การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายฐานชีวิตวิถีใหม่ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของคนวัยทำงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายฐานชีวิตวิถีใหม่ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของคนวัยทำงาน 2) ศึกษาผลของการออกกำลังกายฐานชีวิตวิถีใหม่ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของคนวัยทำงาน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการออกกำลังกายของคนวัยทำงาน 2) พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายฯ 3) ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมการออกกำลังกายฯ และ 4) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครประชาชนวัยทำงานที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง จำนวน 60 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากในการคัดเลือกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 - 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการออกกำลังกายฯ และ 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับคนวัยทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1) โปรแกรมการออกกำลังกายฯ ประกอบด้วย 1.1) ขั้นตอนออกกำลังกายฯ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว (2) ขั้นพัฒนาระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ (3) ขั้นการฝึกด้วยน้ำหนักตัว และ (4) ขั้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 1.2) หลักการออกกำลังกายฯ ประกอบด้วย (1) ความบ่อยในการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง (2) ความหนักในการออกกำลังกายแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวให้มีอัตราการเต้นของหัวใจ ร้อยละ 50 - 60 ของชีพจรสูงสุดและให้กล้ามเนื้อมีการตึงตัวเล็กน้อย ช่วงพัฒนาระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจให้มีอัตราการเต้นของหัวใจ ร้อยละ 60 - 70 ของชีพจรสูงสุด ช่วงการฝึกด้วยน้ำหนักตัวให้ปฏิบัติ 8 - 12 ครั้ง และช่วงยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้เคลื่อนไหวที่ทำให้กล้ามเนื้อรู้สึกตึงเล็กน้อย (3) ระยะเวลาในการออกกำลังครั้งละ 30 - 45 นาที และ (4) ชนิดของการออกกำลังกายแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การฝึกด้วยน้ำหนัก และ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
2) ผลการออกกำลังกายฯ พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ และความอ่อนตัวดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ และความอ่อนตัวดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสาร เป็นทัศนะของผู้เขียน คณะพลศึกษาไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไปผู้ใดประสงค์จะนำข้อความไปตีพิมพ์หรือเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนโดยตรง
References
Chobpradit S. Covid 19 Crisis affect social change. Journal of Chaiyaphum Review. 2020; 3(2): 1 – 14.
Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Thai health 2021 report. Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2021.
Katewongsa P, et al. Physical activity at home guide book. Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2021.
Katewongsa P, Pongpradit, K. Regenerating physical activity in Thailand after COVID-19 pandemic. Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2020.
Kaur H, Singh T, Arya Y K, Mittal S. Physical fitness and exercise during the COVID-19 pandemic: A qualitative enquiry. Frontiers in psychology. 2020: 2943.
Kongjarern S. Obesity: Silent Killer in the Digital Era. EAU Heritage Journal Science and Technology. 2017; 11(3): 22 – 29.
Kosalvitr T, Kanyakan K. Balance exercise: Safe and healthy. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences. 2018; 2(1): 1 – 11.
Ministry of Tourism & Sports. Physical fitness test and norm for aged 19 – 59 years old. Ministry of Tourism & Sports; 2019.
Ministry of Tourism & Sports. Stretching with the sports science in athletes. Ministry of Tourism & Sports; 2019.
Ministry of Tourism & Sports. Body weight exercise. Elsevier; 2021.
Polero P, et al. Physical activity recommendations during COVID-19: Narrative review. International journal of environmental research and public health. 2021; 18(1): 65.
Roscoe JT. Fundamental Research Statistics for the Behavioral Science. Elsevier; 1975.
Sirinawin S. “COVID-19” Knowledge leads to wisdom, develop performance. Elsevier; 2020.
Srilamad S. Principles of sports training for sports trainers. Elsevier; 2018.
Thepsatitporn S, Kaewkaen P, Ruengthip P. Physical fitness testing and physical well-being in Thai elderly [Research reports]. Health Systems Research Institute; 2020.
World Health Organization. Stay Physically Active During Self-Quarantine. World Health Organization; 2020.
World Health Organization. World Health Statistics 2021. World Health Organization; 2021.