ผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบรำเซิ้งอีสานประยุกต์ที่มีต่อองค์ประกอบร่างกายและ สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุเพศหญิง

Main Article Content

ณภัชนันท์ ฝุกล่อยธนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายแบบรำเซิ้งอีสานประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ เพศหญิงในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ อายุเฉลี่ย 68.13 ± 3.24 ปี จำนวน 40 คน สมัครใจร่วมโครงการวิจัยและมีสุขภาพแข็งแรงและมีความพร้อมที่จะออกกำลังกาย ประเมินความพร้อมก่อนการออกกำลังกาย ฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายแบบรำเซิ้งอีสานประยุกต์ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ(One way analysis of variance with repeated measure) เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนฝึก 4 และ 8 สัปดาห์ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ผู้สูงอายุฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายแบบรำเซิ้งอีสานประยุกต์ พบว่า น้ำหนักตัวอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก การงอแขนพับศอก การนั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้า และการเอื้อมแขนแตะมือด้านหลังดีขึ้น แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ และความอ่อนตัวของหลังส่วนล่างและต้นขาด้านหลังเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 


คำสำคัญ: การออกกำลังกายแบบรำเซิ้งอีสานประยุกต์, สมรรถภาพทางกาย, ผู้สูงอายุ

Article Details

How to Cite
ฝุกล่อยธนันท์ ณ. . (2023). ผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบรำเซิ้งอีสานประยุกต์ที่มีต่อองค์ประกอบร่างกายและ สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุเพศหญิง. วารสารคณะพลศึกษา, 26(1). สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/peswuJ/article/view/1260
บท
บทความวิจัย