาแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ (comparative descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเด่นชัย อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 209 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพและแบบสอบถามการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและความเชื่อด้านสุขภาพของกลุ่มที่เคยตรวจและไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยใช้สถิติ independent t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกระหว่างกลุ่มที่เคยตรวจและกลุ่มที่ไม่เคยมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาระยะยาวและเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างมากขึ้น ควรนำผลการวิจัยนี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีและเป็นแนวทางการ</p> จิตรารัตน์ เปรมจิตร Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 15 27 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4098 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยนำ (ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ด้านสุขภาพ) ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 70 ชั่วโมง จำนวน 213 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel จำนวน 150 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ของผู้ดูแล ทัศนคติของผู้ดูแล การรับรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ทักษะของผู้ดูแล ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามโดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรู้ของผู้ดูแล (r=0.287, P-value=0.004) ทัศนคติของผู้ดูแล (r=0.287, P-value=0.004) การรับรู้ด้านสุขภาพ (r=0.491, P-value=0.006) และปัจจัยเสริม (r=0.173, P-value=0.045) ตามลำดับ ปัจจัยที่สามารถทำนายการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รับ 0.05 ประกอบด้วย การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพ (P-value&lt;0.001) การรับรู้อุปสรรคของการดูแลสุขภาพ (P-value=0.003) อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ (P-value=0.003) ตามลำดับ สามารถทำนายได้ถูกต้อง ร้อยละ 83.1</p> อุฬาริน พรกระแส Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 28 41 ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเขตโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลนาขุม อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4099 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาขุม อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 30 ราย โปรแกรมฯ พัฒนาขึ้นโดยนำผลวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ (P-value&lt;0.001) การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ (P-value=0.002) การสื่อสาร (P-value&lt;0.001) และการจัดการตนเอง (P-value=0.015) ตามลำดับ โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ด้านสุขภาพ, การรับรู้ความสามารถตนเอง, การสร้างแรงจูงใจ, การสนับสนุนกำลังใจ, การเรียนรู้ปัญญาสังคม กิจกรรม, แรงสนับสนุนทางสังคม, ร่วมกับทฤษฎีแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 อบรมเพิ่มพูนความรู้ทักษะการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ กิจกรรมที่ 2 Self Help Group ในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกิจกรรมโดยใช้รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมที่ 3 การเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยทีมสหวิชาชีพและเครือข่ายสุขภาพ กิจกรรมที่ 4 การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลและญาติ ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ และสมุดบันทึกข้อมูลสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปร ที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ได้แก่ ด้านความรู้เข้าใจ (P-Value&lt;0.001) การเข้าถึงข้อมูลบริการสุขภาพ (P-Value&lt;0.001) การสื่อสาร (P-Value&lt;0.001) และการจัดการตนเองให้มีความปลอดภัย (P-Value&lt;0.001) ตามลำดับ</p> ศรสวรรค์ ปรุณห์สิริ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 42 57 ประสิทธิผลโปรแกรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4100 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 30 ราย โปรแกรมการควบคุมความดันโลหิตพัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทัศนคติ (ทัศนคติต่อการป้องกันโรค ทัศนคติต่อการปรับพฤติกรรม) โดยประยุกต์ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม การสนับสนุนให้กำลังใจ และการกระตุ้นเตือนโดยใช้แรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 เสริมทักษะความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงให้แกนนำ อสม. กิจกรรมที่ 2 เสริมทักษะการวัดความดันโลหิต กิจกรรมที่ 3 เสริมทักษะการใช้แอฟพริเคชัน สอน.บัดดี้ กิจกรรมที่ 4 เสริมทักษะความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 5 ติดตามการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะเวลาการทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรู้ (P-Value&lt;0.001) ทัศนคติ (P-Value&lt;0.001) พฤติกรรม (P-Value=&lt;0.001ตามลำดับ การควบคุมระดับความดันโลหิตได้ หลังทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value&lt;0.001)</p> จันทร์เพ็ญ พวงดอกไม้ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 58 73 ประสิทธิผลโปรแกรมการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4101 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 30 ราย โปรแกรมการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ด้านทักษะการสื่อสาร (P-value&lt;0.001) ทักษะการจัดการตนเอง (P-value&lt;0.001) ทักษะการตัดสินใจ (P-value=0.040) การรู้เท่าทันสื่อ (P-value=0.016) ตามลำดับ โดยประยุกต์ทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการจัดการตนเอง&nbsp; ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพที่ถูกต้อง กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างทักษะการสื่อสาร ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในการสื่อสารกับบุคคลอื่นเกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 3 เสริมสร้างทักษะการตัดสินใจ ในการกำหนดและวิเคราะห์ทางเลือกด้านสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กิจกรรมที่ 4 เสริมสร้างทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อ ในการตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่สื่อนำเสนอ กิจกรรมที่ 5 เสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยการให้ความรู้ก่อนการใช้สารเคมี,ขณะใช้สารเคมีและหลังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (P-Value&lt;0.001), พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (P-Value&lt;0.001) ตามลำดับ</p> วสันต์ หนองคาย Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 74 85 ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4102 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ่าง จำนวน 30 ราย โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงนี้ พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย 1) ด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ 2) ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ&nbsp; โดยพัฒนามาจากทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพของ Nutbeam (2000) เพื่อเป็นการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การเสริมทักษะความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. กิจกรรมที่ 3 การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กิจกรรมที่ 4 การฝึกทักษะการสื่อสารสุขภาพ กิจกรรมที่ 5 การฝึกการตัดสินใจด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (P-Value&lt;0.001) พฤติกรรมสุขภาพ (P-Value&lt;0.001) ตามลำดับ ระดับความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หลังทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value&lt;0.001, P-Value&lt;0.001) ตามลำดับ</p> นธรรศ น้อยทัน Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 86 99 ประสิทธิผลโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังแดง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4103 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 ราย โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านการรับรู้ด้านสุขภาพ (P-value=0.020) ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก (P-value=0.042) และด้านแรงสนับสนุนทางสังคม (P-value=0.025) ประกอบด้วย แรงสนับสนุนจากชุมชนและครอบครัว (P-value=0.029) ตามลำดับ โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ด้านสุขภาพ (Health perception theory) แรงสนับสนุนทางสังคม (Social support) และการสนับสนุนให้กำลังใจ (Empowerment) ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 การเสริมสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 3 การเสริมสร้างแรงสนับสนุนทางสังคม กิจกรรมที่ 4 การสนับสนุนให้กำลังใจ กิจกรรมที่ 5 บ้านเรือนสะอาด สิ่งแวดล้อมดี และครอบครัวดี มีสุข กิจกรรมที่ 6 การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ 7 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและสมุดบันทึกข้อมูลสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การรับรู้ด้านสุขภาพ (P-Value&lt;0.001) แรงสนับสนุนทางสังคม (P-Value&lt;0.001) และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (P-Value&lt;0.001) ตามลำดับ</p> นิรุจน์ แก้วกรี Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 100 116 ประสิทธิผลโปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลังการระบาด ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4129 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการระบาด ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 30 ราย โปรแกรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการระบาด พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย 1) การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ 2) ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ 3) การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ 4) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง 5) การจัดการตนเองให้มีความปลอดภัย 6) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ โดยประยุกต์ทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การเสริมทักษะความรู้ความเข้าใจ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาความสามารถและทักษะการจัดการตนเอง กิจกรรมที่ 3 การเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลสารสนเทศ กิจกรรมที่ 4 การฝึกทักษะการสื่อสาร กิจกรรมที่ 5 การฝึกการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (P-Value=0.002) และพฤติกรรมการป้องกันโรค (P-Value&lt;0.001) ตามลำดับ</p> ธิดารัตน์ แก้วคำ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 117 130 ประสิทธิผลโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตำบลข่อยสูง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4136 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตำบลข่อยสูง จำนวน 32 ราย โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย การรับรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกัน การรับรู้อุปสรรค สิ่งชักนำให้เกิดการป้องกัน และระยะเวลาในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ด้านสุขภาพ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม การสนับสนุนให้กำลังใจ และการกระตุ้นเตือนโดยใช้แรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเกษตรกรกับการจัดการตนเอง กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 3การสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กิจกรรมที่ 4กิจกรรมการสร้างแรงสนับสนุนเพื่อลดการเจ็บป่วยด้วยโรคและภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระยะเวลาทดลอง 4 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การรับรู้ด้านสุขภาพ (P-Value&lt;0.001) พฤติกรรมสุขภาพ (P-Value=0.001) ตามลำดับ</p> บุญยงค์ บุคำ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 131 143 ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในการปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน (อสม.1) เพื่อขอรับค่าป่วยการ อสม. อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4170 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยกึ่งทดลองเป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์<br>เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในการปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(อสม.1)เพื่อขอรับค่าป่วยการ อสม.อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 30 คน โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม.พัฒนาขึ้นจากหลักสูตรการอบรมจากหลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ปีพุทธศักราช 2550 ร่วมกับกิจกรรมการปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงานของ อสม.(อสม.1) พ.ศ.2566 (ฉบับที่ 2) (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 2567) โดยประยุกต์ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แรงจูงใจ และทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(อสม.1) พ.ศ.2566 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2567 กิจกรรมที่ 2 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของ อสม. กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริงในละแวกรับผิดชอบของตนเอง ระยะเวลาทดลอง 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การปฏิบัติงานตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน(อสม.1)(P-Value&lt;0.001) ทักษะในการบันทึกแบบรายงานผลการปฏิบัติงาน (อสม.1) เพื่อขอรับค่าป่วยการ อสม. (P-Value&lt;0.001) ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;</p> ปวีณา กุมาร Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 144 160 การพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดผ่านระบบสื่อสารทางไกลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรัง โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4172 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรักษาด้วยโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์กับผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดที่คลินิกเวชกรรมฟื้นฟูโดยใช้แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหว (Stroke Rehabilitation Assessment of movement (STREAM) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเรื้อรัง โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี กลุ่มประชากรคือ ผู้ป่วยรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมาแล้ว 6 เดือน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพที่คลินิกเวชกรรมฟื้นฟู โดยการสุ่มแบบง่าย จำนวน 28 ราย เพศหญิง 11 ราย เพศชาย 17 ราย อายุเฉลี่ย 54.93 ± 11.92 ปี (อายุเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(ปี)) แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์ 14 ราย และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพที่คลินิกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลบางละมุง 14 ราย ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 24 สัปดาห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์กับผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดที่คลินิกเวชกรรมฟื้นฟู ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&gt;0.05) และผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดผ่านระบบวิดิโอคอนเฟอเรนซ์มีผลทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเรื้อรังดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&gt;0.05)</p> สุทธาทิพย์ ยิ่งดิลกพันธกุล Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-03 2025-04-03 6 1 161 178 ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4177 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่คัดกรองผู้ป่วย จำนวน 11 คน และผู้ป่วยที่มาใช้บริการงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน จำแนกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินตามแนวคิดของ Gilboy และ Australian Government เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย แบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Wilcoxon signed-rank test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน <br>มีค่าเฉลี่ยระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยดีกว่าก่อนการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) ภายหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพดีกว่าก่อนการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.009)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทั้งนี้ ควรส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช นำรูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดลำดับความเร่งด่วนของผู้ป่วย</p> ณัฐชา ไพบูลย์ Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-31 2025-03-31 6 1 179 195 ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4178 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ จำนวน 30 คน และกลุ่มที่โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Independent t- test และสถิติ Paired t-test</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001</p> <p>ทั้งนี้ พยาบาลควรนำโปรแกรมฯไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยทำให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถทำการช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างถูกต้องและทันเวลา ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน</p> อำนาจ ลีรัก Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-31 2025-03-31 6 1 196 213 การศึกษารูปแบบและความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการให้บริการผู้ป่วยในการแพทย์แผนไทย พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4179 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสม (Mixed - Method Research) เพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการและความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการให้บริการผู้ป่วยในการแพทย์แผนไทยที่โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารองค์กร ทีมสหวิชาชีพ บุคลากรแผนกผู้ป่วยใน และผู้รับบริการ จำนวน 265 คน การเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567 โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงต่อการให้บริการที่เน้นการดูแลแบบองค์รวม และการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ โดยได้รับการตอบรับดีในรูปแบบบริการแพคเกจ 2 คืน 3 วัน อย่างไรก็ตาม พบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทางและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การพัฒนารูปแบบบริการที่หลากหลายขึ้น การปรับปรุงสถานที่และอุปกรณ์ การใช้เทคโนโลยีสนับสนุน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อยกระดับการให้บริการและเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มประชาชนทุกช่วงวัย การศึกษานี้ช่วยพัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p> จิรภัทร์ สิงห์ชัย Copyright (c) 2025 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-31 2025-03-31 6 1 214 224