The effect of competence improvement of smart triage nurses in the emergency room at Wichianburi hospital
Keywords:
Triage, triage nurse, competence improvementAbstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพพยาบาลคัดแยกผู้ป่วยและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพพยาบาลคัดแยกผู้ป่วย ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวิเชียรบุรี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 12 คน และ 2) ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนการพัฒนาและกลุ่มหลังการพัฒนา กลุ่มละ 300 คน รวมทั้งหมด 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบทดสอบความรู้การคัดแยกผู้ป่วย แนวทางการคัดแยกของ Emergency Severity Index: (ESI) Version 4 แบบ 5 ระดับ และแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยโรงพยาบาลวิเชียรบุรี ดำเนินการวิจัยในเดือน มิถุนายน–ธันวาคม 2563 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Signed rank test, Chi- square test และ McNemar test
กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพพยาบาลคัดแยกผู้ป่วย (smart triage nurse) ดำเนินการ 3 วงรอบ ประกอบด้วยการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ 1) การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกผู้ป่วยตามแนวทางการคัดแยกของ Emergency Severity Index (ESI) Version 4 แบบ 5 ระดับ 2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการอบรมความรู้กลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงสูง 5 กลุ่มโรค และ 3) การเรียนรู้โดยใช้วิธีพี่สอนน้องจากกรณีศึกษา (case study) ภายหลังการพัฒนาศักยภาพพยาบาลคัดแยกผู้ป่วยคะแนนเฉลี่ยความรู้การคัดแยกผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (16.0, 12.2, p=0.003) และอัตราความถูกต้องของการคัดแยกเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนการพัฒนาศักยภาพพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (87.3%, 69.7%, p<0.001) โดยสรุปจากผลการวิจัยเสนอแนะว่าควรมีการจัดอบรมฟื้นฟูความรู้และทักษะการคัดแยกผู้ป่วยตามแนวทางของ Emergency Severity Index: (ESI) Version 4 แบบ 5 ระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อคัดกรองผู้ป่วยในการจัดลำดับความสำคัญภาวะเร่งด่วนที่ถูกต้องและให้การรักษาพยาบาลที่ทันท่วงทีและผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยสูงสุด
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.